พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนที่มิได้จดทะเบียน ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก จำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
การที่จำเลยที่ 1 ออกเงินปลูกสร้างตึกแถวให้ ว.เจ้าของที่ดินเดิม และ ว.ยอมให้จำเลยที่ 1 เอาตึกแถวดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 2 เช่ามีกำหนดเวลารวม 20 ปี เป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่าง ว.กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลสิทธิอันผูกพันจำเลยที่ 1 กับ ว.คู่สัญญา โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อครบ 20 ปีแล้ว ให้ตึกแถวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ว.ทันที แต่ข้อตกลงนี้มิได้จดทะเบียนสิทธิเป็นสิทธิเหนือพื้นดิน จึงมีผลใช้บังคับได้ระหว่าง ว.กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะทราบสัญญานี้ก็ไม่ผูกพันโจทก์เพราะโจทก์มิได้ยินยอมตกลงกับจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะให้ตึกแถวนั้นคงอยู่ต่อไปในที่ดินของโจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรื้อถอนตึกแถวออกไป ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะจดทะเบียนสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 ปีก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะให้ตึกแถวอยู่ในที่ดินของโจทก์ได้แล้ว ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นบริวารของจำเลยที่ 1จึงต้องออกไปจากที่ดินของโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทางจำเป็น, อากรแสตมป์มอบอำนาจ, และสิทธิใช้ทางโดยไม่ต้องจดทะเบียน
โจทก์ที่4ถึงที่8มอบอำนาจให้โจทก์ที่9ฟ้องคดีโดยหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์เพียง30บาทแม้ผู้มอบอำนาจหลายคนแต่โจทก์ที่4ถึงที่8เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินจึงเป็นผู้มีอำนาจร่วมกันและ มอบอำนาจให้โจทก์ที่9ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ7(ข)แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งกำหนดไว้30บาทดังนั้นหนังสือมอบอำนาจที่ติดอากรแสตมป์30บาทจึงชอบด้วยกฎหมาย เมื่อทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้วโจทก์มีสิทธิใช้ทางดังกล่าวได้โดยอำนาจแห่งกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349จึงไม่จำต้องจดทะเบียนสิทธิอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์ทำให้ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสมบูรณ์ แม้ยังมิได้จดทะเบียน
จำเลยที่1ทำหนังสืออุทิศถนนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ทั้งหมดถนนดังกล่าวตลอดสายจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายทันทีที่จำเลยที่1ได้แสดงเจตนาอุทิศให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วยไม่ต้องจดทะเบียนโอนสิทธิการให้ทางโฉนดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา525แม้ข้อความในตอนท้ายของหนังสืออุทิศระบุว่าจำเลยที่1จะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวณสำนักงานที่ดินให้ต่อไปก็หามีผลทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อุทิศยังไม่โอนไปไม่ การออกโฉนดที่ดินถนนที่อุทิศซึ่งเป็นที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่1เป็นการออกภายหลังจากที่ดินพิพาทได้ตกเป็นทางสาธารณประโยชน์แล้วการออกโฉนดที่ดินพิพาทจึงเป็นการออกโดยมิชอบและศาลย่อมมีอำนาจเพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61วรรคท้าย จำเลยที่2ซื้อที่ดินพิพาทตามโฉนดที่ดินที่ออกโดยมิชอบเพราะออกโฉนดภายหลังจากที่ดินพิพาทได้ตกเป็นทางสาธารณประโยชน์แม้จะได้ซื้อจากการขายทอดตลาดของศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา330ก็ตามจำเลยที่2ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่2ไม่ได้กรรมสิทธิ์และไม่มีอำนาจโอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่3จำเลยที่3ไม่ได้กรรมสิทธิ์ด้วยจำเลยที่3ไม่มีสิทธิเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10227/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าระหว่างผู้เช่าเดิมกับผู้เช่าช่วง: วันจดทะเบียนสำคัญกว่าการครอบครอง
โจทก์และจำเลยต่างก็เป็นผู้เช่าตึกพิพาทโดยอาศัยมูลสัญญาเช่าต่างรายกัน แม้จำเลยจะเป็นผู้เช่าช่วงตึกพิพาทมาจากบริษัท ล.ผู้เช่าที่ดินที่ปลูกสร้างตึกพิพาทจาก ส. แต่เมื่อ ส.มิได้โต้แย้งหรือคัดค้านการให้เช่าช่วงดังกล่าว ย่อมถือได้ว่า ส.ได้ยินยอมให้จำเลยเช่าช่วงตึกพิพาทจากบริษัท ล.ได้โดยปริยาย เมื่อการเช่าของโจทก์และการเช่าช่วงของจำเลยเป็นประเภทซึ่งบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องจดทะเบียน จึงต้องถือว่าโจทก์ผู้เช่าซึ่งได้จดทะเบียนสิทธิของตนก่อนนั้นมีสิทธิยิ่งกว่าจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา ๕๔๓(๒) กล่าวคือต้องถือวันจดทะเบียนเป็นสำคัญการที่จำเลยได้ครอบครองตึกพิพาทก่อนโจทก์จึงหามีความสำคัญในเรื่องนี้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้สับสน: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย มีข้อจำกัดไม่ให้สิทธิผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำว่า "ใช้งานหนักอย่างมั่นใจ"และคำว่า "คือคุณภาพ" ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่รูปช้างยืนอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยม และคำว่า "ตราช้าง"เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อน มีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้าย ยกเข่าหน้าซ้ายงอเล็กน้อย ลดงวงลง ยืนอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยม มีเส้นไขว้ตัดกันรอบตัวช้าง ส่วนเครื่องหมายการค้ารูปช้างของจำเลยที่ขอจดทะเบียนมีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้าย ยกเท้าหน้าซ้ายเหยียบถัง ชูงวงขึ้นเหนือศีรษะ อยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยม มีเส้นโค้งลากจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่งของรูปหกเหลี่ยมเหมือนดาวรอบตัวช้าง เครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์และจำเลยจึงมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายในกรอบรูปหกเหลี่ยมเหมือนกัน ส่วนรูปช้างของจำเลยที่ยืนยกเท้าหน้าซ้ายเหยียบถัง ชูงวงขึ้น และเท้าทั้งสองคู่หน้าหลังยืนแยกออกจากกัน เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดของลักษณะการยืนและการวางงวงของรูปช้างในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวก 50 ชนิดสินค้ากระบะถือปูน ถังพลาสติกใส่ปูน เกรียงฉาบปูน ต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ แต่ก็เป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์ในจำพวกที่ 17 ซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้และได้โฆษณาทางสื่อมวลชนจนเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในหมู่ผู้รับเหมาก่อสร้างเรียกขานสินค้าของโจทก์ว่าตราช้างมาตั้งแต่ พ.ศ.2517 ก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำว่าตราช้างดังกล่าวใน พ.ศ.2529 ถึง 10 ปีเศษเครื่องหมายการค้ารูปช้างและคำว่าตราช้างของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์ จนอาจทำให้ประชาชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นของโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนจึงมีสิทธิตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2477 ที่จะฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนและให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าเดิมจนอาจทำให้สับสนและหลงผิด
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมี ข้อจำกัดไม่ให้สิทธิผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำว่า"ใช้งานหนักอย่างมั่นใจ"และคำว่า"คือคุณภาพ"ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่รูปช้างยืนอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยมและคำว่า"ตราช้าง"เมื่อเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนมีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายยกเข่าหน้าซ้ายงอเล็กน้อยลดงวงลงยืนอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ตัดกันรอบตัวช้างส่วนเครื่องหมายการค้ารูปช้างของจำเลยที่ขอจดทะเบียนมีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายยกเท้าหน้าซ้ายเหยียบถังชูงวงขึ้นเหนือศีรษะอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยมมีเส้นโค้งลากจากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่งของรูปหกเหลี่ยมเหมือนดาวรอบตัวช้างเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์และจำเลยจึงมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ตัวช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายในกรอบรูปหกเหลี่ยมเหมือนกันส่วนรูปช้างของจำเลยที่ยืนยกเท้าหน้าซ้ายเหยียบถังชูงวงขึ้นและเท้าทั้งสองคู่หน้าหลังยืนแยกออกจากกันเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดของลักษณะการยืนและการวางงวงของรูปช้างในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเล็กน้อยเท่านั้นแม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวก50ชนิดสินค้ากระบะถือปูนถังพลาสติกใส่ปูนเกรียงฉาบปูนต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์แต่ก็เป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์ในจำพวกที่17ซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้และได้โฆษณาทางสื่อมวลชนจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ผู้รับเหมาก่อสร้างเรียกขานสินค้าของโจทก์ว่าตราช้างมาตั้งแต่พ.ศ.2517ก่อนจำเลยยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำว่าตราช้างดังกล่าวในพ.ศ.2529ถึง10ปีเศษเครื่องหมายการค้ารูปช้างและคำว่าตราช้างของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้ารูปช้างของโจทก์จนอาจทำให้ประชาชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นของโจทก์โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนจึงมีสิทธิตามมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2477ที่จะฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนและให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้มิได้จดทะเบียนตามมาตรา 525
การอุทิศที่ดินให้ใช้เป็นทางสาธารณะเป็นการสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304ไม่จำต้องจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา525ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันจนอาจทำให้เกิดความสับสนและหลงผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกเมื่อ พ.ศ.2520 คือ อักษรโรมันกับอักษรภาษาไทยคำว่าCOOK กับ กุ๊ก โจทก์ได้ผลิตสินค้าน้ำมันพืชที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจำหน่ายและโฆษณาสินค้านั้นจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายของสาธารณชน ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนเมื่อ พ.ศ.2532 ในสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกก็เป็นอักษรโรมันและอักษรภาษาไทยเช่นเดียวกันคือ คำว่า COOK MATE กับ กุ๊คเมทโดยจำเลยไม่เคยผลิตน้ำมันพืชออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ดังนี้เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างเป็นเครื่องหมายประเภทคำ มีอักษรโรมันคำว่า COOKซ้ำกันและเขียนด้วยตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่อย่างเดียวกัน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเขียนด้วยอักษรภาษาไทยว่า กุ๊ก ส่วนของจำเลยเขียนว่า กุ๊ค แต่การ-ออกเสียงในภาษาไทยทั้งสองคำก็ไม่ต่างกัน เครื่องหมายการค้าทั้งสองคำจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่การอ่านออกเสียงหรือสำเนียงเรียกขานคำว่า COOK เป็นหลักเพราะเรียกขานและจดจำได้ง่าย การใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนที่พบเห็นสินค้าซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ได้ เพราะสินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าจำพวกเดียวกัน เครื่องหมายการค้าคำว่า COOK MATE และ กุ๊คเมท ของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า COOK และ กุ๊ก ของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 16 นายทะเบียนจึงไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยได้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณและความแพร่หลายในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ชอบที่จะขอให้ห้ามจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOK MATE และ กุ๊คเมท ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้เกิดความสับสนและเป็นการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสินค้าจำพวก42ทั้งจำพวกเมื่อพ.ศ.2520คือ อักษรโรมันกับอักษรภาษาไทยคำว่าCOOK กับกุ๊ก โจทก์ได้ผลิตสินค้าน้ำมันพืชที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจำหน่ายและโฆษณาสินค้านั้นจนเป็นที่รู้จัดแพ่งหลายของสาธารณชนส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนเมื่อพ.ศ.2532ในสินค้าจำพวก42ทั้งจำพวกก็เป็นอักษรโรมันและอักษรภาษาไทยเช่นเดียวกันคือคำว่าCOOKMATE กับกุ๊คเมท โดยจำเลยไม่เคยผลิตน้ำมันพืชออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวดังนี้เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำมีอักษรโรมันคำว่าCOOK ซ้ำกันและเขียนด้วยอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่อย่างเดียวกันแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเขียนด้วยอักษรภาษาไทยว่ากุ๊ก ส่วนของจำเลยเขียนว่ากุ๊คแต่การออกเสียงในภาษาไทยทั้งสองคำก็ไม่ต่างกันเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่การอ่านออกเสียงหรือสำเนียงเรียกขานคำว่าCOOK เป็นหลักเพราะเรียกขานและจดจำได้ง่ายการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนที่พบเห็นสินค้าซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ได้เพราะสินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOKMATE และกุ๊คเมท ของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOK และกุ๊ก ของCOOKที่ได้จดทะเบียนไว้จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา16นายทะเบียนจึงไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยได้การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณและความแพร่หลายในเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตโจทก์ชอบที่จะขอให้ห้ามจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOKMATE และกุ๊คเมท ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การรับฟังพยานบุคคลจึงมีข้อจำกัด และสัญญาจะให้ทรัพย์สินต้องจดทะเบียนจึงมีผลผูกพัน
สัญญาจะซื้อจะขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสอง บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง การรับฟังพยานหลักฐานในกรณีเช่นนี้ต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 กล่าวคือจะนำพยานบุคคลมาสืบว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติมหรือนอกเหนือไปจากที่ปรากฏในสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ จำเลยสัญญาว่ายินยอมจะไปโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นสัญญาหรือคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินซึ่งจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 526 แต่สัญญายินยอมให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดต่อโจทก์