พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1344/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ได้มาจากการซื้อขายจากผู้ฉ้อโกง: ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
เมื่อจำเลยรับซื้อรถยนต์พิพาทจากบุคคลซึ่งฉ้อโกงรถยนต์พิพาทจากโจทก์ จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท เพราะผู้ขายรถยนต์พิพาทไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้น เข้าหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยซื้อรถดังกล่าวจากผู้ที่ฉ้อโกงเอามาขายที่ร้านของจำเลยในบริเวณชุมนุมการค้ารถยนต์ไม่ใช่ซื้อจากร้านค้าใดร้านค้าหนึ่งที่อยู่ในชุมนุม การค้ารถยนต์นั้น จึงไม่ใช่เป็นการซื้อในท้องตลาด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 ดังนั้น จำเลยจะสุจริตหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับความคุ้มครองตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงต้องคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยขายรถยนต์แก่บุคคลภายนอกไปแล้วไม่อาจคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องใช้ราคารถแก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ซื้อมาพร้อมด้วยค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถและค่าเสื่อมสภาพรถคันพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายไม้ยางท่อนซุงที่ผิดสัญญา แต่ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง การกระทำเป็นเพียงผิดสัญญาแพ่ง
จำเลยตกลงขายไม้ยางท่อนซุงและรับเงินค่าไม้จากผู้เสียหายโดยเจตนาขายไม้ยางท่อนซุงที่จำเลยได้ตกลงซื้อไว้ แต่จำเลยไม่สามารถ จัดส่งไม้ยางท่อนซุงให้ผู้เสียหายได้ เพราะทางราชการไม่อนุญาตให้ ทำไม้ดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดสัญญาในทางแพ่ง เท่านั้น หาเป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกงไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีฉ้อโกงและการเป็นคำร้องทุกข์ของบริษัทที่ถูกต้องตามกฎหมาย
บริษัทโจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยระบุว่า นาย จ.มาแจ้งว่านาย จ. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 2 และต่อจากนั้นเป็นรายละเอียดข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงผู้แจ้ง จึงแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง และในช่องผู้แจ้งได้ลงลายมือชื่อของนาย จ. และนางสาว ศ. กรรมการของโจทก์อีกคนหนึ่งด้วย ดังนั้นที่ระบุไว้ในคำร้องทุกข์ว่า นาย จ. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่านาย จ. ร้องทุกข์ในฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ ทั้งมูลเหตุที่ผู้แจ้งอ้างว่าจำเลยทั้งสองฉ้อโกงนั้นเกิดจากการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงให้ผู้แจ้งซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวกับจำเลยที่ 2 เท่ากับอ้างว่าโจทก์ถูกฉ้อโกง และในช่องผู้แจ้งนอกจากจะลงลายมือชื่อนาย จ. แล้ว นางสาว ศ. กรรมการของโจทก์อีกคนหนึ่งก็ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ซึ่งตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ก็ปรากฏว่ากรรมการของโจทก์ที่มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทโจทก์ได้นั้นก็คือนาย จ. กับนางสาว ศ. ลงลายมือชื่อร่วมกัน คำร้องทุกข์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ของบริษัทโจทก์โดยชอบแล้วหาใช่เป็นคำร้องทุกข์ของนาย จ. ในฐานะส่วนตัวไม่ ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียเองได้ก็ตาม แต่เห็นว่าประเด็นนี้สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 927/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายไม้และการพิสูจน์เจตนาฉ้อโกง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
โจทก์ร่วมติดต่อค้าขายกับห้าง ส. ซึ่งมีจำเลยเป็นหุ้นส่วนเป็นเวลานานเกือบ 1 ปี การซื้อขายครั้งแรก ๆ โจทก์ร่วมก็ได้รับชำระหนี้แล้ว ส่วนการซื้อขายสองครั้งหลังที่เกิดเหตุ จำเลยก็มิได้ปฎิเสธ ว่ามิได้ซื้อหรือมิได้เป็นหนี้โจทก์ร่วมโดยรับว่าเป็นหนี้อยู่จริง แต่ขอประนอมหนี้โดยขอชำระหนี้เพียงร้อยละ 15โจทก์ร่วมเองก็ยอมรับว่าห้าง ส. เป็นหนี้ซื้อไม้จากโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนิติสัมพันธ์ในทางแพ่ง ดังนั้น การที่ห้าง ส. ซื้อไม้ครั้งเกิดเหตุแล้วไม่ชำระราคาแก่โจทก์ร่วมจึงเป็นเพียงการผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศเพื่อเอาทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิด พ.ร.บ. จัดหางานฯ หากเจตนาคือฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหาคนไปทำงานในประเทศสิงคโปร์ได้ มีงานให้ทำจำนวนมาก รายได้และสวัสดิการดี หากประสงค์จะไปทำงานจะต้องเสียค่าบริการแก่จำเลยคนละ 15,000 บาท ซึ่งเป็นความเท็จ เพราะความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถจัดหางานให้แก่คนงานในต่างประเทศได้ ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงมอบเงินให้จำเลยไป และจำเลยไม่สามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทำได้ เป็นคำฟ้องที่แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะจัดหางานให้ผู้เสียหาย เพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหาย ไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบคิดฉ้อโกง - พยานหลักฐานไม่เพียงพอ - ศาลยกฟ้อง
การที่จำเลยทั้งหกพูดคุยกันอยู่ในห้องพักของโรงแรมว่าจะเริ่มทำงานพรุ่งนี้เวลา 9 นาฬิกา โดยแบ่งเป็น 2 สาย สายหนึ่งไปที่ตลาดโคกมะตูมอีกสายหนึ่งจะไปทางห้างสรรพสินค้าท็อปแลนด์ระหว่างที่จำเลยทั้งหกพูดคุยกันมีการนำเอาสร้อยเส้นใหญ่ออกมาแสดงวิธีการทำงานด้วยการกระทำดังกล่าวชี้ให้เห็นไม่ได้ว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันวางแผนเพื่อฉ้อโกงประการใด และการที่จำเลยทั้งหกมีของกลาง 11 รายการ ตามที่ยึดมาก็มิใช่ข้อที่ชี้ให้เห็นว่ามีไว้เพื่อการหลอกลวงผู้อื่นให้หลงเชื่อเพื่อให้ได้ทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกลวง อันจะเป็นข้อแสดงว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันวางแผนเพื่อกระทำผิดฐานฉ้อโกง จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งหกกระทำผิดฐานเป็นช่องโจรตามฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อโกง: เริ่มนับเมื่อรู้ถูกหลอกลวง ไม่ใช่เมื่อมีหลักฐาน
โจทก์ร่วมรู้ถึงการหลอกลวงตั้งแต่เดือนกันยายน 2527 แม้เพิ่งมีหลักฐานเมื่อเดือนธันวาคม 2527 แสดงว่าจำเลยฉ้อโกง ก็เป็นเรื่องของการหาหลักฐานในการดำเนินคดี อันเป็นคนละกรณีกับที่โจทก์ร่วมรู้ว่าถูกหลอกลวง อายุความต้องเริ่มนับแต่เดือนกันยายน 2527โจทก์ร่วมร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์2528 จึงเกินกำหนด 3 เดือน เมื่อเป็นคดีความผิดอันยอมความได้คดีจึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6196/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจัดหางาน: แม้มีการดำเนินการบางส่วน แต่เจตนาหลอกลวงเพื่อรับเงินชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องในฐานความผิดฉ้อโกงมีใจความว่าจำเลยกับพวกรับสมัครคนหางานเพื่อส่งไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน หากบุคคลใดต้องการไปทำงาน และเมื่อเสียค่าบริการให้แก่จำเลยกับพวกแล้วจำเลยกับพวกจะส่งบุคคลนั้นไปทำงานยังประเทศไต้หวันตามที่ต้องการซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยกับพวก มิได้รับอนุญาตให้จัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย จำเลยกับพวกไม่มีความสามารถจัดส่งคนงานไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน และไม่มีเจตนาที่จะส่งคนงานไปทำงานที่ประเทศไต้หวันดังที่จำเลยกับพวกกล่าวอ้าง เช่นนี้คำฟ้องของโจทก์ได้ความโดยชัดแจ้งว่าจำเลยมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่โจทก์ร่วมกับผู้เสียหาย จำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายว่าจะส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศไต้หวันก็เพื่อที่จะได้รับเงินค่าบริการจากโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคแรก จำเลยเป็นผู้ชักชวนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน โดยอ้างว่าเคยส่งคนไปทำงานมาแล้ว และเรียกค่าบริการจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหาย จำเลยรับเงินจากโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายไปแล้วไม่ดำเนินการให้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายได้เดินทางไปทำงานตามที่จำเลยพูดรับรองไว้ ทั้งไม่ยอมคืนเงินให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายโดยไม่มีเจตนาที่จะจัดหางานให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5867/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจากการเช่าช่วงที่ไม่มีสิทธิ ศาลเชื่อพยานหลักฐานยืนยันการหลอกลวงผู้เสียหาย
จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยได้เช่าห้องเช่า เกสท์เฮาส์มาจาก บ. มีกำหนดเวลา 9 ปี จำเลยดำเนินกิจการมาแล้ว 2 ปี เหลือเวลาอีก 7 ปี สามารถที่จะให้ ผู้เสียหายเช่าช่วงไปดำเนินกิจการต่อได้ตามกำหนดดังกล่าว ผู้เสียหายหลงเชื่อตกลงทำสัญญาเช่าช่วงจากจำเลยความจริง จำเลยทำสัญญาเช่าจาก บ. ไว้เพียง 3 ปี และไม่มีสิทธิจะให้เช่าช่วงได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก บ. การหลอกลวงของจำเลยทำให้จำเลยได้ไปซึ่งทรัพย์สินจาก ผู้เสียหาย และทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายไม่ได้รับสิทธิการเช่าจาก บ. ตามกำหนดเวลาที่ทำไว้กับจำเลยการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมในการออกเช็คเพื่อฉ้อโกง แม้ไม่ได้ลงลายมือชื่อ
แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้เป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท แต่การที่จำเลยที่ 4เป็นกรรมการผู้มีอำนาจแล้วยังเป็นผู้ดำเนินกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 และได้ร่วมกับจำเลยที่ 2ที่ 3 ในการออกเช็คชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยวางแผนแบ่งหน้าที่ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ด้วยการกรอกรายการ และลงลายมือชื่อในเช็คแล้วจำเลยที่ 4 รับมาตรวจและประทับตราสำคัญจำเลยที่ 1 อันทำให้รายการของเช็คสมบูรณ์เป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย ดังนี้ ถือว่าจำเลยที่ 4 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในการออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจว่า จำเลยร่วมกันออกเช็คที่มีรายการสมบูรณ์เป็นตราสารชำระหนี้ตามกฎหมายตามสำเนาภาพถ่ายเช็คและหลักฐานการปฏิเสธการจ่ายเงินของธนาคารที่แนบมาท้ายฟ้อง เป็นฟ้องที่บรรยายการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิดเพียงพอที่ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจว่า จำเลยร่วมกันออกเช็คที่มีรายการสมบูรณ์เป็นตราสารชำระหนี้ตามกฎหมายตามสำเนาภาพถ่ายเช็คและหลักฐานการปฏิเสธการจ่ายเงินของธนาคารที่แนบมาท้ายฟ้อง เป็นฟ้องที่บรรยายการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิดเพียงพอที่ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม