พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีประมาทจากอุบัติเหตุรถชน เมื่อศาลเคยพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายแล้ว ฟ้องใหม่เป็นฟ้องต้องห้าม
คดีก่อนจำเลยได้เคยยื่นฟ้องโจทก์ให้ใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ชนกันศาลชั้นต้นพิพากษาไปแล้ว คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ โจทก์จึงได้ยื่นฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายรายเดียวกันอีก เมื่อคดีทั้งสองมีประเด็นอย่างเดียวกันและคู่ความรายเดียวกัน และศาลได้พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลยโดยวินิจฉัยถึงข้อที่โจทก์ยกขึ้นเป็นข้ออ้างในคดีนั้นว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อในการกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทนนั้นด้วยฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์หลัง 3 ปี: สิทธิโอน-ชดใช้ค่าเสียหาย
ทำสัญญาเช่าสวนมีกำหนดเวลาเช่า 10 ปีโดยไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าว่า ถ้าผู้ให้เช่า (จำเลย) โอนกรรมสิทธิ์ที่เช่าไปก่อนหมดกำหนดเวลาเช่า ผู้ให้เช่าจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า(โจทก์) เช่าสวนมาได้ 8 ปีเศษผู้ให้เช่าจึงโอนขายที่สวนแปลงนี้ไปนั้น เมื่อปรากฏว่า สิ้นกำหนดเวลาสามปีแล้ว โจทก์ยังคงเช่าอยู่ต่อไปจึงต้องถือว่าเป็นอันทำสัญญาเช่ากันใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 จริงอยู่คู่กรณีอาจต้องผูกพันตามข้อสัญญาเดิมต่อไปแต่ก็จำต้องพิจารณาข้อสัญญานั้นเป็นเรื่องๆ ไปข้อสัญญาใดมีสภาพที่จะผูกพันกันได้ ก็ย่อมผูกพันกัน แต่ถ้าข้อสัญญาใดโดยสภาพไม่อาจผูกพันกันต่อไปได้ ก็ย่อมไม่ผูกพัน เมื่อสัญญาเช่ารายนี้เปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลาไปเสียแล้วจึงไม่มีกำหนดเวลาที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่กันฉะนั้น การที่จำเลย (ผู้ให้เช่า) โอนขายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้อื่นไปเมื่อการเช่าล่วงเลยกว่าสามปีไปแล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับของสัญญา จำเลยมีสิทธิโอนขายได้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกเอาค่าเสียหายแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เกี่ยวกับการฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และการพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามศาลชั้นต้นในประเด็นฉ้อโกงและจำกัดขอบเขตการชดใช้ค่าเสียหาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 นั้นเมื่อกรณีเป็นการฉ้อโกงเอาหนังสือสัญญากู้ไป ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปก็คือหนังสือกู้ พนักงานอัยการคงเรียกคืนได้แต่ตัวหนังสือสัญญาเท่านั้น จะขอมาด้วยว่า ถ้าหากจำเลยส่งสัญญาไม่ได้ให้ใช้เงินอันเป็นหนี้ตามสัญญาแทนนั้น หาได้ไม่ เพราะไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินที่มีราคาตามหนี้ในสัญญากู้ แม้หนังสือสัญญากู้สูญหายไปก็ยังฟ้องร้องเรียกหนี้กันได้มิใช่ว่าหนี้นั้นจะพลอยสูญไปด้วย หนี้ตามสัญญากู้มีอย่างไร ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเป็นการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้คงพิพากษาแก้แต่เพียงว่า โจทก์จะขอเข้ามาในคดีนี้ว่า ถ้าจำเลยคืนสัญญากู้ไม่ได้ ให้จำเลยใช้เงินแทนไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินเป็นคดีแพ่งขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้เงินหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กู้เงินผู้เสียหาย ฯลฯ เอาโฉนดที่ดิน 5 โฉนดมอบให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกันฯลฯ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะโอนโฉนดให้ผู้เสียหาย ฯลฯ แล้วเพทุบายขอรับโฉนดไปจากผู้เสียหายว่าจะเอาไปทำการโอนให้ตามข้อตกลงแต่จำเลยโอนให้เพียง 2 โฉนด ฯลฯ กับต่อมาวันที่3-4 ตุลาคม 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า จำเลยได้โอนโฉนดให้เรียบร้อยแล้วรอแต่วันรับโฉนดเท่านั้นผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องยึดหนังสือสัญญากู้ไว้ ผู้เสียหายหลงเชื่อได้มอบหนังสือสัญญากู้ให้จำเลยไป ทั้งนี้ ตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ส่งโฉนดและรับไปแล้วได้ฉ้อโกงเอาไว้ และมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งหนังสือสัญญากู้ ฯลฯดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโฉนดที่โจทก์หาว่าจำเลยฉ้อโกงนั้นไม่ได้อยู่กับผู้เสียหาย ก็ยังอาจฟังว่าจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยได้ขอให้หอทะเบียนโอนโฉนดเหล่านั้นให้แล้ว ผู้เสียหายจึงคืนสัญญากู้ให้จำเลยไป เพราะเป็นคนละเหตุทั้งข้อหาว่าจำเลยฉ้อโกงโฉนดและข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ต่างกรรมต่างวาระกัน แยกได้เป็น 2 กระทง(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2507)
(หมายเหตุ (1) จำเลยขอให้รับรองฎีกาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามจึงไม่รับรองให้และสั่งรับฎีกาจำเลยแต่ศาลฎีกาเห็นว่าเฉพาะฎีกาข้อเท็จจริงข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และข้อหาปลอมหนังสือต้องห้าม จึงไม่วินิจฉัยให้
(2) ที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปลอมหนังสือไว้ด้วยแต่ปรากฏว่าฎีกาจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้ามจึงไม่ปรากฏข้อวินิจฉัยตามมติดังกล่าวในคำพิพากษา)
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเป็นการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้คงพิพากษาแก้แต่เพียงว่า โจทก์จะขอเข้ามาในคดีนี้ว่า ถ้าจำเลยคืนสัญญากู้ไม่ได้ ให้จำเลยใช้เงินแทนไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินเป็นคดีแพ่งขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้เงินหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กู้เงินผู้เสียหาย ฯลฯ เอาโฉนดที่ดิน 5 โฉนดมอบให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกันฯลฯ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะโอนโฉนดให้ผู้เสียหาย ฯลฯ แล้วเพทุบายขอรับโฉนดไปจากผู้เสียหายว่าจะเอาไปทำการโอนให้ตามข้อตกลงแต่จำเลยโอนให้เพียง 2 โฉนด ฯลฯ กับต่อมาวันที่3-4 ตุลาคม 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า จำเลยได้โอนโฉนดให้เรียบร้อยแล้วรอแต่วันรับโฉนดเท่านั้นผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องยึดหนังสือสัญญากู้ไว้ ผู้เสียหายหลงเชื่อได้มอบหนังสือสัญญากู้ให้จำเลยไป ทั้งนี้ ตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ส่งโฉนดและรับไปแล้วได้ฉ้อโกงเอาไว้ และมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งหนังสือสัญญากู้ ฯลฯดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโฉนดที่โจทก์หาว่าจำเลยฉ้อโกงนั้นไม่ได้อยู่กับผู้เสียหาย ก็ยังอาจฟังว่าจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยได้ขอให้หอทะเบียนโอนโฉนดเหล่านั้นให้แล้ว ผู้เสียหายจึงคืนสัญญากู้ให้จำเลยไป เพราะเป็นคนละเหตุทั้งข้อหาว่าจำเลยฉ้อโกงโฉนดและข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ต่างกรรมต่างวาระกัน แยกได้เป็น 2 กระทง(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2507)
(หมายเหตุ (1) จำเลยขอให้รับรองฎีกาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามจึงไม่รับรองให้และสั่งรับฎีกาจำเลยแต่ศาลฎีกาเห็นว่าเฉพาะฎีกาข้อเท็จจริงข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และข้อหาปลอมหนังสือต้องห้าม จึงไม่วินิจฉัยให้
(2) ที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปลอมหนังสือไว้ด้วยแต่ปรากฏว่าฎีกาจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้ามจึงไม่ปรากฏข้อวินิจฉัยตามมติดังกล่าวในคำพิพากษา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: การบุกรุกที่ดินและการชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งทางแพ่งและทางอาญารวมกันมา หาว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทของโจทก์และนำข้อความเท็จแจ้งพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกที่นา (แปลงเดียวกัน) ของจำเลย ขอให้ลงโทษและใช้ค่าเสียหาย คดีส่วนอาญา ศาลชั้นต้นสั่งคดีมีมูลเฉพาะข้อหาแจ้งข้อความเท็จ ส่วนเรื่องบุกรุกโต้เถียงกรรมสิทธิ์ว่าเป็นกรณีทางแพ่งก็รับไว้พิจารณาจำเลยให้การปฏิเสธและฟ้องแย้งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย โจทก์บุกรุก ขอให้ใช้ค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยในทางแพ่ง ดังนี้ ในส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 ศาลก็ต้องถือตามข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย โจทก์บุกรุก ซึ่งเป็นละเมิด โจทก์ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับสภาพหนี้และการสะดุดหยุดอายุความจากการเจรจาชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยรับฝากสินค้าราคาสองหมื่นบาทเศษของโจทก์ไว้ แล้วสินค้านั้นสูญหายไป จำเลยจึงมีหนังสือยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ 5,000 บาท โจทก์ปฏิเสธ ต่อมาได้มีการเจรจากันอีก จำเลยมีหนังสือยอมใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ครึ่งหนึ่งของราคาสินค้า แต่โจทก์ก็ไม่ตกลง ดังนี้ เห็นได้ว่า เอกสารทั้ง 2 ฉบับ ที่จำเลยยอมชดใช้ค่าสินค้าที่หายรายนี้ให้โจทก์นั้น เป็นการับแล้วว่าหนี้ค่าสินค้าของโจทก์ที่หายไปมีอยู่จริง เรียกได้ว่าจำเลยยอมรับสภาพหนี้ชดใช้ค่าสินค้าของโจทก์ที่หายไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตกลงชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดเพื่อระงับข้อพิพาท
น้องชายจำเลยฉุดคร่าพาบุตรสาวที่อยู่ในความปกครองของโจทก์ไป อันเป็นการละเมิด เมื่อจำเลยมาขอขมาผูกพันทำสัญญาให้เงินแก่โจทก์เป็นการตอบแทนที่โจทก์ยอมให้บุตรได้อยู่กินกับน้องจำเลยนั้น สัญญาเช่นนี้ เป็นสัญญาตกลงกันระงับข้อพิพาทอันปรับได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งบังคับกันได้ตามกฎหมาย หาใช่เป็นการให้ตามหน้าที่ในทางศีลธรรมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญายอมความระงับข้อพิพาทแล้ว ไม่อาจนำข้อพิพาทเดิมมาโต้แย้งได้อีก และศาลไม่บังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายหากไม่มีการขอไว้
ในคดีก่อน โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า โจทก์จำเลยเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินแปลงพิพาท และจำเลยยอมรับว่า ได้อาศัยอยู่ในที่ดินนี้ตอนเหนือจนกว่า โจทก์จำเลยจะได้ทำการแบ่งที่ดินกัน ศาลพิพากษาตามยอม เมื่อโจทก์ฟ้องขอแบ่งแยกที่ดินรายนี้ในคดีหลัง จำเลยจะอ้างว่าได้ครอบครองที่พิพาทตอนเหนือโดยปรปักษ์จะได้กรรมสิทธิ์แล้ว และจะขอนำพยานสืบประกอบในข้อนี้หาได้ไม่เพราะข้อพิพาทอันนี้ได้ระงับไปโดยสัญญายอมในคดีก่อนแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินและห้องแถว ในคำขอท้ายฟ้องมีว่า ถ้าไม่สามารถตกลงแบ่งแยกกันได้ ก็ให้ขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันคนละครึ่ง โดยโจทก์ตีราคาที่ดินและห้องแถวส่วนที่ขอแบ่งมาในฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้คดีและจำเลยเสนอมาในคำให้การด้วยว่า เพื่อตัดความยุ่งยาก จำเลยยอมให้เงิน 20,000 บาท แก่โจทก์ เท่าที่โจทก์ตีราคามาในฟ้องแทนการต้องแบ่งที่รายนี้ เมื่อโจทก์ไม่ยอมตกลงด้วย ข้อเสนอของจำเลยนี้จึงเท่ากับเสนอขอซื้อที่ส่วนได้ของโจทก์ด้วยราคา 30,000 บาท นั่นเอง เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมด้วยและตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็มิได้ขอให้ชดใช้เงินทำนองนั้นด้วย แม้จะเป็นที่เห็นอยู่ว่า จำเลยอาจต้องเสียหายและเดือดร้อนเพราะการแบ่งแยกก็จริง ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะพึงบังคับให้ได้ตามข้อเสนอของจำเลย อนึ่ง เมื่อจำเลยมิได้ต่อสู้ตั้งเป็นประเด็นไว้ด้วยว่า เพื่อมิให้เสียหายและเดือดร้อนแก่จำเลยควรแบ่งกันอย่างไร โดยทดแทนเงินกันเพียงใด จึงจะสมควรตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 1364 จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินและห้องแถว ในคำขอท้ายฟ้องมีว่า ถ้าไม่สามารถตกลงแบ่งแยกกันได้ ก็ให้ขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันคนละครึ่ง โดยโจทก์ตีราคาที่ดินและห้องแถวส่วนที่ขอแบ่งมาในฟ้องเป็นเงิน 30,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้คดีและจำเลยเสนอมาในคำให้การด้วยว่า เพื่อตัดความยุ่งยาก จำเลยยอมให้เงิน 20,000 บาท แก่โจทก์ เท่าที่โจทก์ตีราคามาในฟ้องแทนการต้องแบ่งที่รายนี้ เมื่อโจทก์ไม่ยอมตกลงด้วย ข้อเสนอของจำเลยนี้จึงเท่ากับเสนอขอซื้อที่ส่วนได้ของโจทก์ด้วยราคา 30,000 บาท นั่นเอง เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมด้วยและตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็มิได้ขอให้ชดใช้เงินทำนองนั้นด้วย แม้จะเป็นที่เห็นอยู่ว่า จำเลยอาจต้องเสียหายและเดือดร้อนเพราะการแบ่งแยกก็จริง ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะพึงบังคับให้ได้ตามข้อเสนอของจำเลย อนึ่ง เมื่อจำเลยมิได้ต่อสู้ตั้งเป็นประเด็นไว้ด้วยว่า เพื่อมิให้เสียหายและเดือดร้อนแก่จำเลยควรแบ่งกันอย่างไร โดยทดแทนเงินกันเพียงใด จึงจะสมควรตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 1364 จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลละเลยหน้าที่จัดการความปลอดภัยทางถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยเป็นเทศบาลละเว้นหน้าที่อันจะต้องกระทำ กล่าวคือ จัดให้ถมบ่อทำให้เป็นพื้นเดียวกับพื้นถนนเสียก่อนที่จะเปิดถนนให้รถผ่านไปมาได้ ทั้งยังปรากฏว่า จำเลยมิได้จัดให้มีสิ่งกีดกั้นบ่อนี้เป็นเครื่องหมายให้สะดุดตาแก่ผู้ที่ผ่านไปมาและในเวลากลางคืนก็มิได้จัดให้มีโคมไฟจุดให้ความสว่างตามสมควร จำเลยย่อมเห็นได้อยู่แล้วว่าเป็นสิ่งอันตรายแก่รถและผู้คนสัญจรไปมาอย่างมากที่จะปล่อยให้มีบ่ออยู่เช่นนั้น จนเป็นเหตุให้รถโจทก์ขับไปชนขอบบ่อนี้เข้าและเกิดการเสียหายขึ้นดังนี้ต้องถือว่า เป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลละเลยหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุและเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยเป็นเทศบาลละเว้นหน้าที่อันจะต้องกระทำ กล่าวคือจัดให้ถมบ่อทำให้เป็นพื้นเดียวกับพื้นถนนเสียก่อนที่จะเปิดถนนให้รถผ่านไปมาได้ ทั้งยังปรากฏว่า จำเลยมิได้จัดให้มีสิ่งกีดกั้นบ่อนี้เป็นเครื่องหมายให้สดุดตาแก่ผู้คนที่ผ่านไปมา และในเวลากลางคืนก็มิได้จัดให้มีโคมไฟจุดให้ความสว่างตามสมควร จำเลยย่อมเห็นได้อยู่แล้วว่าเป็นสิ่งอันตรายแก่รถและผู้คนสัญจรไปมาอย่างมากที่จะปล่อยให้มีบ่ออยู่เช่นนั้น จนเป็นเหตุให้รถโจทก์ขับไปชนขอบบ่อนี้เข้าและเกิดการเสียหายขึ้น ดังนี้ต้องถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617-1618/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนทรัพย์สินในที่เช่า: เจตนาทำให้เสียทรัพย์ vs. ละเมิดและการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยเป็นไวยาวัจกรของวัด ได้บอกกล่าวให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งต้นไม้ที่ปลูกล้ำที่เช่าวัดออกมา เพื่อทางวัดจะได้ขุดคูไปให้ทะลุคลอง ตามที่ได้ตกลงจ้างเขาไว้ โจทก์รับทราบและว่าจะจัดการแล้วต่อมาไม่จัดการ ประวิงเวลาไว้จนสัญญาที่ทางวัดจ้างผู้ขุดจะหมดจำเลยจึงได้เข้าจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและตัดต้นไม้ที่ล้ำนอกเขตเช่า โดยระมัดระวังพยายามให้เกิดการเสียหายน้อยที่สุด เพื่อขุดคลองแล้วนำไปกองไว้ให้โจทก์เช่นนี้ จำเลยยังไม่มีผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เพราะมิได้มีเจตนาทำให้เสียทรัพย์แต่จำเลยต้องรับผิดในการละเมิดที่ทำแก่ทรัพย์ของโจทก์ ไม่ได้รับการยกเว้นตามประมวลแพ่งมาตรา 451 นอกจากค่าเสียหายธรรมดาแล้วศาลยังคิดค่าเสียหายให้ตามประมวลแพ่งฯ มาตรา 446 อีกโสดหนึ่งด้วย