พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2998/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทร่วมกันทำให้คดีไม่ขาดอายุความ แม้ฟ้องเกิน 1 ปี
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ตกลงเรื่องทรัพย์มรดกโดยให้ขายที่ดินบางส่วนนำเงินมาทำศพเจ้ามรดกนอกจากนี้บุตรโจทก์ก็ได้เข้าไปไถที่นามรดก ถือได้ว่าโจทก์ได้ร่วมครอบครองทรัพย์มรดกกับจำเลย โดยยังมิได้แบ่งปันทรัพย์มรดกกันเป็นสัดส่วน แม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอตั้งผู้จัดการมรดกไม่ใช่ฟ้องเรียกทรัพย์ ไม่อยู่ในอายุความ 1 ปี
คดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกไม่ใช่คดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดกไม่อยู่ในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอตั้งผู้จัดการมรดกมิใช่ฟ้องเรียกทรัพย์มรดก ไม่อยู่ในอายุความ และมีทรัพย์มรดกที่จะต้องจัดการ
คดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกไม่ใช่คดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดกไม่อยู่ในอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกที่ไม่สมเหตุผลและการยึดทรัพย์: จำเลยยังคงมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกอยู่
การที่จำเลยขอกู้เงินโจทก์และในวันเดียวกันนั้นได้แสดงเจตนาขอสละทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องทั้งที่ตนไม่มีทรัพย์อื่นอีก และผู้ร้องเป็นผู้เยาว์ยังอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลย พฤติการณ์การสละมรดกยังไม่สมเหตุผล ถือว่าเพียงแต่ให้ผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดกไว้แทนเท่านั้น จำเลยยังคงเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์มรดกผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์มรดก และโจทก์ยึดทรัพย์มรดกได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ ปัญหามีว่า ทรัพย์มรดกยังเป็นของจำเลยหรือไม่ การที่ศาลวินิจฉัยว่า การสละมรดกของจำเลยเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันตกเป็นโมฆะ ผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกแทนจำเลยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2188/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ขอบเขตและผลผูกพัน
โจทก์จำเลยได้ เจรจากันเรื่องทรัพย์มรดกของบิดามารดา ฝ่ายจำเลยเสนอให้โคแก่โจทก์ 3 ตัว เท่านั้น ฝ่ายโจทก์ยืนยันจะขอแบ่งที่นาด้วยและโจทก์จำเลยลงชื่อไว้ในบันทึกเช่นนี้ ถือว่าบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยในเรื่องทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ที่ดิน เมื่อโจทก์ได้รับโคไป 3 ตัว ตาม ข้อตกลงดังกล่าวแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอแบ่งทรัพย์สินอื่นจากจำเลยได้ เว้นแต่ที่ดินซึ่ง เดิม เป็นทรัพย์มรดกของบิดามารดา และบ้านซึ่ง เป็นส่วนควบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์มรดกจากทายาทและผู้รับโอน โดยพิจารณาจากวันที่รู้หรือควรรู้ถึงการเสียชีวิตของเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องว่า มารดาโจทก์กับ ม. ซึ่ง เป็นมารดาของเจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำสัญญาแบ่งมรดก จึงขอเรียกทรัพย์มรดกส่วนที่ ม. รับไปคืนจากจำเลยทั้งสี่ซึ่ง เป็นผู้รับโอนเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกคืนจากทายาท ต้อง ฟ้องภายในกำหนดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
ในขณะที่ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วย กฎหมายของเจ้ามรดกนั้นโจทก์มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ถือได้ว่าโจทก์โดย มารดารู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตั้งแต่ วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
จำเลยทั้งสี่เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกจาก ม. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมเป็นบุคคลซึ่ง ชอบที่จะใช้ สิทธิของทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755
ในขณะที่ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วย กฎหมายของเจ้ามรดกนั้นโจทก์มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ถือได้ว่าโจทก์โดย มารดารู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตั้งแต่ วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
จำเลยทั้งสี่เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกจาก ม. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมเป็นบุคคลซึ่ง ชอบที่จะใช้ สิทธิของทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์มรดกจากทายาท: เริ่มนับเมื่อรู้ถึงการเสียชีวิตของเจ้ามรดก
โจทก์เป็นบุตรของเจ้ามรดกซึ่งเกิดกับ ส. แต่ขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโจทก์ยังไม่คลอด คงมีแต่ ม. มารดาของเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ ม. จึงเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629(2) หลังจาก ส. มารดาโจทก์คลอด โจทก์แล้วโจทก์โดย ส. ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่ว่า ส. มารดาโจทก์กับ ม. มารดาเจ้ามรดก ซึ่งต่างเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ไม่มีอำนาจทำสัญญาแบ่งมรดกของเจ้ามรดก โจทก์จึงขอเรียกทรัพย์มรดกส่วนที่ ม.รับไปคืนจากจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้รับโอน ดังนี้ เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกคืนจากทายาท ต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 1 ปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อโจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 เมื่อศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2522 ขณะนั้นโจทก์มี ส.มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมถือได้ว่าโจทก์โดย ส. ได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์มาฟ้องเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2525 เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความจำเลยทั้งสี่เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกจาก ม. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมย่อมเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1755.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากทายาทโดยธรรม และสิทธิยกอายุความของผู้รับโอน
โจทก์ฟ้องว่า มารดาโจทก์กับ ม. ซึ่งเป็นมารดาของเจ้ามรดกไม่มีอำนาจทำสัญญาแบ่งมรดก จึงขอเรียกทรัพย์มรดกส่วนที่ ม.รับไปคืนจากจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้รับโอน เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกคืนจากทายาท ต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ในขณะที่ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกนั้น โจทก์มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ถือได้ว่าโจทก์โดยมารดารู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยทั้งสี่เป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกจาก ม. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1755
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอน/ตั้งผู้จัดการมรดก และการเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์มรดก สิทธิในการไต่สวนและอำนาจศาล
คำร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมและตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่แทนนั้น ตามปกติย่อมกระทำได้โดยยื่นคำร้องในคดีเดิม แต่ถ้าผู้ขอประสงค์จะกระทำแยกจากคดีเดิมเพราะมีคำขออื่นที่เกี่ยวเนื่องรวมอยู่ด้วยก็กระทำได้ โดยยื่นคำฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกัน กรณีเช่นนี้ไม่จำต้องประกาศคำฟ้องอีก ทายาทมีโอกาสทราบเพราะโจทก์ต้องส่งสำเนาคำฟ้องไปให้อยู่แล้ว และถือว่าเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดีเดิม ทั้งการสืบพยานในคดีดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนที่ชอบแล้ว หากมีเหตุสมควรต้องถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมและตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนและตั้งผู้จัดการมรดก, การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบ, พฤติการณ์ทุจริตของผู้จัดการมรดก
คำร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมและตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่แทนนั้น ตามปกติย่อมกระทำได้โดยยื่นคำร้องในคดีเดิมแต่ถ้าผู้ขอประสงค์จะกระทำแยกจากคดีเดิมเพราะมีคำขออื่นที่เกี่ยวเนื่องรวมอยู่ด้วยก็กระทำได้ โดยยื่นคำฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกัน กรณีเช่นนี้ไม่จำต้องประกาศคำฟ้องอีก ทายาทมีโอกาสทราบเพราะโจทก์ต้องส่งสำเนาคำฟ้องไปให้อยู่แล้ว และถือว่าเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดีเดิม ทั้งการสืบพยานในคดีดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนที่ชอบแล้ว หากมีเหตุสมควรต้องถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมและตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาได้