พบผลลัพธ์ทั้งหมด 764 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์และทุนทรัพย์ในคดีพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดก
อุทธรณ์ของจำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งหมดมิใช่ทรัพย์มรดก หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอุทธรณ์ จำเลยย่อมได้รับผลตามข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งคดีจึงเป็นคดีที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามราคาทรัพย์พิพาทคือ 54,000 บาท โดยไม่แยกทุนทรัพย์ตามที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง เมื่อที่พิพาทมีราคาเกินกว่าห้าหมื่นบาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีทรัพย์มรดก: ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องทุนทรัพย์เกินห้าหมื่นบาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งหมดมิใช่ทรัพย์มรดกหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอุทธรณ์จำเลยย่อมได้รับผลตามข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งคดีจึงเป็นคดีที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามราคาทรัพย์พิพาทคือ54,000บาทโดยไม่แยกทุนทรัพย์ตามที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องเมื่อที่พิพาทมีราคาเกินกว่าห้าหมื่นบาทจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: พิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินกับที่สาธารณสมบัติ, การคำนวณทุนทรัพย์ในคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเฉพาะส่วนที่ออกทับที่ของโจทก์จำนวน 45 ไร่ และเรียกค่าเสียหายอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ได้รับยกให้จากบิดา ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) จำเลยให้การว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันโจทก์มิใช่เจ้าของที่ดินดังกล่าว คดีจึงมีประเด็นว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท หาใช่มีทุนทรัพย์เพียงเท่าค่าเสียหายจำนวน 20,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามโจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ.มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมคดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์ คำขอหลักและต่อเนื่องมีผลต่อการฎีกา
ตามคำฟ้องโจทก์สามารถแยกข้อหาและคำขอบังคับออกได้เป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งคือ จำเลยที่ 2 ซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยรู้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์อยู่ก่อนแล้วทำให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1และที่ 2 ซึ่งคำขอในส่วนนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ อีกส่วนหนึ่งคือ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และรับชำระราคาบางส่วนไปแล้ว ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ พร้อมทั้งรับค่าที่ดินส่วนที่เหลือ ซึ่งคำขอในส่วนนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ ในคดีที่มีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกัน จะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ย่อมจะต้องพิจารณาว่าคดีนั้นมีคำขอใดเป็นหลัก คำขอใดเป็นคำขอที่ต่อเนื่อง คดีนี้โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อเพิกถอนแล้วจึงให้จำเลยที่ 1 โอนขายให้โจทก์พร้อมรับชำระราคาส่วนที่เหลือจึงถือว่าคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทเป็นคำขอหลัก คำขอให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายเป็นคำขอต่อเนื่อง จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่มีทุนทรัพย์ไม่ขัดแย้งกับคดีมีทุนทรัพย์ หากคำขอหลักคือการเพิกถอนนิติกรรม
คำฟ้องโจทก์สามารถแยกออกได้เป็นสองส่วน คือ จำเลยที่ 2ซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยรู้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์อยู่ก่อนแล้วทำให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งคำขอในส่วนนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง อีกส่วนหนึ่งคือ จำเลยที่ 1ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ซึ่งคำขอในส่วนนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่การที่จะวินิจฉัยคำขอในส่วนนี้ต้องวินิจฉัยคำขอในส่วนแรกเพื่อให้ได้ความว่ามีเหตุให้ต้องเพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินหรือไม่ก่อน และในกรณีที่เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกันจะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่าคดีนั้นมีคำขอใดเป็นหลักคำขอใดเป็นคำขอที่ต่อเนื่องซึ่งต้องถือว่าคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินเป็นคำขอหลักจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง: คดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์พิจารณาจากคำขอหลัก
คดีที่มีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกันจะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่นั้นต้องพิจารณาว่าคดีนั้นมีคำขอใดเป็นหลักคำขอใดเป็นคำขอที่ต่อเนื่องโจทก์มีคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1และที่2เมื่อเพิกถอนแล้วจึงให้จำเลยที่1โอนขายให้โจทก์พร้อมรับชำระราคาส่วนที่เหลือจึงถือว่าคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทเป็น คำขอหลักคำขอให้จำเลยที่1ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายเป็น คำขอต่อเนื่อง เมื่อคำขอหลักเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วคำขอต่อเนื่องแม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ในคดีแพ่ง: การคำนวณจากราคาที่พิพาทและค่าเสียหาย เพื่อกำหนดอำนาจศาลและขอบเขตการอุทธรณ์ฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลและให้จำเลยที่1โอนขายที่พิพาทให้โจทก์ที่1เนื้อที่ประมาณ71ตารางวา ในราคาตารางวาละ250บาทรวมเป็นเงิน17,750บาทตามสัญญาจะซื้อจะขายและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน10,000บาทโดยเสียค่าขึ้นศาลในส่วนของที่พิพาทในราคาตารางวาละ250บาทตามสัญญาจะซื้อจะขายศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลยังไม่ครบถ้วนโดยไม่ได้คำนวณราคาที่พิพาทจึงให้โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลให้ครบต่อมาได้มีการ คำนวณราคาที่พิพาทตารางวาละ1,000บาทรวมเป็นราคาที่พิพาท71,000บาทค่าเสียหายอีก10,000บาทรวมเป็น81,000บาทซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ในคดีนี้ดังนั้นจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในคดี ขณะยื่นคำฟ้องจึงเกินกว่า50,000บาทไม่ใช่ถือเอาทุนทรัพย์หรือราคาตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยเห็นว่าจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน50,000บาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งจึงไม่ชอบทั้งเป็นคดีที่ ต้องห้ามฎีกาใน ข้อเท็จจริง ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10134/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องค่าเสื่อมราคาและทุนทรัพย์ที่พิพาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อจำกัดด้านทุนทรัพย์และขอบเขตการฎีกา
คดีนี้จำเลยฎีกาว่าที่จำเลยหักค่าเสื่อมราคาร้อยละ ๓๐ เป็นการหักที่พอสมควรและเหมาะสมแล้ว การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยคืนเงินค่าสินค้าพิพาทแก่โจทก์โดยหักค่าเสื่อมราคาออกเพียงร้อยละ ๑๐ ของราคาสินค้านั้นไม่ถูกต้อง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงได้แก่ส่วนต่างของค่าเสื่อมราคาร้อยละ ๓๐ กับร้อยละ ๑๐ ของราคาสินค้าจำนวน ๒๙๖,๑๐๐ บาท ซึ่งคำนวณได้เป็นเงิน ๕๙,๒๒๐ บาท คดีของจำเลยจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท เมื่อจำเลยฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดเงินค่าสินค้าของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๔๘ วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมานั้นเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9127/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดนายจ้างต่อลูกจ้าง, อำนาจฟ้อง, ทุนทรัพย์พิพาท, และการยกฟ้องจำเลยที่ ๓
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 11,830 บาท ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คดีของจำเลยที่ 3 จะต้องห้ามฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งต้องห้ามฎีกาด้วยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247
จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คดีของจำเลยที่ 3 จะต้องห้ามฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งต้องห้ามฎีกาด้วยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9127/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง และอำนาจฟ้องที่จำกัดตามทุนทรัพย์ รวมถึงปัญหาอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 11,830 บาท ฎีกาของจำเลยที่ 2ที่ 3 เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยโจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คดีของจำเลยที่ 3 จะต้องห้ามฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องโจทก์ที่ 2ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งต้องห้ามฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246,247