คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บังคับคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,691 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาค่าเสียหายจากการเช่าซื้อผิดนัดและการวินิจฉัยเรื่องการคืนรถในชั้นบังคับคดี
แม้คำฟ้องของโจทก์จะระบุมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้าง แต่ตามคำบรรยายฟ้องและหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อตามเอกสารฟ้องกล่าวว่า การที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดสัญญาต่อโจทก์ จนโจทก์บอกเลิกสัญญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและขาดประโยชน์อันควรได้ในทางการค้าปกติคือ จำเลยที่ 1 ครอบครองใช้รถของโจทก์โดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 6 ถึงวันบอกเลิกสัญญาเป็นเงิน 76,643 บาท กับค่าใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อวันละ 400 บาท นับแต่วันที่โจทก์ บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อถึงวันฟ้องเป็นเงิน 68,400 บาท และนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาจนครบถ้วนพอถือได้ว่าโจทก์ได้เรียกร้องค่าเสียหายฐานใช้รถของโจทก์ ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังครอบครองอยู่ ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์และชำระค่าเสียหายรายเดือนนับแต่วันฟ้อง จนกว่าจะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคาแทนแต่ไม่เกินจำนวนเดือนที่ศาลกำหนดได้ ไม่เป็นการพิพากษา เกินคำขอและศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกนั้น หมายถึง คำขอของโจทก์ในส่วนที่มิได้กล่าวไว้ในคำพิพากษา ส่วนการคืนรถยนต์แก่โจทก์แล้วหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี
โจทก์กล่าวในคำแก้ฎีกาว่า ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาแก่โจทก์ตามฟ้อง แต่โจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งมรดก: เจ้าของรวมไม่ใช่เจ้าหนี้/ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิขอปล่อยทรัพย์
โจทก์ฟ้องจำเลยให้แบ่งมรดกของ ล. ให้แก่โจทก์ตามสัญญาแบ่งมรดก ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยแบ่งมรดกบางส่วนให้โจทก์ตามสัญญาแบ่งมรดก หากแบ่งกันไม่ได้ให้เอาออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันตามส่วน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์พิพาทเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาทดำเนินการเพื่อแบ่งทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวมเท่านั้น โจทก์และจำเลยจึงมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกัน กรณีไม่ใช่การร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องและจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีมรดก: เจ้าของรวมไม่ใช่เจ้าหนี้/ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
คดีเดิมโจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยให้แบ่งมรดกของ ล. ตามสัญญาแบ่งมรดก ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งมรดกบางส่วนให้โจทก์ทั้งสาม หากแบ่งกันไม่ได้ให้เอาออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกัน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสามได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาท จึงเป็นกรณีที่เจ้าของรวมดำเนินการเพื่อแบ่งทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวมเท่านั้น โจทก์ทั้งสามและจำเลยมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกัน จึงไม่ใช่การร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ผู้ร้องทั้งสองไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามมาตรา 288

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายบังคับคดีและการเพิกถอนการบังคับคดี: การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของจำเลยและการประเมินราคาขายทอดตลาด
จำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานของจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ซึ่งหากนับถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นเวลาห่างกันเกือบ 1 ปี แต่จำเลยไม่แจ้งเรื่องการย้ายภูมิลำเนาให้ศาลหรือโจทก์ทราบแต่อย่างใด พฤติการณ์บ่งชี้ให้เข้าใจได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะปกปิดภูมิลำเนาของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี อย่างไรก็ตาม น. ผู้จัดการทั่วไปของจำเลยเบิกความในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า น. มีภูมิลำเนาตามฟ้องซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของจำเลย ซึ่งแสดงว่า น. ยังคงทำงานอยู่ที่สำนักงานแห่งเดิมของจำเลยข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยมีที่ตั้งที่ทำการหลายแห่งและมีภูมิลำเนาตามฟ้องด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 69 การที่พนักงานเดินหมาย นำคำบังคับไปปิดไว้ที่อาคารซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิม จึงเป็นการ ส่งหมายโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีเพื่อหักกลบลบหนี้ต้องฟ้องในศาลเดียวกัน และคำสั่งศาลเป็นที่สุด
แม้คำร้องของจำเลยจะระบุว่าขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) แต่เนื้อหาในคำร้องเป็นการขอให้งดการบังคับคดีเพื่อขอหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 293 วรรคหนึ่ง ซึ่งต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ฟ้องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นคดีเรื่องอื่นในศาลเดียวกัน คดีนี้จำเลยฟ้องโจทก์ที่ศาลอื่นจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะหักกลบลบหนี้ได้ และเมื่อศาลมีคำสั่งตามคำร้องดังกล่าวไม่ว่าจะสั่งให้มีผลในทางใด คำสั่งของศาลย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 วรรคสาม จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษา: การวางเงินชำระหนี้ต้องถูกต้องครบถ้วนก่อนจดทะเบียนโอน หากวางเงินแล้วแต่มีเงื่อนไขเพิ่มเติม อาจถูกเพิกถอนได้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกานั้น เมื่อโจทก์จะรับโอนที่ดินพิพาทโดยถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย โจทก์มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าที่ดินมาวางศาลภายในกำหนดเพื่อชำระให้แก่จำเลยเสียก่อน การที่โจทก์นำเงินค่าที่ดินไปวางศาลแล้วต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงขอให้งดการจ่ายเงินไว้ก่อน เนื่องจากโจทก์เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียมและค่าภาษีในการโอนทั้งที่โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะขอหักกลบลบหนี้ได้เพราะคำพิพากษาศาลฎีกามิได้กำหนดให้จำเลยรับผิดชอบค่าธรรมเนียมและค่าภาษีในการโอนด้วย การวางเงินของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นการวางเงินที่จำเลยไม่อาจรับเงินที่วางไว้ได้ในทันที แสดงให้เห็นว่าโจทก์ซึ่งมีหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระตอบแทนให้แก่จำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิบังคับคดีโดยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์ได้ อย่างไรก็ดี แม้โจทก์ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์โดยมิชอบ แต่หลังจากนั้น ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งอนุญาตให้เบิกจ่ายเงินที่โจทก์นำมาวางศาลให้แก่จำเลยได้ซึ่งเมื่อโจทก์อุทธรณ์และฎีกา ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษายืนจำเลยจึงต้องรับเงินที่โจทก์นำมาวางศาลและถือได้ว่าทั้งโจทก์และจำเลยได้ปฏิบัติการชำระหนี้ต่างตอบแทนตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการบังคับคดีของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์บังคับคดี: กำหนดเวลา 14 วันนับจากวันส่งเงินถึงศาลผู้มีอำนาจ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290มีสาระสำคัญสองประการ ประการแรกเมื่อได้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วห้ามมิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ำอีก กับให้เจ้าหนี้รายอื่นมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นอีกประการหนึ่ง และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นเนื่องจากมาตรา 290 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องไว้จึงได้บัญญัติไว้ในวรรคห้าว่าในกรณีอายัดทรัพย์สิน ให้ยื่นคำขอเสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ และเป็นบทบัญญัติที่เชื่อมโยงมาจากวรรคหนึ่งจึงไม่จำต้องระบุศาลที่จะรับคำร้องไว้ในวรรคห้าซ้ำอีกเพราะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายถึงศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีศาลจังหวัดทุ่งสงบังคับคดีตามหมายอายัดแทนศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 แล้วส่งเงินที่ถูกอายัดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2542การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชวันที่ 29 มกราคม 2542 จึงอยู่ในระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการต่อหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วน และอำนาจศาลในการบังคับคดี
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแก่โจทก์ ส่วนจำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างดังกล่าวมิใช่ผู้ที่ถูกประเมิน จึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้งการประเมินให้แก่จำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ให้ชำระหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ของห้างได้โดยไม่ต้องแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยก่อน
ป.พ.พ.มาตรา 1071 ประกอบมาตรา 1080 ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในการบังคับคดีโดยจะให้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อน หรือจะให้บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นลูกหนี้ก็ได้ ซึ่งแตกต่างกับกรณีเป็นผู้ค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันสามารถจะใช้สิทธิเรียกร้องให้เจ้าหนี้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 688 อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดห้ามโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดมิให้ฟ้องร้องหุ้นส่วนผู้จัดการโดยต้องไปบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดหนี้ห้างหุ้นส่วนจำกัด: ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้โดยไม่ต้องบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของห้างก่อน
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแก่โจทก์ ส่วนจำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างดังกล่าวมิใช่ผู้ที่ถูกประเมินจึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานประเมินจะแจ้ง การประเมินให้แก่จำเลย ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการ ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ให้ชำระหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ของห้างได้โดย ไม่ต้องแจ้งการประเมินให้จำเลยก่อน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1071 ประกอบมาตรา 1080ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในการบังคับคดีโดยจะให้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อน หรือจะให้บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นลูกหนี้ก็ได้ ซึ่งแตกต่างกับกรณีเป็นผู้ค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันสามารถจะใช้สิทธิเรียกร้องให้เจ้าหนี้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนตามมาตรา 688 อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใด ห้ามโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดมิให้ฟ้องร้องหุ้นส่วนผู้จัดการ โดยต้องไปบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดก่อนการที่โจทก์ฟ้องจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8296/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ทางภาษี: การอุทธรณ์ไม่ทุเลาการบังคับคดี เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดทรัพย์ค้างชำระได้
โจทก์บรรยายฟ้องเป็นสองตอน ตอนแรกเป็นการบรรยายเกี่ยวกับการที่โจทก์ถูกประเมินให้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมว่าโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งในขณะที่ฟ้องคดีนี้เรื่องยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตอนที่สองโจทก์บรรยายว่า ภายหลังการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว จำเลยมอบให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยยึดที่ดินของโจทก์ 3 แปลง กับอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ และต่อมาได้ประกาศขายทอดตลาดที่ดิน ซึ่งโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่มีสิทธิยึด และอายัดทรัพย์ของโจทก์ เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้มีเงินได้ที่แท้จริง จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่หรือวินิจฉัยสั่งให้ดำเนินการยึดทรัพย์ของโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร ขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินและเพิกถอนคำสั่งอายัดเงินในบัญชีของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องต่อศาลว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการยึดและอายัดทรัพย์ของโจทก์ ซึ่งไม่มีกฎหมายระบุให้ต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนฟ้องคดีเหมือนการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษี ซึ่งโจทก์จะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ประกอบมาตรา 30 (2) แห่งประมวลรัษฎากร การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์เพราะ เห็นว่าเป็นการข้ามขั้นตอนตามมาตรา 30 (2) จึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอ้างแต่เพียงว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้มีเงินได้ตามการประเมินเท่านั้น ซึ่งปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้มีเงินได้ดังกล่าวหรือไม่ ยังไม่มีข้อยุติเพราะยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร เมื่อปรากฏว่า โจทก์ไม่ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการประเมินภายในกำหนดเวลา ค่าภาษีดังกล่าวจึงถือเป็นภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีของจำเลยย่อมมีอำนาจสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ตามมาตรา 12 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร การที่จำเลยสั่งให้เจ้าพนักงานของจำเลยยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ตามฟ้อง จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
of 270