พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตร: การพิพากษาให้บุตรอยู่กับมารดาถือเป็นการให้อำนาจปกครองตามกฎหมาย
การที่ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย (บิดา) และให้เด็กอยู่กับโจทก์ (มารดา) โดยให้จำเลยส่งค่าเลี้ยงดูเด็กจนเด็กอายุครบ 20 ปี ถือได้ว่าศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่แก่มารดา ตามมาตรา 1538(6) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเป็นสามีภริยาและสิทธิบุตรก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง: การบังคับใช้กฎหมายลักษณะผัวเมีย
ได้เสียเป็นสามีภริยากันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 และบรรพ 6 ความเป็นสามีภริยาและบุตรต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น เมื่อได้ความว่าชายหญิงได้อยู่กินเป็นสามีภริยาโดยเปิดเผยเป็นที่รู้กันทั่วๆไปว่าเป็นสามีภริยากัน ก็ถือได้ว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่เกิดมาจึงเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามี ย่อมมีสิทธิรับมรดกของสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกสินสมรสให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา: การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมหรือสมาคม
โจทก์ฟ้องว่าสามีโจทก์นำสินสมรสไปยกให้จำเลยโดยเสน่หา โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นหนังสือ ขอให้เพิกถอนเฉพาะส่วนของโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าเป็นสินสมรสระหว่างสามีโจทก์และมารดาจำเลย จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ และศาลชั้นต้นพิพากษาว่าการยกให้นี้เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี หรือในทางสมาคมนิยมเป็นข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 ดังนี้ถือว่า ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าการยกให้เป็นกรให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมหรือไม่นี้ ได้ยกขึ้นว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยจึงฎีกาปัญหาข้อนี้ได้
การยกที่ดิน 3 แปลงราคา 100,000 บาท อันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และสามีโจทก์ให้บุตรของสามีโจทก์อันเกิดแต่ภริยาอีกคนหนึ่ง โดยในขณะยกให้ไม่ปรากฏว่าผู้ยกให้มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีก ย่อมไม่ใช่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3).
การยกที่ดิน 3 แปลงราคา 100,000 บาท อันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และสามีโจทก์ให้บุตรของสามีโจทก์อันเกิดแต่ภริยาอีกคนหนึ่ง โดยในขณะยกให้ไม่ปรากฏว่าผู้ยกให้มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีก ย่อมไม่ใช่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกสินสมรสให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอม: การพิจารณาการให้ตามสมควรทางศีลธรรมและสมาคม
โจทก์ฟ้องว่าสามีโจทก์นำสินสมรสไปยกให้จำเลยโดยเสน่หาโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นหนังสือขอให้เพิกถอนเฉพาะส่วนของโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าเป็นสินสมรสระหว่างสามีโจทก์และมารดาจำเลย จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ และศาลชั้นต้นพิพากษาว่าการยกให้นี้เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี หรือในทางสมาคมนิยมเป็นข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 ดังนี้ถือว่า ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าการยกให้เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมหรือไม่นี้ได้ยกขึ้นว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยจึงฎีกาปัญหาข้อนี้ได้
การยกที่ดิน 3 แปลงราคา 100,000 บาท อันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และสามีโจทก์ให้บุตรของสามีโจทก์อันเกิดแต่ภริยาอีกคนหนึ่ง โดยในขณะยกให้ไม่ปรากฏว่าผู้ยกให้มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีก ย่อมไม่ใช่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3)
การยกที่ดิน 3 แปลงราคา 100,000 บาท อันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และสามีโจทก์ให้บุตรของสามีโจทก์อันเกิดแต่ภริยาอีกคนหนึ่ง โดยในขณะยกให้ไม่ปรากฏว่าผู้ยกให้มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีก ย่อมไม่ใช่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกทายาทโดยธรรม: บิดาผู้มีสิทธิเท่ากับบุตร และอายุความครอบครองมรดก
ทรัพย์พิพาทเป็นมรดก โจทก์เป็นบิดาเจ้ามรดกจึงได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งเป็นทายาทชั้นบุตร จำเลยเป็นผู้สืบสันดาน โจทก์จำเลยจึงมีส่วนแบ่งมรดกเท่า ๆ กัน
จำเลยได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์แม้โจทก์จะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่วันเจ้ามรดกตาย ก็ไม่ขาดอายุความ
จำเลยได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์แม้โจทก์จะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่วันเจ้ามรดกตาย ก็ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของมารดาต่อการกระทำของบุตรผู้เยาว์ที่มีอาวุธร้ายแรงในความครอบครอง
มารดาต้องรับผิดฐานละเมิดร่วมกับผู้เยาว์ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
มารดาเห็นบุตรถือปืน จึงว่ากล่าวตักเตือนบุตรไม่เชื่อฟังกลับเอาปืนไปซ่อนเสีย พอลับหลังมารดาก็เอาปืนมาเล่นอีกถือว่า การว่ากล่าวตักเตือนของมารดาเพียงเท่านี้หาเพียงพอกับการที่จะต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลของตนในฐานะเป็นมารดาไม่ มารดาจึงต้องร่วมรับผิดในการที่บุตรประมาทเลินเล่อเอาปืนยิงผู้อื่นตาย
มารดาเห็นบุตรถือปืน จึงว่ากล่าวตักเตือนบุตรไม่เชื่อฟังกลับเอาปืนไปซ่อนเสีย พอลับหลังมารดาก็เอาปืนมาเล่นอีกถือว่า การว่ากล่าวตักเตือนของมารดาเพียงเท่านี้หาเพียงพอกับการที่จะต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลของตนในฐานะเป็นมารดาไม่ มารดาจึงต้องร่วมรับผิดในการที่บุตรประมาทเลินเล่อเอาปืนยิงผู้อื่นตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฆ่าโดยจิตบกพร่องและรอการลงโทษเพื่อประโยชน์แก่บุตร
จำเลยยิงผู้ตายซึ่งเป็นภริยาจำเลย ก็โดยจิตบกพร่อง แต่จำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง ตามกฎหมาย จำเลยจะต้องรับโทษสำหรับความผิดนี้ โดยศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
จำเลยมีบุตรอยู่ในความเลี้ยงดูของจำเลยอีก 7 คน หากจำเลยต้องถูกลงโทษแล้ว บุตรของจำเลยซึ่งยังเป็นเด็กจะขาดผู้ให้ความอุปการะ และอบรมสั่งสอน (เพราะภริยาจำเลยตายแล้ว) สมควรจะรอการลงโทษจำเลย เพื่อให้จำเลยเลี้ยงดูบุตรและกลับตนเป็นคนดีตลอดจนรักษาตัวของจำเลยให้ดีขึ้น.
จำเลยมีบุตรอยู่ในความเลี้ยงดูของจำเลยอีก 7 คน หากจำเลยต้องถูกลงโทษแล้ว บุตรของจำเลยซึ่งยังเป็นเด็กจะขาดผู้ให้ความอุปการะ และอบรมสั่งสอน (เพราะภริยาจำเลยตายแล้ว) สมควรจะรอการลงโทษจำเลย เพื่อให้จำเลยเลี้ยงดูบุตรและกลับตนเป็นคนดีตลอดจนรักษาตัวของจำเลยให้ดีขึ้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าโดยจิตบกพร่องแต่ยังรู้ผิดชอบ และการรอการลงโทษเพื่อประโยชน์แก่บุตร
จำเลยยิงผู้ตายซึ่งเป็นภริยาจำเลยก็โดยจิตบกพร่อง แต่จำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง ตามกฎหมายจำเลยจะต้องรับโทษสำหรับความผิดนี้ โดยศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
จำเลยมีบุตรอยู่ในความเลี้ยงดูของจำเลยอีก 7 คนหากจำเลยต้องถูกลงโทษแล้ว บุตรของจำเลยซึ่งยังเป็นเด็กจะขาดผู้ให้ความอุปการะและอบรมสั่งสอน (เพราะภริยาจำเลยตายแล้ว) สมควรจะรอการลงโทษจำเลย เพื่อให้จำเลยเลี้ยงดูบุตรและกลับตนเป็นคนดีตลอดจนรักษาตัวของจำเลยให้ดีขึ้น
จำเลยมีบุตรอยู่ในความเลี้ยงดูของจำเลยอีก 7 คนหากจำเลยต้องถูกลงโทษแล้ว บุตรของจำเลยซึ่งยังเป็นเด็กจะขาดผู้ให้ความอุปการะและอบรมสั่งสอน (เพราะภริยาจำเลยตายแล้ว) สมควรจะรอการลงโทษจำเลย เพื่อให้จำเลยเลี้ยงดูบุตรและกลับตนเป็นคนดีตลอดจนรักษาตัวของจำเลยให้ดีขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองแทนบุตรยังเยาว์และการขาดอายุความในการเรียกร้องสิทธิในมรดก
มารดาครอบครองที่มรดกที่ไว้แทนบุตรตั้งแต่ยังเยาว์จนกระทั่งมารดาตายก็ไม่ปรากฏว่ามารดาได้แสดงว่าไม่เจตนายึดถือครอบครองที่มรดกนั้นแทนบุตร ดังนี้ แม้จะเป็นเวลาช้านานเท่าใดก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 และมารดาไม่มีสิทธิจะนำเอาทรัพย์สินส่วนของบุตรไปทำพินัยกรรมยกให้แก่คนอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิเก็บกินและยกที่ดินให้บุตรไม่ถือเป็นเงื่อนไข
เมื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลย บุตรจำเลย และผู้ร้องขัดทรัพย์ มีข้อตกลงว่า จำเลยยอมสละมรดกส่วนของตนทั้งสิ้น เช่นนี้แม้จะมีข้อตกลงต่อไปว่า ให้จำเลยมีสิทธิเก็บกินจนกว่าจะวายชนม์ และผู้ร้องขัดทรัพย์ยกที่ดินส่วนหนึ่งให้บุตรจำเลยก็ดี ก็ไม่ถือว่าเป็นการสละมรดกโดยมีเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไข แต่ถือว่าเป็นการได้สิทธิเพราะการสละมรดกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ การสละมรดกจึงสมบูรณ์ ไม่ฝ่าฝืนมาตรา 1613