พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการจดทะเบียนโฉนดที่ดินทับที่หลวง เจ้าหน้าที่ประมาทเลินเล่อต้องรับผิด
หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 1ได้ตรวจสอบเอกสารก่อนย่อมทราบว่าที่พิพาทเป็นที่หลวงอยู่ในเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันจะนำไปออกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทำการโอนหาได้ไม่ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนที่พิพาทให้แก่มารดาโจทก์โดยไม่ได้ตรวจสอบก่อนจึงเป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่มารดาโจทก์และโจทก์เนื่องจากไม่ได้รับประโยชน์จากที่พิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดจำเลยที่ 1 และกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 2ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดนั้น มารดาโจทก์ซื้อที่พิพาทมาจากบุคคลอื่น และบุคคลผู้นั้นเป็นผู้รับประโยชน์จากการขายที่พิพาท ความเสียหายที่โจทก์ได้รับจึงไม่ได้เกิดจากจำเลยทั้งสองเสียทั้งหมดความเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาจะต้องลดลงตามส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อทั้งสองฝ่าย: ผู้ขับรถตัดหน้าและผู้ขับรถเร็วเกินไป ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ศาลยกฟ้อง
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ตัดหน้ารถที่ ว. ขับในระยะกระชั้นชิดในขณะที่ ว. ก็ขับรถผ่านทางร่วมทางแยกมาด้วยความเร็วสูงจนไม่อาจหยุดรถได้ทันเป็นเหตุให้รถ ว. เฉี่ยว ชนรถจำเลยที่ 1เช่นนี้ถือได้ว่า ว. มีส่วนประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดเหตุรถชนกันให้ได้รับความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 1จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้บังคับบัญชาในการอนุมัติการจ่ายเงินพันธบัตรโดยไม่มีเอกสารมอบอำนาจ ทำให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อได้ลงลายมือชื่อกำกับชื่อผู้มีสิทธิรับเงินคนเดิมที่จำเลยที่ 1 ขีดฆ่าออกและลงลายมือชื่อกำกับชื่อที่พิมพ์หรือเขียนแทนลงไปใหม่ กับได้ลงลายมือชื่อสั่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจ่ายเงินในคำขอรับคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรตามที่จำเลยที่ 1 นำเสนอ การที่จำเลยที่ 1 กับพวกสามารถทุจริตและนำเงินไปเป็นประโยชนส่วนตัวได้ เพราะจำเลยที่ 2 ที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อโดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้บังคับบัญชาได้ลดขั้นตอนการตรวจสอบ ให้จำเลยที่ 1 เสนอคำขอต่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยตรงไม่ต้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น อันเป็นการเสี่ยงต่อการทุจริตแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอรับคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล คำฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบ ไม่จัดให้มีการตรวจสอบเป็นขั้นตอนตามลำดับชั้นว่าการขีดฆ่าและเปลี่ยนแปลงชื่อผู้มีสิทธิรับเงินตามพันธบัตรรัฐบาลนั้นถูกต้องหรือไม่ แต่จำเลยที่ 2ที่ 3 ลงลายมือชื่อโดยไม่ใช้ความระมัดระวัง ก่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ที่ 3จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ และทางพิจารณาโจทก์ก็นำสืบเพื่อให้ศาลเห็นว่ามีขั้นตอนในการตรวจสอบมากมาย แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้ตรวจสอบเลย และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและได้เซ็นชื่อตามที่จำเลยที่ 1 กากบาทไว้ให้เซ็นเท่านั้น เช่นนี้ แม้ไม่มีระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขอคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลของผู้ใช้ไฟฟ้า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็อาจจะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ควบคุมการทำงานของจำเลยที่ 1 ให้เป็นไปโดยถูกต้องและสุจริตการที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อดังกล่าวก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการตรวจสอบว่าถูกต้องแล้วดังนั้น ไม่ว่าจะมีระเบียบการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อด้วยความประมาทเลินเล่อแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
ศาลแรงงานไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความรับผิดของของจำเลยที่ 2ที่ 3 ให้ตรงกับข้อกล่าวหาตามคำฟ้องและตามข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมา ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิจารณาพิพากษาความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความรับผิดของของจำเลยที่ 2ที่ 3 ให้ตรงกับข้อกล่าวหาตามคำฟ้องและตามข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมา ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิจารณาพิพากษาความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษร
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อได้ลงลายมือชื่อกำกับชื่อผู้มีสิทธิรับเงินคนเดิมที่จำเลยที่ 1 ขีดฆ่าออกและลงลายมือชื่อกำกับชื่อที่พิมพ์หรือเขียนแทนลงไปใหม่ กับได้ลงลายมือชื่อสั่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจ่ายเงินในคำขอรับคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรตามที่จำเลยที่ 1 นำเสนอ การที่จำเลยที่ 1 กับพวกสามารถทุจริตและนำเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวได้ เพราะจำเลยที่ 2 ที่ 3ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้บังคับบัญชาได้ลดขั้นตอนการตรวจสอบ ให้จำเลยที่ 1 เสนอคำขอต่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยตรงไม่ต้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้นอันเป็นการเสี่ยงต่อการทุจริตแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอรับคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล คำฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบ ไม่จัดให้มีการตรวจสอบเป็นขั้นตอนตามลำดับชั้นว่าการขีดฆ่าและเปลี่ยนแปลงชื่อผู้มีสิทธิรับเงินตามพันธบัตรรัฐบาลนั้นถูกต้องหรือไม่ แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ลงลายมือชื่อโดยไม่ใช้ความระมัดระวัง ก่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ และทางพิจารณาโจทก์ก็นำสืบเพื่อให้ศาลเห็นว่ามีขั้นตอนในการตรวจสอบมากมาย แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้ตรวจสอบเลยและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและได้เซ็นชื่อตามที่จำเลยที่ 1 กากบาทไว้ให้เซ็นเท่านั้น เช่นนี้แม้ไม่มีระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขอคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลของผู้ใช้ไฟฟ้าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็อาจจะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ควบคุมการทำงานของจำเลยที่ 1 ให้เป็นไปโดยถูกต้องและสุจริต การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3ได้ลงลายมือชื่อดังกล่าวก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว ดังนั้น ไม่ว่าจะมีระเบียบการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อด้วยความประมาทเลินเล่อแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ศาลแรงงานไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ให้ตรงกับข้อกล่าวหาตามคำฟ้องและตามข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมา ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิจารณาพิพากษาความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินบำเหน็จเป็นประกันหนี้ต้องไม่กระทบสิทธิลูกจ้างหากลูกจ้างมิได้ประมาทเลินเล่อ
โจทก์ยินยอมให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างหักเงินบำเหน็จของโจทก์ไว้บางส่วนเป็นประกันหนี้ของ ส. ตามจำนวนหนี้ที่โจทก์ถูกจำเลยกล่าวหาว่าจะต้องร่วมรับผิดกับ ส. ต่อมาเมื่อความปรากฏว่าโจทก์มิได้ประมาทเลินเล่อและบกพร่องต่อหน้าที่ในอันจะต้องร่วมรับผิดในการกระทำของ ส. ต่อจำเลยแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิหักเงินบำเหน็จของโจทก์ต่อไป โจทก์มีสิทธิเรียกคืนได้ แต่การที่จำเลยหักเงินบำเหน็จดังกล่าว ก็โดยความยินยอมของโจทก์ ดังนี้แม้โจทก์จะได้ทวงถามให้จำเลยคืนเงินบำเหน็จที่จำเลยพักไว้และการที่จำเลยไม่จ่ายเงินบำเหน็จคืนให้โจทก์ ก็จะถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ได้ จำเลยไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยเงินบำเหน็จที่หักไว้ต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง หากโจทก์ในคดีอาญาไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง และการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
ความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกเป็นความผิดต่อ รัฐ การฟ้องคดีของอัยการศาลทหารกรุงเทพ มิอาจถือ ได้ ว่าเป็นการฟ้องคดีอาญาแทนโจทก์ โจทก์จึงมิใช่คู่ความเดียว กับโจทก์ในคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพ ดังนั้นผลของคำพิพากษาคดีอาญาของ ศาลทหารกรุงเทพจึงไม่ผูกพันโจทก์และศาลที่พิจารณาคดีแพ่งหาจำต้องถือ ข้อเท็จจริงตาม ที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากไม่ระมัดระวังตรวจลายมือชื่อ แม้ผู้เสียหายก็ต้องรับผิดด้วยหากประมาท
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์สั่งจ่ายเงิน100,000 บาท แล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ จำเลยที่ 1 ผู้ช่วยสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 2ผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ตรวจลายมือชื่อลูกค้าอยู่ประจำย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดา ถ้าใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอมแต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังจึงไม่ทราบและอนุมัติให้จ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้จะมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยไว้ตามหนังสือขอเปิดบัญชีกระแสรายวันก็ตาม จำเลยก็จะอ้างมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373 หนี้ละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากละเลยการตรวจสอบลายมือชื่ออย่างรอบคอบ แม้มีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์สั่งจ่ายเงิน100,000 บาท แล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ จำเลยที่ 1 ผู้ช่วยสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 2ผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ตรวจลายมือชื่อลูกค้าอยู่เป็นประจำย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดา ถ้าใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังจึงไม่ทราบและอนุมัติให้จ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ แม้จะมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิดของจำเลยไว้ตามหนังสือขอเปิดบัญชีกระแสรายวันก็ตาม จำเลยก็จะอ้างมาปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373 หนี้ละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายมากน้อยเพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือความเสียหายเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4138/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่พัสดุ: การเก็บรักษาพัสดุที่ปลอดภัยและแจ้งตรวจรับ
จำเลยมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกพัสดุ กองคลังของโจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานพัสดุ จำเลยได้รับพัสดุเครื่องมือแพทย์จำนวน 7 หีบห่อมาเก็บรักษาแต่ห้องเก็บพัสดุของโจทก์มีของเก็บอยู่เต็ม จำเลยจึงนำพัสดุดังกล่าวไปฝากเก็บไว้ที่ห้องพัสดุของอีกกองหนึ่งโดยมิได้ขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ซึ่งห้องเก็บพัสดุดังกล่าวอยู่ชั้นล่าง เป็นห้องไม่มีหน้าต่าง มีประตู 2 ประตู ประตูหนึ่งใส่กลอนไว้อีกประตูหนึ่งมีกุญแจลูกบิด มีเจ้าหน้าที่เก็บรักษาลูกกุญแจ ชั้นบนของห้องดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ทำงานอยู่ การนำพัสดุไปฝากเก็บที่กองอื่นก็ไม่มีระเบียบให้ต้องขออนุมัติต่อผู้บังคับบัญชา ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว แม้จำเลยจะมิได้จัดเวรยามเฝ้าก็ปรากฏว่าหลังเลิกงานมีเวรยามของกรมดูแลอยู่แล้ว และการที่จำเลยจัดให้คณะกรรมการตรวจรับหลังจากรับของประมาณ 10 วัน เนื่องจากต้องตรวจสอบและแปลเอกสารก็มิได้เนิ่นนานเกินสมควร การที่พัสดุดังกล่าวหายไปบางส่วน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011-4012/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประมาทเลินเล่อร่วมกัน, ผู้เสียหายบุคคลภายนอก, การแบ่งความรับผิด, หนี้ไม่อาจแบ่งแยก
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และรถคันที่จำเลยที่ 3 ขับได้ประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 3 กับผู้ตายขับรถชนกันโดยประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน จำเลยทั้งสามกับผู้ตายจะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 เจ้าของรถคันที่ผู้ตายขับซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเท่ากันแต่โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ฟ้องผู้ตายให้ร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายด้วยจำเลยทั้งสามก็ควรจะรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 1 เพียงกึ่งหนึ่ง และเนื่องจากหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกชำระได้แม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกาก็ให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245(1) ความรับผิดระหว่างจำเลยทั้งสามกับโจทก์ที่ 2 ภริยาของผู้ตาย โจทก์ที่ 3 บุตรของผู้ตายจึงต้องเป็นพับ กันไป.