พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับพยานหลักฐานนอกกรอบ ป.วิ.พ. มาตรา 88 เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม และการพิสูจน์ประเด็นการครอบครองที่ดิน
แม้การยื่นบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ 1 จะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) เมื่อพิจารณาจากคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 1 แล้วคดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของหรือในฐานะผู้เช่า ดังนี้ บัญชีระบุพยานของจำเลยที่ 1 ที่อ้างพยานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์และจำเลยที่ 1 นำพยานบุคคลดังกล่าวเข้าเบิกความคือตัวจำเลยที่ 1 กับ ผ. ผู้รู้เห็นเหตุการณ์เช่าที่ดินพิพาทและเป็นผู้เก็บรักษาส่วนแบ่งข้าวที่ทำนาได้ จึงนับว่าเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยที่ 1 และอนุญาตให้จำเลยที่ 1 นำบุคคลดังกล่าวเข้าเบิกความจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9362/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องขัดทรัพย์ต้องเป็นศาลชั้นต้นที่ออกหมายบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7(2) และ 302
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหรือคำร้องขัดทรัพย์ เป็นคำฟ้องหรือคำร้องขอที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) ที่ต้องยื่นต่อศาลที่มีอำนาจบังคับคดีตามมาตรา 302 ซึ่งบัญญัติว่า ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือหมายจับลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาคือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้น ดังนั้น การยื่นคำร้องขัดทรัพย์จึงต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่พิจารณาและตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) ประกอบมาตรา 302 จะยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ดำเนินการบังคับคดีแทนศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8639/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทในคดีแชร์ และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าแชร์ 2 วง การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกานั้น ต้องแยกคำนวณตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตามข้อหาของการผิดสัญญา เมื่อแชร์แต่ละวงมีรายละเอียดข้อสัญญาต่างกัน การผิดสัญญาวงหนึ่งวงใดไม่เป็นเหตุให้ผิดสัญญาอีกวงหนึ่งด้วย โจทก์จึงสามารถแยกฟ้องจำเลยได้ตามข้อหาของการผิดสัญญาเป็นสองคดี เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันสำหรับการเล่นแชร์แต่ละวงมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมสละมรดกซ้ำกับประเด็นที่เคยวินิจฉัยในคดีก่อน เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คดีก่อน โจกท์คดีนี้ฟ้องจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 กับพวกร้องขัดทรัพย์ในคดี ดังกล่าว โจทก์ยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 สละมรดกให้แก่ผู้ร้องขัดทรัพย์ โดยสมรู้ร่วมคิดกันเพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของจำเลยที่ 1 หรือของผู้ร้องขัดทรัพย์ ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า ทรัพย์ที่ยึดเป็นของจำเลยที่ 2 กับพวก มิใช่ของจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้สละมรดกโดยทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการสละมรดกระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 อีก แม้จะอ้างเหตุเพิกถอนการฉ้อฉล แต่คดีก็มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า การสละมรดกของจำเลยที่ 1 เป็นไปโดยชอบหรือไม่ จึงมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีมรดก: พินัยกรรมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145
คดีนี้และคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 812/2544 ของศาลชั้นต้น มีคู่ความรายเดียวกันและประเด็นข้อพิพาทประเด็นเดียวกันว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้ร้องและพินัยกรรมปลอมหรือไม่ เมื่อในคดีที่ผู้คัดค้านเป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลย ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมถูกต้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอม ดังนั้น การวินิจฉัยคดีนี้ว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับประเด็นข้อพิพาทที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีดังกล่าว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้
เมื่อปรากฏว่าคดีหมายเลขแดงที่ 812/2544 ของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมถูกต้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอม ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...คำพิพากษาหรือคำสั่งใดๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง..." ดังนั้น จึงต้องฟังว่าพินัยกรรมถูกต้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอมและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงต้องถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
เมื่อปรากฏว่าคดีหมายเลขแดงที่ 812/2544 ของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมถูกต้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอม ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...คำพิพากษาหรือคำสั่งใดๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง..." ดังนั้น จึงต้องฟังว่าพินัยกรรมถูกต้องไม่เป็นพินัยกรรมปลอมและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงต้องถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6961/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงหักบัญชีหนี้บัตรเครดิตจากเงินฝาก และข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่เมื่อจำเลยรับสำเนาคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์แล้วไม่ค้าน และศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลฎีกา พออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
จำเลยหักบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เพื่อชำระหนี้บัตรเครดิตที่โจทก์ค้างชำระ เป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงตามคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิตที่ระบุว่า "ในกรณีผู้ถือบัตรค้างชำระเงิน... ผู้ถือบัตรยินยอมให้ธนาคารนำภาระหนี้บัตรเครดิตที่คงค้างไปหักบัญชีเงินฝากของผู้ถือบัตรทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารได้ตามที่ธนาคารเห็นสมควรโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถือบัตรอีก..." หาใช่เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 โดยไม่มีข้อตกลงระหว่างกันไม่ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะหักบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์ได้ แม้หนี้บัตรเครดิตจะขาดอายุความแล้วก็ตามนอกจากนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวยังเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับประโยชน์ระหว่างคู่สัญญาไม่มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอกและไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยหักบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เพื่อชำระหนี้บัตรเครดิตที่โจทก์ค้างชำระ เป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงตามคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิตที่ระบุว่า "ในกรณีผู้ถือบัตรค้างชำระเงิน... ผู้ถือบัตรยินยอมให้ธนาคารนำภาระหนี้บัตรเครดิตที่คงค้างไปหักบัญชีเงินฝากของผู้ถือบัตรทุกประเภทที่มีอยู่กับธนาคารได้ตามที่ธนาคารเห็นสมควรโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถือบัตรอีก..." หาใช่เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 โดยไม่มีข้อตกลงระหว่างกันไม่ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะหักบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์ได้ แม้หนี้บัตรเครดิตจะขาดอายุความแล้วก็ตามนอกจากนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวยังเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับประโยชน์ระหว่างคู่สัญญาไม่มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอกและไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5905/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้ มาตรา 229 ป.วิ.พ. กรณีอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดี ไม่ต้องวางเงินค่าธรรมเนียม
ที่ ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติให้ ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นด้วยเป็นบทใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้น ตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่นๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดีนี้หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมด โดยให้ดำเนินการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ใหม่และขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง การที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งของศาลชั้นต้นให้รับคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 2 ไว้พิจารณาต่อไป ซึ่งหากศาลอุทธรณ์พิจารณาเห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์ก็จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 2 ไว้พิจารณาและไต่สวนพยานของจำเลยที่ 2 แล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดีว่าจะอนุญาตให้จำเลยที่ 2 พิจารณาคดีใหม่หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ไม่อาจพิจารณาและอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำขอท้ายอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ได้ เพราะยังไม่มีข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยว่ากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกิดขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ชั้นนี้ไม่มีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้สิ้นผลบังคับแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียม ซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคสอง (2) เป็นที่สุด ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้งดการขาย
ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคสอง (2) บัญญัติว่า "...ถ้าปรากฏว่าทรัพย์สินที่ยึดนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เก็บไว้นานไม่ได้ ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินเช่าว่านี้โดยไม่ชักช้า" คดีนี้โจทก์นำยึดข้าวเปลือกโดยอ้างว่าเป็นของจำเลย และยื่นคำร้องขอให้นำออกขายทอดตลาดเนื่องจากว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นข้าวเปลือกที่เก็บไว้นานอาจเกิดความเสียหายได้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายทรัพย์ที่ยึดและนำเงินจำนวนดังกล่าวเก็บรักษาไว้ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งตามมาตรา 288 วรรคสอง (2) ซึ่งมาตรา 288 วรรคสาม บัญญัติให้คำสั่งศาลเป็นที่สุด การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดข้าวเปลือก เท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่อนุญาตตามมาตรา 288 วรรคสอง (2) ซึ่งเป็นที่สุดแล้ว คำร้องดังกล่าวมิใช่คำร้องขอให้งดการบังคับคดีหรือคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณา ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องได้ แม้ศาลชั้นต้นรับคำร้องไว้และศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่เป็นเหตุให้ผู้ร้องฎีกาต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของผู้ร้องมาเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 และ 249 กรณีข้อเท็จจริงและไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในชั้นศาล
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นให้ยกฟ้องโจทก์ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา จึงเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องร่วมกันรับผิดชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นเงิน 150,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 200,000 บาท โดยดอกเบี้ยภายหลังวันฟ้องไม่นำมาคำนวณรวมเป็นทุนทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 190 (1) คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ป.วิ.พ. เนื่องจากเป็นการโต้เถียงดุลพินิจศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นให้ยกฟ้องโจทก์ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องร่วมกันรับผิดชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นเงิน 150,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 200,000 บาท โดยดอกเบี้ยภายหลังวันฟ้องไม่นำมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 190 (1) คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง