คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผลผูกพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 804 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันบังคับได้ หากไม่ใช่พินัยกรรมและศาลพิพากษาตามยอม ที่ดินจึงตกเป็นของผู้รับประโยชน์ตามสัญญา
เดิม ฝ. ฟ้อง ป. ขอถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณต่อมาได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าว โดย ป.ยอมคืนที่พิพาทให้ ฝ.และฝ. ยอมให้ ป. ทำกินในที่พิพาทโดย ป. ยอมให้ข้าวเปลือกแก่ ฝ.ปีละ120กิโลกรัมห้ามฝ.จำหน่ายจ่ายโอนที่พิพาท เมื่อ ฝ. ถึงแก่กรรมให้ที่พิพาทตกเป็นของ ป. ตามเดิม สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ใช่พินัยกรรมแต่เป็นสัญญาที่ ฝ. กับ ป. ทำขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันและไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้วสัญญาดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ และการที่ตกลงกันว่า เมื่อ ฝ.ถึงแก่กรรม ให้ที่พิพาทตกเป็นของ ป. เมื่อ ฝ. ถึงแก่กรรมที่พิพาทจึงตกเป็นของ ป. ตามคำพิพากษาตามยอม มิใช่เป็นมรดกของ ฝ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีผลผูกพัน แม้จำเลยวางเงินหลังฟ้องอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยไม่อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือว่าพอใจในผลของคำพิพากษาแล้ว แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อให้จำเลยรับผิดเต็มตามจำนวนในฟ้อง ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ว่าจะเป็นประการใดจะไม่ลดความรับผิดของจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นลงอีก และที่จำเลยนำเงินตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลก่อนที่โจทก์จะขอหมายบังคับคดีและโดยไม่ปรากฎสาเหตุจะถือว่าเป็นการวางเพื่อให้มีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (1) ไม่ได้ ต้องถือว่าจำเลยวางเงินเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แม้จำเลยจะคัดค้านก็ไม่ตัดอำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งอนุญาตให้โจทก์รับเงินที่จำเลยวางไว้ต่อศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท การลาออกกรรมการมีผลทันทีตามหลักตัวแทน
การที่ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับช. มอบอำนาจให้จ. ฟ้องจำเลยเป็นการกระทำภายหลังจาก ส. ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแล้วจึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับของโจทก์ตามหนังสือรับรองที่กำหนดให้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ คือ ส.ช. และ จ.สองในสามคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทจึงจะกระทำการผูกพันโจทก์ การกระทำของจำเลย ส.จึงเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ จ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ การลาออกของ ส. ยังไม่มีผลตามกฎหมายเพราะยังไม่ได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง แต่ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส. ผู้เป็นกรรมการนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆก็ได้ทุกเมื่อและย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386 หาใช่มีผลต่อเมื่อ โจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยถูกฟ้องในฐานะผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์มิใช่ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์ จึงนับว่าเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4438/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ (Novation) และผลผูกพันสัญญา
คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า แม่ชีสมพรได้ยกเงินที่จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ตนซึ่งไม่มีหลักฐานการกู้ยืมทั้งหมดให้แก่โจทก์ แล้วจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ไว้เพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว ดังนั้น สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยย่อมมีผลสมบูรณ์และผูกพันคู่สัญญาตามเจตนาของคู่สัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ข้อฎีกาของจำเลยที่ว่าการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ระหว่างแม่ชีสมพร อินทร์มงคล กับโจทก์ชอบหรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4438/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้และผลผูกพันตามสัญญากู้ยืม
คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า แม่ชีสมพรได้ยกเงินที่จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ตนซึ่งไม่มีหลักฐานการกู้ยืมทั้งหมดให้แก่โจทก์ แล้วจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ไว้เพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว ดังนั้นสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยย่อมมีผลสมบูรณ์และผูกพันคู่สัญญาตามเจตนาของคู่สัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ข้อฎีกาของจำเลยที่ว่าการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ระหว่างแม่ชีสมพรอินทร์มงคล กับโจทก์ชอบหรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3936/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท: ผลผูกพันคำวินิจฉัยศาลเดิมและอำนาจฟ้อง
ในคดีก่อน ผู้ร้องทั้งสี่ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้คัดค้านดำเนินการโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งสี่ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านพิพาท แต่คดีนี้ผู้ร้องทั้งสี่ยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านถอนการยึดบ้านพิพาทโดยกล่าวอ้างว่า บ้านพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งสี่ตามสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านพิพาทก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1คำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ทั้งสองคดีมิได้มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกัน คำร้องขอของผู้ร้องทั้งสี่ในคดีนี้ จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลอันเกี่ยวกับคดีที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 แต่ที่ผู้ร้องทั้งสี่กับผู้คัดค้านเป็นคู่ความเดียวกันในคดีก่อนและทั้งสองคดีก็พิพาทกันในมูลกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทเดียวกัน การที่ผู้ร้องทั้งสี่ยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านโอนบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งสี่ตามสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านในคดีก่อน เท่ากับยอมรับว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ยกคำร้องในส่วนนี้ และผู้ร้องทั้งสี่มิได้อุทธรณ์ คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในคดีก่อนจึงผูกพันผู้ร้องทั้งสี่และผู้คัดค้าน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ศาลในคดีนี้จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ของผู้ร้องทั้งสี่ ผู้ร้องทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ผู้คัดค้านเพิกถอนการยึดได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเสนอประนอมหนี้ไม่ผูกพันโจทก์หากไม่ตกลง ย่อมไม่มีผลทางกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ยื่นหนังสือขอเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้ต่อโจทก์ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยังมิได้ตกลงยอมรับเงื่อนไขตามหนังสือของจำเลยที่ 1 ที่ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดีว่า "ทนายโจทก์ได้รับข้อเสนอขอประนอมหนี้จากจำเลยที่ 1 โดยยื่นเงื่อนไขการโอนที่ดินชำระหนี้โดยตีราคาหลักประกันทั้งหมด และส่วนที่เหลือจะทำการผ่อนชำระภายในเวลา 5 ปีซึ่งในหลักการนี้โจทก์ได้เสนอเงื่อนไขต่อคณะกรรมการเร่งรัดหนี้แล้วเพราะเหตุที่ทุนทรัพย์สูงมาก ทนายโจทก์ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจข้อประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1ได้..." ก็หาเป็นข้อความที่แสดงว่าโจทก์ยอมรับเงื่อนไขตามที่จำเลยที่ 1 เสนอไม่และการที่โจทก์ไม่แจ้งมติของคณะกรรมการเร่งรัดหนี้สินให้จำเลยที่ 1 ทราบก็เป็นการแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ไม่ตกลงตามข้อเสนอของจำเลยที่ 1หนังสือเสนอขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยมิชอบจาก นส.3 โดยอ้างอิงคำพิพากษาเดิมที่มีผลผูกพัน
มูลคดีเดียวกันนี้ โจทก์เคยฟ้องและศาลได้พิพากษาขับไล่จำเลยคดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันคู่ความตามป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อศาลในคดีก่อนฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 โดยรับซื้อฝากจาก อ.แต่ อ. ไม่ได้ไถ่ภายในเวลาที่กำหนด ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ ภายหลังจำเลยได้เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ และจำเลยเอาที่ดินของโจทก์ดังกล่าวไปขอออกโฉนดซึ่งจำเลยไม่มีสิทธิ การขอออกโฉนดที่ดินของจำเลยจึงไม่ชอบ ดังนี้ โจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนโฉนดดังกล่าวของจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยินยอมการแลกเปลี่ยนที่ดินสินสมรส: ผลผูกพันต่อผู้จัดการมรดก
จำเลยร่วมซึ่งเป็นสามีของ ย. ได้ลงชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน กับทำบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายยินยอมให้ ย.โอนกรรมสิทธิในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ ต้องถือว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ ย. แลกเปลี่ยนที่ดินที่เป็นสินสมรสกับโจทก์แล้ว
เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจะแลกเปลี่ยนระหว่างโจทก์กับ ย.ด้วยการโอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงตรงตามความประสงค์ของ ย.แล้ว สัญญาจะแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 519ประกอบด้วยมาตรา 456 วรรคสอง จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย. จึงต้องโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของ ย. ให้แก่โจทก์ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแลกเปลี่ยนที่ดิน สินสมรส และผลผูกพันของผู้จัดการมรดก
จำเลยร่วมซึ่งเป็นสามีของ ย. ได้ลงชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน และทำบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายยินยอมให้ ย. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ถือว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ ย. แลกเปลี่ยนที่ดินที่เป็นสินสมรสกับโจทก์ เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงตรงตามความประสงค์ของ ย.แล้ว สัญญาหรือข้อตกลงจะแลกเปลี่ยนที่ดินระหว่างโจทก์กับ ย.จึงมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519ประกอบด้วย มาตรา 456 วรรคสอง จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย.จึงต้องโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของย. ให้แก่โจทก์
of 81