คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้กระทำผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 256 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานการระบุตัวผู้กระทำผิดจากคำให้การของผู้ถูกทำร้ายก่อนมรณะ และพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน
ลักษณพะยานคำของผู้ถูกกระทำร้ายให้การในเวลาที่รู้สึกว่าตนจะตายฟังพะยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรัฐในการเรียกร้องค่าสินบนนำจับจากผู้กระทำผิดตาม พรบ.ฝิ่น
ค่าสินบนนำจับที่เจ้าพนักงานร้องขอให้ศาลกำหนดให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7183/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำผิดเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
โจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2537 จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ทั้งสองชำระหนี้ตามหนังสือดังกล่าวภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ ดังนั้น วันเวลาที่โจทก์ที่ 2 ไปติดต่อกับจำเลยที่ 2 น่าจะอยู่ภายในเดือนมกราคม 2538 นอกจากนี้การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 4 ที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในฟ้องว่าเป็นการกระทำความผิดฐานใช้หนังสือค้ำประกันปลอม นั้น ศาลอาญาธนบุรีมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2548 ว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 4 ไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีถึงที่สุด ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสี่ในคดีนี้จึงมิได้มีมูลอันเป็นความผิดที่มีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง และ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคท้าย กล่าวคือ โจทก์ทั้งสองต้องฟ้องจำเลยทั้งสี่ภายใน 1 ปี นับแต่เดือนมกราคม 2538 แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2548 จึงเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน ทั้งเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองที่นำมาฟ้องคดีนี้จึงขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13312/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจสั่งปล่อยตัวผู้กระทำผิดโดยมิชอบ แม้ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ยินยอม ถือเป็นความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำความผิดและมีอำนาจสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำตัวผู้ถูกจับกุมส่งต่อพนักงานสอบสวน หรือสั่งปล่อยตัวผู้ถูกจับหากเห็นว่าเป็นการจับผิดตัวหรือผู้ถูกจับกุมไม่ได้กระทำความผิดหรือการกระทำยังไม่เป็นความผิด จำเลยทราบดีว่าคนต่างด้าวที่ถูกจับกุมเป็นผู้กระทำความผิด จำเลยไม่มีอำนาจสั่งปล่อยได้ แต่กลับสั่งการในฐานะผู้บังคับบัญชาให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปล่อยตัวผู้กระทำความผิดและรถของกลางโดยไม่ชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ร่วม: ผู้ตายเป็นผู้กระทำผิดก่อน จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในฐานะผู้เสียหาย
ป. ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม อันเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ เมื่อผู้ตายเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบิดาและมารดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2 ) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7520/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น: การยุยงหลังการยิงครั้งแรก และการพิพากษาลงโทษผู้สนับสนุน
หลังจากจำเลยที่ 1 ยิงผู้ตาย 1 นัด จำเลยที่ 2 พูดว่า ยิงมันอีกนัดเอาให้ตาย จากนั้นจำเลยที่ 1 เดินไปที่รถจักรยานยนต์เปิดท้ายรถหากระสุนปืนแต่ไม่มีกระสุนปืน การที่จำเลยที่ 2 พูดยุยงให้จำเลยที่ 1 ยิงผู้ตายซ้ำหลังจากจำเลยที่ 1 ยิงผู้ตายไปแล้ว จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิด เพราะจำเลยที่ 1 ได้ลงมือกระทำความผิดไปแล้ว คำยุยงของจำเลยที่ 2 เป็นเพียงสนับสนุนเร้าใจให้จำเลยที่ 1 ยิงผู้ตายซ้ำให้ถึงแก่ความตายหนักแน่นขึ้น การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษผู้กระทำผิดยาเสพติดตามมาตรา 100/2 พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ ศาลมีดุลพินิจไม่จำเป็นต้องลดโทษเสมอไป
แม้จำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บังคับว่าเมื่อมีการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแล้ว ศาลต้องลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเสมอไป แต่เป็นดุลพินิจของศาลที่จะไม่ลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นให้น้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ได้ ปัญหาว่าจำเลยให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษหรือไม่ ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18641/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจรไม่จำกัดว่าต้องมีตัวผู้กระทำผิดชัดเจน แค่ทรัพย์ได้มาจากการกระทำความผิดก็ผิดฐานนี้ได้
ความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา 357 นั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่าความผิดฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์จะต้องเป็นความผิดที่ปรากฏตัวผู้กระทำความผิดและศาลพิพากษาลงโทษเป็นความผิดแล้ว ผู้ที่ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด จึงจะมีความผิดฐานรับของโจร ดังนั้น แม้ความผิดที่บัญญัติไว้ในมาตรา 357 จะไม่ปรากฏตัวผู้กระทำความผิดเลยก็ตาม ผู้ที่ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ โดยประการใด ก็ย่อมมีความผิดฐานรับของโจรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9626/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติด: การกระทำช่วยเหลือหลังการตกลงซื้อขาย
สายลับผู้ล่อซื้อติดต่อพูดคุยและตกลงซื้อขายตลอดจนนัดหมายสถานที่และวิธีการส่งมอบเมทแอมเฟตามีนและเงินสดของกลางกับ ป. ทางโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงสองคน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนร่วมในการติดต่อหรือรู้เห็นกับ ป. ในการทำความตกลงดังกล่าว และไม่ได้ความว่าจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องในการนำห่อเมทแอมเฟตามีนของกลางไปวางไว้ใต้สะพานลอยเพื่อส่งมอบให้แก่สายลับตามที่ ป. นัดหมายไว้ ข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่า หลังจากสายลับนำถุงพลาสติกใส่เงินสดของกลางไปวางไว้ที่ตู้โทรศัพท์สาธารณะตามที่ ป. แจ้งแก่สายลับแล้ว จำเลยซึ่งนั่งมาในรถกระบะของคนร้ายลงจากรถเดินเข้าไปหยิบถุงพลาสติกดังกล่าวจึงถูกเจ้าพนักงานตำรวจที่ซุ่มอยู่เข้าจับกุม โดยไม่มีหลักฐานที่เป็นข้อบ่งชี้ว่าจำเลยล่วงรู้สถานที่ส่งมอบเงินค่าซื้อเมทแอมเฟตามีนมาก่อนและเดินทางไปซุ่มรออยู่กับพวกที่บริเวณใกล้ตู้โทรศัพท์ก่อนแล้วเพื่อเตรียมเข้าไปเอาถุงใส่เงินเมื่อมีผู้นำไปวางไว้ให้ ข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวยังไม่เพียงพอให้ฟังว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับ ป. ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางโดยแบ่งหน้าที่กันทำ แต่ตามพฤติการณ์เชื่อได้ว่า จำเลยรู้ดีว่าถุงพลาสติกที่พวกของตนบอกให้ไปหยิบมาให้นั้น เป็นถุงใส่เงินค่าซื้อเมทแอมเฟตามีนที่ผู้ซื้อนำมาวางไว้ให้แก่พวกของตน ถือว่าขณะนั้นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนยังไม่ขาดตอน การกระทำของจำเลยเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในขณะที่ผู้อื่นกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จึงเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในฐานะเป็นตัวการร่วมจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8871/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ร่วม: ผู้ตายเป็นผู้กระทำผิดก่อน จึงไม่มีอำนาจเป็นโจทก์
ผู้ตายบุกรุกเข้าไปในบ้านของจำเลยโดยถือมีดดาบยาวประมาณ 1 เมตร เข้าไปหา ฉ. บิดาจำเลยแล้วใช้มีดดาบดังกล่าวฟัน ฉ. เป็นเหตุให้ ฉ. ได้รับอันตรายแก่กาย เมื่อผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุบุกรุกเข้าไปทำร้ายร่างกาย ฉ. ก่อน ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ดังนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ปัญหาข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 26