พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดและการยกอายุความของผู้ค้ำประกัน คดีนี้ใช้อายุความอาญามากกว่าอายุความแพ่ง
โจทก์ฟ้องบรรยายแสดงสภาพข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ยักยอกเงินค่าขายสินค้าของโจทก์ไป เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิดมีโทษทางอาญา มีอายุความ 10 ปี กำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าอายุความละเมิด จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่ามาบังคับแก่คดี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้นกำหนด 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1ไม่อาจยกอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจยกอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้ได้เช่นเดียวกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การเพียงว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่บรรยายให้ชัดแจ้งว่าวันเวลาใดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายเคลือบคลุม จึงเป็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อยึดรถขายทอดตลาด ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาด
สัญญาเช่าซื้อระบุว่าเมื่อผู้ให้เช่าซื้อยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อ คืนมาและนำออกขายแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ ผู้เช่าซื้อยอมรับผิด จนครบ ดังนั้นเมื่อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคา ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระราคาส่วนที่ขาด อันเป็นค่าเสียหาย ส่วนหนึ่งซึ่งเกิดจากการผิดสัญญา จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันย่อมต้องร่วมรับผิดด้วย สัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันมิได้กำหนดว่ากรณีโจทก์จะขายรถยนต์เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว โจทก์จะต้องบอกกล่าวผู้เช่าซื้อ หรือผู้ค้ำประกันก่อน ทั้งไม่มีกฎหมายระบุให้โจทก์จะต้องทำเช่นนั้น แต่กลับมีข้อสัญญาระบุว่าโจทก์สามารถขายได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ซึ่งซึ่งไม่เป็นข้อที่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์จึงไม่ต้องบอกกล่าวก่อนขาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3728/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การสูญหายของรถยนต์ และความรับผิดของผู้ซื้อ/ผู้ค้ำประกัน
สัญญาซื้อขายรถยนต์ซึ่งระบุว่า กรรมสิทธิ์ของยานยนต์ที่ซื้อขายจะยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะได้ชำระราคาซื้อขายด้วยเงินสดครบถ้วนตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเสียก่อนนั้น เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ย่อมบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อคู่สัญญาตกลงซื้อขายกำหนดราคากันไว้เป็นจำนวนแน่นอนและโจทก์ผู้ขายให้จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อชำระราคาในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่งแล้วให้ผ่อนชำระราคาส่วนที่เหลือเป็นงวด และมีข้อตกลงว่าหากผู้ซื้อผิดนัดชำระราคางวดใด ยอมให้ผู้ขายเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ทั้งหมดได้ทันทีดังนี้ จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขาย เมื่อจำเลยที่ 1มิได้ปฏิบัติตามสัญญาโดยผิดนัดชำระราคาตามงวดที่ได้ตกลงกันไว้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามข้อตกลงและจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องร่วมรับผิดด้วย แม้จะปรากฏต่อมาว่าก่อนถึงกำหนดชำระราคางวดที่ 14 รถยนต์ที่ซื้อขายถูกคนร้ายลักไปโดยไม่ปรากฏว่า เป็นความผิดของโจทก์หรือจำเลยที่ 1ก็ตาม แต่ตามสัญญาซื้อขายระบุไว้ชัดว่า หน้าที่ความรับผิดของผู้ซื้อย่อมไม่หมดสิ้นไปเนื่องจากการสูญหายของยานยนต์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วนเพราะข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการยกเว้นบทบัญญัติมาตรา 372 วรรคแรกแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาย่อมตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ ไม่เป็นโมฆะตามมาตรา 114 เบี้ยประกันภัยที่โจทก์ได้ชำระแทนไป จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระให้โจทก์เต็มจำนวนตามสัญญา แต่ในส่วนอัตราดอกเบี้ยของเงินค่าเบี้ยประกันภัยมิได้กำหนดกันไว้ในสัญญาเหมือนเช่นเงินราคาค่ารถโจทก์จึงเรียกได้เพียงในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าจ้างสั่งการหน้าที่พนักงาน และความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญาจ้าง
สัญญาจ้างระหว่างจำเลยผู้รับจ้างกับโจทก์ผู้ว่าจ้างมีข้อความว่า ผู้รับจ้างยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของผู้ว่าจ้างหรือบุคคลที่ผู้ว่าจ้างมอบหมายทุกประการ โจทก์ผู้ว่าจ้างจึงมีสิทธิโดยชอบที่จะออกคำสั่งมอบหมายให้จำเลยซึ่งมีตำแหน่งเป็นเสมียนพนักงานไปทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนตำแหน่งของจำเลย คำสั่งโจทก์เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาจ้าง ไม่ก่อให้เกิดการเสี่ยงต่อความเสียหายเพิ่มมากขึ้นนอกเหนือจากข้อตกลงตามสัญญาจ้างผูัค้ำประกันการทำงานของจำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อจำเลยทำผิดสัญญาจ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยรับผิดต่อโจทก์ด้วย
สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาลงลายมือชื่อเป็นผู้ค้ำประกัน แม้ศาลจำหน่ายคดีลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันยังมีความรับผิด
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 ลงชื่อไว้สองแห่งคือในช่องหน้าคำว่า พยาน และหน้าคำว่าผู้ค้ำประกัน แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาลงชื่อทั้งในฐานะเป็นพยานและในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยแสดงฐานะด้วยคำว่าผู้ค้ำประกันต่อจากลายมือชื่อจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 การที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากการชำระหนี้ที่มีต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้: แม้จำหน่ายคดีลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดหากหนี้ยังไม่ระงับสิ้น
ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่ 1 แล้ว เนื่องจากโจทก์ไม่ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การแต่เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1 ยังไม่ระงับสิ้นไป กรณีดังกล่าวก็มิได้ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากการชำระหนี้ที่มีต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาเช่าซื้อ ศาลลดดอกเบี้ยเมื่อสูงเกินส่วน และขอบเขตผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดก็ดี หรือผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินใด ๆ แก่เจ้าของตามสัญญาประการใดก็ดี หรือผู้เช่าซื้อจะต้องชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาประการใดประการหนึ่งก็ดี ผู้เช่าซื้อย่อมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระและหรือค่าเสียหายนับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไปในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี..." เมื่อเงินค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถที่เช่าซื้อเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาประการหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ตามสัญญาได้แต่ข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อดอกเบี้ยของค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมาสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจกำหนดให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกสัญญาซึ่งเกินคำขอของโจทก์ที่ขอดอกเบี้ย มานับแต่วันฟ้อง ถึงแม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาเพียงคนเดียว แต่กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายลดเช็ค: สิทธิเรียกร้องหนี้, การยึดเช็คเป็นหลักฐาน, และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การว่าฟ้องเคลือบคลุม เพราะไม่บรรยายว่าจำเลยนำเช็คไปขายลดเท่าใด ชำระแล้วเท่าใด ค้างอีกเท่าใด แต่จำเลยที่ 1ที่ 2 อุทธรณ์ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ทราบยอดหนี้ที่แน่นอน ทำให้จำเลยไม่เข้าใจสภาพแห่งข้อหา ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้อง อุทธรณ์ของจำเลย-ที่ 1 ที่ 2 จึงแตกต่างไปจากที่ให้การต่อสู้คดีไว้ และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี มี น.ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความรับรอง และยืนยันว่าได้มอบอำนาจให้ตนฟ้องคดีจริง แม้จะไม่ได้นำผู้มอบอำนาจมาเบิกความเป็นพยาน เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ย่อมฟังได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ น.ฟ้องคดีจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค เมื่อเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลดเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยึดเช็คดังกล่าวไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดเช็คให้โจทก์ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้แทนเพื่อเป็นประกันเช็คที่เรียกเก็บเงินไม่ได้ โดยไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์จะต้องคืนเช็คที่ขายลด ดังนี้ การสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้โจทก์ไป จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้และตามพฤติการณ์ถือว่าจำเลยที่ 1ยินยอมให้โจทก์ยึดถือเช็คที่ขายลดไว้ได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่คืนเช็คที่ทำสัญญาขายลดไว้ เพื่อปัดความรับผิดไม่ต้องชำระหนี้หาได้ไม่
การที่ น. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง แต่หลังจากฟ้องแล้ว ทราบว่าจำเลยนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์แต่จะเป็นจำนวนเท่าใดจำไม่ได้นั้น เป็นการเบิกความยืนยันว่า ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นหนี้อยู่ตามฟ้อง เมื่อฟ้องแล้วหนี้ได้ลดลงเพราะได้มีการชำระหนี้กันบางส่วน เพียงแต่จำนวนเท่าใดจำไม่ได้เท่านั้น ทางพิจารณาจึงไม่ต่างกับฟ้อง
แม้จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องจำนวนเงินที่ตนจะต้องรับผิด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงิน 2,000,000 บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบ 247
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดี มี น.ผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความรับรอง และยืนยันว่าได้มอบอำนาจให้ตนฟ้องคดีจริง แม้จะไม่ได้นำผู้มอบอำนาจมาเบิกความเป็นพยาน เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ย่อมฟังได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ น.ฟ้องคดีจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค เมื่อเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขายลดเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยึดเช็คดังกล่าวไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดเช็คให้โจทก์ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้แทนเพื่อเป็นประกันเช็คที่เรียกเก็บเงินไม่ได้ โดยไม่มีข้อตกลงว่าโจทก์จะต้องคืนเช็คที่ขายลด ดังนี้ การสั่งจ่ายเช็คฉบับใหม่ให้โจทก์ไป จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้และตามพฤติการณ์ถือว่าจำเลยที่ 1ยินยอมให้โจทก์ยึดถือเช็คที่ขายลดไว้ได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่คืนเช็คที่ทำสัญญาขายลดไว้ เพื่อปัดความรับผิดไม่ต้องชำระหนี้หาได้ไม่
การที่ น. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง แต่หลังจากฟ้องแล้ว ทราบว่าจำเลยนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์แต่จะเป็นจำนวนเท่าใดจำไม่ได้นั้น เป็นการเบิกความยืนยันว่า ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นหนี้อยู่ตามฟ้อง เมื่อฟ้องแล้วหนี้ได้ลดลงเพราะได้มีการชำระหนี้กันบางส่วน เพียงแต่จำนวนเท่าใดจำไม่ได้เท่านั้น ทางพิจารณาจึงไม่ต่างกับฟ้อง
แม้จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องจำนวนเงินที่ตนจะต้องรับผิด เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวงเงิน 2,000,000 บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2206/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัยรถยนต์หลังเกิดอุบัติเหตุ และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนให้โจทก์หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสองใช้ราคารถยนต์พิพาทในส่วนที่ยังค้างชำระให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การว่ารถยนต์พิพาทได้รับความเสียหายเพราะชนกับรถยนต์บุคคลอื่น ต่อมาได้เกิดไฟลุกไหม้ และในทางพิจารณาก็ได้ความว่ารถยนต์พิพาทชนกับรถยนต์อื่นจนเสียหายใช้การไม่ได้จริงเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจคืนรถยนต์พิพาทให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้งานได้ดี ซึ่งหากจำเลยทั้งสองต้องชำระราคารถยนต์พิพาทให้โจทก์จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลยร่วม และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันที่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ราคารถยนต์พิพาทให้โจทก์ ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกค่าทดแทนสำหรับความเสียหายของรถยนต์พิพาทจากจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) และเมื่อศาลชั้นต้นได้มีหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามที่จำเลยทั้งสองขอดังกล่าวแล้ว ศาลล่างทั้งสองย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยร่วมต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยให้โจทก์ได้จะถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนสัญญาค้ำประกันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
เหตุที่หนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารจำเลยที่ 2 หายไปจากกองการเงินของโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ไม่ทราบว่าหายไปเมื่อใดจึงไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ยินยอมคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันแก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้โจทก์แล้ว แม้จำเลยที่ 2จะได้เอกสารดังกล่าวไว้ในครอบครองก็หาใช่กรณีที่หนี้ของลูกหนี้ได้ระงับสิ้นไปแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 ไม่ และแม้จำเลยที่ 2จะอ้างว่ารับคืนสัญญาค้ำประกันนั้นจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต ก็มิใช่เหตุที่จะทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด ข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสาม มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด หากปรากฏข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมฟังตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นได้ เมื่อโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนี้ตามสัญญาค้ำประกันยังไม่ระงับ กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าว.