คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายผลลำไยไม่ผูกพันผู้รับโอนที่ดิน แม้จะทราบข้อตกลงและเคยยอมให้เก็บผลลำไย
ย. ทำสัญญาขายผลลำไยกับโจทก์มีกำหนด 10 ปี โดยให้โจทก์เป็นผู้เก็บผลลำไยเองจากต้นในสวนของ บ. และตลอดเวลาที่โจทก์เก็บผลลำไยยังไม่ครบกำหนด บ. จะไม่ขายที่ดินสวนลำไยแก่ผู้ใด โจทก์เข้าเก็บผลลำไยตามสัญญาได้ 3 ปี แล้วต่อมา บ. จดทะเบียนโอนขายที่ดินสวนลำไยให้แก่จำเลย ดังนี้ สัญญาซื้อขายผลลำไยระหว่างโจทก์และ บ. เป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิซึ่งมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น จะใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหาได้ไม่ ฉะนั้น ถึงแม้ว่าจำเลยจะทราบถึงข้อตกลงในสัญญา และต่อมาจำเลยยังยอมให้โจทก์เข้าเก็บผลลำไยอีก 2 ปีก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาในตอนหลัง โจทก์ก็หามีสิทธิที่จะนำเอาข้อตกลงนั้นมาใช้บังคับแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินไม่ เพราะไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิของโจทก์ไว้เป็นพิเศษในสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับ บ. นั้น ตกติดและมีผลบังคับจำเลยผู้รับโอนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายผลลำไยไม่ผูกพันผู้รับโอนที่ดิน แม้ทราบสัญญาและเคยยอมให้เก็บผลลำไย
ย. ทำสัญญาขายผลลำไยกับโจทก์มีกำหนด 10 ปี โดยให้โจทก์เป็นผู้เก็บผลลำไยเองจากต้นในสวนของ บ. และตลอดเวลาที่โจทก์เก็บผลลำไยยังไม่ครบกำหนด บ. จะไม่ขายที่ดินสวนลำไยแก่ผู้ใดโจทก์เข้าเก็บผลลำไยตามสัญญาได้ 3 ปี แล้วต่อมา บ. จดทะเบียนโอนขายที่ดินสวนลำไยให้แก่จำเลย ดังนี้ สัญญาซื้อขายผลลำไยระหว่างโจทก์และ บ. เป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิซึ่งมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น จะใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหาได้ไม่ ฉะนั้นถึงแม้ว่าจำเลยจะทราบถึงข้อตกลงในสัญญา และต่อมาจำเลยยังยอมให้โจทก์เข้าเก็บผลลำไยอีก 2 ปีก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาในตอนหลัง โจทก์ก็หามีสิทธิที่จะนำเอาข้อตกลงนั้นมาใช้บังคับแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินไม่ เพราะไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิของโจทก์ไว้เป็นพิเศษให้สัญญาที่โจทก์ทำไว้กับ บ. นั้น ตกติดและมีผลบังคับจำเลยผู้รับโอนด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ครอบครองปรปักษ์เมื่อมีการโอนทางทะเบียนโดยสุจริต สิทธิผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอน
ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนดจนได้กรรมสิทธิ์แล้วนั้นเมื่อยังมิได้จดทะเบียนจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้รับโอนทางทะเบียนโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่
เจ้าของโฉนดจดทะเบียนขายฝากที่ดินแก่บุคคลภายนอกจนหลุดเป็นสิทธิ ผู้ครอบครองปรปักษ์มิได้ต่อสู้ว่าผู้รับซื้อฝากไม่สุจริตย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าผู้รับซื้อฝากนั้นเป็นผู้สุจริต
ผู้รับโอนที่ดินมีโฉนดโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ซึ่งมีสิทธิดีกว่าผู้ครอบครองปรปักษ์นั้นถ้ามีผู้รับโอนทางทะเบียนต่อจากนั้นมาอีกภายใน 10 ปีนับแต่วันโอนครั้งแรก ผู้รับโอนต่อๆ มาจะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่ ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันผู้รับโอนคนใหม่ได้เพราะสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่มีผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตคนแรกแม้ผู้ครอบครองปรปักษ์จะยังคงครอบครองที่ดินตลอดมาเมื่อการครอบครองในช่วงหลังยังไม่ครบ 10 ปี ก็จะถือว่ามีการครอบครองปรปักษ์กับเจ้าของใหม่จนครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1015/2485)
หมายเหตุ คำพิพากษาฎีกาที่ 1087-1090/2501 ก็เดินตามแนวนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์เมื่อมีการโอนทางทะเบียนโดยสุจริต สิทธิเดิมขาดตอน
ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนดจนได้กรรมสิทธิ์แล้วนั้น.เมื่อยังมิได้จดทะเบียนจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้รับโอนทางทะเบียนโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่.
เจ้าของโฉนดจดทะเบียนขายฝากที่ดินแก่บุคคลภายนอกจนหลุดเป็นสิทธิ. ผู้ครอบครองปรปักษ์มิได้ต่อสู้ว่าผู้รับซื้อฝากไม่สุจริต. ย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าผู้รับซื้อฝากนั้นเป็นผู้สุจริต.
ผู้รับโอนที่ดินมีโฉนดโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ซึ่งมีสิทธิดีกว่าผู้ครอบครองปรปักษ์นั้น. ถ้ามีผู้รับโอนทางทะเบียนต่อจากนั้นมาอีกภายใน 10 ปีนับแต่วันโอนครั้งแรก. ผู้รับโอนต่อๆ มาจะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่. ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันผู้รับโอนคนใหม่ได้. เพราะสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่มีผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตคนแรก. แม้ผู้ครอบครองปรปักษ์จะยังคงครอบครองที่ดินตลอดมาเมื่อการครอบครองในช่วงหลังยังไม่ครบ 10 ปี ก็จะถือว่ามีการครอบครองปรปักษ์กับเจ้าของใหม่จนครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วหาได้ไม่.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1015/2485).
หมายเหตุ คำพิพากษาฎีกาที่ 1087-1090/2501 ก็เดินตามแนวนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการคุ้มครองผู้รับโอนสิทธิโดยสุจริต
เมื่อจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทซึ่งจำเลยอาจอ้างสิทธินี้ยันเจ้าของเดิมได้ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค 2 สิทธิของจำเลยอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์มาโดยเสยค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนทำการโดยสุจริต เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนที่พิพาทจากเจ้าของเดิมโดยไม่สุจริต คดีต้องฟังว่าโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทจากเข้าของเดิมโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต จำเลยอ้างกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยทางครอบครองตามมาตรา 1328 ยันโจทก์มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์และการคุ้มครองผู้รับโอนสิทธิโดยสุจริต
เมื่อจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทซึ่งจำเลยอาจอ้างสิทธินี้ยันเจ้าของเดิมได้ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง สิทธิของจำเลยอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนทำการโดยสุจริต เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนที่พิพาทจากเจ้าของเดิมโดยไม่สุจริต คดีต้องฟังว่าโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทจากเจ้าของเดิมโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว จำเลยอ้างกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยทางครอบครองตามมาตรา1382 ยันโจทก์มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการคุ้มครองผู้รับโอนสิทธิโดยสุจริต
เมื่อจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเป็นเวลากว่า 10 ปี. จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทซึ่งจำเลยอาจอ้างสิทธินี้ยันเจ้าของเดิมได้ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299วรรคสอง. สิทธิของจำเลยอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น. จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้.
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนทำการโดยสุจริต. เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า.โจทก์รับโอนที่พิพาทจากเจ้าของเดิมโดยไม่สุจริต. คดีต้องฟังว่าโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทจากเจ้าของเดิมโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว.จำเลยอ้างกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยทางครอบครองตามมาตรา1382 ยันโจทก์มิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนเรือนพิพาทหลังสัญญาประนีประนอมยอมความ: ผู้รับโอนมีสิทธิก่อนเจ้าหนี้
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยยอมชำระเงินให้ผู้ร้องจำนวนหนึ่งโดยจะโอนเรือนพิพาทให้ผู้ร้องแทนการชำระหนี้ถ้าจำเลยขัดขืนไม่ไปโอนให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน และศาลได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้วผู้ร้องย่อมมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนผู้อื่นแม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้จำเลย ก็หามีสิทธิยึดเรือนพิพาทไม่
(มติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คโดยสมบูรณ์ด้วยการส่งมอบ และข้อยกเว้นการเรียกร้องของผู้สั่งจ่ายจากความสัมพันธ์กับผู้รับโอนก่อน
จำเลยที่ 1 ออกเช็คระบุให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2หรือผู้ถือ. การโอนเช็คไปย่อมสมบูรณ์เพียงด้วยส่งมอบให้กัน. เมื่อจำเลยที่ 2 ส่งมอบเช็คพิพาทให้แก่โจทก์.โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรง.
จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 2. ต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ยักยอกเงินของบริษัทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการ. จำเลยที่ 1 จึงแจ้งความดำเนินคดีอาญาและแจ้งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็ค.จำเลยที่ 2 เอาเช็คพิพาทไปขึ้นเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่าย. จำเลยที่ 2 ได้ส่งมอบเช็คพิพาทให้แก่โจทก์. โจทก์จึงได้เอาเช็คนั้นมาฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้เงินตามเช็ค. เมื่อการโอนเช็คพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และโจทก์ได้มีขึ้นด้วยการคบคิดกันเพื่อฉ้อฉลจำเลยที่ 1. จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายย่อมต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันระหว่างตนกับจำเลยที่ 2 ผู้ทรงคนก่อนนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 และ989 วรรคหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายโมฆะเมื่อสามีมิได้ยินยอมและได้บอกล้างแล้ว ผู้รับโอนย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง
สามีมิได้รู้เห็นและให้ความยินยอมภริยาทำนิติกรรมซื้อขายสินบริคณห์เมื่อได้บอกล้างนิติกรรมนั้นแล้วนิติกรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138
บุคคลที่รับโอนทรัพย์สินมาโดยไม่สุจริตจากผู้โอนที่ได้ทรัพย์สินมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะเมื่อนิติกรรมนั้นถูกบอกล้าง บุคคลที่รับโอนนั้นไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1329
of 37