พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5680/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดำเนินคดีหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจคุ้มครองสิทธิจำเลยแต่ผู้เดียว
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยไว้ก่อนแล้ว หลังจากนั้น จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อวันที่ 25มิถุนายน 2530 ครั้นวันที่ 29 มิถุนายน 2530 เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่โจทก์นำยึดตามคำสั่งศาล เช่นนี้ จำเลยจะร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ อำนาจในการดำเนินคดีย่อมตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาศาลในวันที่ศาลนัดไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ขอคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนจำเลย ย่อมมีอำนาจจะคุ้มครองป้องกันสิทธิของจำเลยทุกประการ ศาลจึงไม่มีหน้าที่จะต้องสอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่.
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาศาลในวันที่ศาลนัดไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ขอคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนจำเลย ย่อมมีอำนาจจะคุ้มครองป้องกันสิทธิของจำเลยทุกประการ ศาลจึงไม่มีหน้าที่จะต้องสอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5354/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนซื้อขายหุ้น ค้ำประกัน และการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
จำเลยที่ 1 ตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของโจทก์กับจำเลยที่ 1อยู่ที่การประกอบกิจการ ซื้อและขายหุ้นเพื่อเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลงเป็นครั้งคราวมากกว่า ประสงค์ให้มีการโอนหุ้น แม้การซื้อขายหุ้นเช่นนี้จะไม่มีการโอนหุ้น ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129ก็หาเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ออกเงินทดรองซื้อหุ้นให้จำเลยที่ 1 อันเป็นกิจการที่จำเลยที่ 1 มอบหมาย โจทก์ในฐานะตัวแทนย่อมเรียกให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวการและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิด อย่างลูกหนี้ร่วมชดใช้เงินที่ได้ออกทดรอง รวมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่าย อย่างอื่นตามสัญญาได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยทั้งสองตกเป็น ลูกหนี้โจทก์อันอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า30,000 บาท(ตามกฎหมายเดิม) และไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์สิน อย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ศาลก็มีอำนาจสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีสำเร็จก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เงินจากการบังคับคดีไม่อยู่ในกองทรัพย์สินล้มละลาย
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 111 เป็นบทบัญญัติที่วางวิธีปฏิบัติของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะต้องกักเงินไว้เมื่อได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แต่หมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 110กล่าวคือ หากการบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ไปก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การบังคับคดีนั้นย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3286/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องหลังมีคำพิพากษาพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดทำไม่ได้
ในคดีล้มละลาย เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โจทก์จะขอถอนฟ้องจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การโอนหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ
การที่ลูกหนี้ (จำเลย) ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งเป็นสามีมิได้จดทะเบียนสมรสกันมอบอำนาจให้ ส. ขายที่ดินและบ้านพิพาททั้งส่วนที่เป็นมรดกของ พ. และส่วนที่เป็นของตนให้แก่ผู้คัดค้านขณะที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้(จำเลย) แล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างลูกหนี้ (จำเลย) กับผู้คัดค้านเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย) ย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 22, 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย) เสียได้ และเมื่อนิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะแล้ว คู่สัญญาคือลูกหนี้ (จำเลย) ผู้ขายและผู้คัดค้านผู้ซื้อย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยผลแห่งกฎหมายไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสั่งให้มีการชดใช้เงินในกรณีที่ไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมอีกและถึงแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขอให้เพิกถอนการโอนโดยอ้าง มาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาด้วย และผู้คัดค้านอ้างว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน เมื่อได้ความว่าลูกหนี้ (จำเลย) โอนทรัพย์ให้ผู้คัดค้านหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) เด็ดขาดแล้วก็ต้องปรับตามมาตรา 24 เพราะคำว่า การโอนทรัพย์สินหรือกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น หมายถึงการโอนที่กระทำกันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หาใช่การโอนที่กระทำกันหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่ลูกหนี้ (จำเลย) ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งเป็นสามีมิได้จดทะเบียนสมรสกันมอบอำนาจให้ ส. ขายที่ดินและบ้านพิพาททั้งส่วนที่เป็นมรดกของ พ. และส่วนที่เป็นของตนให้แก่ผู้คัดค้านขณะที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้(จำเลย) แล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างลูกหนี้ (จำเลย) กับผู้คัดค้านเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย)ย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22,24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย) เสียได้ และเมื่อนิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะแล้ว คู่สัญญาคือลูกหนี้(จำเลย) ผู้ขายและผู้คัดค้านผู้ซื้อย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยผลแห่งกฎหมายไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสั่งให้มีการชดใช้เงินในกรณีที่ไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมอีกและถึงแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขอให้เพิกถอนการโอนโดยอ้างมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาด้วยและผู้คัดค้านอ้างว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน เมื่อได้ความว่าลูกหนี้ (จำเลย) โอนทรัพย์ให้ผู้คัดค้านหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย)เด็ดขาดแล้วก็ต้องปรับตามมาตรา 24 เพราะคำว่า การโอนทรัพย์สินหรือกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น หมายถึงการโอนที่กระทำกันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หาใช่การโอนที่กระทำกันหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันหลังการพิทักษ์ทรัพย์: ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดเมื่อหนี้ของผู้รับประกันได้ชำระเสร็จสิ้น
ผู้ค้ำประกันซึ่งถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้ชำระหนี้ของลูกหนี้ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์นั้น แม้จะไม่ได้ปฏิเสธหนี้ภายในกำหนดอันจะต้องถือว่าเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นการเด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119แต่ก็คงรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ที่ค้ำประกันได้มีการชำระเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมหลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว ไม่ทำให้ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด สิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างจ่ายยังคงมี
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว มีผลเพียงทำให้จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเอง ต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทน หามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่ โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยเกี่ยงให้ไปขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายเท่านั้น หาใช่เป็นการปฏิเสธว่าจะเลิกจ้างหรือไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานต่อไปไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวนั้น ไม่ใช่หนี้ที่จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จึงไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนตาม มาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้าง ค้างจ่ายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวกับสิทธิลูกจ้าง: ค่าจ้างค้างจ่ายยังคงเรียกร้องได้ แม้เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวมีผลเพียงทำให้จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเองต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินกิจการแทนหามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยนั่นเอง การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยเกี่ยงให้ไปขอรับชำระหนี้ตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว ค่าจ้างของโจทก์ซึ่งถึงกำหนดหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวไม่ใช่หนี้ที่จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา94แห่งพ.ร.บ.ล้มละลายฯและไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนตามมาตรา146เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้างโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ทันที.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวไม่ทำให้ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด สิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างจ่ายยังคงมี
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวมีผลเพียงทำให้จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเองต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทนหามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยอยู่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดำเนินกิจการแทนจำเลยปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยเกี่ยงให้ไปขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายเท่านั้นหาใช่เป็นการปฏิเสธว่าจะเลิกจ้างหรือไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานต่อไปไม่ถือไม่ได้ว่าจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวนั้นไม่ใช่หนี้ที่จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา94แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483จึงไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนตามมาตรา146แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันเมื่อจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ทันที.