พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางโดยวิสาสะ ไม่เกิดภารจำยอม แม้ใช้ติดต่อกันเกิน 10 ปี
การที่ราษฎรได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางโคกระบือเดินผ่านที่ดินจำเลยเป็นการใช้ชั่วคราวโดยวิสาสะตามประเพณีของชาวบ้าน โจทก์ซึ่งอยู่บ้านใกล้เคียงก็ได้ขออาศัยเดินผ่านที่ดินจำเลยออกสู่ถนนด้วยแต่ภายหลังโจทก์จะถมดินขยายทางเพื่อให้รถยนต์เข้าออกได้อย่างถาวรจำเลยจึงไม่ยอม ดังนี้ การที่โจทก์ขออาศัยเดินผ่านทางพิพาทในที่ดินจำเลยจึงเป็นการใช้ทางโดยอาศัยสิทธิของจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ทั้งตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า10 ปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งภารจำยอมโดยอายุความ และอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่ใต้ภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อรั้วเปิดทางภารจำยอม ให้โจทก์เป็นผู้รื้อโดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น ไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลคงพิพากษาให้ว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม ให้จำเลยรื้อรั้วเปิดทางภารจำยอม ให้จำเลยไปจดทะเบียนทางภารจำยอมให้โจทก์หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่สิ้นสุดแม้เจ้าของภารยทรัพย์เปลี่ยนมือ การอ้างซื้อโดยสุจริตไม่ตัดสิทธิภารจำยอม
ภารจำยอมจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อภารยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิประเภทที่จำกัดตัดทอนกรรมสิทธิ์เป็นทรัพยสิทธิที่ผูกพันอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเป็นสามยทรัพย์ ไม่ใช่ทรัพยสิทธิส่วนตัวบุคคล ดังนั้น แม้เจ้าของภารยทรัพย์จะเปลี่ยนตัวไปก็หาเป็นข้อสำคัญไม่ ตามมาตรา 1299 บัญญัติว่า "สิทธิอันยังมิได้จดทะเบียน นั้นมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว" นั้น หมายความถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพยสิทธิอันเดียวกับทรัพยสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนั้น กรณีตามที่จำเลยอ้างเป็นการได้สิทธิประเภทกรรมสิทธิ์ในที่ดินภารยทรัพย์ จึงมิใช่การโต้เถียงกันในเรื่องการได้สิทธิในทรัพยสิทธิอันเดียวกันจำเลยจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทต้องสิ้นไปหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่สิ้นสุดแม้มีการโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต หากยังมีการใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง
ภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิประเภทที่จำกัดตัดทอนกรรมสิทธิ์ผูกพันอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเป็นสามยทรัพย์ ไม่ใช่ทรัพยสิทธิส่วนตัวบุคคล แม้เจ้าของภารยทรัพย์จะเปลี่ยนตัวไปก็หาเป็นข้อสำคัญไม่ส่วนมาตรา 1299 ที่บัญญัติว่า "สิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว" นั้น หมายความถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพยสิทธิอันเดียวกันกับทรัพยสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนั้น จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาเป็นการได้สิทธิประเภทกรรมสิทธิ์ในที่ดินภารยทรัพย์แล้วสร้างกำแพงปิดล้อมที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทางภารจำยอมที่โจทก์ใช้รถยนต์แล่นเข้าออกที่ดินของโจทก์ กรณีจึงมิใช่การโต้เถียงกันในเรื่องการได้สิทธิในทรัพยสิทธิอันเดียวกัน จำเลยจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทต้องสิ้นไปหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 777/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การซื้อขายที่ดิน, ครอบครองปรปักษ์, และภารจำยอม ต้องยกฟ้องหากมิได้บรรยายฟ้องตามประเด็น
ในคดีที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากผู้มีชื่อเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์นั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่โจทก์ซื้อมาเป็นที่ดินที่จำเลยยังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้เพราะการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำในที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องไว้ในเรื่องทางภารจำยอมด้วยก็ตามแต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้ว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ และได้ภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และมาตรา 1401ตามลำดับแล้ว การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและการนำสืบในประเด็นดังกล่าวย่อมเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น ศาลฎีกามิอาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4737/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ อากรแสตมป์ค้างชำระ และการได้ภารจำยอมโดยอายุความ
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 10 กระทำกิจการหลายอย่างรวมทั้งฟ้องคดีนี้ จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป และโจทก์ดังกล่าวต่างอ้างว่ามีสิทธิใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิที่เป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์คนละแปลงต่างกัน แม้จะทำหนังสือมอบอำนาจเป็นตราสารฉบับเดียวกันก็ตาม ก็ต้องเสียอากรตามรายบุคคลคนละ30 บาท ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 108 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 21 (ข) จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 270 บาท โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9ปิดอากรแสตมป์เพียง 30 บาท จึงไม่บริบูรณ์ ต้องห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งตามมาตรา 118 โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ภารจำยอมอาจได้มาโดยอายุความซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิตามลักษณะ 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งได้แก่อายุความตามมาตรา 1382 ที่กำหนดว่าถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์มีอายุความ 10 ปี มาตราดังกล่าวมุ่งหมายถึงเฉพาะเจ้าของสามยทรัพย์ผู้ใช้สิทธิทางภารจำยอมในภารยทรัพย์เท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงเจ้าของภารยทรัพย์ แม้จำเลยจะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภารยทรัพย์มาจากนายจิตติโจทก์เจ้าของสามยทรัพย์ก็นับอายุความการใช้ทางพิพาทตั้งแต่นายจิตติเจ้าของเดิมรวมกับระยะเวลาที่จำเลยเป็นเจ้าของติดต่อกันได้เมื่อปรากฏว่าเกิน 10 ปี ย่อมได้ภารจำยอมโดยอายุความตามมาตรา 1401
โจทก์ทั้งสิบฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะที่ดินของโจทก์ที่ 10 ศาลอุทธรณ์ก็ต้องพิพากษาให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะแต่ที่ดินของโจทก์ที่ 10และระบุเลขที่ดินและเลขโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 10 ที่ได้ความจากทางพิจารณาลงไปให้ชัดเจน และที่ให้จำเลยทั้งสองรื้อกำแพงคอนกรีตและประตูเหล็กยืด ก็มีในคำขอท้ายฟ้อง ศาลอุทธรณ์จึงไม่ได้พิพากษาเกินหรือนอกไปจากคำขอท้ายฟ้อง.
ภารจำยอมอาจได้มาโดยอายุความซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิตามลักษณะ 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งได้แก่อายุความตามมาตรา 1382 ที่กำหนดว่าถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์มีอายุความ 10 ปี มาตราดังกล่าวมุ่งหมายถึงเฉพาะเจ้าของสามยทรัพย์ผู้ใช้สิทธิทางภารจำยอมในภารยทรัพย์เท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงเจ้าของภารยทรัพย์ แม้จำเลยจะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภารยทรัพย์มาจากนายจิตติโจทก์เจ้าของสามยทรัพย์ก็นับอายุความการใช้ทางพิพาทตั้งแต่นายจิตติเจ้าของเดิมรวมกับระยะเวลาที่จำเลยเป็นเจ้าของติดต่อกันได้เมื่อปรากฏว่าเกิน 10 ปี ย่อมได้ภารจำยอมโดยอายุความตามมาตรา 1401
โจทก์ทั้งสิบฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะที่ดินของโจทก์ที่ 10 ศาลอุทธรณ์ก็ต้องพิพากษาให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะแต่ที่ดินของโจทก์ที่ 10และระบุเลขที่ดินและเลขโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 10 ที่ได้ความจากทางพิจารณาลงไปให้ชัดเจน และที่ให้จำเลยทั้งสองรื้อกำแพงคอนกรีตและประตูเหล็กยืด ก็มีในคำขอท้ายฟ้อง ศาลอุทธรณ์จึงไม่ได้พิพากษาเกินหรือนอกไปจากคำขอท้ายฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4737/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง, ภารจำยอมได้มาโดยอายุความ และการพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 10 กระทำกิจการหลายอย่างรวมทั้งฟ้องคดีนี้ จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป และโจทก์ดังกล่าวต่างอ้างว่ามีสิทธิใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิที่เป็นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์คนละแปลงต่างกัน แม้จะทำหนังสือมอบอำนาจเป็นตราสารฉบับเดียวกันก็ตาม ก็ต้องเสียอากรตามรายบุคคลคนละ30 บาท ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 108 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 21(ข) จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 270 บาท โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9ปิดอากรแสตมป์เพียง 30 บาท จึงไม่บริบูรณ์ ต้องห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งตามมาตรา 118 โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 9 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ภารจำยอมอาจได้มาโดยอายุความซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิตามลักษณะ 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งได้แก่อายุความตามมาตรา 1382 ที่กำหนดว่าถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์มีอายุความ 10 ปี มาตราดังกล่าวมุ่งหมายถึงเฉพาะเจ้าของสามยทรัพย์ผู้ใช้สิทธิทางภารจำยอมในภารยทรัพย์เท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงเจ้าของภารยทรัพย์ แม้จำเลยจะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภารยทรัพย์มาจากนายจิตติโจทก์เจ้าของสามยทรัพย์ก็นับอายุความการใช้ทางพิพาทตั้งแต่นายจิตติเจ้าของเดิมรวมกับระยะเวลาที่จำเลยเป็นเจ้าของติดต่อกันได้เมื่อปรากฏว่าเกิน 10 ปี ย่อมได้ภารจำยอมโดยอายุความตามมาตรา 1401 โจทก์ทั้งสิบฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะที่ดินของโจทก์ที่ 10 ศาลอุทธรณ์ก็ต้องพิพากษาให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเฉพาะแต่ที่ดินของโจทก์ที่ 10และระบุเลขที่ดินและเลขโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 10 ที่ได้ความจากทางพิจารณาลงไปให้ชัดเจน และที่ให้จำเลยทั้งสองรื้อกำแพงคอนกรีตและประตูเหล็กยืด ก็มีในคำขอท้ายฟ้อง ศาลอุทธรณ์จึงไม่ได้พิพากษาเกินหรือนอกไปจากคำขอท้ายฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและสิทธิในการรื้อถอนสิ่งรุกล้ำ ทางพิพาท
โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทเดินออกสู่ทางสาธารณะมากว่า10 ปี ทางพิพาทจึงเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความเมื่อจำเลยก่อสร้างกำแพงรุกล้ำทางพิพาท เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยรื้อถอนกำแพงเฉพาะส่วนที่รุกล้ำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 1390 ที่ดินที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมในคดีก่อนเป็นคนละแปลงกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงไม่เป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก ไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภารจำยอมก็ให้โจทก์รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบ โจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3984/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่สิ้นสุดแม้เจ้าของภารยทรัพย์เปลี่ยนมือ การจดทะเบียนภารจำยอมไม่ได้เป็นเงื่อนไขของการสิ้นสุดสิทธิ
โจทก์และผู้ใช้ประโยชน์จากที่ดินในซอยได้ใช้ซอยดังกล่าวเป็นทางสัญจรไปตามแนวเสาไฟฟ้า ซึ่งผ่านไปตามที่ดินพิพาทมาเกิน 10 ปีแล้ว ดังนี้ ที่ดินพิพาทย่อมเป็นทางภารจำยอม ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิประเภทที่จำกัดตัดทอนกรรมสิทธิ์เป็นทรัพยสิทธิที่ผูกพันอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเป็นสามยทรัพย์ไม่ใช่ทรัพยสิทธิส่วนบุคคล ดังนั้นแม้เจ้าของภารยทรัพย์จะเปลี่ยนตัวไปก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป ภารจำยอมจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อภารยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้สิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397หรือ 1399 มาตรา 1299 ที่บัญญัติว่า "สิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้นมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว" นั้น หมายความถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพยสิทธิอันเดียวกันกับทรัพยสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน การที่จำเลยอ้างการได้สิทธิประเภทกรรมสิทธิ์ในที่ดินภารยทรัพย์ จึงมิใช่การโต้เถียงกันในเรื่องการได้สิทธิในทรัพยสิทธิอันเดียวกันจำเลยจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทต้องสิ้นไปหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอม & ทางจำเป็น: การใช้ทางโดยไม่เป็นปรปักษ์ และความจำเป็นในการกำหนดขนาดทาง
การที่ ม. เจ้าของที่ดินพิพาทคนก่อนอนุญาตให้โจทก์ใช้สิทธิในที่พิพาทเป็นทางเดิน มิใช่ให้โจทก์ได้สิทธิเป็นทางภารจำยอมแม้โจทก์ได้ใช้สิทธิในทางพิพาทมาเป็นเวลาหลายปีก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิโดยอาการที่ถือว่าเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของก็ต้องถือว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ม. เท่านั้นโจทก์จึงไม่ได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความ การใช้ทางจำเป็นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติให้เลือกที่และวิธีทำทางผ่านให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านกับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ การที่โจทก์ขอใช้สิทธิในทางพิพาทกว้างถึง 2 เมตรจึงเป็นการเกินความจำเป็นที่จะใช้เป็นสภาพทางเดินและทางระบายน้ำ.