คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีการค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเสาไฟฟ้าฯ มิใช่สัญญาจ้างทำของ ผู้ประกอบการค้าไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ทำเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงส่งแก่การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สัญญาที่โจทก์ทำกับการไฟฟ้าทั้งสองระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายข้อความในหนังสือสัญญาให้เห็นว่าคู่สัญญามีเจตนามุ่งจะให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เพื่อตอบแทนการใช้ราคา มิได้มุ่งหวังในผลสำเร็จในการงาน แม้ข้อความในสัญญาจะได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะของทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบว่าจะต้องเป็นไปตามแบบและรายการแนบท้ายสัญญา ก็เห็นได้ว่าเป็นการกำหนดรายละเอียดไว้เป็นเงื่อนไขในการรับซื้อ สัญญาดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาซื้อขายหาใช่สัญญาจ้างทำของไม่
โจทก์นำลวดเหล็กเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงเพื่อขาย มิใช่ลวดเหล็กนั้นเข้ามาเพื่อขาย โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตาม มาตรา 78 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1606/2512) กรณีนี้โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
กรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 5 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยและเมื่อศาลเห็นว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่กรมสรรพากรจำเลยยกขึ้นอ้างอิงเพื่อเรียกเก็บภาษีจากโจทกืไม่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจไม่ให้บังคับตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899-1901/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ชงดื่ม: การพิจารณาว่าใบชาและชาผงเข้าข่ายได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่
ตามประมวลรัษฎากรผู้ประกอบการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้า เว้นแต่จะมีการลดอัตราหรือยกเว้นโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรหรือกฎหมายอื่น พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 43) พ.ศ.2516 มาตรา 3 บัญญัติว่า "ให้ยกเว้นภาษีการค้าสำหรับสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก) ของบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ฯลฯ เฉพาะที่มิได้ระบุในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เพราะที่ผลิตในราชอาณาจักร" และตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวระบุ "ผลิตภัณฑ์ชงดื่ม" ไว้ในบัญชีที่ 1 หมวด 1 อาหาร เครื่องดื่ม (3) ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เก็บใบชามาจากต้นแล้วนำไปผึ่งลม คั่ว นวดและอบตามลำดับ แล้วนำไปคัดเลือกแยกออกเป็นใบชาชนิดอ่อน ใบชาชนิดแก่และก้านชา สำหรับใบชาชนิดแก่และก้านชานี้โจทก์นำไปคั่วและบดให้เป็นผงเรียกว่าชาผง ใบชาชนิดอ่อนและชาผงโจทก์จำหน่ายให้แก่องค์การคลังสินค้า ซึ่งผู้ที่ซื้อต่อไปใช้ชงดื่มได้ทันทีแต่ไม่เป็นที่นิยมกันเพราะรสชาติไม่เป็นที่นิยมและความสะอาดไม่ดีนัก ใบชาและชาผงดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ชงดื่มตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวแล้วเพราะอยู่ในสภาพที่ใช้ชง และนำน้ำที่ชงนั้นมาดื่มหรือบริโภคได้ โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับใบชาและชาผงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899-1901/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ชงดื่ม: การพิจารณาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์
ตามประมวลรัษฎากรผู้ประกอบการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้า เว้นแต่จะมีการลดอัตราหรือยกเว้นโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรหรือกฎหมายอื่น พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร(ฉบับที่ 43) พ.ศ.2516 มาตรา 3 บัญญัติว่า"ให้ยกเว้นภาษีการค้าสำหรับสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) ของบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ฯลฯ เฉพาะที่มิได้ระบุในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ทั้งนี้ เฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักร" และตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวระบุ"ผลิตภัณฑ์ชงดื่ม" ไว้ในบัญชีที่ 1 หมวด 1 อาหารเครื่องดื่ม (3) ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เก็บใบชามาจากต้นแล้วนำไปผึ่งลม คั่ว นวดและอบ ตามลำดับ แล้วนำไปคัดเลือกแยกออกเป็นใบชาชนิดอ่อน ใบชาชนิดแก่และก้านชา สำหรับใบชาชนิดแก่และก้านชานี้โจทก์นำไปคั่วและบดให้เป็นผงเรียกว่าชาผง ใบชาชนิดอ่อนและชาผงโจทก์จำหน่ายให้แก่องค์การคลังสินค้า ซึ่งผู้ที่ซื้อต่อไปใช้ชงดื่มได้ทันที แต่ไม่เป็นที่นิยมกันเพราะรสชาติไม่เป็นที่นิยม และความสะอาดไม่ดีนัก ใบชาและชาผงดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ชงดื่มตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวแล้วเพราะอยู่ในสภาพที่ใช้ชง และนำน้ำที่ชงนั้นมาดื่มหรือบริโภคได้ โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับใบชาและชาผงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนบริษัทต่างประเทศเสียภาษีการค้าเหมือนผู้ประกอบการ ค่าระวางเรือหักลดหย่อนได้
ตัวแทนในประเทศไทยของบริษัทต่างประเทศต้องเสียภาษีการค้าดุจเป็นผู้ประกอบการค้าเอง เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีจากตัวแทนรวมกันทุกบริษัทได้ โดยไม่ต้องแยกแต่ละบริษัทที่ตัวแทนทำการแทน ในส่วนค่าระวางเรือที่ได้รับส่วนแบ่งคืน(REBATE หรือ DISCOUNT)นั้น ถือเป็นค่าระวางส่วนหนึ่ง หักออกก่อนยื่นระบุเป็นค่าระวางไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540-1541/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากที่ดินสวนหมาก การตีราคาทุน การหลีกเลี่ยงภาษี และอำนาจเจ้าพนักงานประเมิน
ห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ตั้งขึ้นเพื่อการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมากและได้ขายที่ดินสวนหมากของห้างฯไปเพื่อการค้าหากำไร รายได้จากการขายที่ดินดังกล่าวต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 40(8) และภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร
หลังจากทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญ บ. ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าเมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่กรรม หุ้นส่วนผู้จัดการก็ได้แก้บัญชีให้ทายาทของผู้ถึงแก่กรรมเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นแทนโดยหุ้นส่วนคนอื่นมิได้ทักท้วง และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งที่ถึงแก่กรรมโดยไม่มีทายาทเข้าถือหุ้นแทนก็มีการคืนเงินค่าหุ้นให้ทายาทไปตามส่วนที่ทายาทได้รับมรดกและต่อมาห้างหุ้นส่วนก็ยังได้ไปจดทะเบียนการค้า ดังนี้ถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. เลิกกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
ข. กับ ป. เอาที่ดินสวนหมากมาเป็นทุนของห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วน เมื่อ ข. กับ ป. ถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ข. และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ป. จึงมีสิทธิเพียงรับมรดกในหุ้นที่ ข.และ ป. มีอยู่ในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นไม่มีสิทธิรับมรดกที่ดินของห้างหุ้นส่วน การที่ ข. และ ป. มีชื่อกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินของห้างหุ้นส่วน ก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนฯเท่านั้น โจทก์จะอ้างว่าเป็นการขายทรัพย์สินมรดกไม่ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรหาได้ไม่
ข. กับ ป. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองและพวกเข้าหุ้นส่วนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ บ. ขึ้นเพื่อทำการค้าหากำไรจากที่ดินสวนหมาก จึงต้องถือว่าที่ดินสวนหมากที่ห้างหุ้นส่วนได้มาเป็นสินค้าของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่วันที่ห้างหุ้นส่วนเอาที่ดินสวนหมากมาดำเนินการค้าหากำไรคือวันที่ 30 กันยายน 2497 อันเป็นวันทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน ดังนั้นการคิดราคาทุนของที่ดินสวนหมากจึงต้องถือตามราคาที่แท้จริงของที่ดินสวนหมากขึ้นในวันดังกล่าว จะคิดเอาราคาตลาดของสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือตามราคาปานกลางตามประกาศของเทศบาลเมืองซึ่งประกาศในภายหลังหาได้ไม่ และเมื่อฟังได้ว่าที่ห้างหุ้นส่วนตีราคาที่ดินสวนหมากของห้างขณะทำหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนเป็นเงิน 2,200,000 บาทเป็นราคาที่สมควร และมีการซื้อขายกันในระยะนั้น การประเมินราคาทุนที่ดินสวนหมากที่ขายไป เพื่อถือเป็นค่าใช้จ่ายที่จะนำไปหักจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้จึงต้องคิดเฉลี่ยจากจำนวนที่ดินทั้งหมดในราคาทุน 2,200,000 บาท
ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีการค้าหรือภาษีเงินได้หรือไม่ และเมื่อเห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีเงินได้ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22
ประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเรื่องประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 ข้อ 2(3) ที่บัญญัติให้สรรพากรจังหวัดและผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดสำหรับท้องที่จังหวัดเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 16 นั้นไม่ได้คำนึงถึงชั้นของข้าราชการ แต่มุ่งถึงตำแหน่ง ข้าราชการคืออาจเป็นสรรพากรจังหวัดโทหรือผู้ช่วยสรรพากรจังหวัดตรีคนใดคนหนึ่งก็เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดเอกจังหวัดสงขลาแต่ผู้เดียวจึงมีอำนาจลงนามประเมินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าชิ้นส่วนประกอบรถยนต์เพื่อผลิต ไม่ใช่ขาย เป็นอะไหล่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้า
โจทก์นำชิ้นส่วนเข้ามาเป็นวัตถุดิบประกอบรถยนต์ มิได้ขายเป็นอะไหล่ ประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคสอง ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 2) ถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า ซึ่งกฎหมายในขณะนั้นยกเว้นตามมาตรา 79 ทวิ (1) จำเลยรับชำระภาษีโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ว่าโจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตาม ประมวลรัษฎากรจึงมิใช่ลาภมิควรได้ ไม่อยู่ในอายุความตาม มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบนำเข้าที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร
แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตามแต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512) และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะ ก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้า
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า แต่โจทก์ได้นำส่งเงินเป็นภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้านั้นไว้ต่อกรมสรรพากรจำเลย ดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ชำระไปโดยการเก็บภาษีการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการเก็บโดยอาศัยกฎหมายบัญญัติให้เก็บ หาใช่เก็บโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายไม่ จึงไม่อยู่ในลักษณะลาภมิควรได้ ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระไปได้ภายในอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเมื่อมิใช่ลาภมิควรได้กรณีจึงไม่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412, 419 กรมสรรพากรจำเลยจึงจะอ้างว่ากรณีที่โจทก์ชำระไปแล้วเป็นรายได้ของรัฐ รัฐได้ใช้จ่ายหมดไปทุกปีตามงบประมาณโดยสุจริตไม่มีสิทธิเรียกคืนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระเกินเนื่องจากโจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามกฎหมาย
แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตามแต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512) และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่างๆ เพื่อขายโดยเฉพาะ ก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่างๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้า
โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้า แต่โจทก์ได้นำส่งเงินเป็นภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้านั้นไว้ต่อกรมสรรพากรจำเลยดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ชำระไปโดยการเก็บภาษีการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการเก็บโดยอาศัยกฎหมายบัญญัติให้เก็บ หาใช่เก็บโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายไม่ จึงไม่อยู่ในลักษณะลาภมิควรได้ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินภาษีการค้าที่ชำระไปได้ภายในอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเมื่อมิใช่ลาภมิควรได้กรณีจึงไม่เข้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 412, 419 กรมสรรพากรจำเลยจึงจะอ้างว่าภาษีที่โจทก์ชำระไปแล้วเป็นรายได้ของรัฐ รัฐได้ใช้จ่ายหมดไปทุกปีตามงบประมาณโดยสุจริตไม่มีสิทธิเรียกคืนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าจากการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้า หากำไร และประเด็นเบี้ยปรับ
เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินมาแล้วได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยการปลูกตึกแถวสองชั้นรวม 10 คูหา ลงในที่ดินโฉนดหนึ่ง ส่วนอีก 3 โฉนดเดิมเป็นแหล่งเสื่อมโทรม โจทก์ได้ลงทุนปรับปรุงด้วยการถมดิน ทำถนนคอนกรีต สร้างสะพานข้ามคลองพร้อมทั้งเขื่อนสร้างอาคารพาณิชย์ 82 คูหา ตลาดสด 2 ตลาด และแผงคอนกรีต 300 แผง ซึ่งในการนี้โจทก์ได้ลงทุนไปนับสิบล้านบาท โดยการนำที่ดินไปจำนองและกู้เงินจากผู้อื่นมาเกือบห้าล้านบาท สร้างแล้วไม่นานก็ขายไป พฤติการณ์แสดงว่าเป็นการประกอบธุรกิจการค้าหากำไร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ แม้ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าต้องขาดทุนจากการขายเพราะมีอุปสรรคในการดำเนินการ สมมุติว่าเป็นความจริงก็เกิดจากการดำเนินงานผิดพลาดของโจทก์เอง และไม่มีข้อยกเว้นในประมวลรัษฎากรว่า กรณีเช่นนี้ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าทั้งหมด และในแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้าท้ายฟ้องก็ระบุด้วยว่า เบี้ยปรับเรียกเก็บตามมาตรา 89 (21) อันเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอจดทะเบียนการค้าตามมาตรา 80 เมื่อศาลเห็นว่าควรเรียกเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2) ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าภายในกำหนด ศาลย่อมพิพากษาแก้ไขโดยให้จำเลยกำหนดเบี้ยปรับใหม่ตามมาตรา 89 (2) ได้ หานอกฟ้องนอกประเด็นไม่ เพราะเท่ากับเป็นการเพิกถอนการประเมินบางส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้ากรณีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า: การพิจารณาผู้ประกอบการค้าและการขายสินค้า
โจทก์จดทะเบียนการค้าประเภทการขายของประเภท 1 ชนิด 1 (ก) ในฐานะผู้ผลิตสินค้าซิเมนต์ เหล็ก อิฐ ได้สั่งกระดาษม้วน ด้าย และเทปกระดาษเข้ามาเพื่อผลิตเป็นถุงกระดาษบรรจุปูนซิเมนต์ ดังนี้ ไม่ว่าโจทก์จะขายถุงปูนซิเมนต์โดยคำนวณต้นทุนผลิตรวมกันไปกับปูนซิเมนต์หรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์สั่งสินค้าดังกล่าวเข้ามาใช้ผลิตเพื่อขายซึ่งสินค้าที่โจทก์ได้ประกอบการค้าอยู่ สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัว ซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ทั้งมิใช่โจทก์นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายแล้ว จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าซึ่งได้ขายสินค้านี้ และให้ถือมูลค่าของสินค้าเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ (1) ต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 อัตราร้อยละ 5 ของรายรับ
โจทก์สั่งลวดเหล็กเข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าตะปูหรือสินค้าเหล็ก และสั่งโลหะผสมแร่เข้ามาใช้เป็นวัสดุเพื่อผลิตเป็นสินค้าเหล็กของโจทก์เพื่อขายต่อไป ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้สั่งลวดเหล็กและโลหะผสมแร่เข้ามาเพื่อขาย โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรค 2 และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าลวดเหล็กและโลหะผสมแร่ ก็จะถือว่าการนำสินค้าดังกล่าวเข้ามาสำหรับผลิตสินค้าเท่ากับนำสินค้าไปใช้ เป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย
of 30