พบผลลัพธ์ทั้งหมด 251 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8640/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความโดยมีเงื่อนไขชำระหนี้ การระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา
เมื่อโจทกและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า ถ้าจำเลยชำระเงินครบถ้วนแล้ว โจทก์จะดำเนินการถอนฟ้องคดียักยอกที่ศาลชั้นต้นที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยไว้ ทั้งโจทก์ไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญากับจำเลยอันเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับบริษัท ป. อีกต่อไป จึงเป็นการยอมความโดยมีเงื่อนไขที่ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เสียก่อน โจทก์จึงจะไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย การยอมความในลักษณะเช่นนี้จะมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปต่อเมื่อจำเลยชดใช้เงินให้แก่โจทก์ครบตามจำนวนแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยนำเงินมาวางที่ศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์มีความผูกพันที่จะต้องถอนฟ้องคดียักยอกที่ศาลชั้นต้นให้แก่จำเลยตามข้อตกลง กรณีจึงเป็นผลเป็นการยอมความในคดีอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6318/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษความผิดต่อเด็ก: พิจารณาบทหนักสุดและผลการยอมความของผู้เสียหาย
จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร และฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวง ทั้งสามฐานความผิดเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวง อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไปทั้งทางแพ่งและทางอาญา ถือเป็นการยอมความกันตามกฎหมาย เมื่อความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดอันยอมความได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไปทั้งทางแพ่งและทางอาญา ถือเป็นการยอมความกันตามกฎหมาย เมื่อความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดอันยอมความได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีเช็ค สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมเมื่อเป็นความผิดอันยอมความได้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่า กรณีดังกล่าวทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7011/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยอมความสลายคดีอาญา: การหาหลักประกันตามข้อตกลง ระงับความผิดฐานยักยอกทรัพย์
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมโดยจำเลยจะหาหลักประกันมาให้โจทก์ร่วมด้วย ตกลงกันว่าหากจำเลยหาหลักประกันมาให้ได้โจทก์ร่วมจะไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย เมื่อจำเลยนำที่ดินมาจำนองแก่โจทก์ร่วมเพื่อเป็นประกันหนี้แล้ว เท่ากับจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลง จึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมและจำเลยได้ยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเกี่ยวกับความผิดฐานยักยอกทรัพย์ที่จำเลยได้กระทำขึ้นย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และคำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมที่ขอให้จำเลยคืนเงินที่ยักยอกไปย่อมตกไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว และผลของการยอมความ
คดีความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่ถึงที่สุด โจทก์ร่วมจะถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความเมื่อใดก็ได้ โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ทนายโจทก์ร่วมมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสอง ถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและเจรจาทำความตกลงประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ร่วมได้ แม้โจทก์ร่วมมิได้มอบอำนาจให้ทนายโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล ทนายโจทก์ร่วมก็มีอำนาจยอมความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสอง และมีผลผูกพันโจทก์ร่วม การที่ทนายโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์เนื่องจากจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมบางส่วน จึงมีผลเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5387-5388/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงชำระหนี้ด้วยการก่อสร้างไม่ถือเป็นการยอมความ หรือแปลงหนี้ ทำให้สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยมีเงื่อนไขในลักษณะที่โจทก์มีเจตนาจะให้จำเลยทำงานให้โจทก์แล้วเสร็จก่อน แล้วจึงหักหนี้ค่าก่อสร้างกับมูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทคดีนี้ภายหลัง เมื่อจำเลยก่อสร้างหรือชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วน โจทก์จึงจะถอนฟ้องคดีนี้ให้ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทันทีแต่อย่างใด จึงมิใช่การยอมความเพื่อให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ฝ่ายเดียวผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่จำเลยมิใช่ต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมตามเช็คระงับไป แล้วเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความทั้งไม่มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไปแต่อย่างใด เมื่อจำเลยมิได้ใช้เงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับให้โจทก์ และหนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นก็ไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 คดีจึงไม่เลิกกัน
ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ฝ่ายเดียวผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่จำเลยมิใช่ต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมตามเช็คระงับไป แล้วเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความทั้งไม่มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไปแต่อย่างใด เมื่อจำเลยมิได้ใช้เงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับให้โจทก์ และหนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นก็ไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 คดีจึงไม่เลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระหว่างจำเลยกับผู้เสียหาย ส่งผลให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับ
คดีความผิดต่อส่วนตัว ในวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ทนายจำเลยแถลงว่าจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้เสียหายและผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไป ศาลชั้นต้นหมายเรียกผู้เสียหายมาสอบถามหากไม่มาถือว่าผู้เสียหายยอมรับความจริงตามที่ทนายจำเลยแถลง ผู้เสียหายได้รับหมายแล้วไม่มาศาล จึงถือว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยจริง ถือว่าได้มีการทำยอมโดยถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงเป็นอันระงับไปตามป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์และการยอมความในคดีอาญา: การเข้าใจผิดเรื่องกรรมสิทธิ์และผลของการประนีประนอม
กระบือเป็นของโจทก์ร่วม แต่ขณะเกิดเหตุ น. ทำให้จำเลยเชื่อว่ากระบือเป็นของ น. มีสิทธิยกให้จำเลยเป็นการชดใช้ค่าเสียหาย การที่จำเลยนำซากกระบือไปชำแหละขายจึงกระทำไปโดยเข้าใจว่ามีสิทธิกระทำได้ จำเลยไม่มีเจตนาทุจริต การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ร่วมกับจำเลยได้ตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายที่กระบือของโจทก์ร่วมทำให้สวนแตงโมของจำเลยเสียหายและค่าเสียหายราคากระบือที่จำเลยยิงตายโดยทำบันทึกไว้เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2544 คู่กรณีตกลงกันแล้วต่างฝ่ายต่างไม่ติดใจเรียกร้องฟ้องกันทั้งทางแพ่งและอาญา โดยจำเลยได้ช่วยเหลือค่าเสียหายของกระบือที่ถูกยิงตายให้โจทก์ร่วมเป็นเงิน 7,000 บาท จะนำเงินมาจ่ายให้หมดในวันที่ 1 ตุลาคม 2545 แล้วลงชื่อโจทก์ร่วมและจำเลย เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แม้ต่อมาจำเลยจะไม่ชำระค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาทำให้เสียทรัพย์หลังจากมีการยอมความกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วอีกได้
โจทก์ร่วมกับจำเลยได้ตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายที่กระบือของโจทก์ร่วมทำให้สวนแตงโมของจำเลยเสียหายและค่าเสียหายราคากระบือที่จำเลยยิงตายโดยทำบันทึกไว้เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2544 คู่กรณีตกลงกันแล้วต่างฝ่ายต่างไม่ติดใจเรียกร้องฟ้องกันทั้งทางแพ่งและอาญา โดยจำเลยได้ช่วยเหลือค่าเสียหายของกระบือที่ถูกยิงตายให้โจทก์ร่วมเป็นเงิน 7,000 บาท จะนำเงินมาจ่ายให้หมดในวันที่ 1 ตุลาคม 2545 แล้วลงชื่อโจทก์ร่วมและจำเลย เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แม้ต่อมาจำเลยจะไม่ชำระค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาทำให้เสียทรัพย์หลังจากมีการยอมความกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความทำให้สิทธิฟ้องอาญาคดีทำให้เสียทรัพย์ระงับ และการยกฟ้องข้อหาลักทรัพย์จากการเข้าใจผิด
โจทก์ร่วมกับจำเลยทำบันทึกกันไว้ตามรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานซึ่งมีข้อความว่า คู่กรณีตกลงกันแล้วต่างฝ่ายต่างไม่ติดใจเรียกร้องฟ้องกันทั้งทางแพ่งและอาญาต่อกัน โดยจำเลยได้ช่วยเหลือค่าเสียหายของกระบือที่ถูกยิงตายให้โจทก์ร่วมเป็นเงิน 7,000 บาท จะนำเงินมาจ่ายให้หมดในวันที่ 1 ตุลาคม 2544 แล้วลงชื่อโจทก์ร่วมและจำเลย เช่นนี้ จึงเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358, 359 เป็นความผิดอันยอมความได้ จึงมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แม้ต่อมาจำเลยจะไม่ชำระค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาทำให้เสียทรัพย์ หลังจากมีการยอมความกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วอีกได้ คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความโดยการแปลงหนี้จากละเมิดเป็นหนี้กู้ยืม ทำให้สิทธิฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ
ผู้เสียหายยินยอมให้นำมูลหนี้ที่จำเลยทำละเมิดโดยการยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหายอันเป็นความผิดอาญาซึ่งยอมความได้มาเปลี่ยนเป็นมูลหนี้กู้ยืมระหว่างสามีจำเลยกับกรรมการผู้จัดการของผู้เสียหาย ถือว่าคู่กรณีได้ตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนมูลหนี้จากละเมิดเป็นหนี้กู้ยืม เปลี่ยนตัวลูกหนี้โดยสามีจำเลยเป็นลูกหนี้ซึ่งต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมแทนจำเลย และเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากบริษัทผู้เสียหายเป็นกรรมการผู้จัดการของผู้เสียหาย สิทธิเรียกร้องของผู้เสียหายที่มีอยู่เดิมจึงต้องระงับสิ้นไป แม้จะปรากฏว่าไม่เคยมีการชำระเงินตามสัญญากู้ยืมดังกล่าว ก็ไม่มีผลทำให้การแปลงหนี้ใหม่ดังกล่าวเสียไปเพราะสิทธิเรียกร้องยังคงอยู่ กรณีฟังได้ว่าจำเลยและผู้เสียหายได้ตกลงระงับข้อพิพาทที่มีต่อกันในทางอาญาโดยการแปลงหนี้ใหม่ จึงถือว่าได้มีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)