คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 829 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติสินเชื่อเกินอำนาจโดยจงใจเลี่ยงระเบียบ และการกระทำโดยทุจริตเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ลูกหนี้ ถือเป็นความผิด
ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจและจำเลยเป็นพนักงานของโจทก์จึงมีฐานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงฐานะของโจทก์ภายหลังหรือไม่ก็หาเป็นเหตุให้มีผลลบล้างฐานะโจทก์และฐานะความรับผิดของจำเลยในขณะเกิดเหตุไม่จึงไม่มีผลกระทบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์และไม่เป็นสาระหรือประโยชน์แก่คดีที่พึงพิจารณาวินิจฉัย หนังสือมอบอำนาจเป็นหนังสือยืนยันขอบเขตอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นพนักงานของจำเลยและรับรองอำนาจหน้าที่ของจำเลยในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลของโจทก์ต่อบุคคลภายนอกเป็นการทั่วไปส่วนมติกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจของผู้แทนดังกล่าวอีกชั้นหนึ่งเป็นข้อจำกัดอำนาจเป็นการภายในหนังสือมอบอำนาจจึงไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าที่และฐานะของจำเลยหรือเป็นการเพิกถอนยกเลิกมติดังกล่าวไม่ ลูกหนี้ยื่นขอสินเชื่อในรูปแบบของการกู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเกินอำนาจอนุมัติของจำเลยแทนที่จำเลยจะเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารโจทก์ตามระเบียบกลับอนุมัติในรูป เพลซเมนท์/โลนหรือเงินฝากเป็นการจงใจหาวิธีการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามระเบียบและวัตถุประสงค์ในรูปสินเชื่อที่แท้จริงโดยทุจริตเมื่อเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ตรวจสอบแล้วทักท้วงว่ารูปแบบสินเชื่อดังกล่าวเป็นการให้กู้และให้แก้ไขแทนที่จำเลยจะแก้ไขปฏิบัติเป็นรูปเงินกู้ตามข้อทักท้วงและขออนุมัติตามระเบียบให้ถูกต้องตามความจริงจำเลยกลับเปลี่ยนแปลงเป็นรูปตั๋วสัญญาใช้เงินอันเป็นวิธีการเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตามที่ทักท้วงและไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดไว้ให้ถูกต้องอีกทั้งยังมีการเพิ่มจำนวนสินเชื่อที่เกินอำนาจหลายครั้งหลายหนชี้ชัดว่าเพื่อเอื้อประโยชน์กันแก่ลูกหนี้เป็นเจตนาทุจริต จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่เสียหายโดยอ้างว่ามีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้และได้มีการชำระหนี้ทั้งหมดแล้วโดยได้ยกขึ้นอ้างตั้งแต่ชั้นอุทธรณ์ตลอดมาและมีพยานเอกสารประกอบซึ่งโจทก์มิได้โต้แย้งพอรับฟังเป็นคุณแก่จำเลยได้ว่าเป็นความจริงแต่เมื่อตั้งแต่จำเลยให้ลูกหนี้กู้ยืมไปลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาตลอดมาจนกระทั่งจำเลยพ้นจากตำแหน่งแล้วตลอดถึงขณะที่โจทก์ฟ้องคดีความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ย่อมมีอยู่จริงก่อนแล้วตั้งแต่จำเลยกระทำผิดการเปลี่ยนตัวลูกหนี้และมีการชำระหนี้แล้วภายหลังเป็นเพียงการชำระหนี้ที่ล่าช้าและมิได้เกิดจากการดำเนินการของจำเลยไม่อาจรับฟังเป็นข้อลบล้างความเสียหายและไม่ช่วยให้จำเลยพ้นจากการกระทำผิดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319-1320/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันต้องเกิดจากการชำระหนี้แทนจำเลย มิใช่การผูกพันตนเป็นลูกหนี้เอง
สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันที่จะไล่เบี้ยเอาจากจำเลยย่อมเกิดมีขึ้นต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา693วรรคหนึ่งการที่โจทก์ยอมผูกพันตนเข้าเป็นลูกหนี้ของเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ของจำเลยอีกคนหนึ่งหาใช่เป็นการที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เสร็จสิ้นแล้วไม่ทั้งไม่ทำให้หนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับจำเลยที่มีอยู่เดิมระงับสิ้นไปเพราะมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319-1320/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันต้องเกิดจากการชำระหนี้แทนจำเลยให้เจ้าหนี้ มิใช่การผูกพันตนเป็นลูกหนี้ใหม่
สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันที่จะไล่เบี้ยเอาจากจำเลยย่อมจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยแล้วตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา693แต่การชำระหนี้โดยวิธีการที่โจทก์ยอมผูกพันตนเข้าเป็นลูกหนี้ของ ธ.เพื่อชำระหนี้ของจำเลยอีกคนหนึ่งหาใช่เป็นการที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ ธ. เสร็จสิ้นแล้วไม่ทั้งไม่ทำให้หนี้ระหว่าง ธ.กับจำเลยที่มีอยู่เดิมระงับสิ้นไปเพราะมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ธ. ยังคงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวได้เช่นเดิมเมื่อตามคำฟ้องไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยให้แก่ ธ. ไปแล้วหรือไม่เป็นจำนวนเท่าใดโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095-1097/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยระบุเจาะจงคดี การนำเงินไปชำระหนี้อื่นขัดต่อกฎหมาย
จำเลยที่5ซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ชำระหนี้โดยระบุด้านหลังเช็คทุกฉบับไว้ชัดว่าให้นำไปชำระหนี้ตามคดีกลุ่มที่พิพากษาในปี2526ทั้งสามสำนวนในคดีนี้โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์คัดค้านแต่ประการใดการที่โจทก์นำเงินจำนวนตามเช็คดังกล่าวไปเฉลี่ยชำระหนี้ของจำเลยที่5ตามคดีกลุ่มที่พิพากษาในปี2528ซึ่งเป็นหนี้รายอื่นนอกจากที่จำเลยที่5ระบุไว้จึงเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา328วรรคหนึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นโมฆะ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายได้
นับตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โดยเด็ดขาดจำเลยที่1เป็นต้นไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีแทนจำเลยที่1ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22(3)จำเลยที่1ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือว่าคดีได้อีกการที่จำเลยที่1เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณายื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี ขายทอดตลาดและดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่สืบเนื่องต่อมาจนถึงการยื่นอุทธรณ์ภายหลังที่จำเลยที่1ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดสิทธิเรียกร้องและการชำระหนี้โดยสุจริต: การปฏิบัติตามคำสั่งอายัดเป็นสำคัญ
บทมาตราที่เรียงต่อกันมาเท่านั้น มิได้หมายความจำกัดว่า จะต้องทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก่อนแล้วจึงจะอายัดสิทธิเรียกร้องได้
การที่ผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีและจ่ายเงินตามที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้องให้จำเลยรับไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จะถือว่าผู้ร้องชำระหนี้ให้จำเลยโดยสุจริตมิได้ ผู้ร้องต้องรับผิดส่งเงินตามหนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดเงินจากบุคคลภายนอก เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจแม้ยังมิได้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดถึงผู้ร้องให้ส่งเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากผู้ร้อง ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านว่าหนังสืออายัดดังกล่าวมิใช่คำสั่งศาล การอายัดต้องกระทำโดยคำสั่งศาลเท่านั้นและการอายัดจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้มีการยึดทรัพย์สินของจำเลยแล้วคดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกหนังสืออายัดไปยังผู้ร้องหรือไม่ และการอายัดจะต้องมีการยึดทรัพย์สินของจำเลยก่อนหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าหนังสืออายัดไม่มีข้อห้ามผู้ร้องไม่ให้ชำระเงินแก่จำเลย ทั้งไม่ได้กำหนดเวลาให้ผู้ร้องส่งมอบเงินที่อายัดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ใช่คำสั่งอายัดตามกฎหมายที่ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตาม อันเป็นประเด็นที่ผู้ร้องมิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการยึดอายัดทรัพย์สินของจำเลย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้อง จึงเป็นการดำเนินการตามคำสั่งยึดอายัดของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีอำนาจกระทำได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้โดยตรง โดยไม่จำต้องบังคับคดีตามวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตราดังกล่าวเรียงตามลำดับ ส่วนมาตรา 310ที่บัญญัติว่า "เมื่อได้มีการยึดทรัพย์แล้ว สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้อันมีต่อบุคคลภายนอกนั้น ให้จัดการดังต่อไปนี้ ฯลฯ" นั้นเป็นการบัญญัติวิธีการยึดทรัพย์ก่อนวิธีการอายัดทรัพย์ อันเป็นบทมาตราที่เรียงต่อกันมาเท่านั้น มิได้หมายความจำกัดว่า จะต้องทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก่อนแล้วจึงจะอายัดสิทธิเรียกร้องได้ การที่ผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีและจ่ายเงินตามที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้องให้จำเลยรับไปทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จะถือว่าผู้ร้องชำระหนี้ให้จำเลยโดยสุจริตมิได้ ผู้ร้องต้องรับผิดส่งเงินตามหนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7247/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมการโอนต้องฟ้องลูกหนี้ร่วมด้วย หากทิ้งฟ้องลูกหนี้ ศาลไม่มีอำนาจพิพากษาเพิกถอน
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 นั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะต้องฟ้องลูกหนี้เข้ามาในคดีด้วย ศาลจึงจะมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนได้ แม้โจทก์จะฟ้องลูกหนี้เป็นจำเลยที่ 1แต่ต่อมาศาลได้สั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความเพราะโจทก์ทิ้งฟ้องซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176บัญญัติให้ถือเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้อง ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องลูกหนี้เข้ามาในคดีเลย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลก็มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7247/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมต้องฟ้องลูกหนี้ร่วมด้วย หากทิ้งฟ้องหรือจำหน่ายคดี ศาลไม่มีอำนาจพิพากษา
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 จะต้องฟ้องลูกหนี้เข้ามาในคดีด้วย โจทก์ได้ฟ้องลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 แล้ว แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มรณะก่อนฟ้องศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แถลง โจทก์เพิกเฉย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 ถือได้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีเลย ดังนั้นศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนการโอนโดยโจทก์มิได้ฟ้องลูกหนี้คือจำเลยที่ 1หรือทายาทผู้รับมรดกของจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6177/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่ต้องมีสัญญาระหว่างลูกหนี้ใหม่กับเจ้าหนี้ การรับเช็คไม่ถือเป็นการแปลงหนี้
การที่ ส. สั่งจ่ายเช็คชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์แทนจำเลยไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เมื่อจำเลยเป็นผู้ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวเป็นของโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาโดยเฉพาะ ส. และจำเลยจะโอนสิทธิตามสัญญาให้แก่กันมิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากโจทก์อย่างชัดแจ้ง หรือ ส. และจำเลยจะไปทำสัญญากับโจทก์โดยตรง
of 83