คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลพิพากษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนที่ติดบนหีบห่อสินค้า ไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1) แต่ศาลต้องพิพากษาให้ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) ว่า ผู้เสียหายที่ 1 ประกอบอาชีพขายสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งผ้าหมึกใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์และหมึกที่บรรจุในคาร์ทริดจ์สำหรับใช้กับเครื่องพิมพ์ ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า โดยนำออกจำหน่ายในฐานะเจ้าของสินค้าในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว และผู้เสียหายที่ 1 ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 16 รายการสินค้า ผ้าหมึกใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ และสำหรับสินค้าจำพวก 2 รายการสินค้า หมึกที่บรรจุในคาร์ทริดจ์สำหรับใช้กับเครื่องพิมพ์ ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว จำเลยทั้งสองได้บังอาจร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าคำว่า ของผู้เสียหายที่ 1 ดังกล่าว แล้วนำไปทำให้ปรากฏบนผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ หีบห่อ ฉลาก และสติกเกอร์ของผลิตภัณฑ์สินค้าที่ทำปลอม โดยนำตลับคาร์ทริดจ์เปล่ามาถอดออกแล้วเติมผงหมึกปลอมลงไปในตลับหมึก จากนั้นประกอบเข้าที่เดิมพร้อมใส่ลูกกลิ้งหมึกพิมพ์ลงไปแล้วนำมาบรรจุใส่ถุงปิดกระดาษที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า ปลอม และนำสติกเกอร์ที่ชื่อ รูป รอยประดิษฐ์คำว่า มาติดลงบนหีบห่อที่ใช้บรรจุสินค้า เป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์มาใช้ให้ปรากฏบนสินค้าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้เสียหายที่ 1 ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเห็นได้ว่าชื่อ รูป รอยประดิษฐ์คำว่า ที่โจทก์อ้างก็คือเครื่องหมายเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ที่ผู้เสียหายที่ 1 ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร การที่จำเลยทั้งสองนำตลับคาร์ทริดจ์เปล่ามาถอดออกแล้วเติมผงหมึกปลอมลงไปในตลับหมึกพร้อมใส่ลูกกลิ้งหมึกพิมพ์ลงไปแล้วนำมาบรรจุใส่ถุงปิดกระดาษที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า ของผู้เสียหายที่ 1 และนำสติกเกอร์ที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์คำว่า มาติดลงบนหีบห่อที่ใช้บรรจุสินค้าตลับหมึกคาร์ทริดจ์นั้นถือเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า ของผู้เสียหายที่ 1 กับสินค้าตลับหมึกคาร์ทริดจ์ตัวพิมพ์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า อันเป็นความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 เพราะการใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบุคคลอื่นกับสินค้าปลอมอาจเป็นการใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับตัวสินค้าหรือหีบห่อบรรจุสินค้านั้นก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดสินค้าว่าโดยสภาพของสินค้าสามารถติดเครื่องหมายการค้าที่ตัวสินค้าได้หรือไม่ สำหรับสินค้าหมึกคาร์ทริดจ์ในคดีนี้เห็นได้โดยสภาพของสินค้าว่าไม่อาจติดเครื่องหมายการค้าที่สินค้าหมึกได้แต่ต้องติดเครื่องหมายการค้าที่หีบห่อบรรจุสินค้าหมึกคาร์ทริดจ์เท่านั้น การที่จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า ของผู้เสียหายที่ 1 โดยปิดที่ถุงกระดาษบรรจุตลับหมึกและนำสติกเกอร์ที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า ปลอมไปติดบนหีบห่อที่บรรจุสินค้าตลับหมึกคาร์ทริดจ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมไม่อาจเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) อีก ส่วนการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นมาใช้โดยทำให้ปรากฏที่หีบห่อบรรจุสินค้าโดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) นั้นต้องเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักรมาใช้เท่านั้น
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) แต่ไม่ได้พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (8) จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6942/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดขอบเขตค่าเสียหายจากการก่อสร้าง, ฎีกาต้องห้ามค่าฤชาธรรมเนียม, และการพิพากษาค่าเสียหายที่เหมาะสม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จ การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า จำเลยทั้งสองมิได้ทำละเมิดจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ที่ 2 เท่ากับเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามที่จำเลยทั้งสองโต้แย้งว่าไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ไม่เกิน 50,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีของโจทก์ที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองสำหรับคดีของโจทก์ที่ 2 ย่อมไม่ชอบ หาก่อให้เกิดสิทธิฎีกาแก่จำเลยทั้งสองไม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 85,480.65 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดเพิ่มอีก 100,000 บาท เท่ากับจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 จำนวน 185,480.65 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอนาคตดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยทั้งสองมิได้ทำละเมิดจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวต่อโจทก์ที่ 1 เท่ากับเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามที่จำเลยทั้งสองโต้แย้งว่าไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 ไม่เกิน 200,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีของโจทก์ที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาสำหรับคดีของโจทก์ทั้งสองเกินกว่า 50,000 บาท และ 200,000 บาท ตามลำดับ ก็เป็นเรื่องสิทธิในการอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริงของโจทก์ทั้งสองหามีผลย้อนไปถึงสิทธิในการอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริงของจำเลยทั้งสอง ซึ่งต้องห้ามให้กลับมีขึ้นมาใหม่ไม่ เพราะสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงของคู่ความนั้น จำต้องพิจารณาถึงจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาของคู่ความแต่ละฝ่ายแยกต่างหากจากกัน มิเช่นนั้นจะกลับกลายเป็นว่าสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงของจำเลยทั้งสองขึ้นอยู่กับการอุทธรณ์หรือฎีกาของโจทก์ทั้งสอง กล่าวคือ หากโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยทั้งสองก็มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงด้วย หากโจทก์ทั้งสองไม่อุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริง มิได้ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาในข้อเท็จจริงของจำเลยทั้งสอง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง คดีคงเหลือปัญหาตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างเดียว ซึ่งข้ออ้างในฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ล้วนเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการกำหนดค่าทนายความที่จำเลยทั้งสองผู้แพ้คดีต้องใช้แทนโจทก์ทั้งสอง นอกจากนี้ค่าทนายความตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้แทนโจทก์ทั้งสองก็เป็นจำนวนที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูงดังที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่มีการฟ้องคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ฎีกาของจำเลยทั้งสองในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมจึงเป็นฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14712/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในคดีอาญาหลายคดีพร้อมกัน
โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 12 ธันวาคม 2557 ซึ่งคำฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้น โดยศาลชั้นต้นเบิกจำเลยมาสอบคำให้การทั้งสองคดีในวันที่ 15 ธันวาคม 2557 และมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยในวันดังกล่าว โดยศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้นก่อนคดีนี้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้นกับคดีนี้ติดต่อกันไป เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมไม่อาจแถลงต่อศาลชั้นต้นได้ว่าคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้นนั้นมีหมายเลขคดีแดงที่เท่าใด ถือได้ว่าความปรากฏต่อศาลและคู่ความชัดแจ้งแล้วว่าคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้วโดยไม่จำต้องให้โจทก์แถลงต่อศาลซ้ำอีก จึงนับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10424/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพและการพิพากษาในคดีอาญา: ศาลไม่ต้องสืบพยานเพิ่มเติมหากจำเลยให้การรับสารภาพ
ข้อหาความผิดตามที่โจทก์ฟ้องมิใช่เป็นข้อหาความผิดที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยย่อมรับฟังเป็นยุติได้ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นให้ขัดกับที่จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องหาได้ไม่ ทั้งเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินถูกเพิกถอนจากคำพิพากษาศาล โจทก์ผู้ซื้อไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากเจ้าพนักงานบังคับคดี
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ย.636/2544 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีจังหวัดชลบุรียึดที่ดิน 4 แปลง ที่จังหวัดชลบุรี ของลูกหนี้ออกขายทอดตลาด ศาลอนุญาตให้ขายทอดตลาดที่ดิน มีการประกาศกำหนดวันขายทอดตลาด 3 ครั้ง ตามประกาศขายทอดตลาดโดยยึดถือประกาศของจำเลยที่ 1 เรื่องนโยบายการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ในการขายทอดตลาดครั้งแรกกำหนดราคาเริ่มต้นร้อยละ 80 ของราคาประเมิน ขายแยกแปลง กำหนดไว้แปลงละ 440,000 บาท มีผู้รับมอบอำนาจโจทก์และ ส. เข้าร่วมประมูลสู้ราคา ส. ให้ราคาสูงสุดแปลงละ 2,500,000 บาท ผู้แทนจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าว คัดค้านอ้างว่าราคาต่ำไป จึงงดการขาย ครั้งที่สองกำหนดราคาแปลงละ 2,500,000 บาท ไม่มีผู้ใดเข้าสู้ราคาจึงงดการขาย ก่อนกำหนดขายทอดตลาดครั้งที่สามมีประกาศของจำเลยที่ 1 เรื่องนโยบายการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ในการขายทอดตลาดครั้งที่สามเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดราคาเริ่มต้นร้อยละ 50 ของราคาประเมิน มีผู้แทนโจทก์เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียวเสนอราคาแปลงละ 300,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,200,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายทอดตลาด หลังจากนั้นผู้แทนโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ชำระค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือให้โจทก์ดำเนินการรับโอนที่ดินทั้งสี่แปลง ต่อมาจำเลยทั้งสองในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้าน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ววินิจฉัยว่า ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดี มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โจทก์ยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ยื่นคำขอรับเงินค่าซื้อที่ดินคืนและขอค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งให้คืนเงินที่ซื้อแก่โจทก์ แต่ยกคำร้องในส่วนค่าเสียหาย ซึ่งโจทก์ได้รับคืนเงินค่าซื้อที่ดินแล้ว
ฎีกาโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าดอกเบี้ยและค่าเสียหายต่าง ๆ ตามฟ้องโจทก์หรือไม่ เพียงใด เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดไปตามประกาศของจำเลยที่ 1 ในเรื่องนโยบายการขายทอดตลาดทั้ง 2 ฉบับ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งในการขายทอดตลาดครั้งที่ 3 เจ้าพนักงานบังคับคดีตกลงเคาะไม้ให้โจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์สินได้เมื่อโจทก์วางเงินค่าซื้อทรัพย์ครบถ้วน เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ทำหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรีจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ หากไม่มีการเพิกถอนการขายทอดตลาดในครั้งนี้ โจทก์ก็สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินและขอรับเงินจากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการปฏิบัติหน้าที่และการตัดสินใจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดครั้งนี้แล้ว เมื่อลูกหนี้เดิมซึ่งถูกยึดทรัพย์ได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โดยวินิจฉัยว่า ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการตีความประกาศของกรมบังคับคดีจนเป็นผลเสียแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงต้องรับผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่และการตัดสินใจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่เกิดขึ้นในภายหลังด้วยเช่นกัน กรณียังฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 แต่อย่างใด หลังจากโจทก์ประมูลซื้อทรัพย์สินได้ วันดังกล่าวโจทก์ได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี มีเงื่อนไขให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งในข้อ 5 ของสัญญาได้ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าหากศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีนี้ได้ชี้ขาดลงต่อมาภายหลังว่าที่ดินนั้นไม่ใช่ของจำเลยหรือเพราะเหตุอื่น ๆ ก็ดี อันเป็นเหตุให้ข้าพเจ้า (ผู้ซื้อ) ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ซื้อ สัญญาซื้อขายนี้เป็นอันยกเลิก เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีคืนเงินที่ข้าพเจ้า (ผู้ซื้อ) ได้ชำระไว้ ข้าพเจ้า (ผู้ซื้อ) จะไม่คิดดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด อันมีผลให้โจทก์ผู้ซื้อไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน 4 แปลงนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อีก ทั้งหนังสือสัญญาซื้อขายที่โจทก์จัดทำไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นแบบพิมพ์ที่ผู้ซื้อทุกรายจะต้องทำไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ใช่ลูกหนี้ของโจทก์ ดังนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงสามารถวางข้อตกลงเกี่ยวกับความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยและค่าเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นไว้ในหนังสือสัญญาซื้อขายนี้ได้ กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 ตามที่โจทก์อ้างในฎีกาแต่อย่างใด หนังสือสัญญาซื้อขายจึงไม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าดอกเบี้ยและค่าเสียหายต่าง ๆ ตามฟ้องแก่โจทก์ ส่วนโจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าธรรมเนียมการโอนได้หรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11720/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาล่วงล้ำอำนาจปกครองและการกระทำอนาจารเด็ก ศาลพิพากษาตามบทลงโทษที่ถูกต้อง
แม้ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 ไปที่บ้านเกิดเหตุตามคำชักชวนของ ส. โดยจำเลยมิได้เป็นผู้ชักชวน แต่การที่จำเลยขับรถพาผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 ไปที่บ้านเกิดเหตุตามคำขอของ ส. ในเวลากลางคืน จากนั้นจำเลยและ ส. ฉวยโอกาสลงมือกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายที่ 1 และที่ 3 ในเวลาและสถานที่เดียวกัน บ่งชี้ว่าจำเลยและ ส. มีเจตนาล่วงล้ำอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแล
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดแก่ผู้เสียหายแต่ละคนเป็น 4 กรรม แม้จำเลยจะกระทำความผิดต่อผู้เสียหายทั้งสี่ในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นการกระทำที่มีเจตนาให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานร่วมกันพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร 2 กรรม กับฐานร่วมกันพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร และกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทอีก 2 กรรม ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้ฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยครบทุกกรรมได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9665/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา: ความรับผิดชอบจำกัดเฉพาะผลจากการกระทำความผิดที่ศาลพิพากษา
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ที่บัญญัติให้อำนาจแก่ผู้เสียหายในอันที่จะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนนั้น ต้องเป็นค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยโดยตรง แม้ได้ความว่าโจทก์ร่วมถูกยิงจนได้รับอันตรายสาหัสแต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 เพียงร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นและพิพากษายกฟ้องความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ดังนี้ จึงชอบที่จำเลยที่ 1 จึงพึงรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะในผลอันเกิดจากการที่ได้ทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมเท่านั้น หาจำต้องรับผิดในผลที่โจทก์ร่วมถูกยิงจนได้รับอันตรายสาหัสอันเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นด้วยไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้วินิจฉัยคดีส่วนแพ่งและยังคงบังคับให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 อันเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. 142 (5) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 กรณีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22779/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินหลังศาลพิพากษา บสท. ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยหรือ บสท. ประสงค์จะบังคับจำนองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน สำหรับทรัพย์สินด้อยคุณภาพในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้จำนองตามมาตรา 74 เมื่อผู้จำนองไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา บสท. มีอำนาจดำเนินการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันนั้นได้ โดยวิธีการขายทอดตลาด เว้นแต่ บสท. เห็นว่า การจำหน่ายโดยวิธีอื่นจะเป็นประโยชน์กับ บสท. และลูกหนี้มากกว่า ก็ให้จำหน่ายโดยวิธีอื่นได้ หรือจะรับโอนทรัพย์สินนั้นไว้ในราคาไม่น้อยกว่าราคาที่จะพึงได้รับจากการขายทอดตลาดแทนการจำหน่ายก็ได้ แต่สำหรับกรณีที่ บสท. ดำเนินการยื่นคำร้องขอสวมสิทธิเข้าเป็นโจทก์แทนเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 30 วรรคหก ซึ่งมาตรา 41 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ได้กำหนดว่า ภายใต้บังคับมาตรา 30 ในคดีที่สถาบันการเงินหรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ฟ้องเป็นคดีต่อศาลเกี่ยวกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ บสท. รับโอนมาตามพระราชกำหนดนี้ให้ บสท. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับคดีตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ บสท. เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น ดังนั้นเมื่อ บสท. เลือกที่จะเข้าสวมสิทธิเป็นโจทก์แทนเจ้าหนี้ แทนที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความจนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาแล้ว บสท. จึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปตามมาตรา 41 เมื่อในคดีเดิมศาลชั้นต้นพิพากษาให้ บสท. เป็นฝ่ายชนะคดี บสท. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดีแล้วจึงต้องดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาว่า หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบให้ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้จนครบ การที่ บสท. ไปขอรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ทั้งสามต่อเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกอกน้อย จึงเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามฆ่าจากใช้อาวุธปืนยิง แม้ไม่ถึงแก่ชีวิต ศาลพิพากษาผิดฐานพยายามฆ่า
จำเลยใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงสามารถทำอันตรายถึงชีวิตได้ ยิงผู้เสียหายในระยะใกล้ จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายได้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่า เมื่อจำเลยลงมือกระทำความผิดไปโดยตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล โดยผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย เนื่องจากกระสุนปืนไม่ถูกอวัยวะสำคัญ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4824/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพในคดียาเสพติด จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานยืนยันการกระทำความผิด แม้จำเลยรับสารภาพ
ความใน ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับในขณะที่พิจารณาคดีนี้แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า ในคดีที่มีอัตราโทษสูงนั้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลจะพิพากษาให้ลงโทษจำคุกโดยอาศัยคำรับสารภาพของจำเลยแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่จะต้องฟังพยานโจทก์ให้เป็นที่พอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงเสียก่อน โจทก์จึงต้องนำพยานเข้าสืบยืนยันว่ามีการกระทำความผิดตามฟ้องและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้นจริง มิใช่เป็นเพียงการรับสมอ้างว่าเป็นผู้กระทำความผิดนั้นแทนบุคคลอื่นการนำพยานบุคคลซึ่งรู้เห็นการกระทำความผิดของจำเลยหรือพยานบุคคลที่รู้เห็นเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าวโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอันจะแสดงให้ศาลเห็นว่าจำเลยมิได้ให้การรับสารภาพโดยไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้หรือเสแสร้งเพื่อให้ผู้กระทำความผิดอื่นพ้นผิด คดีนี้แม้โจทก์จะอ้างส่งเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.11 ต่อศาล แต่พยานเอกสารดังกล่าวก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อโจทก์ไม่มีพยานบุคคลใดมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงดังที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวเลย ลำพังเพียงพยานเอกสารดังกล่าวจึงยังไม่เพียงพอให้เชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดตามฟ้องจริง แต่ได้ความตามรายงานกระบวนพิจารณาว่าโจทก์ยังติดใจสืบพยานอีก 2 ปากแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ทั้ง 2 ปาก ดังกล่าว โดยเห็นว่าจำเลยทั้งสองยอมรับแล้วว่าพยานโจทก์ทั้ง 2 ปาก เป็นผู้จับกุม มีข้อความตามเอกสารหมาย จ.9 ถึง จ.11 แล้ว การที่ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความ จึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ เมื่อพยานโจทก์ปากผู้จับกุมเป็นพยานที่สำคัญและจำเป็นเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสอง การที่ศาลชั้นต้นด่วนงดสืบพยานโจทก์ไปจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ชอบที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
of 26