คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลแขวง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวง: คดีครอบครองที่ดินที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท องค์การบริหารส่วนตำบลจำเลยขออนุญาตนำรถแบ็กโฮเข้าไปขุดหน้าดินในที่ดินดังกล่าวเพื่อนำไปถมทางเกวียนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ให้ประชาชนสัญจรไปมา โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อจำเลยขุดหน้าดินแล้ว จำเลยยอมให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้เหมือนเดิม แต่เมื่อจำเลยได้ขุดหน้าดินเสร็จสิ้นแล้ว จำเลยได้นำป้ายปักไว้ว่า ห้ามจับปลาในร่องน้ำ และห้ามมิให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องกับร่องน้ำ กับได้นำราษฎรเข้าไปจับปลาที่โจทก์เลี้ยงไว้ในร่องน้ำ การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เพราะไม่สามารถทำนาในที่ดินส่วนที่จำเลยขุดหน้าดินไป ไม่สามารถใช้น้ำในร่องน้ำปลูกผักสวนครัวและเลี้ยงปลาในร่องน้ำได้ ขอให้พิพากษาว่าที่ดินส่วนที่จำเลยขุดเป็นร่องน้ำเป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง และเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดผลประโยชน์ในการใช้ที่ดินที่จำเลยขุดเป็นร่องน้ำ แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่พฤติการณ์ของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้โต้แย้งว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นที่ดินสาธารณะ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ โดยถือทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์เรียกร้อง
ที่ดินพิพาทมีราคา 81,648 บาท ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นเงิน 80,000 บาท เมื่อราคาที่ดินและค่าเสียหายรวมกันเป็นเงิน 161,648 บาท ไม่เกิน 300,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุรินทร์ที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 24 (4) ศาลจังหวัดสุรินทร์ชอบที่จะโอนคดีเรื่องนี้ไปให้ศาลแขวงสุรินทร์พิจารณาพิพากษาต่อไปตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย การที่ศาลแขวงสุรินทร์มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับโอนคดี แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับโอนคดี และให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความ จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายจัดตั้งศาลแขวง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิยฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์สละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใดๆ ในเช็คพิพาทอีกต่อไป จึงเป็นการยอมความในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยโดยพิเคราะห์ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 เมื่อโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์อีก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ แม้โจทก์จะยื่นฎีกาโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่การอนุญาตให้ฎีกาดังกล่าวไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาดังกล่าวจะอนุญาตให้ฎีกาได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยมาตรา 218, 219 และ 220 เท่านั้น มิได้ให้ผู้พิพากษานั้นอนุญาตให้ฎีกาในกรณีดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนคดีจากศาลแพ่งธนบุรีไปยังศาลแขวงธนบุรีเนื่องจากทุนทรัพย์ลดลงเข้าข่ายอำนาจศาลแขวง
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่ แม้จะใช้ถ้อยคำว่าศาลจังหวัดก็ตาม แต่เจตนารมณ์ของกฎหมายที่บัญญัติความในวรรคสี่ไว้เนื่องจากไม่ประสงค์ให้ศาลชั้นต้นที่มีศาลแขวงตั้งอยู่ในเขตศาลนั้นรับพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง เมื่อศาลแพ่งธนบุรีเป็นศาลชั้นต้นที่มีศาลแขวงธนบุรีและศาลแขวงตลิ่งชันตั้งอยู่ในเขตจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติดังกล่าวด้วย การที่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งธนบุรีต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยลดจำนวนทุนทรัพย์ลงเป็นเหตุให้คดีของโจทก์เป็นคดีที่เกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงธนบุรีและอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแขวงธนบุรี ศาลแพ่งธนบุรีจึงต้องโอนคดีไปยังศาลแขวงธนบุรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องลดทุนทรัพย์ ทำให้คดีต้องโอนไปยังศาลแขวงตามอำนาจศาล
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องครั้งที่สองโดยรับข้อเท็จจริงบางส่วนตามคำให้การของจำเลยทั้งสี่ เป็นการขอลดทุนทรัพย์ฟ้องเดิมภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ และคดีนี้ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สืบพยานโจทก์และพยานจำเลยจึงยังอยู่ภายในกำหนดเวลาที่จำเลยทั้งสี่จะแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยทั้งสี่เพื่อหักล้างข้ออ้างของโจทก์ได้ การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่เสียเปรียบและหลงข้อต่อสู้แต่ประการใด
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฯ มาตรา 16 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอำนาจ" นั้น แม้จะใช้ถ้อยคำว่าศาลจังหวัดก็ตาม แต่เจตนารมณ์ของกฎหมายที่บัญญัติความในวรรคสี่ไว้เนื่องจากไม่ประสงค์ให้ศาลชั้นต้นที่มีศาลแขวงตั้งอยู่ในเขตศาลนั้นรับพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง เมื่อศาลแพ่งธนบุรีเป็นศาลชั้นต้นที่มีศาลแขวงธนบุรีและศาลแขวงตลิ่งชันตั้งอยู่ในเขตจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติดังกล่าวด้วย คดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยลดจำนวนทุนทรัพย์ลงเป็นเหตุให้คดีของโจทก์เป็นคดีที่เกิดในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแขวง ศาลแพ่งธนบุรีจึงต้องมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงธนบุรีซึ่งเป็นศาลแขวงที่มีเขตอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงต้องเป็นไปตามกำหนดเวลา หากไม่ทันต้องผัดฟ้อง หรือขออนุญาตจากอัยการสูงสุด
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 7 วรรคแรก ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาที่ถูกจับพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับนั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้การดำเนินคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องล่าช้า และทำให้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น การที่จำเลยเข้ามอบตัวและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ ย่อมถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้ฟ้องภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง ถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการต้องขอผัดฟ้อง คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยไม่ได้ขอผัดฟ้องและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 9 จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเกินกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติเพื่อมิให้การดำเนินคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงต้องล่าช้าและทำให้ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวไว้นานเกินสมควรแก่เหตุและความจำเป็น การที่จำเลยเข้ามอบตัวและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ จำเลยให้การปฏิเสธและได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวย่อมถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้ฟ้องภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยโดยไม่ได้ขอผัดฟ้องและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดตามมาตรา 9 จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: โอนคดีจากศาลจังหวัดไปศาลแขวงหลังสืบพยานได้ หากพบทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท
แม้ศาลจังหวัดนครปฐมจะได้รับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาและดำเนินการสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จและอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษาก็ตาม แต่เมื่อปรากฏภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงนครปฐมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง (4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดนครปฐมเสียแล้ว ศาลจังหวัดนครปฐมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนี้ได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดนครปฐมที่จะใช้ดุลพินิจรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดนครปฐมมีคำสั่งโอนคดีเรื่องนี้ไปยังศาลแขวงนครปฐมซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้นั้นเป็นการชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้ายแล้ว และเมื่อศาลแขวงนครปฐมจะเป็นผู้พิจารณาคดีนี้ต่อไป ผู้พิพากษาศาลแขวงนครปฐมจึงมีอำนาจทำคำพิพากษาคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ศาลจังหวัดโอนคดีทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 แสนบาทให้ศาลแขวงได้ แม้สืบพยานแล้ว
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองโดยไม่มีสิทธิจำเลยให้การโต้แย้งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ของคดีไม่เกินสามแสนบาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนครปฐมที่จะพิจารณาพิพากษา แม้ศาลจังหวัดนครปฐมสืบพยานโจทก์และจำเลยจนเสร็จและนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่ตราบใดที่ยังมิได้มีคำพิพากษาศาลจังหวัดนครปฐมชอบที่จะมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงนครปฐมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย
ศาลจังหวัดนครปฐมได้รับฟ้องไว้พิจารณาและดำเนินการสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จและอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษาแล้ว แต่เมื่อปรากฏภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงนครปฐมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง (4) ไม่ใช่คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดนครปฐม ศาลจังหวัดนครปฐมย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามมาตรา 18 ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจศาลจังหวัดนครปฐมที่จะใช้ดุลพินิจรับคดีไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป การที่ศาลจังหวัดนครปฐมมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงนครปฐมชอบด้วยมาตรา 16 วรรคท้ายแล้ว ผู้พิพากษาศาลแขวงนครปฐมจึงมีอำนาจทำคำพิพากษาคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนคดีจากศาลจังหวัดไปศาลแขวงหลังมีผู้ร้องสอด และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีอสังหาริมทรัพย์
แม้โจทก์จะเริ่มคดีโดยยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดลพบุรีขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทอย่างคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ และจำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองอยู่ในที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของผู้ร้องสอด ซึ่งถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดโดยอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดมอบหมายให้จำเลยทั้งสองดูแลและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวตลอดมา ผู้ร้องสอดมีความจำเป็นที่จะต้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อยังให้ได้รับการรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ซึ่งศาลจังหวัดลพบุรีมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้แล้ว คำร้องสอดของผู้ร้องสอดดังกล่าวซึ่งถือเสมือนเป็นคำให้การและฟ้องแย้งโจทก์อยู่ในตัว จึงมีผลเปลี่ยนคดีจากคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีที่มีทุนทรัพย์ เมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 225,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงลพบุรีที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดลพบุรีจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงลพบุรีที่มีเขตอำนาจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่
เมื่อผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 58 จึงถือได้ว่าผู้ร้องสอดได้ถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยทั้งสองด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ ดังนั้น หากศาลแขวงลพบุรีพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ศาลแขวงลพบุรีย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดและจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบริวารของผู้ร้องสอดได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนคดีจากศาลจังหวัดสู่ศาลแขวงหลังมีผู้ร้องสอด: คดีเปลี่ยนจากไม่มีทุนทรัพย์เป็นมีทุนทรัพย์
โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดลพบุรีขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า จำเลยอยู่ในที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของผู้ร้องสอด ซึ่งถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่เมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดโดยอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด มอบหมายให้จำเลยดูแลทำประโยชน์ตลอดมาผู้ร้องสอดมีความจำเป็นที่จะต้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ตามป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ขอให้พิพากษาห้ามโจทก์เข้าเกี่ยวข้องหรือกระทำการใดๆ หรืออ้างสิทธิในที่ดินพิพาท ศาลจังหวัดลพบุรีมีคำสั่งอนุญาต คำร้องสอดของผู้ร้องสอดถือเสมือนเป็นคำให้การและฟ้องแย้งโจทก์อยู่ในตัว จึงมีผลเปลี่ยนคดีจากคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ เมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 225,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงลพบุรีที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดลพบุรีจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงลพบุรีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่
ผู้ร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามมาตรา 58 จึงถือได้ว่าผู้ร้องสอดได้ถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมาตรา 142 (1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ ดังนั้น หากศาลแขวงลพบุรีพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ศาลแขวงลพบุรีย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดและจำเลยซึ่งเป็นบริวารของผู้ร้องสอดได้ การที่ศาลแขวงลพบุรีมีคำสั่งไม่รับโอนคดีนี้ไว้พิจารณา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
of 25