คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสินสมรส: แม้เป็นเพียงสิทธิการเช่าก็มีมูลค่าและถือครองได้ หากได้มาช่วงสมรส
อาคารพาณิชย์เลขที่ 35 และ 36 ที่โจทก์และจำเลยเช่าจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แม้มีเพียงสิทธิการเช่า แต่สิทธิการเช่าก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่มีราคาและถือเอาได้ เมื่อได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส และตรงตามบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง จำเลยจึงต้องแบ่งสินสมรสให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19772/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสถือเป็นสินสมรส แม้จะหย่าแล้วต้องแบ่งสินสมรส
การสมรสสิ้นสุดด้วยความตาย การหย่าหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน เมื่อโจทก์กับผู้ตายจดทะเบียนสมรสกันวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2517 และจดทะเบียนหย่ากันเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 ดังนี้ ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2517 ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 การสมรสของโจทก์กับผู้ตายยังมีอยู่ เมื่อคู่ความรับว่าทรัพย์สินตามฟ้องผู้ตายได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์ ย่อมเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตาย และในทะเบียนหย่าก็ไม่มีบันทึกเป็นหลักฐานลงลายมือชื่อโจทก์ระบุข้อความว่าโจทก์สละสินสมรสที่ตนมีสิทธิได้ ทั้งกรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือไม่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส เมื่อโจทก์กับผู้ตายจดทะเบียนหย่ากัน ต้องแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวในวันจดทะเบียนหย่าให้โจทก์และผู้ตายคนละครึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15028/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างนิติกรรมให้ทรัพย์สินระหว่างสมรส: สิทธิเรียกคืนทรัพย์สิน
โจทก์ยกบ้านพิพาทให้จำเลยในระหว่างสมรส เป็นนิติกรรมสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 บัญญัติให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ ตามทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์บอกล้างการให้เมื่อใด แต่เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องหย่าและขอให้เพิกถอนการให้บ้านพิพาท ให้จำเลยคืนบ้านพิพาทแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาบอกล้างในขณะที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ สัญญาจึงไม่มีผลบังคับอีกต่อไป โจทก์มีสิทธิเรียกคืนบ้านพิพาทจากจำเลยได้โดยไม่จำต้องคำนึงว่าข้อเท็จจริงจะฟังได้หรือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงอายุเกิน 13 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี โดยความยินยอม และการสมรสเพื่อเลี่ยงโทษทางอาญา
ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยไม่ยินยอม ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในสำนวนเช่นนั้น จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายยินยอม ดังนั้น เมื่อจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายขณะผู้เสียหายอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยผู้เสียหายยินยอม ย่อมเป็นกรณีตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมีความหมายว่า ในกรณีชายและเด็กหญิงมีอายุไม่ครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ ยังไม่อาจที่จะสมรสกัน หากจะสมรสกันต้องมีคำสั่งศาลอนุญาตให้ทำการสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 และมีผลทำให้ชายผู้กระทำความผิดในคดีอาญานั้นไม่ต้องรับโทษ คดีนี้ได้ความว่าขณะที่จำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสกัน ทั้งจำเลยและผู้เสียหายมีอายุเกินสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว จำเลยและผู้เสียหายย่อมจดทะเบียนสมรสกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 โดยไม่ต้องรับอนุญาตจากศาลก่อน อย่างไรก็ตาม จำเลยกับผู้เสียหายเพิ่งจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2553 เพราะเห็นว่าจะได้ลดโทษลงและตกลงกันว่าจะจดทะเบียนหย่ากันภายหลังที่ศาลพิพากษาแล้ว เช่นนี้ ย่อมถือไม่ได้ว่าทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่แท้จริงที่จะจดทะเบียนสมรสกันอันจะมีผลตามกฎหมายทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษตามนัยแห่ง ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้ายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16037/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ทรัพย์สินโดยเสน่หาขณะสมรส: สิทธิบอกล้างสัญญาและการกลับสู่ฐานะเดิม
สัญญาให้ทรัพย์สินโดยเสน่หา ทำขึ้นขณะที่โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ซึ่งข้อความในสัญญาเป็นการตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยไม่มีข้อความใดในสัญญากล่าวถึงการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย ดังนี้ ข้อตกลงตามสัญญาให้ทรัพย์สินโดยเสน่หาจึงเป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยตรงที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกันในระหว่างที่เป็นสามีภริยากัน จึงถือเป็นสัญญาระหว่างสมรส โจทก์มีสิทธิบอกล้างสัญญาดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 อันเป็นผลให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์ จำเลยสิ้นผลผูกพัน ผลของการบอกล้างดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12675/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงและการพรากผู้เยาว์ แม้มีการสมรสภายหลัง ความผิดยังคงอยู่ และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยพรากผู้เสียหายไปเพื่อเป็นภริยา มิใช่เพื่อการอนาจารนั้น เห็นว่า เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และจำเลยไม่เคยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างและนำสืบในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ไม่อาจอนุญาตให้ฎีกาได้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นรับฎีกาข้อนี้มาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำชำเราเด็กหญิง ว. อายุ 14 ปี 8 เดือน อายุยังไม่เกิน 15 ปี ผู้เสียหาย โดยใช้กำลังประทุษร้ายจับตัวผู้เสียหายบังคับถอดเสื้อและกางเกงออก แล้วจับตัวนอนลงที่เตียง และใช้มืออุดปากผู้เสียหายไว้ไม่ให้ขัดขืน โดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แล้วขึ้นคร่อมนอนทับตัวและกระทำชำเราจนสำเร็จความใคร่ แม้ฟ้องมิได้ระบุว่าผู้เสียหายมิใช่ภริยาจำเลย แต่ได้บรรยายตัวบุคคลที่ถูกกระทำชำเราว่าเป็นเด็กหญิง และเมื่อพิจารณาประกอบข้อหาพรากผู้เยาว์ที่ระบุว่า จำเลยพรากผู้เสียหายไปจาก ส. ผู้ปกครองและผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารแล้ว ฟ้องแสดงอยู่ในตัวว่าผู้เสียหายยังเป็นผู้เยาว์และอยู่ในความปกครองของ ส. ผู้เสียหายจึงเป็นผู้ที่ยังไม่สมรสและมิใช่ภริยาของจำเลย จึงเป็นฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่งเดิม และเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายจริง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ก็มีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง (เดิม) ได้
ส่วนที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่า จำเลยกับผู้เสียหายสมรสและอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาแล้ว ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป จึงขอถอนคำร้องทุกข์ นั้น ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีและพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจาร ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ แม้ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของพนักงานอัยการและโจทก์ร่วมก็ไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และการกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดได้รับยกเว้นโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย (เดิม) จะต้องเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กหญิงยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน แต่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายไม่ยินยอมแม้จำเลยและผู้เสียหายสมรสกัน การกระทำของจำเลยก็ไม่ได้รับยกเว้นโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11692/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแลกเปลี่ยนทรัพย์สินระหว่างสมรสมีผลสมบูรณ์ แม้มีบุคคลภายนอกเกี่ยวข้อง และโจทก์ไม่สามารถบอกล้างสัญญาได้
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายแก่กัน กรณีแม้เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในทางทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 อันเป็นคดีครอบครัว แต่การพิจารณาพิพากษาคดีก็ต้องอาศัยหลักกฎหมายในเรื่องนิติกรรมสัญญาและหลักกฎหมายอื่นตาม ป.พ.พ. มาพิจารณาประกอบกัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์โอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นมารดา โดยให้ทำเป็นนิติกรรมซื้อขายกันระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์เพื่อแลกเปลี่ยนกับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 และโจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 แล้วถือได้ว่าการแลกเปลี่ยนสินส่วนตัวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 มีผลสมบูรณ์ แม้รถยนต์ที่ตกลงแลกเปลี่ยนยังคงมีชื่อจำเลยที่ 1 ในทางทะเบียน แต่รถยนต์เป็นสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ต้องจดทะเบียนโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อคู่กรณีมีการตกลงโอนกรรมสิทธิ์แก่กันก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
แม้การแลกเปลี่ยนทรัพย์สินกันนี้จะมีลักษณะเป็นสัญญาระหว่างสมรส ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1469 ก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวก็มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตามมาตรา 374 วรรคหนึ่ง ซึ่งจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้วตามมาตรา 374 วรรคสอง โจทก์จึงไม่อาจบอกล้างสัญญาดังกล่าวซึ่งจะมีผลให้เป็นการระงับสิทธิของจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6155/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ กรณีความผิดพรากเด็กและกระทำชำเราโดยมีการสมรสภายหลัง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2550 ถึงวันใดไม่ปรากฏชัด เดือนมิถุนายน 2552 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ... แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์มิได้สืบให้ได้ความชัดว่าเหตุเกิดในวันเวลาใด แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ต้องฟังให้เป็นคุณแก่จำเลย คือจำเลยกระทำความผิดก่อนกฎหมายใหม่ใช้บังคับ จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยมาใช้บังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 ซึ่งมาตรา 277 วรรคท้าย (เดิม) เป็นคุณกว่ามาตรา 277 วรรคท้าย (ที่แก้ไขใหม่) เมื่อระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรากฏว่าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกระบี่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายที่ 2 สมรสกัน ดังนี้ สำหรับความผิดในข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก (เดิม) จำเลยไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 277 วรรคท้าย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กเกิดนอกสมรส ต้องมีหลักฐานการสมรส, จดทะเบียน หรือคำพิพากษา
ป.พ.พ. มาตรา 1547 บัญญัติไว้ว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร การที่จำเลยให้ผู้เยาว์ใช้ชื่อสกุลของจำเลย และอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์อย่างบิดากับบุตรไม่ใช่เหตุที่จะทำให้ผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยได้ จำเลยจึงไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรเกิดจากบิดามารดาไม่ได้สมรสกัน ต้องมีการสมรส จดทะเบียน หรือคำพิพากษา
ป.พ.พ มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ดังนี้ พฤติการณ์รับรองว่าผู้เยาว์เป็นบุตร เช่น การให้ผู้เยาว์ใช้ชื่อสกุลของจำเลย และการที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์อย่างบิดากับบุตรจึงไม่ใช่เหตุที่กฎหมายรับรองทำให้ผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยได้ จำเลยจึงไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์
of 25