พบผลลัพธ์ทั้งหมด 386 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้เป็นการตอบแทนสละสิทธิ และการปลูกสร้างบนที่ดินที่ได้รับยกให้ โดยไม่ถือว่าเป็นการรุกล้ำ
หนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินเพิ่มเติมซึ่งทำภายหลังจากได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับเดิม มีข้อความตกลงว่าผู้แทนโจทก์กับเจ้าของร่วมคนอื่นยินยอมยกที่ดินในโฉนดที่ 3878ให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลย เพื่อเป็นการตอบแทนที่จำเลยสละสิทธิ์ที่จะไม่ขอทำทางเท้าให้กว้างขึ้นเป็นถนนจากที่ดินโฉนดที่ 7386ผ่านที่ดินโฉนดที่ 3878 ไปสู่ถนนใหญ่ อันเป็นสิทธิที่จำเลยพึงเรียกร้องได้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับแรกที่ทำไว้แต่เดิม ข้อตกลงเช่นนี้แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีผลผูกพันบังคับระหว่างคู่สัญญากันได้ ไม่ใช่สัญญาให้โดยเสน่หาและไม่ใช่สัญญาจะซื้อขายจึงไม่อยู่ใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 456, 525ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยปลูกเรือนในที่ดินของจำเลยล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดอื่น อันเป็นส่วนที่จำเลยได้รับยกให้ตามสัญญาจะซื้อขายเพิ่มเติมดังกล่าวโดยโจทก์รู้เห็น และมิได้ทักท้วงเท่ากับโจทก์รับว่าจำเลยปลูกเรือนในที่ดินพิพาทได้โจทก์ ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนหลังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942-943/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากโมฆะแต่มีเจตนาสละสิทธิครอบครอง ผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองเมื่อพ้นกำหนดไถ่
ทำสัญญาขายฝากที่ดินมือเปล่าโดยมิได้จดทะเบียนและผู้ขายมอบนาให้ผู้ซื้อทำกินโดยมีข้อตกลงว่า ถ้าไม่ไถ่ภายในกำหนด 3 เดือน ให้ที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อโดยผู้ขายไม่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้ ถึงแม้สัญญาขายฝากจะเป็นโมฆะ แต่ก็ยังถือได้ว่าผู้ขายได้สละสิทธิครอบครองไว้ล่วงหน้าตั้งแต่วันพ้นกำหนด 3 เดือนแล้ว ผู้ซื้อย่อมได้สิทธิครอบครองตั้งแต่วันพ้นกำหนด 3 เดือนแล้ว และกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ผู้ให้กู้ยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจำนวนเงินที่กู้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฎีกา คดีอาญา การสละสิทธิฎีกา และผลของการสิ้นสุดคดี
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะข้อที่ให้นับโทษต่อจากคดีอื่น แต่คงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีดังนี้ เป็นคดีที่ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ในคดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 นั้นมิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายมาก่อนก็ยังอาจมีข้อกฎหมายที่จะฎีกาได้ภายในกำหนดฎีกา การที่จำเลยแสดงเจตนาสละสิทธิที่จะฎีกาต่อไปก็จะถือว่าคดีของจำเลยถึงที่สุดเด็ดขาด ย้อนหลังไปนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หาได้ไม่
ในคดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 นั้นมิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายมาก่อนก็ยังอาจมีข้อกฎหมายที่จะฎีกาได้ภายในกำหนดฎีกา การที่จำเลยแสดงเจตนาสละสิทธิที่จะฎีกาต่อไปก็จะถือว่าคดีของจำเลยถึงที่สุดเด็ดขาด ย้อนหลังไปนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2240/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามคำท้าสาบานและการฟ้องซ้ำในประเด็นเดิม
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอให้จดทะเบียนรับรอง ก. เป็นบุตรแล้วตกลงท้าสาบานกันโดยถ้าจำเลยสาบานได้ ต้องฟังว่าก. ไม่ใช่บุตรของจำเลย จำเลยสาบานได้ตามคำท้า โจทก์จึงขอถอนฟ้อง และแถลงต่อศาลว่า ไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยอีก ศาลสั่งอนุญาต คำแถลงของโจทก์เช่นนี้เป็นการยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 ซึ่งบัญญัติมิให้โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยได้ใหม่ จึงผูกมัดตัวโจทก์ตามคำท้า โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยขอให้จดทะเบียนรับ ก. เป็นบุตร อันมีประเด็นอย่างเดียวกันอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิครอบครองที่ดินด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าไว้แทนโจทก์ก่อนฟ้องโจทก์จำเลยได้มีกรณีพิพาทกันชั้นอำเภอ แล้วได้ ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้ากำนัน โดยโจทก์ยอมยกที่พิพาทให้จำเลยครอบครอง และยอมรับเงินชดใช้ค่าที่ดินจากจำเลย เป็นการสละสิทธิครอบครองที่พิพาทให้แก่จำเลยเมื่อโจทก์ไม่ใช่เจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าเสียแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเรียกที่พิพาทคืนจากจำเลยอีก
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินจากการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สิน และการสละสิทธิจากการตกลง
บิดาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาให้โจทก์ไว้มีความว่า บิดาจำเลยได้ขายฝากที่ดินพิพาทอันมี ส.ค.1 ให้โจทก์ทำผลประโยชน์ในที่ดินแทนดอกเบี้ยเป็นเวลา 4 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วถ้าไม่นำเงินมาชำระ จะยอมโอนที่พิพาทให้โจทก์เป็นจำนวนเงินหกหมื่นบาท และยอมส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่โจทก์ในวันถัดจากวันครบกำหนด บิดาจำเลยได้รับราคาดังกล่าวไปแล้ว ดังนี้ไม่ใช่สัญญาขายฝากที่พิพาท แต่เป็นเรื่องกู้เงินโดยมอบที่พิพาทให้ทำนาต่างดอกเบี้ย ครั้นบิดาจำเลยตาย จำเลยที่ 1 ที่ 2รับสภาพหนี้โดยให้โจทก์ทำนาต่อมา เมื่อหนี้ถึงกำหนดจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตกลงกับโจทก์ขอชำระหนี้ด้วยที่พิพาทโดยขอเงินเพิ่มจากโจทก์อีก โจทก์ตกลงและจ่ายเงินให้บางส่วนแล้ว ส่วนที่เหลือจะจ่ายให้ในวันโอน เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า การที่โจทก์ได้รับมอบให้ครอบครองที่พิพาทต่อมานับแต่ตกลงกันนั้น หนี้ของโจทก์จึงเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ที่พิพาทย่อมตกเป็นของโจทก์ การที่จำเลยจะไปโอนให้แก่โจทก์นั้นเป็นเพียงพิธีการ โจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยโอนให้ และรับเงินที่ยังค้างอยู่ได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตกลงกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 กลับโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 เจ้าหนี้อีกรายหนึ่งไป โดยจำเลยที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 3 เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1164/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบการครอบครองที่ดินและส่วนควบ แม้สัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์ ถือเป็นการสละสิทธิครอบครอง
ผู้ครอบครองที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน มีแต่เพียงสิทธิครอบครอง หามีกรรมสิทธิ์ไม่ เรือนพิพาทบนที่ดินรายนี้ย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินมือเปล่านั้น เมื่อจำเลยสละการครอบครองที่ดินและเรือนพิพาทให้โจทก์ โดยการขายให้โจทก์แล้วทำสัญญาเช่าจากโจทก์อีกต่อไปเช่นนี้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377, 1378 เห็นได้ว่าจำเลยเจตนาสละการครอบครองให้โจทก์โดยการส่งมอบทรัพย์ให้แล้ว แม้การซื้อขายไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเป็นโมฆะก็ตาม เมื่อจำเลยสละและโอนการครอบครองให้โจทก์แล้ว การครอบครองของจำเลยก็หมดสิ้นไป เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โจทก์ไม่ต้องการให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิอยู่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเสนอราคาหลังยื่นซองประกวดราคา ถือเป็นการผิดเงื่อนไขสัญญา และการฟ้องธนาคารต้องฟ้องบริษัทแม่
การยื่นซองประกวดราคาการก่อสร้างมีเงื่อนไขหลายประการที่โจทก์(องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) วางไว้ เมื่อโจทก์ได้ออกประกาศแจ้งความเรียกประกวดราคา ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ายื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์จึงเท่ากับว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของโจทก์ทุกประการต่อมาจำเลยยื่นหนังสือต่อโจทก์มีข้อความว่า 'เนื่องจากความผิดพลาดในการคิดคำนวณราคาคลาดเคลื่อนและตกหล่นไปบ้างบางรายการ ซึ่งหากไม่เช่นนั้นแล้วข้าพเจ้า (จำเลย) ก็จะต้องเสนอราคาสูงกว่านี้อีกมาก ฯลฯ โดยข้าพเจ้าไม่มีเจตนาแต่อย่างใดเลยและก็เกินแก่การแก้ไขได้ ดังนั้น...ฯลฯ.... ขอท่านได้โปรดพิจารณากรุณาผ่อนผันให้ข้าพเจ้าได้สละสิทธิการเสนอราคางานรายนี้โดยยกเว้นไม่ต้องพิจารณาราคาที่ข้าพเจ้าเสนอในครั้งนี้ เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด....ฯลฯ.....' หนังสือของจำเลยดังกล่าวจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นหนังสือสละสิทธิการเสนอราคา และขณะเดียวกันก็เป็นหนังสือที่แสดงการขอถอนซองประกวดราคาต่อโจทก์ด้วย เพราะมีถ้อยคำว่า'เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด' เงื่อนไขในการยื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์ซึ่งกำหนดไว้ว่า ซองของผู้เสนอราคาทุกรายที่ได้ยื่นไว้ต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์ฯ แล้ว ย่อมถือว่าเป็นสิทธิขององค์การโทรศัพท์ฯจะถอนคืนไปมิได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น และถ้าผู้ใดสละสิทธิการเสนอราคาหรือขอถอนซองประกวดราคาภายหลังยื่นซองประกวดราคาแล้ว ถือว่าผู้นั้นผิดเงื่อนไขการประกวดราคา ซึ่งองค์การโทรศัพท์ฯ จะริบเงินมัดจำตามรายการนี้ได้ทันที
คำฟ้องของโจทก์แม้จะกล่าวว่าฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด สาขาวัดตึก ก็ต้องถือว่าโจทก์ฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัดนั่นเอง เพราะบริษัทจำกัด นอกจากสำนักงานแห่งใหญ่แล้วจะมีสำนักงานสาขาที่ใดอีกก็ได้และสาขาของบริษัทใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นนั่นเอง จึงไม่ต้องมีการจดทะเบียนให้สาขาเป็นบริษัทขึ้นอีก
คำฟ้องของโจทก์แม้จะกล่าวว่าฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด สาขาวัดตึก ก็ต้องถือว่าโจทก์ฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัดนั่นเอง เพราะบริษัทจำกัด นอกจากสำนักงานแห่งใหญ่แล้วจะมีสำนักงานสาขาที่ใดอีกก็ได้และสาขาของบริษัทใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นนั่นเอง จึงไม่ต้องมีการจดทะเบียนให้สาขาเป็นบริษัทขึ้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเป็นสินส่วนตัว และการสละสิทธิในมรดก ทำให้ทรัพย์สินนั้นไม่เป็นส่วนหนึ่งของมรดก
1. สามีมีภริยาสองคนก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจัดหาบ้านให้ภริยาแยกกันอยู่คนละแห่งไม่เกี่ยวข้องกัน บุตรเกิดจากภริยาไหนก็อยู่กับภริยานั้น ภริยาทั้งสองต่างตั้งร้านค้าขายเป็นส่วนสัดการทำมาหาได้ของภริยาแต่ละคนก็ตกเป็นส่วนของภริยาในครอบครัวนั้น ๆทรัพย์สินมิได้ปะปนระคนกัน ในระหว่างสมรสภริยาคนแรกได้ที่ดินมาในนามของตน โดยสามียกที่ดินสินเดิมให้แม้ที่ดินที่ได้มานั้นจะเป็นสินสมรสก็เป็นสินสมรสระหว่างภริยาคนแรกกับสามี ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ด้วยไม่
2. สามียกที่ดินสินเดิมให้ภริยาในระหว่างสมรส สินเดิมนั้นย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสินสมรสเว้นแต่จะระบุการให้เป็นอย่างอื่น
3. สามีขอพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยกับภริยาคนแรกและบุตรที่เกิดจากภริยาคนแรก ต่อมาได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนที่ดินนั้นให้ภริยาคนแรก ภริยาคนหลังซึ่งมีบ้านอยู่อาศัยและทำมาหากินเป็นส่วนสัดต่างหากไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพระราชทานเลย ดังนี้ ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ในที่ดินพระราชทานนี้ด้วยไม่
4. ที่ดินซึ่งสามีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6เป็นทรัพย์ส่วนตัว ต่อมาสามีได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจำนองและขึ้นเงินจำนอง แล้วต่อมาได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนให้แก่ภริยาคนแรก โดยกล่าวข้อความว่าจึงดำริที่จะจัดการมรดกโดยแบ่งสันปันส่วนให้แก่ภริยาบุตรธิดาเป็นส่วนสัดเสียขณะนี้โดยเฉพาะที่ดินพระราชทานขอมอบเป็นสิทธิแก่ภริยาคนแรก เพื่อจะได้หาทางไถ่ถอนมาไว้สำหรับเป็นหลักแหล่งประกอบอาชีพต่อไป และก่อนหน้านั้นเล็กน้อยสามีได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งระบุว่าขอมอบทรัพย์สินอันมีอยู่ทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งส่วนทรัพย์สินให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควร ครั้นเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วสามีก็จัดการจดทะเบียนโอนที่ดินพระราชทานนั้นให้แก่ภริยาคนแรกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ดังนี้ ข้อความตามหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวแสดงว่าสามีมีเจตนาให้ที่ดินพระราชทานแก่ภริยาคนแรกเป็นสินส่วนตัว
5. หนังสือยกให้ซึ่งสามีให้ทรัพย์สินแก่ภริยา แม้มิได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว ก็อาจแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ และเมื่อหนังสือยกให้แปลข้อความตามเจตนาของผู้ให้ได้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้เมื่อไปทำพิธีโอนทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินส่วนตัวของภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(3) 6. หนังสือซึ่งสามีทำระบุชื่อว่าคำสั่งแทนพินัยกรรมมีข้อความว่า ขอมอบทรัพย์สินทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควรหนังสือนี้มิใช่พินัยกรรมเพราะมีข้อความเป็นหนังสือยกให้ทันที
7. หลังจากภริยาคนแรกตายเมื่อปี 2503 จำเลยซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาคนแรกได้ไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินสินส่วนตัวของมารดาพร้อมทั้งที่ดินสินสมรสซึ่งมีชื่อมารดาในโฉนดเมื่อปี 2504-2505 โดยบิดามิได้โต้แย้งคัดค้านและยังทำหนังสือว่า ยินดีสละสิทธิในการรับมรดกที่ดินสินสมรส ยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตร ต่อมาปี 2506 บิดาก็ถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่บิดารู้อยู่ว่าจำเลยซึ่งเป็นบุตรไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวของมารดาจำเลย แต่มิได้โต้แย้งคัดค้านประการใดโดยบิดามีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ให้จำเลย และยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของไปแล้วนั้น แม้บิดายังมีชีวิตอยู่ก็จะกลับมาเรียกส่วนแบ่งในที่ดินนั้นอีกหาได้ไม่ ที่ดินนั้นจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของบิดาอันโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาอื่นจะเรียกร้องขอส่วนแบ่งได้
(ข้อกฎหมายตามวรรค 4,5 และ 7 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30-33/2512)
2. สามียกที่ดินสินเดิมให้ภริยาในระหว่างสมรส สินเดิมนั้นย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสินสมรสเว้นแต่จะระบุการให้เป็นอย่างอื่น
3. สามีขอพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยกับภริยาคนแรกและบุตรที่เกิดจากภริยาคนแรก ต่อมาได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนที่ดินนั้นให้ภริยาคนแรก ภริยาคนหลังซึ่งมีบ้านอยู่อาศัยและทำมาหากินเป็นส่วนสัดต่างหากไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพระราชทานเลย ดังนี้ ภริยาคนหลังหามีส่วนได้ในที่ดินพระราชทานนี้ด้วยไม่
4. ที่ดินซึ่งสามีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6เป็นทรัพย์ส่วนตัว ต่อมาสามีได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจำนองและขึ้นเงินจำนอง แล้วต่อมาได้มีหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโอนให้แก่ภริยาคนแรก โดยกล่าวข้อความว่าจึงดำริที่จะจัดการมรดกโดยแบ่งสันปันส่วนให้แก่ภริยาบุตรธิดาเป็นส่วนสัดเสียขณะนี้โดยเฉพาะที่ดินพระราชทานขอมอบเป็นสิทธิแก่ภริยาคนแรก เพื่อจะได้หาทางไถ่ถอนมาไว้สำหรับเป็นหลักแหล่งประกอบอาชีพต่อไป และก่อนหน้านั้นเล็กน้อยสามีได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งระบุว่าขอมอบทรัพย์สินอันมีอยู่ทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งส่วนทรัพย์สินให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควร ครั้นเมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วสามีก็จัดการจดทะเบียนโอนที่ดินพระราชทานนั้นให้แก่ภริยาคนแรกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ดังนี้ ข้อความตามหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวแสดงว่าสามีมีเจตนาให้ที่ดินพระราชทานแก่ภริยาคนแรกเป็นสินส่วนตัว
5. หนังสือยกให้ซึ่งสามีให้ทรัพย์สินแก่ภริยา แม้มิได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว ก็อาจแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ และเมื่อหนังสือยกให้แปลข้อความตามเจตนาของผู้ให้ได้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้เมื่อไปทำพิธีโอนทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินส่วนตัวของภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1464(3) 6. หนังสือซึ่งสามีทำระบุชื่อว่าคำสั่งแทนพินัยกรรมมีข้อความว่า ขอมอบทรัพย์สินทั้งสิ้นให้ภริยาคนแรกโดยเด็ดขาด ภริยาคนแรกจะจัดแบ่งให้แก่ผู้ใดมากน้อยเท่าใดก็แล้วแต่จะเห็นสมควรหนังสือนี้มิใช่พินัยกรรมเพราะมีข้อความเป็นหนังสือยกให้ทันที
7. หลังจากภริยาคนแรกตายเมื่อปี 2503 จำเลยซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาคนแรกได้ไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินสินส่วนตัวของมารดาพร้อมทั้งที่ดินสินสมรสซึ่งมีชื่อมารดาในโฉนดเมื่อปี 2504-2505 โดยบิดามิได้โต้แย้งคัดค้านและยังทำหนังสือว่า ยินดีสละสิทธิในการรับมรดกที่ดินสินสมรส ยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตร ต่อมาปี 2506 บิดาก็ถึงแก่ความตาย ดังนี้ การที่บิดารู้อยู่ว่าจำเลยซึ่งเป็นบุตรไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินดังกล่าวของมารดาจำเลย แต่มิได้โต้แย้งคัดค้านประการใดโดยบิดามีเจตนาสละกรรมสิทธิ์ให้จำเลย และยินยอมให้โอนใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของไปแล้วนั้น แม้บิดายังมีชีวิตอยู่ก็จะกลับมาเรียกส่วนแบ่งในที่ดินนั้นอีกหาได้ไม่ ที่ดินนั้นจึงมิใช่ทรัพย์มรดกของบิดาอันโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเกิดจากภริยาอื่นจะเรียกร้องขอส่วนแบ่งได้
(ข้อกฎหมายตามวรรค 4,5 และ 7 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30-33/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมในการปิดกั้นลำราง: ผลของการสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ยินยอมหรือสมัครใจให้จำเลยปิดกั้นลำรางพิพาทเท่ากับโจทก์เต็มใจยอมรับผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนในอนาคตจะถือว่าจำเลยละเมิดต่อโจทก์ไม่ได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย และไม่มีอำนาจฟ้องให้ศาลบังคับจำเลยเปิดลำรางพิพาทลำรางพิพาทจะเป็นลำรางสาธารณะหรือไม่ก็ตามจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์