คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาประนีประนอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 506 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: การรับช่วงสิทธิหลังสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นผล
เมื่อรถชนกันแล้ว เจ้าของรถบรรทุกซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย แต่เมื่อจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ความผูกพันตามสัญญาประกันภัยซึ่งโจทก์จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าของรถบรรทุกย่อมจะยังไม่ระงับไป เมื่อโจทก์จ่ายค่าซ่อมรถไปแล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยได้ตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้จ่ายไปจริงและไม่เกินจำนวนที่เจ้าของรถบรรทุกมีสิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3217/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของคำพิพากษาตามยอมต่อบริวารจำเลย: สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความเท่านั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำรถวิ่งรับคนโดยสารทับเส้นทางของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหาย และสั่งห้ามจำเลยและบริวารมิให้กระทำเช่นนั้น ซึ่งต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยและบริวารจะไม่กระทำการดังกล่าว หากฝ่าฝืนจำเลยยอมชดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ดังนี้ มิใช่คดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ประเภทฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 (1) อันจะใช้บังคับจลอดถึงบริวารจองจำเลยด้วย คำพิพากษาตามยอมคดีนี้จึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตามมาตรา 145 เท่านั้น หามีผลบังคับถึงบริวารจำเลยไม่ แม้ผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยปฏิบัติฝ่าฝืนสัญญาประนีประนอมยอมความก็ไม่อาจบังคับคดีเอากับผู้ร้องได้ จึงไม่อาจกักขังผู้ร้องไว้จนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3217/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอม: ไม่ขยายผลถึงบริวารจำเลย เว้นแต่คดีขับไล่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำรถวิ่งรับคนโดยสารทับเส้นทางของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหาย และสั่งห้ามจำเลยและบริวารมิให้กระทำเช่นนั้น ซึ่งต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยและบริวารจะไม่กระทำการดังกล่าว หากฝ่าฝืนจำเลยยอมชดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม ดังนี้ มิใช่คดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ประเภทฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(1) อันจะใช้บังคับตลอดถึงบริวารของจำเลยด้วย คำพิพากษาตามยอมคดีนี้จึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตามมาตรา 145 เท่านั้น หามีผลบังคับถึงบริวารจำเลยไม่ แม้ผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยปฏิบัติฝ่าฝืนสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็ไม่อาจบังคับคดีเอากับผู้ร้องได้ จึงไม่อาจกักขังผู้ร้องไว้จนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2522 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งมรดกตามศาสนาอิสลาม: การบอกเลิกสัญญาและการข่มขู่หลอกลวง
หนังสือแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการให้แบ่งมรดกตามบัญญัติของศาลนาอิสลาม ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยการที่จำเลยบอกโจทก์ว่าตามศาสนาอิสลาม โจทก์เป็นหญิงไม่มีสิทธิรับมรดก แต่จะแบ่งให้บ้างถ้าโจทก์ลงชื่อตั้งอนุญาโตตุลาการ มิฉะนั้นโจทก์จะอยู่ในบ้านที่เป็นมรดกไม่ได้ ดังนี้ หาเป็นการข่มขู่หลอกลวงโจทก์ให้ลงชื่อในสัญญานี้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เมื่อโจทก์บอกเลิกการตั้งอนุญาโตตุลาการไปยังคณะอนุญาโตตุลาการโดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วยจึงไม่มีผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้จากการโอนเพื่อระงับข้อพิพาท ถือเป็นสินส่วนตัว ไม่ใช่สินสมรส
ในระหว่างสมรสของโจทก์จำเลย จำเลยได้ที่ดินโฉนดที่ 4084และ 4198 โดย ผ. ยกให้โดยเสน่หาระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัวกับได้ที่ดินโฉนดที่ 5191 โดย ผ. ทำพินัยกรรมยกให้และระบุให้เป็นสินส่วนตัวเช่นเดียวกัน ต่อมา ล. อ้างว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ของ ผ. แต่เป็นของภรรยาซึ่งเป็นบุตรของ น. และฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งกับแจ้งความกล่าวหาจำเลยทางอาญาหลายคดี ในที่สุด ล. กับจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีหนึ่งซึ่งศาลพิพากษาตามยอมมีใจความสำคัญว่า ให้จำเลยได้ที่ดินโฉนดที่ 1176 และให้ ล. ได้ที่ดินโฉนดที่ 5191 ส่วนที่ดินโฉนดที่ 4198 และ 4084 นั้น จำเลยตกลงโอนให้ ล. โดย ล. ต้องจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนให้ 3,100,000 บาท ดังนี้ต้องถือว่าที่ดินโฉนดที่ 4084 และ 4198 กับโฉนดที่ 5191 เดิมเป็นที่ดินที่จำเลยได้รับมาเป็นสินส่วนตัว แม้จำเลยจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ล. ดังกล่าว ก็เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับ ล. ในคดีนั้นซึ่งมีประเด็นเพียงว่าที่พิพาทเป็นของ ผ. และ ย. มีอำนาจยกให้จำเลยหรือไม่เท่านั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะของทรัพย์ยังต้องถือว่าที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของจำเลยอยู่นั่นเอง และเมื่อจำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสินส่วนตัวทั้งสามแปลงนั้นให้แก่ ล. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเหตุให้จำเลยได้มาซึ่งที่ดินโฉนดที่ 1176 กับมีสิทธิได้เงินค่าตอบแทน 3,100,000 บาท ก็ต้องถือว่าที่ดินและเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเข้ามาแทนที่ที่ดินทั้งสามแปลง อันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการขายหรือแลกเปลี่ยนตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465(1) ดังนั้น ที่ดินโฉนดที่ 1176 กับเงินค่าตอบแทน 3,100,000 บาท ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลย หาใช่สินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422-1423/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัย-การซื้อขายที่ดิน: ผลของการไม่จดทะเบียนสิทธิอาศัย และการเพิกถอนการซื้อขาย
ที่พิพาทเป็นที่ดินมี น.ส.3. เดิมเมื่อ พ.ศ. 2511 บ. เคยฟ้อง ม. แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดย บ. ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นของ ม. และ ม. ยินยอมให้ บ. อาศัยในเรือนของ บ. ที่ปลูกในที่พิพาท และให้ใช้คอกกระบือเดิมในที่พิพาทที่เคยใช้มาแล้วต่อไป ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแต่ บ. ไม่ได้จดทะเบียนสิทธิอาศัยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมา พ.ศ. 2516 ม. ขายที่พิพาทให้ ช. โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนแล้วมีคดีพิพาทกันต่อมา 2 คดี คือ คดีแรก ช. เป็นโจทก์ฟ้อง บ. เป็นจำเลยว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทจาก ม. เมื่อ พ.ศ. 2516 จำเลยได้มาปลูกคอกกระบือในที่พิพาทของโจทก์ ขอให้ขับไล่ คดีหลัง บ. เป็นโจทก์ฟ้อง ม. และ ช. ว่า ม. จดทะเบียนขายที่พิพาทให้ ช. โดยไม่มีค่าตอบแทนและไม่สุจริต ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนและให้ ม. จดทะเบียนสิทธิอาศัยให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความคดีทั้งสองขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแยกกัน ศาลฎีกามีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกันตามที่คู่ความขอ
ดังนี้ สำหรับคดีแรก การที่จำเลยให้การว่าคอกกระบือนั้นเป็นคอกกระบือเดิมที่ ม. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยใช้ต่อไปเท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าจำเลยมิได้เข้าปลูกคอกกระบือในที่ดินของโจทก์เมื่อ พ.ศ. 2517 เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียแล้ววินิจฉัยว่า สิทธิของจำเลยได้มาตามสัญญาประนีประนอมยอมความยังมิได้จดทะเบียนไม่บริบูรณ์พิพากษาให้จำเลยรื้อคอกกระบือออกไป เป็นการงดสืบพยานไม่ชอบ แต่เมื่อคดีหลังได้มีการสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นกระแสความแล้วศาลฎีกาชอบที่จะ ไม่ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองแล้วให้สืบพยานต่อไป แต่ย่อมนำ พยานหลักฐานในคดีหลังมาวินิจฉัยได้ และเมื่อวินิจฉัยแล้วฟังไม่ได้ว่า จำเลยได้เข้าปลูกคอกกระบือในที่ดินของโจทก์เมื่อ พ.ศ. 2517 ศาลย่อม พิพากษายกฟ้องโจทก์คดีแรกเสีย
สำหรับคดีหลัง เมื่อที่พิพาทยังเป็นของ ม. อยู่ ม. จึงมีสิทธิขายให้ ช. ได้ บ. โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง ทั้งเมื่อ ม. ขายที่พิพาท และมอบการครอบครองให้ ช. ไปแล้วโจทก์ย่อมฟ้องขอให้บังคับ ม. ไปจดทะเบียนสิทธิตามคำพิพากษาตามยอมอีกมิได้ เพราะที่พิพาทไม่ได้เป็นของ ม. แล้วศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง คดีหลังด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องค่าเลี้ยงดูหลังหย่า มีผลผูกพัน แม้จะบอกล้างภายหลังไม่ได้
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญายอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากันและจำเลยยอมจ่ายค่าเลี้ยงดูให้โจทก์ 50,000 บาท ปรากฏในบันทึกประจำวันของสถานีตำรวจภูธร อำเภอชุมแพ บันทึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นทั้งสัญญาหย่าและสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์เมื่อหย่ากันแล้ว และคู่กรณีอาจตกลงกันให้ชำระค่าเลี้ยงชีพครั้งเดียวเป็นจำนวนเงินตามที่ตกลงกันได้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพ 50,000 บาทให้โจทก ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ทำไว้นั้น
สัญญาที่จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์ 50,000 บาทนี้ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 ซึ่งหมายถึงเงินเลี้ยงชีพหลังจากที่ได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากันแล้ว จึงไม่ใช่สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างเป็นสามีภรรยากันตามมาตรา 1469 จำเลยไม่มีสิทธิอ้างมาตรานั้นมาเป็นเหตุบอกล้างสัญญานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขู่โดยการแจ้งความดำเนินคดีอาญาไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 127 สัญญาประนีประนอมยังใช้บังคับได้
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยจะผ่อนชำระหนี้ค่าซื้อที่ดินที่ค้างอยู่ให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยแก้ตัวเลขปีกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจาก 2521 เป็น 2520 และลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย เพราะโจทก์กับพวกขู่ว่า หากจำเลยไม่แก้ โจทก์จะเอาเช็คที่จำเลยออกให้แก่ ผู้อื่น ซึ่งมาตกอยู่ในครอบครองของโจทก์ฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยฐานออกเช็คไม่มีเงิน ดังนี้ การขู่ของโจทก์เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 127 ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ การที่จำเลยแก้กำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆียะ และมีผลใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากการเช่าทรัพย์สิน: การรับผิดชอบความเสียหายเกินกว่าการเสื่อมสภาพตามปกติ และผลของสัญญาประนีประนอม
จำเลยเช่าตึกแถวของโจทก์ เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่ออก โจทก์จึงฟ้องคดีขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการใช้ตึกแถวจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมออกจากตึกแถว และยอมใช้ค่าเสียหาย ศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ต่อมาโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยบรรยายฟ้องว่า ในวันที่จำเลยและบริวารออกไปจากตึกแถวที่เช่า โจทก์ได้ตรวจดูอาคารปรากฏว่ากระเบื้องกันสาดด้านหน้าถูกรื้อออกหมดกระเบื้องหลังคาถูกรื้อไปบางส่วน ประตูเหล็กด้านหน้าชำรุดเสียหาย ซึ่งจำเลยมีเจตนาก่อให้เกิดความเสียหาย มิใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติดังนี้ คำบรรยายฟ้องดังกล่าวย่อมคลุมถึงความเสียหายทั้งที่เกิดจากสัญญาเช่า ซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 562 และเกิดจากการละเมิดตาม มาตรา 420 เมื่อศาลฟังว่าการที่ประตูเหล็กผุกร่อนนั้น มิใช่เพราะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา แต่เป็นเพราะจำเลยไม่สงวนรักษาทรัพย์สินที่เช่าจึงให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซ่อมแซม จึงตรงตามประเด็นแล้ว ไม่เป็นการนอกฟ้องและสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนเป็นเรื่องจำเลยไม่คืนทรัพย์ที่เช่า อันเป็นค่าเสียหายคนละมูลกรณีกับค่าเสียหายเกี่ยวกับประตูเหล็กในคดีนี้ ค่าเสียหายในคดีนี้จึงไม่ระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายต่อทรัพย์สินเช่าหลังสัญญาประนีประนอม ศาลตัดสินได้หากเป็นคนละมูลเหตุ
จำเลยเช่าตึกแถวของโจทก์ เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่ยอมออก โจทก์จึงฟ้องคดีขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการใช้ตึกแถวจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมออกจากตึกแถว และยอมใช้ค่าเสียหาย ศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ต่อมาโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยบรรยายฟ้องว่า ในวันที่จำเลยและบริวารออกไปจากตึกแถวที่เช่า โจทก์ได้ตรวจดูอาคารปรากฏว่ากระเบื้องกันสาดด้านหน้าถูกรื้อออกหมด กระเบื้องหลังคาถูกรื้อไปบางส่วนประตูเหล็กด้านหน้าชำรุดเสียหาย ซึ่งจำเลยมีเจตนาก่อให้เกิดความเสียหาย มิใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติดังนี้ คำบรรยายฟ้องดังกล่าวย่อมคลุมถึงความเสียหายทั้งที่เกิดจากสัญญาเช่า ซึ่งจำเลยต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 562 และเกิดจากการละเมิดตาม มาตรา 420 เมื่อศาลฟังว่าการที่ประตูเหล็กผุกร่อนนั้น มิใช่เพราะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา แต่เป็นเพราะจำเลยไม่สงวนรักษาทรัพย์สินที่เช่าจึงให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซ่อมแซม จึงตรงตามประเด็นแล้ว ไม่เป็นการนอกฟ้องและสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนเป็นเรื่องจำเลยไม่คืนทรัพย์ที่เช่า อันเป็นค่าเสียหายคนละมูลกรณีกับค่าเสียหายเกี่ยวกับประตูเหล็กในคดีนี้ ค่าเสียหายในคดีนี้จึงไม่ระงับสิ้นไป
of 51