คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อสังหาริมทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 440 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์: การรังวัดแบ่งแยกที่ดินไม่ใช่เงื่อนไขบังคับสัญญา
จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์โดยจำเลยรับจะไปดำเนินการรังวัดแบ่งที่ดินระหว่างเจ้าของรวม เมื่อแบ่งแยกและคำนวณเนื้อที่ดินในโฉนดส่วนของจำเลยได้เท่าไร โจทก์จะชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือให้ และจำเลยจะโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ต่อไป ดังนี้ ข้อตกลงที่ว่าให้จำเลยไปดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินก่อนแล้วจึงจะโอนขายให้แก่โจทก์ มิใช่ข้อตกลงอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผล จึงมิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 ทั้งข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าจำเลยจะดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินมาให้แล้วเสร็จเมื่อใด จึงมิใช่เงื่อนเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 153 ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการหรือขั้นตอนที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเท่านั้น เมื่อโจทก์สละสิทธิที่จะให้จำเลยจัดการรังวัดแบ่งแยกก่อนโอนกรรมสิทธิ์และยอมรับแบ่งที่พิพาทส่วนกลางตามสัญญา จำเลยจึงต้องโอนขายที่พิพาทให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: การรังวัดแบ่งแยกที่ดินมิใช่เงื่อนเวลา สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาเกิดเมื่อทำสัญญา
จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์โดยจำเลยรับจะไปดำเนินการรังวัดแบ่งที่ดินระหว่างเจ้าของรวม เมื่อแบ่งแยกและคำนวณเนื้อที่ดินในโฉนดส่วนของจำเลยได้เท่าไร โจทก์จะชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือให้ และจำเลยจะโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ต่อไป ดังนี้ ข้อตกลงที่ว่าให้จำเลยไปดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินก่อนแล้วจึงจะโอนขายให้แก่โจทก์ มิใช่ข้อตกลงอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผล จึงมิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 ทั้งข้อตกลงดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าจำเลยจะดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินมาให้แล้วเสร็จเมื่อใด จึงมิใช่เงื่อนเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 153 ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการหรือขั้นตอนที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เท่านั้น เมื่อโจทก์สละสิทธิที่จะให้จำเลยจัดการรังวัดแบ่งแยกก่อนโอนกรรมสิทธิ์และยอมรับแบ่งที่พิพาทส่วนกลางตามสัญญา จำเลยจึงต้องโอนขายที่พิพาทให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ (ภารจำยอม) มีผลผูกพันตามเอกสาร แม้ฝ่ายจำเลยจะอ้างข้อเท็จจริงอื่น
บันทึกเรื่องทางภารจำยอมและแผนผังสภาพถนนซึ่งต่อท้ายข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมนั้น เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินและตึกแถวซึ่งได้แบ่งแยกจดทะเบียนไปแล้วส่วนหนึ่ง ส่วนทางภารจำยอมนี้จะได้มีการจดทะเบียนกันในภายหลังเมื่อรังวัดออกโฉนดเรียบร้อยแล้วภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 100 บันทึกดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์อยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค 2 เมื่อได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญแล้ว แสดงว่าคู่กรณีเจตนาจะผูกพันกันตามบันทึกนี้ ฉะนั้นจำเลยจะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารว่า ความจริงโจทก์จำเลยตกลงเรื่องทางภารจำยอมไว้เพียงด้านเดียวหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ต้องฟังว่าตกลงจดทะเบียนภารจำยอมถนนทั้งสี่ด้านตามแผนผังดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายภารจำยอมเป็นอสังหาริมทรัพย์ ผูกพันตามเอกสาร, ห้ามเปลี่ยนแปลงข้อตกลงด้วยพยานบุคคล
บันทึกเรื่องทางภารจำยอมและแผนผังสภาพถนนซึ่งต่อท้ายข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมนั้น เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินและตึกแถวซึ่งได้แบ่งแยกจดทะเบียนไปแล้วส่วนหนึ่ง ส่วนทางภารจำยอมนี้จะได้มีการจดทะเบียนกันในภายหลังเมื่อรังวัดออกโฉนดเรียบร้อยแล้ว ภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 100 บันทึกดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์อยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค 2 เมื่อได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญแล้ว แสดงว่าคู่กรณีเจตนาจะผูกพันกันตามบันทึกนี้ ฉะนั้นจำเลยจะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารว่า ความจริงโจทก์จำเลยตกลงเรื่องทางภารจำยอมไว้เพียงด้านเดียวหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ต้องฟังว่าตกลงจดทะเบียนภารจำยอมถนนทั้งสี่ด้านตามแผนผังดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3703-3705/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางสาธารณะกับภารจำยอม: เมื่อทางสาธารณะมีอยู่แล้ว ย่อมไม่สามารถเป็นภารจำยอมได้
ทางภารจำยอมหมายถึงทางที่ผ่านเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นซึ่งกฎหมายเรียกว่า "ภารยทรัพย์" เจ้าของภารยทรัพย์จำต้องยอมให้มีทางผ่านที่ดินของตนเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งเรียกว่า "สามยทรัพย์" ส่วนทางสาธารณะนั้นเป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันซึ่งไม่มีบุคคลใดเป็นเจ้าของ เมื่อทางพิพาทเป็นทางสาธารณะแล้ว จึงเป็นทางภารจำยอมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3703-3705/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางสาธารณะกับทางภารจำยอม: เมื่อทางสาธารณะมีอยู่แล้ว จะไม่สามารถเป็นทางภารจำยอมได้
ทางภารจำยอมหมายถึงทางที่ผ่านเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นซึ่งกฎหมายเรียกว่า 'ภารยทรัพย์' เจ้าของภารยทรัพย์จำต้องยอมให้มีทางผ่านที่ดินของตนเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งเรียกว่า 'สามยทรัพย์' ส่วนทางสาธารณะนั้นเป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันซึ่งไม่มีบุคคลใดเป็นเจ้าของ เมื่อทางพิพาทเป็นทางสาธารณะแล้ว จึงเป็นทางภารจำยอมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3334/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์ ที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินยืนตามศาลชั้นต้น
คดีฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านเรือนที่จำเลยเข้าไปปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยละเมิด ซึ่งเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่ปรากฏว่าขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้เกินเดือนละ 5,000บาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ในคดีขับไล่ และอำนาจฟ้องของศาลเจ้า รวมถึงการนำสืบหลักฐานการแต่งตั้งผู้จัดการ
อสังหาริมทรัพย์ที่ฟ้องขับไล่อาจให้เช่าได้เดือนละไม่เกิน 5,000 บาท หรือไม่เมื่อโจทก์มิได้กล่าวความข้อนี้มาในฟ้อง ก็ต้องพิจารณาจาก ข้อเท็จจริงในสำนวนเมื่อบ้านพิพาทปลูกสร้างมาไม่น้อยกว่า 50 ปี บนเนื้อที่ประมาณ 20 ตารางวา ดังนี้ จึงอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ5,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคสอง ผู้จัดการปกครองและผู้ตรวจตราสอดส่องศาลจ้าวมีอำนาจฟ้องแทนศาลจ้าวได้ และการนำสืบการแต่งตั้งผู้จัดการปกครองและผู้ตรวจตราศาลจ้าวตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 นั้น มิได้ บัญญัติว่าจะต้องมีเอกสาร (หมายตั้ง) มาแสดง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ไม่เป็นความผิด หากเข้าโดยได้รับอนุญาตโดยปริยาย หรือมีเหตุผลอันสมควร
บริษัท น. อนุญาตให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในละแวกหลังบริษัทเข้าประตูด้านหลังผ่านที่ดินของบริษัทไปออกทางประตูหน้าได้ จำเลยที่ 1 ซึ่งมีบ้านอยู่หลังบริษัทได้เดินเข้าออกทางประตูหลังบริษัทเป็นประจำ จำเลยที่ 2ได้เข้าไปทำงานรับจ้างลอกคลองที่หลังบริษัทก่อนเกิดเหตุสองวันแล้ว การที่จำเลยทั้งสองโดยสารรถยนต์ที่ ย.เป็นผู้ขับผ่านเข้าไปในที่ดินของบริษัทในวันเกิดเหตุเพราะจำเลยที่ 1 เคยเข้าออกเป็นประจำ และจำเลยที่ 2 จะไปทำงานรับจ้างลอกคลองที่หลังบริษัท จึงหาใช่เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท น. โดยปกติสุขไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ที่จำเลยอ้างกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ อันมีค่าเช่าเดือนละห้าร้อยบาท จำเลยให้การว่าบ้านพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของนางล้อมนางล้อมมอบให้จำเลยดูแลแทน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งในขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละห้าพันบาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์แม้ต่อมาศาลชั้นต้นให้เรียกนางล้อมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำขอของโจทก์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านพิพาทศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยร่วมไม่ฎีกา ดังนี้ จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 44