พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,515 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7208/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน การฟ้องใหม่ และอำนาจฟ้อง
การกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเข้ามาใหม่ในกรณีที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เป็นอำนาจของศาลที่มีอยู่ทั่วไปในอันที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใดที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะและไม่อยู่ในบังคับแห่งบทกฎหมายว่าด้วยอายุความ หรือการย่นหรือขยายระยะเวลาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 26
การนำคำฟ้องมายื่นใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 หมายถึงการนำคำฟ้องในมูลกรณีเดียวกับคดีเดิมที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ และโจทก์มีสิทธิฟ้องบุคคลทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการออกคำสั่งดังที่โจทก์ฟ้องได้โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นการฟ้องเฉพาะคู่ความเดิมกรณีไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 53 ดังนั้น โจทก์จึงสามารถฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นพนักงานตรวจแรงงานผู้ออกคำสั่งดังกล่าวโดยตรงเป็นจำเลยเข้ามาในคดีนี้ด้วยได้ แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม
การนำคำฟ้องมายื่นใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 หมายถึงการนำคำฟ้องในมูลกรณีเดียวกับคดีเดิมที่ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องมายื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ และโจทก์มีสิทธิฟ้องบุคคลทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการออกคำสั่งดังที่โจทก์ฟ้องได้โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นการฟ้องเฉพาะคู่ความเดิมกรณีไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 53 ดังนั้น โจทก์จึงสามารถฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นพนักงานตรวจแรงงานผู้ออกคำสั่งดังกล่าวโดยตรงเป็นจำเลยเข้ามาในคดีนี้ด้วยได้ แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125-7126/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: แม้มีการฟ้องคัดค้านการประเมิน ก็ไม่กระทบอำนาจฟ้องของโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามการประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายหลังจากที่โจทก์ได้แจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 ทราบแล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ หนี้ค่าภาษีอากรตามการประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงเป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้าง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้ชำระภาษีจำนวนดังกล่าวตามฟ้องได้ โดยไม่ต้องรอให้พ้นกำหนด 30 วัน และแม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้วก็ตาม ย่อมไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7046/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-อำนาจฟ้อง: ศาลยึดคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ แม้เคยเป็นฝ่ายเดียวกัน
ฟ้องซ้ำเป็นเรื่องที่ห้ามมิให้โจทก์จำเลยซึ่งฟ้องร้องกัน และศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้วกลับมารื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน โจทก์จำเลยไม่เคยฟ้องร้องกันมาก่อน เป็นแต่เคยถูก ส ฟ้องเป็นจำเลยด้วยกันในคดีแพ่งหมายเลยแดงที่ 1880/2529 ของศาลจังหวัดชลบุรีเท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ข้ออ้างของโจทก์ในคดีนี้เป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์และจำเลยถูก ส. ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นพิพาทและให้โอนหุ้นพิพาทคืนแก่ ส. คดีดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 4 และจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยโอนหุ้นพิพาทให้โจทก์โดยสุจริต โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเช่นเดียวกับข้ออ้างในคดีนี้อันมีประเด็นโดยตรงว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทหรือไม่ แม้ว่าในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1880/2529 ของศาลจังหวัดชลบุรี โจทก์และจำเลยคดีนี้จะเป็นจำเลยด้วยกันก็ตาม ก็ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีดังกล่าวด้วย ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลทุกฝ่ายแม้จะเป็นฝ่ายเดียวกันก็ตาม เมื่อศาลจังหวัดชลบุรีได้มีคำพิพากษาว่ากรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเป็นของ ส ให้โจทก์และจำเลยโอนหุ้นพิพาทคืนให้แก่ ส ไปแล้ว โจทก์และจำเลยจึงต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดชลบุรีโดยผลของกฎหมาย ว่ากรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเป็นของ ส
จำเลยต้องโอนหุ้นพิพาทคืนให้แก่ ส. ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดชลบุรี การที่จำเลยได้โอนหุ้นพิพาท ให้แก่ ส. ตามคำพิพากษาดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มี อำนาจฟ้อง
ข้ออ้างของโจทก์ในคดีนี้เป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์และจำเลยถูก ส. ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นพิพาทและให้โอนหุ้นพิพาทคืนแก่ ส. คดีดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 4 และจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยโอนหุ้นพิพาทให้โจทก์โดยสุจริต โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเช่นเดียวกับข้ออ้างในคดีนี้อันมีประเด็นโดยตรงว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทหรือไม่ แม้ว่าในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1880/2529 ของศาลจังหวัดชลบุรี โจทก์และจำเลยคดีนี้จะเป็นจำเลยด้วยกันก็ตาม ก็ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีดังกล่าวด้วย ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลทุกฝ่ายแม้จะเป็นฝ่ายเดียวกันก็ตาม เมื่อศาลจังหวัดชลบุรีได้มีคำพิพากษาว่ากรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเป็นของ ส ให้โจทก์และจำเลยโอนหุ้นพิพาทคืนให้แก่ ส ไปแล้ว โจทก์และจำเลยจึงต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดชลบุรีโดยผลของกฎหมาย ว่ากรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเป็นของ ส
จำเลยต้องโอนหุ้นพิพาทคืนให้แก่ ส. ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดชลบุรี การที่จำเลยได้โอนหุ้นพิพาท ให้แก่ ส. ตามคำพิพากษาดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มี อำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7046/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-อำนาจฟ้อง: คำพิพากษาผูกพันคู่ความเดิม แม้เป็นฝ่ายเดียวกัน ศาลยกฟ้อง
โจทก์จำเลยไม่เคยฟ้องร้องกันมาก่อน เป็นแต่เคยถูก ส. ฟ้องเป็นจำเลยด้วยกันเท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อน ส. ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 4 และสหกรณ์จำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นพิพาทและให้โอนหุ้นพิพาทในสหกรณ์จำเลยคืนแก่ ส. โจทก์และจำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 โอนหุ้นพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยสุจริตจำเลยที่ 4 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเช่นเดียวกับข้ออ้างในคดีนี้อันมีประเด็นโดยตรงว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทหรือไม่ แม้คดีก่อนโจทก์และจำเลยคดีนี้จะเป็นจำเลยด้วยกันก็ต้องถือว่าเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความเมื่อคดีก่อนศาลพิพากษาว่ากรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเป็นของ ส. ให้โจทก์และจำเลยคดีนี้โอนหุ้นพิพาทคืนให้แก่ ส. คดีถึงที่สุด โจทก์และจำเลยจึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาของศาลว่ากรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเป็นของ ส. และจำเลยต้องโอนหุ้นพิพาทคืนให้แก่ ส. จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
คดีก่อน ส. ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 4 และสหกรณ์จำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นพิพาทและให้โอนหุ้นพิพาทในสหกรณ์จำเลยคืนแก่ ส. โจทก์และจำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 โอนหุ้นพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยสุจริตจำเลยที่ 4 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเช่นเดียวกับข้ออ้างในคดีนี้อันมีประเด็นโดยตรงว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทหรือไม่ แม้คดีก่อนโจทก์และจำเลยคดีนี้จะเป็นจำเลยด้วยกันก็ต้องถือว่าเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความเมื่อคดีก่อนศาลพิพากษาว่ากรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเป็นของ ส. ให้โจทก์และจำเลยคดีนี้โอนหุ้นพิพาทคืนให้แก่ ส. คดีถึงที่สุด โจทก์และจำเลยจึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาของศาลว่ากรรมสิทธิ์ในหุ้นพิพาทเป็นของ ส. และจำเลยต้องโอนหุ้นพิพาทคืนให้แก่ ส. จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6634/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินชายทะเลสาธารณะ: สิทธิครอบครองและอำนาจฟ้องขับไล่
หาดทรายชายทะเลซึ่งชาวบ้านใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้จะเปลี่ยนแปลงสภาพโดยธรรมชาติโดยทะเลตื้นเขินขึ้น แต่ก็เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) ตราบใดที่ทางราชการยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้ใดหามีสิทธิครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์ไม่ โจทก์มิใช่ผู้ยึดถือที่ดินพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6634/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นหากทรายชายทะเลชาวบ้านใช้ตากกุ้งและตากปลาอันเป็นการใช้ทรัพย์สินของแผ่นดินเพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาจะเปลี่ยนแปลงสภาพโดยธรรมชาติทะเลตื้นเขินขึ้น แต่ก็เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) ตราบใดที่ทางราชการยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ ผู้ใดหามีสิทธิครอบครองหรือมีกรรมสิทธิ์ไม่ เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ยึดถือที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6593/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการโอนมรดก: จำเป็นต้องมีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเป็นคู่ความร่วมด้วย
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ สาขาตาคลี จำเลยที่ 2 ในฐานะ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์ และเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินของ ว. บิดาให้แก่ ม. มารดาซึ่งก็ถึงแก่ความตายไปแล้วเช่นกัน โดยอ้างว่า ว. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์เพียงผู้เดียวก่อนถึงแก่ความตาย ม. ผู้เป็นมารดาจึงไม่มีสิทธิที่จะรับมรดกที่ดินดังกล่าวมาแต่ต้น อันเป็นการโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์กับกองมรดกของ ม. โดยตรง และการขอให้ เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นที่มีสิทธิรับมรดกของ ม. ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องหรือขอให้เรียกทายาทของ ม. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ผลของคำพิพากษาย่อมไม่มีผลผูกพันทายาทอื่นของ ม. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลก็มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6593/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการโอนมรดก: จำเป็นต้องรวมทายาทผู้รับมรดกเป็นคู่ความหรือไม่?
โจทก์ฟ้องคดีขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินสาขา จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกของ ม. มารดาซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วออกจากโฉนดที่ดินและน.ส.3 โดยอ้างว่า ว. บิดาได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ก่อนตายม. จึงไม่มีสิทธิรับมรดกดังกล่าวมาแต่ต้น อันถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์กับกองมรดกของ ม. โดยตรง และการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นที่มีสิทธิรับมรดกของ ม. ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องหรือขอให้เรียกทายาทของ ม. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วยผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันทายาทอื่นของ ม. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6593/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนมรดก: จำเป็นต้องรวมทายาทผู้รับมรดกเป็นคู่ความหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครสวรรค์จำเลยเพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกของ ม. ออกจากโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยอ้างว่า ว. บิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ม. ผู้เป็นภริยา ว. และเป็นมารดาโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะรับมรดกที่ดินมาแต่ต้น อันเป็นการโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์กับกองมรดกของ ม. โดยตรงและการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกดังกล่าวย่อมกระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นที่มีสิทธิรับมรดกของ ม. ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีเมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องหรือขอให้เรียกทายาทของ ม. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ผลของคำพิพากษาย่อมไม่มีผลผูกพันทายาทอื่นของ ม. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ การคำนวณปริมาตร และอำนาจฟ้องของหน่วยงานรัฐ
คำฟ้องในส่วนเกี่ยวกับความเสียหายบรรยายว่าจำเลยทั้งสองระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตจำนวนสองครั้ง แต่ละครั้งคิดเป็นพื้นที่เท่าใดและปริมาตรเท่าใด รวมทั้งปริมาตรหินที่จำเลยทั้งสองเอาไปเป็นจำนวนเท่าใด จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันคืนหินแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ให้ชดใช้ราคาพร้อมด้วยดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนวิธีการคำนวณหาปริมาตรหินดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ทั้งสามต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ไม่จำเป็นต้องบรรยายไว้ในคำฟ้อง คำฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตในกิจการและวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จนถูกดำเนินคดีอาญาและศาลพิพากษาลงโทษแล้ว โจทก์ทั้งสามผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และดำเนินกิจการส่วนจังหวัดเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของรัฐรวมทั้งเรียกค่าเสียหายทั้งปวงแทนรัฐจากจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง
วิธีการคำนวณหาปริมาตรหินที่โจทก์ทั้งสามนำมาใช้คำนวณหาปริมาตรหินพิพาทที่ฟ้องโจทก์ที่ 3 เคยใช้คำนวณเพื่อเรียกเก็บค่าตอบแทนเป็นรายปีจากจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตระเบิดและย่อยหินโดยจำเลยทั้งสองไม่เคยปฏิเสธความถูกต้องและยอมรับปฏิบัติตาม จึงผูกพันจำเลยทั้งสอง ฟังได้ว่าหินพิพาทมีจำนวนตามฟ้อง และศาลล่างทั้งสองกำหนดราคาหินพิพาทด้วยการเทียบเคียงกับราคาจำหน่ายทั่วไปชอบแล้ว
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าในหินพิพาทแต่ละลูกบาศก์เมตร มีหินดินและทรายปะปนรวมกัน ทั้งบริเวณที่เกิดเหตุมีหินมากกว่าดิน ในการคำนวณปริมาตรหินพิพาทต้องหักปริมาตรดินออกตามสัดส่วนก่อน เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ระเบิดและย่อยหินนอกพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตในกิจการและวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จนถูกดำเนินคดีอาญาและศาลพิพากษาลงโทษแล้ว โจทก์ทั้งสามผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และดำเนินกิจการส่วนจังหวัดเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของรัฐรวมทั้งเรียกค่าเสียหายทั้งปวงแทนรัฐจากจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง
วิธีการคำนวณหาปริมาตรหินที่โจทก์ทั้งสามนำมาใช้คำนวณหาปริมาตรหินพิพาทที่ฟ้องโจทก์ที่ 3 เคยใช้คำนวณเพื่อเรียกเก็บค่าตอบแทนเป็นรายปีจากจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตระเบิดและย่อยหินโดยจำเลยทั้งสองไม่เคยปฏิเสธความถูกต้องและยอมรับปฏิบัติตาม จึงผูกพันจำเลยทั้งสอง ฟังได้ว่าหินพิพาทมีจำนวนตามฟ้อง และศาลล่างทั้งสองกำหนดราคาหินพิพาทด้วยการเทียบเคียงกับราคาจำหน่ายทั่วไปชอบแล้ว
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าในหินพิพาทแต่ละลูกบาศก์เมตร มีหินดินและทรายปะปนรวมกัน ทั้งบริเวณที่เกิดเหตุมีหินมากกว่าดิน ในการคำนวณปริมาตรหินพิพาทต้องหักปริมาตรดินออกตามสัดส่วนก่อน เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง