คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงื่อนไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข และผลของการเลิกสัญญาเมื่อทรัพย์สูญหาย โดยศาลพิจารณาดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ข้อสัญญาว่ากรณีผิดนัดหรือทรัพย์ตามสัญญาสูญหายก็ยังให้สิทธิผู้ขายได้รับค่ารถส่วนที่ยังค้างชำระเต็มราคาแสดงให้เห็นว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตามคู่สัญญามีเจตนาให้ผู้ขายได้รับชำระราคารถยนต์ที่ซื้อขายจนครบถ้วนเท่านั้นหาได้มีข้อตกลงที่พอจะแสดงให้เห็นว่าถ้าผู้ซื้อผิดนัดให้ผู้ขายริบบรรดาเงินที่ผู้ซื้อได้ใช้มาแล้วและผู้ขายเข้าครองรถยนต์เป็นของตนแต่อย่างใดไม่ข้อสัญญาดังนี้จึงเป็นสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์หาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่ ป.พ.พ.มาตรา372วรรคแรกไม่ใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนคู่สัญญาย่อมตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ โจทก์บอกเลิกสัญญาจำเลยได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้วเป็นผลให้สัญญาสิ้นสุดลงจำเลยจึงไม่ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15ต่อปีตามข้อสัญญาแต่จะต้องนำป.พ.พ.มาตรา224มาใช้แทนโดยคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7ครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข vs. เช่าซื้อ: การสูญหายของทรัพย์สิน และผลผูกพันสัญญา
ในสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าโจทก์ผู้ขายเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา572แต่สัญญาดังกล่าวนอกจากใช้ชื่อว่าหนังสือสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขแล้วข้อความตามหนังสือสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายรถยนต์โดยโจทก์ผู้ขายยอมให้จำเลยผู้ซื้อผ่อนชำระราคามีเงื่อนไขว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้เมื่อผู้ซื้อผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้วทั้งในกรณีผิดนัดผิดสัญญาหรือทรัพย์ตามสัญญาสูญหายก็ยังให้สิทธิผู้ขายได้รับชำระค่ารถส่วนที่ยังค้างชำระเต็มราคาค่ารถที่ซื้อขายแสดงให้เห็นว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตามคู่กรณีมีเจตนาให้ผู้ขายได้รับชำระราคารถยนต์ที่ซื้อขายจนครบถ้วนเท่านั้นไม่มีข้อตกลงว่าถ้าผู้ซื้อผิดนัดผิดสัญญาให้ผู้ขายริบบรรดาเงินที่ผู้ซื้อได้ใช้มาแล้วและผู้ขายเข้าครองรถยนต์เป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา574สัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิตามมาตรา459หาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่การที่ผู้ขายกำหนดเงื่อนไขการรักษาการใช้และการเอาประกันภัยรถยนต์ในระหว่างผ่อนใช้ราคาไม่ครบก็ดีให้ผู้ซื้อต้องมีผู้ค้ำประกันในการปฏิบัติตามสัญญาก็ดีก็เป็นเพียงการสงวนทรัพย์สินและแสวงหาหลักประกันของผู้เขายเพื่อให้ได้รับชำระราคาครบถ้วนแน่นอนยิ่งขึ้นเท่านั้นหาเป็นเหตุให้สัญญากลายเป็นการเช่าซื้อไม่ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขระบุว่าแม้ว่าสัญญาฉบับนี้จะผ่านการโอนการต่ออายุหรือการเปลี่ยนมืออย่างใดหรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสียเสียหายหรือย่อยยับประการใดผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้แต่อย่างใดไม่ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายรวมตลอดถึงยานยนต์สูญหายไปเพราะเหตุถูกคนร้ายลักไปด้วยฉะนั้นเมื่อระหห่างที่จำเลยชำระเงินค่าซื้อรถยนต์ตามสัญญายังไม่ครบถ้วนรถถูกคนร้ายลักไปยังไม่ได้กลับคืนมาจำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วนข้อสัญญาดังกล่าวข้างต้นเป็นการยกเว้นบทบัญญัติมาตรา372วรรคแรกซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนคู่สัญญาย่อมตกลงกันให้เป็นอย่างอื่นได้ข้อสัญญานั้นจึงไม่ตกเป็นโมฆะตามมาตรา114 เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคารถยนต์ให้โจทก์แม้รถนั้นจะสูญหายไปแต่จำเลยมิได้ชำระจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้วจึงเป็นผลให้สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขฉบับพิพาทสิ้นสุดลงคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา391จำเลยต้องคืนรถให้โจทก์และโจทก์ต้องคืนเงินค่ารถที่ได้รับไว้แล้วพร้อมดอกเบี้ยให้จำเลยแต่ปรากฏว่ารถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาสูญหายเพราะถูกลักไปยังไม่ได้คืนจำเลยไม่สามารถส่งรถยนต์คืนให้โจทก์ได้จำเลยที่1จึงต้องชำระราคารถให้แทนโดยชำระเฉพาะส่วนที่ยังส่งไม่ครบพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกสัญญาตามมาตรา224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4616/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2528 จำเลยจะต้องร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายใน 10 วัน และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา หรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 10 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2528 แต่นำเงินตามคำพิพากษามาวางต่อศาลในวันที่ 26 มิถุนายน 2528 ซึ่งพ้นกำหนดเวลาให้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแล้ว เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4616/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์: การวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและชำระหนี้ตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเมื่อวันที่ 3มิถุนายน 2528 จำเลยจะต้องร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ภายใน10 วัน และนำ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา หรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 10 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2528 แต่นำเงินตามคำพิพากษามาวางต่อศาลในวันที่ 26 มิถุนายน 2528 ซึ่งพ้นกำหนดเวลาให้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแล้ว เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายไม่ใช่การยอมความ หากจำเลยไม่ชำระ ผู้เสียหายยังดำเนินคดีอาญาได้
บันทึกข้อตกลงไม่มีข้อความใดแสดงว่าฝ่ายผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับจำเลยในทันที แต่กลับมีเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องปฏิบัติต่อฝ่ายผู้เสียหายเสียก่อนกล่าวคือจำเลยต้องชำระเงินให้แก่ผู้เสียหายตามข้อตกลง เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระเงินให้ฝ่ายผู้เสียหาย ข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันผู้เสียหายให้เลิกคดีอาญา กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: เงื่อนไขและข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญานั้น มีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 และ 31 เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการหรือพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น นอกเหนือจากสองกรณีนี้แล้ว การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่อาจจะมีได้ ดังนั้น เมื่อผู้เสียหายคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่อาจกระทำได้ และจะอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2) ซึ่งบัญญัติให้สิทธิบุคคลภายนอกในกรณีร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยร่วม ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาอนุโลมบังคับใช้ในกรณีนี้ก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะอำนาจฟ้องดังกล่าวถือว่ากฎหมายได้กำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะในมาตรา 30 และ 31 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้
การให้วินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะ คู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: เงื่อนไขและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญานั้นมีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา30และ31เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการหรือพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้นนอกเหนือจากสองกรณีนี้แล้วการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่อาจจะมีได้ดังนั้นเมื่อผู้เสียหายคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแล้วผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่อาจกระทำได้และจะอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)ซึ่งบัญญัติให้สิทธิบุคคลภายนอกในกรณีร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยร่วมประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15มาอนุโลมบังคับใช้ในกรณีนี้ก็ไม่ได้เช่นเดียวกันเพราะอำนาจฟ้องดังกล่าวถือว่ากฎหมายได้กำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะในมาตรา30และ31แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้วดังนั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้ การให้วินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกานั้นเป็นอำนาจและหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะคู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเช็คไม่ถือเป็นการยอมความ ต้องรอการชำระเงินก่อนถอนฟ้อง
โจทก์จำเลยแถลงต่อศาลร่วมกันว่าคดีตกลงกันได้ โดยจำเลยยอมชดใช้เงินตามจำนวนที่สั่งจ่ายเช็คแก่โจทก์ แต่จำเลยต้องใช้เวลารวบรวมเงินขอให้ศาลเลื่อนการพิพากษาคดีออกไปหนึ่งนัด หากจำเลยชำระเงินให้โจทก์ครบถ้วนตามกำหนด โจทก์จะถอนฟ้องทันที หากผิดนัดให้ศาลพิพากษาคดีไปได้ทันทีเช่นเดียวกันเช่นนี้ ข้อตกลงดังกล่าวไม่มีข้อความใดแสดงว่าโจทก์ตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับจำเลยในทันที แต่กลับมีเงื่อนไขให้จำเลยต้องชำระเงินเสียก่อนโจทก์จึงจะถอนฟ้องให้แสดงว่าในระหว่างนั้นโจทก์ยังติดใจที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยอยู่การที่จำเลยเตรียมเงินมาครบถ้วนในวันนัดต่อมาแต่โจทก์ไม่ยอมมาศาลก็เป็นเพียงข้อแสดงว่าจำเลยมิได้ผิดนัดเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวหามีผลเป็นการยอมความตามประมวลกฎหมายหวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชดใช้ค่าเช็คไม่ถือเป็นการยอมความ ต้องมีเงื่อนไขชำระเงินก่อนจึงจะถอนฟ้องได้
โจทก์จำเลยแถลงต่อศาลร่วมกันว่าคดีตกลงกันได้โดยจำเลยยอมชดใช้เงินตามจำนวนที่สั่งจ่ายเช็คแก่โจทก์แต่จำเลยต้องใช้เวลารวบรวมเงินขอให้ศาลเลื่อนการพิพากษาคดีออกไปหนึ่งนัดหากจำเลยชำระเงินให้โจทก์ครบถ้วนตามกำหนดโจทก์จะถอนฟ้องทันทีหากผิดนัดให้ศาลพิพากษาคดีไปได้ทันทีเช่นเดียวกันเช่นนี้ข้อตกลงดังกล่าวไม่มีข้อความใดแสดงว่าโจทก์ตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับจำเลยในทันทีแต่กลับมีเงื่อนไขให้จำเลยต้องชำระเงินเสียก่อนโจทก์จึงจะถอนฟ้องให้แสดงว่าในระหว่างนั้นโจทก์ยังติดใจที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยอยู่การที่จำเลยเตรียมเงินมาครบถ้วนในวันนัดต่อมาแต่โจทก์ไม่ยอมมาศาลก็เป็นเพียงข้อแสดงว่าจำเลยมิได้ผิดนัดเท่านั้นข้อตกลงดังกล่าวหามีผลเป็นการยอมความตามประมวลกฎหมายหวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิประกันภัยและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิด แม้ผู้รับประกันภัยจะผิดเงื่อนไข
การที่โจทก์นำกรมธรรม์ประกันภัยมาสืบประกอบพยานอื่นในข้อรับช่วงสิทธิโดยมิได้นำสืบบังคับตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยตรงแม้กรมธรรม์ประกันภัยจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้. จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อมแม้รถยนต์ของโจทก์จะเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลซึ่งต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ใช้รับจ้างบรรทุกสินค้าของผู้อื่นก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นจากความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้เพราะการที่โจทก์นำรถยนต์ไปรับจ้างโดยผิดกฎหมายหรือไม่เป็นคนละเรื่องกับการกระทำละเมิด.
of 48