พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6533-6534/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าเป็นค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การเลิกจ้างต้องมีเหตุสมควร
เดิมจำเลยมีข้อตกลงจ่ายค่านายหน้าจากการขายให้โจทก์ทั้งสองในอัตราร้อยละ 1 จากยอดเงินที่เรียกเก็บจากลูกค้า จึงเป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างและโจทก์ทั้งสองผู้เป็นลูกจ้างตกลงกันให้จ่ายค่านายหน้าเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างโดยคำนวณจากผลงานที่โจทก์ทั้งสองทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ต่อมาจำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่านายหน้าใหม่โดยกำหนดอัตราค่านายหน้าตามระยะเวลาที่ลูกค้าชำระค่าสินค้า และกำหนดให้โจทก์ที่ 2 ได้รับค่านายหน้าเมื่อมียอดขายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ แม้จำเลยอ้างว่ากำหนดขึ้นเพื่อจูงใจให้พนักงานทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายหรือติดตามทวงถามหนี้ค่าสินค้าของลูกค้าก็ตาม แต่การทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายหรือการติดตามทวงถามหนี้ค่าสินค้าจากลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งของงานในความรับผิดชอบของพนักงานขาย ค่านายหน้าที่จำเลยต้องจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใหม่นี้จึงเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างโดยคำนวณจากผลงานที่โจทก์ทั้งสองทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานนั่นเอง ค่านายหน้าตามข้อตกลงเดิมและตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใหม่จึงเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาคดีเยาวชน ต้องมีเหตุเปลี่ยนแปลงพฤติการณ์และเหตุสมควร
การที่ศาลจะใช้อำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษหรือวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2539 มาตรา 99 ได้นั้น จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงแก่ศาลว่ามีพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวกับ ตัวเด็กหรือเยาวชน ซึ่งอยู่ในระหว่างการรับโทษหรือถูกควบคุมอยู่ตามคำพิพากษากับต้องมีเหตุ อันสมควรที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นด้วย เมื่อคดีนี้จำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวตลอดมา จนกระทั่งศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟัง กรณียังไม่ปรากฏพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวกับตัวจำเลยอันจะเป็นเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลฎีกาให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8779/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการอายัดที่ดินเพื่อฟ้องเลิกหุ้นส่วน-ชำระบัญชี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องมีเหตุสมควรและสุจริต
ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันอาจจะฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคหนึ่ง หมายถึงผู้ที่จะได้ประโยชน์ตามสิทธิใดๆ ของตนในที่ดินนั้น และอาจจะฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินได้ตามสิทธิใดๆ ที่ตนมีอยู่และอาจจะเสียประโยชน์ในที่ดินหากมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนอย่างหนึ่งอย่างใดในที่ดินนั้นก่อนที่จะไปฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตามสิทธิของตน ผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิขออายัดที่ดินตาม ป.ที่ดินดังกล่าวจึงไม่จำต้องเป็นผู้มีสิทธิเสมือนหนึ่งผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่จำต้องมีส่วนได้เสียผูกพันกับที่ดินโดยตรง ทั้งไม่จำต้องฟ้องร้องเอาที่ดินเป็นของตนเองหรือฟ้องร้องให้ศาลบังคับให้ทำการจดทะเบียน หรือให้เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรง และคำพิพากษาก็ไม่จำต้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรงตามที่โจทก์ฎีกา หากคำขอและผลของคำพิพากษานั้นบังคับให้กระทำการใดอันจะนำไปสู่การจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนในที่ดินที่ขออายัดแล้ว ก็ย่อมอยู่ในบังคับบทบัญญัติตามมาตรา 83 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.ที่ดิน ที่ว่า "อันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน" ในกรณีของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องนำเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาลงหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1026 ส่วนกำไรก็ดีส่วนขาดทุนก็ดีของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมเป็นไปตามส่วนที่ลงหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1044 เมื่อหุ้นส่วนเลิกกันและมีการชำระบัญชีจะต้องนำสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมาชำระหนี้ค้างชำระแก่บุคคลภายนอก ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง และคืนทุนทรัพย์ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนได้ลงเป็นหุ้นถ้ายังมีทรัพย์สินอยู่อีกเท่าไรก็ให้เฉลี่ยแจกเป็นกำไรในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1062 ดังนั้น การฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี ผลของคำพิพากษาที่ให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีจึงอาจมีผลให้ต้องมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินอันเป็นสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษานั้นเองผู้เป็นหุ้นส่วนจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขออายัดที่ดินของห้างหุ้นส่วนเพื่อไปฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8876/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลาอุทธรณ์-คำร้องคุ้มครองประโยชน์: ศาลฎีกาวินิจฉัยเหตุสมควรขยายเวลาอุทธรณ์ แต่ไม่อาจสั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังจากครบกำหนดยื่นอุทธรณ์แล้ว เป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่มีโอกาสยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดได้อันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้อง ประกอบกับผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เป็นครั้งแรก จึงมีเหตุสมควรที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ผู้ร้อง
คำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ผู้ร้องยื่นระหว่างฎีกาขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เป็นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ไม่ใช่คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 การพิจารณาว่าศาลใดมีอำนาจสั่งคำร้องจะต้องพิจารณาว่าประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลใดเมื่อประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีคือทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 หรือผู้ร้อง แต่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาคือมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ผู้ร้องหรือไม่ ซึ่งเมื่อศาลฎีกาพิพากษากลับให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ คดีก็เสร็จไปจากการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจมีคำสั่งตามคำร้องของผู้ร้องได้ประกอบกับการยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ คู่ความจะต้องยื่นต่อศาลในขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาหรือมิฉะนั้นต้องยื่นในชั้นบังคับคดีเมื่อมีเหตุที่จะขอคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แต่ยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ กรณีจึงมิใช่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาและมิใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์เพื่อบังคับตามคำพิพากษาเพราะผู้ร้องยังไม่ถูกบังคับคดี การยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 264
คำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ผู้ร้องยื่นระหว่างฎีกาขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เป็นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ไม่ใช่คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 การพิจารณาว่าศาลใดมีอำนาจสั่งคำร้องจะต้องพิจารณาว่าประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลใดเมื่อประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีคือทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 หรือผู้ร้อง แต่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาคือมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ผู้ร้องหรือไม่ ซึ่งเมื่อศาลฎีกาพิพากษากลับให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ คดีก็เสร็จไปจากการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจมีคำสั่งตามคำร้องของผู้ร้องได้ประกอบกับการยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ คู่ความจะต้องยื่นต่อศาลในขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาหรือมิฉะนั้นต้องยื่นในชั้นบังคับคดีเมื่อมีเหตุที่จะขอคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แต่ยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ กรณีจึงมิใช่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาและมิใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์เพื่อบังคับตามคำพิพากษาเพราะผู้ร้องยังไม่ถูกบังคับคดี การยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7227-7228/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกา: คำสั่งศาลชั้นต้นไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา และมีเหตุสมควรขยายระยะเวลาได้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกาเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกา จำเลยที่ 4 ย่อมอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคหนึ่ง เพราะคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3736/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องขอคืนของกลางที่ผู้ร้องไม่มาศาลตามนัด การพิจารณาเหตุสมควร และการไต่สวนเพื่อหาข้อเท็จจริง
ผู้ร้องไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้องขอคืนของกลางต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 166 ประกอบมาตรา 181 ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกฟ้อง และผู้ร้องมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องทราบนัดแล้วไม่มาศาลถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาศาลและให้ยกคำร้องจึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลชั้นต้นจะยกคำร้องของผู้ร้องโดยถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ ก็ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การต้องมีเหตุสมควร ศาลมีอำนาจพิจารณาอนุญาต/ไม่อนุญาต การอ้างไม่เข้าใจกฎหมายหลังรับสารภาพไม่ถือเป็นเหตุสมควร
ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง บัญญัติว่า "เมื่อมีเหตุอันควร จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การของเขาก่อนศาลพิพากษา ถ้าศาลเห็นสมควรอนุญาตก็ให้ส่งสำเนาแก่โจทก์" ซึ่งหมายความว่า หากจำเลยประสงค์จะขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การ จำเลยจะต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การเพราะเหตุใด มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลยทั้งนี้ ศาลมีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ โดยพิจารณาถึงเหตุผลที่จำเลยอ้างอิงในคำร้องว่าเป็นเหตุผลอันสมควรอนุญาตหรือไม่ คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่าเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันนัดสอบคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความ จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ศาลชั้นต้นจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพ ต่อมาวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังอีกครั้งหนึ่ง จำเลยยังคงยืนยันให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย โดยจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน คดีเสร็จการพิจารณาศาลชั้นต้นให้นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 14 มิถุนายน 2547 แต่เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2547 จำเลยขอยื่นคำให้การฉบับใหม่เป็นให้การปฏิเสธในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจาร โดยอ้างว่าไม่เข้าใจข้อกฎหมาย ทั้ง ๆ ที่ศาลชั้นต้นได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้วถึง 2 ครั้ง จำเลยก็ให้การรับสารภาพ ซึ่งแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อกล่าวหาในความผิดฐานดังกล่าวตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว การที่จำเลยขอถอนคำให้การรับสารภาพและขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจาร หลังจากที่ให้การรับสารภาพมาแล้วประมาณ 2 เดือนเศษ โดยอ้างเหตุว่าจำเลยไม่เข้าใจข้อกฎหมายนั้น เห็นได้ว่าเป็นการให้การปฏิเสธเพื่อให้มีการสืบพยานต่อไปอีกส่อไปในทางประวิงคดีให้ล่าช้า จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: เหตุสมควรยกเว้นการพิจารณาใหม่, ความรับผิดชอบทนายความ, การแจ้งเหตุขัดข้อง
การที่จะให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้นั้น จะต้องแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเหตุสมควรที่มาศาลในวันนัดไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 181 คดีนี้ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ได้ทราบวันเวลานัดดังกล่าวโดยชอบแล้ว แต่มิได้มาศาลตามกำหนดนัด เนื่องจากทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 เดินทางไปว่าความในคดีอื่นที่ศาลได้นัดพิพากษาตามยอมในวันเดียวกัน โดยไม่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาในคดีนี้ ซึ่งทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 เป็นคนนัดวันนัดสืบพยานโจทก์ในคดีนี้ไว้เอง ทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ชอบที่จะแจ้งต่อศาลในคดีอื่นว่าทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ติดการพิจารณาของศาลในคดีนี้ และขอให้ศาลในคดีอื่นนัดพิจารณาตามยอมในวันอื่น ไม่ควรนัดให้ซ้อนกัน แต่ทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ก็หาได้กระทำไม่ นับว่าเป็นความบกพร่องของทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 เอง ทั้งเมื่อมีเหตุขัดข้องทำให้ไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ก็ต้องแจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลในคดีนี้ทันที การที่ทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 เพียงแต่บอกให้โจทก์ที่ 1 มาศาลเพื่อตอบคำถามค้านของทนายจำเลยให้เสร็จโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลในคดีนี้ทราบ แสดงให้เห็นว่าทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ไม่เห็นถึงความสำคัญในเวลานัดของศาลในคดีนี้ เหตุขัดข้องของทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 จะยกขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้ แม้โจทก์ที่ 1 จะมีใบรับรองแพทย์และรายงานแพทย์มาแสดงว่าโจทก์ที่ 1 เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในวันดังกล่าว โดยมีอาการโรคกระเพาะและแน่นหน้าอกก็ตามแต่ตามรายงานแพทย์ดังกล่าวได้สรุปผลการตรวจว่า โจทก์ที่ 1 มีปัญหาระบบย่อยอาหารโดยไม่มีโรคหัวใจ เนื่องจากอุดตันของเส้นโลหิตแต่อย่างใด ทั้งโจทก์ที่ 1 ยังสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยังสำนักงานของทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ได้ แสดงว่าอาการป่วยของโจทก์ที่ 1 ไม่ร้ายแรงถึงขนาดที่จะทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่สามารถแจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลชั้นต้นได้โดยสามารถสอบถามหมายเลขโทรศัพท์ของศาลชั้นต้นจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยซึ่งให้บริการสอบถามหมายเลขโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมงได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ศาลชั้นต้นรอจนถึงเวลา 15.30 นาฬิกา นับว่าเป็นระยะเวลานานพอที่โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 จะโทรศัพท์แจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลชั้นต้นหรือมอบหมายให้ผู้หนึ่งผู้ใดมาแจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลชั้นต้นอันอยู่ในวิสัยที่โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 สามารถจะกระทำได้แต่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 และทนายโจทก์ที่ 1 และที่ 3 หาได้ดำเนินการดังกล่าวไม่ พฤติการณ์ของฝ่ายโจทก์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลล่าช้า กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลชั้นต้นจะยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2714/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การในคดีอาญาต้องมีเหตุสมควร และความผิดพรากเด็กกับกระทำชำเราเป็นคนละกรรม
จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ต่อเมื่อมีเหตุอันสมควร ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่ตามอำเภอใจของจำเลย อีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลที่เห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ไขได้ การที่ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การรับสารภาพ โดยขอให้การใหม่เป็นให้การปฏิเสธว่าได้กระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 จริง โดยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหายที่ 2 จำเลยไม่ทราบมาก่อนว่าผู้เสียหายที่ 2 อายุยังไม่เกิน 15 ปี คำให้การดังกล่าวของจำเลยหาทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด อีกทั้งในวันสืบพยานโจทก์เมื่อโจทก์นำผู้เสียหายที่ 2 เข้าเบิกความต่อหน้าจำเลยในช่วงเช้า ผู้เสียหายที่ 2 เบิกความตอบศาลว่าผู้เสียหายที่ 2 อายุ 13 ปี จำเลยย่อมต้องทราบแล้วว่า ผู้เสียหายที่ 2 อายุยังไม่เกิน 15 ปี ก่อนเริ่มสืบพยานโจทก์ต่อในช่วงบ่าย จำเลยขอถอนคำให้การเดิมเป็นให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ซึ่งแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาในความผิดฐานดังกล่าวตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร จำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของผู้เสียหายที่ 2 ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี จำเลยมีเจตนากระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ดังนั้น เจตนาในการกระทำความผิดเป็นคนละเจตนาแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร จำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของผู้เสียหายที่ 2 ส่วนความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี จำเลยมีเจตนากระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ดังนั้น เจตนาในการกระทำความผิดเป็นคนละเจตนาแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำให้การของผู้ถูกฟ้องที่ถูกส่งหมายเรียกไปยังที่อยู่เดิม แม้จะย้ายที่อยู่ไปแล้ว มีเหตุสมควร
จำเลยย้ายไปอยู่บ้านอีกแห่งห่างออกไปประมาณ 1 กิโลเมตร จากบ้านมารดา เป็นเวลา 3 ปี แล้ว แต่ยังคงมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมารดา ก่อนถูกฟ้องจำเลยเคยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์เนื่องจากไปเยี่ยมมารดาที่บ้าน เมื่อฟ้องคดีโจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปยังที่อยู่ตามทะเบียนบ้านและน้องเขยจำเลยเป็นผู้รับแทน จำเลยเพิ่งทราบว่าถูกฟ้องเนื่องจากหลานจำเลยนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องมาให้ ซึ่งโจทก์ก็มิได้นำสืบพยานว่าจำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านใหม่ตามที่จำเลยอ้าง เมื่อจำเลยทราบนัดสืบพยานโจทก์และนัดไกล่เกลี่ยจำเลยและทนายความมาศาล และเมื่อปรากฏว่าที่ดินที่ตกลงซื้อขายเป็นที่ดินแจ้งเสียภาษีบำรุงท้องที่โดยจำเลยเป็นผู้แจ้งระบุว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดิน โดยโจทก์ได้ใช้ที่ดินนับแต่ตกลงซื้อจากจำเลยตั้งแต่ปี 2551 จนปี 2557 มีบุคคลอื่นมาโต้แย้ง โจทก์กลับยอมตามที่ผู้อื่นโต้แย้งและฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้หลังจากทำสัญญาซื้อขาย 8 ปี 1 เดือนเศษ จึงมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและรับคำให้การจำเลยไว้พิจารณา ตาม ป.วิ.พ มาตรา 199 วรรคหนึ่ง