คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุสุดวิสัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายใน 15 วันนับจากวันที่ส่งคำบังคับ หรือ 6 เดือนหากมีเหตุสุดวิสัย
คำขอให้พิจารณาใหม่จะต้องยื่นต่อศาลภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล จำเลยยื่นคำขอเมื่อล่วงเลยระยะเวลา15 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้ส่วนกำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกท่อนท้ายนั้นจะนำมาใช้บังคับต่อเมื่อมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้จำเลยไม่อาจยื่นคำขอภายในกำหนด 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือภายในระยะเวลาตามกำหนดของศาล ตามคำขอของจำเลยไม่ปรากฏว่าอ้างพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ไว้จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายใน 15 วันนับจากวันที่ส่งคำบังคับ หรือภายใน 6 เดือนหากมีเหตุสุดวิสัย
คำขอให้พิจารณาใหม่จะต้องยื่นต่อศาลภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล จำเลยยื่นคำขอเมื่อล่วงเลยระยะเวลา15 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้ส่วนกำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก ท่อนท้ายนั้นจะนำมาใช้บังคับต่อเมื่อมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้จำเลยไม่อาจยื่นคำขอภายในกำหนด 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือภายในระยะเวลาตามกำหนดของศาลตามคำขอของจำเลยไม่ปรากฏว่า อ้างพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ไว้ จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยมีหน้าที่จัดหาสิ่งของตามสัญญา การที่บริษัทผู้ผลิตไม่ส่งมอบไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกัน
โจทก์ทำสัญญาซื้อวิทยุหาทิศขนาดเล็กจากจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่จัดหาวิทยุหาทิศตามสัญญาส่งมอบให้แก่โจทก์ การที่บริษัทผู้ผลิตไม่ส่งวิทยุหาทิศมาให้จำเลย จึงเป็นความผิดของจำเลยหาใช่เหตุสุดวิสัยหรือพ้นวิสัยไม่ จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 ระบุว่า "เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวนหรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันบอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับชดใช้ราคาที่เพิ่มจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย" และข้อ 9 ระบุว่า"ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน..." ดังนี้ ตามสัญญาข้อ 8 เป็นการกำหนดเบี้ยปรับในกรณีที่ผู้ขายผิดสัญญาโดยไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน และผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญาต่อผู้ขาย ส่วนสัญญาข้อ 9 นั้นเป็นการกำหนดเบี้ยปรับในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาต่อผู้ขายยังคงยอมให้ผู้ขายนำสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญามาส่งให้แก่ผู้ซื้อต่อไป ผู้ซื้อจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับจากผู้ขายเป็นรายวันได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเนื่องจากจำเลยไม่นำสิ่งของมามอบให้ทั้งหมด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 8 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 9 อีก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาพร้อมทั้งแจ้งการริบเงินประกันตามสัญญา และแจ้งให้จำเลยใช้ค่าปรับจำเลยให้การว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายและค่าปรับตามสัญญา ประเด็นเกี่ยวกับเบี้ยปรับจึงเป็นประเด็นพิพาทในคดีด้วย
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ จำเลยแก้อุทธรณ์ว่าจำเลยไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวซึ่งเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าตามสัญญา การที่บริษัทผู้ผลิตไม่ส่งมอบไม่ใช่เหตุสุดวิสัย โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกัน
โจทก์ทำสัญญาซื้อวิทยุหาทิศขนาดเล็กจากจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่จัดหาวิทยุหาทิศตามสัญญาส่งมอบให้แก่โจทก์ การที่บริษัทผู้ผลิตไม่ส่งวิทยุหาทิศมาให้จำเลย จึงเป็นความผิดของจำเลยหาใช่เหตุสุดวิสัยหรือพ้นวิสัยไม่ จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา ตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 ระบุว่า "เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวนหรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันบอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับชดใช้ราคาที่เพิ่มจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย" และข้อ 9 ระบุว่า"ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน..."ดังนี้ ตามสัญญาข้อ 8 เป็นการกำหนดเบี้ยปรับในกรณีที่ผู้ขายผิดสัญญาโดยไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน และผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญาต่อผู้ขาย ส่วนสัญญาข้อ 9 นั้นเป็นการกำหนดเบี้ยปรับในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาต่อผู้ขายยังคงยอมให้ผู้ขายนำสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญามาส่งให้แก่ผู้ซื้อต่อไป ผู้ซื้อจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับจากผู้ขายเป็นรายวันได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเนื่องจากจำเลยไม่นำสิ่งของมามอบให้ทั้งหมด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 8 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 9 อีก โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาพร้อมทั้งแจ้งการริบเงินประกันตามสัญญา และแจ้งให้จำเลยใช้ค่าปรับจำเลยให้การว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายและค่าปรับตามสัญญา ประเด็นเกี่ยวกับเบี้ยปรับจึงเป็นประเด็นพิพาทในคดีด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ จำเลยแก้อุทธรณ์ว่าจำเลยไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวซึ่งเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2669/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอม การมอบหมายให้ผู้อื่นชำระหนี้แทน และเหตุสุดวิสัย
จำเลยทั้งสองไม่นำเงินมาวางต่อศาลตามกำหนดโดยอ้างว่ามารดาป่วยกะทันหันต้องเดินทางไปเยี่ยมที่ต่างจังหวัดนั้น มิใช่ความจำเป็นถึงขนาดจะนำเงินมาวางศาลไม่ได้เพราะการนำเงินมาวางศาลมิใช่กิจการที่จำเลยทั้งสองจะต้องทำเองโดยเฉพาะตัว ดังนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ.มาตรา 205 ศาลยกคำร้องของจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องไต่สวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่นอกระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เหตุสุดวิสัยต้องระบุชัดเจน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก กำหนดระยะเวลาแก่คู่ความในการใช้สิทธิขอให้พิจารณาใหม่ไว้เป็น2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก จะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยแต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน ก็ให้นับแต่เมื่อการส่งคำบังคับมีผลใช้ได้ และประการหลังหากมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนเป็นเหตุให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดไม่อาจยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในประการแรกแล้ว คู่ความฝ่ายนั้นมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง ส่วนข้อความตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนด6 เดือน นับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น มีความหมายว่า ห้ามมิให้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อพ้นหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น แม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนทำให้การยื่นคำขอต้องล่าช้าเกิน 6 เดือนก็ตาม จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ล่าช้าเกิน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับ โดยมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แต่คำขอนั้นมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคแรก ซึ่งวรรคสองของมาตรา 208 บังคับให้ต้องกล่าวแม้เป็นชั้นตรวจคำขอ ศาลก็ชอบที่จะสั่งยกคำขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ล่าช้า - เหตุสุดวิสัยและการบรรยายเหตุผล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกกำหนดระยะเวลาแก่คู่ความในการใช้สิทธิขอให้พิจารณาใหม่ไว้เป็น2 ประการ กล่าวคือ ประการแรกจะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยแต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน ก็ให้นับแต่เมื่อการส่งคำบังคับมีผลใช้ได้ และประการหลังหากมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนเป็นเหตุให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดไม่อาจยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในประการแรกแล้วคู่ความฝ่ายนั้นมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง ส่วนข้อความตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น มีความหมายว่าห้ามมิให้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เมื่อพ้นหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นแม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนทำให้การยื่นคำขอต้องล่าช้าเกิน 6 เดือนก็ตาม จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ล่าช้าเกิน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แต่คำขอนั้นมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก ซึ่งวรรคสองของมาตรา 208 บังคับให้ต้องกล่าว แม้เป็นชั้นตรวจคำขอ ศาลก็ชอบที่จะสั่งยกคำขอให้พิจารณาใหม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 167/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดต่อความเสียหายจากทรัพย์สินสูญหาย: หน้าที่เวรรักษาการณ์, ความระมัดระวัง, เหตุสุดวิสัย
จำเลยทั้งสามไม่มีหน้าที่เป็นยามรักษาความปลอดภัย และได้เข้าเวรรักษาราชการตามหน้าที่และปฏิบัติอย่างที่เคยปฏิบัติมาก่อนกับได้ใช้ความระมัดระวังตามวิสัยเช่นวิญญูชนทั่วไปจะพึงปฏิบัติในการดูแลทรัพย์สินของตนแล้ว เมื่อปรากฏว่าคนร้ายได้เล็ดลอดเข้าไปในอาคารโรงเรียนและงัดประตูเก็บเครื่องพิมพ์ดีดลักเอาเครื่องพิมพ์ดีดของโรงเรียนไปในขณะที่จำเลยทั้งสามนอนหลับ ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้เครื่องพิมพ์ดีดของโรงเรียนสูญหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่ต้องอาศัยสำนวนคดี การเดินทางไปต่างจังหวัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ในการขอให้พิจารณาใหม่จำเป็นที่ต้อง ตรวจ ดู สำนวนคดีเพื่อทราบคำฟ้องและกระบวนพิจารณาคดีตลอดจนคำพิพากษาของศาลเสียก่อนดังนั้น เมื่อปรากฏว่า การได้รับสำเนาสำนวนคดีจากเจ้าพนักงานศาลล่าช้า ทำให้ไม่สามารถตรวจ ดู สำนวนคดีคำฟ้องและกระบวนพิจารณาตลอดจนคำพิพากษาของศาลได้ ถือได้ว่ากรณีดังกล่าวเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยยื่นคำร้องขอให้มีการพิจารณาใหม่ วันที่ 6 สิงหาคม 2530อ้างว่าจำเลยรู้ว่าถูก ยึดทรัพย์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2530 รุ่งขึ้นจำเลยเดินทางไปต่างจังหวัด และกลับถึงบ้านวันที่ 19 กรกฎาคม 2530วันที่ 20 กรกฎาคม 2530 จำเลยติดต่อ ขอคัดสำเนาสำนวนคดีเจ้าพนักงานศาลถ่าย สำเนาคดีให้จำเลยได้ ภายใน 8 วัน และเกี่ยวกับทะเบียนบ้านเจ้าหน้าที่เขตก็สามารถตรวจสอบแจ้งให้จำเลยทราบผลภายใน 3 วัน หากจำเลยไม่ปล่อยปละละเลยไปต่างจังหวัดเสีย 11 วัน จำเลยก็สามารถยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้ ทันภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ วันที่ทราบว่าถูก ยึดทรัพย์ การที่จำเลยเดินทางไปต่างจังหวัด แม้จะเป็นความจริงก็หาเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจบังคับได้ไม่ ความล่าช้าที่เกิดขึ้นจึงเป็นความบกพร่องของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์มีเหตุสุดวิสัยในการชำระค่าฤชาธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม โจทก์ไม่ได้นำมาชำระภายในกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความวันรุ่งขึ้นโจทก์ยื่นคำร้องอ้างเหตุที่ไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาชำระตามคำสั่งศาลว่าเนื่องจากฝนตกหนัก การจราจรติดขัดมาก ได้โทรศัพท์แจ้งเหตุขัดข้องให้พนักงานรับฟ้องทราบเมื่อเวลา 15 นาฬิกา และเดินทางมาถึงศาลเมื่อเวลา 17 นาฬิกา พนักงานศาลไม่ยอมรับค่าฤชาธรรมเนียม อ้างว่าศาลปิดทำการแล้ว โจทก์มิได้จงใจทิ้งฟ้อง เป็นเหตุสุดวิสัย ขอให้ศาลไต่สวนอนุญาตให้โจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งจำหน่ายคดีโดยเห็นว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มายื่นคำร้องแสดงเหตุอันสมควร ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เพื่อทราบข้อเท็จจริง และถ้าเห็นว่าโจทก์มีพฤติการณ์พิเศษและเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้นเสียได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และขยายระยะเวลาให้แก่โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2532)
of 52