พบผลลัพธ์ทั้งหมด 369 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้รับโอนที่ทราบการซื้อขายก่อนหน้า ทำให้การโอนเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าให้โจทก์แล้วส่งมอบการครอบครองให้ โจทก์ครอบครองตลอดมา เพียงแต่จะไปทำการโอนทางทะเบียนให้ในภายหลังเท่านั้น ต่อมาจำเลยที่ 1 กลับโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร จำเลยที่ 2 ได้ขายให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4 ทราบว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704-1705/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยเจตนาลวงและการรับโอนโดยไม่สุจริต ทำให้เพิกถอนนิติกรรมได้
จำเลยที่ 1 ขอยืมที่ดินของโจทก์เพื่อนำไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยที่ 1 กู้จากธนาคาร โจทก์จึงแบ่งแยกที่ดินของโจทก์ส่วนหนึ่งแล้วใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของโดยตกลงกันว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ธนาคารหมดแล้วจะคืนที่ดินให้โจทก์เป็นการแสดงเจตนาลวง ที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่จำเลยตกอยู่ในความผูกพันที่จะต้องโอนที่ดินคืนให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเอาที่ดินไปขายให้ผู้อื่น
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดย ทราบถึงการแสดงเจตนาลวงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดย ทราบถึงการแสดงเจตนาลวงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704-1705/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยเจตนาลวงและการรับโอนโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรม
จำเลยที่ 1 ขอยืมที่ดินของโจทก์เพื่อนำไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยที่ 1 กู้จากธนาคาร โจทก์จึงแบ่งแยกที่ดินของโจทก์ส่วนหนึ่งแล้วใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของโดยตกลงกันว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ธนาคารหมดแล้วจะคืนที่ดินให้โจทก์เป็นการแสดงเจตนาลวง ที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่จำเลยตกอยู่ในความผูกพันที่จะต้องโอนที่ดินคืนให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเอาที่ดินไปขายให้ผู้อื่น
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดย ทราบถึงการแสดงเจตนาลวงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดย ทราบถึงการแสดงเจตนาลวงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิขับไล่และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างได้
จำเลยสร้างโรงเรือนลงในที่ดินราชพัสดุอันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยไม่มีสิทธิถึงหากจะเป็นการสร้างโดยสุจริต กรณีก็ไม่ต้องด้วยมาตรา 1310 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะนำมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1159/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติโดยไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิขับไล่และรื้อถอนได้
จำเลยสร้างโรงเรือนลงในที่ดินราชพัสดุอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยไม่มีสิทธิถึงหากจะเป็นการสร้างโดยสุจริต กรณีก็ไม่ต้องด้วยมาตรา 1310 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะนำมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1159/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินร่วมกันฉันสามีภริยา การโอนโดยไม่สุจริต และสิทธิเรียกร้องเพิกถอนการจดทะเบียน
ขณะที่ ห. กับโจทก์อยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสนั้น ห. กับโจทก์เอาเงินที่หาได้ร่วมกันไปซื้อที่ดินพิพาท โจทก์จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกับ ห. ต่อมา ห.กับจำเลยจดทะเบียนซื้อขายโอนที่พิพาททั้งแปลงโดยไม่สุจริตการที่ ห. กับจำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาทส่วนของโจทก์ด้วยนั้นจึงเป็นทางเสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของโจทก์ได้อยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้น แม้การโอนจะมีค่าตอบแทนแต่เมื่อจำเลยผู้รับโอนกระทำการโดยไม่สุจริตแล้ว โจทก์ย่อมเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส การโอนที่ดินโดยไม่สุจริต และสิทธิเรียกร้องเพิกถอนการจดทะเบียน
ขณะที่ ห. กับโจทก์อยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสนั้น ห. กับโจทก์เอาเงินที่หาได้ร่วมกันไปซื้อที่ดินพิพาท โจทก์จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกับ ห. ต่อมา ห. กับจำเลยจดทะเบียนซื้อขายโอนที่พิพาททั้งแปลงโดยไม่สุจริตการที่ ห. กับจำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาทส่วนของโจทก์ด้วยนั้น จึงเป็นทางเสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของโจทก์ได้อยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้น แม้การโอนจะมีค่าตอบแทน แต่เมื่อจำเลยผู้รับโอนกระทำการโดยไม่สุจริตแล้ว โจทก์ย่อมเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์ต้องแสดงความยากลำบากในการชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่น และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อขออนุญาตเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ถูกยึดในคดีอื่น มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ศาลเห็นว่า ตนไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น
พฤติการณ์ที่ถือได้ว่าผู้ยื่นคำขอเฉลี่ยไม่สุจริต
พฤติการณ์ที่ถือได้ว่าผู้ยื่นคำขอเฉลี่ยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052-1054/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังพินัยกรรม: สิทธิของผู้รับมรดกและผลของการเช่าที่ไม่สุจริต
ร. ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงพิพาทกับแปลงอื่นอีก 2 แปลงให้ ส. อ. และ ล. แต่ให้ตกเป็นของผู้รับต่อเมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปี คนใดจะได้แปลงไหนให้จับสลากเอาเมื่อ ร. ตายแล้ว มีบุคคลผู้หนึ่งได้เป็นผู้จัดการมรดก แต่ต่อมาขอออกไป ระหว่างที่ยังไม่มีผู้จัดการมรดกคนใหม่ บ. ซึ่งเป็นมารดาของ ส. อ. ล. ได้ให้จำเลยเช่าตึกแถวในที่ดินแปลงพิพาท ซึ่งตึกนี้มีคนสร้างและยกกรรมสิทธิ์ให้แก่ บ. ดังนี้ ตึกแถวย่อมตกติดเป็นของเจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 แม้ตามพินัยกรรมจะยังไม่ให้สิทธิในที่ดินแปลงใดตกทอดไปยัง ส. อ. และ ล. ในทันที ตึกแถวนั้นก็คงต้องตกไปเป็นของคนใดคนหนึ่งในสามคนนี้ แต่ก็ไม่ใช่เป็นของ บ. แม้จำเลยจะหลงเชื่อโดยสุจริตว่า บ. เป็นเจ้าของก็ไม่ทำให้จำเลยเกิดสิทธิในการเช่าอันจะใช้ยันเจ้าของที่ดินและตึกอันแท้จริงได้ เพราะ บ. ผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของตึกหรือมีสิทธิให้เช่าได้ โจทก์ซึ่งรู้เรื่องอยู่แล้ว รับโอนกรรมสิทธิ์ไปจากเจ้าของแล้วใช้อำนาจกรรมสิทธิ์ปฏิเสธไม่รับรู้การเช่าของจำเลยและฟ้องขับไล่ดังนี้ จะถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่ เพราะย่อมถือได้ว่าโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์มา โดยเห็นว่าการเช่าของจำเลยไม่มีผลผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง ไม่ใช่ว่าทำไปทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีสิทธิที่จะทำได้
เมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปีแล้ว ศาลตั้งให้ ส. อ. และ ล. เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ส. อ. และ ล. จึงเป็นทั้งผู้จัดการมรดกและทายาทตามพินัยกรรมที่จะรับมรดกที่ดินกับตึกแถวรายนี้ การที่ ส. อ. และ ล. ขายที่ดินพิพาทกับตึกแถวให้แก่โจทก์ไปในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก จึงเป็นการขายตามความประสงค์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจขาย
เมื่อ ล. มีอายุครบ 20 ปีแล้ว ศาลตั้งให้ ส. อ. และ ล. เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ส. อ. และ ล. จึงเป็นทั้งผู้จัดการมรดกและทายาทตามพินัยกรรมที่จะรับมรดกที่ดินกับตึกแถวรายนี้ การที่ ส. อ. และ ล. ขายที่ดินพิพาทกับตึกแถวให้แก่โจทก์ไปในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก จึงเป็นการขายตามความประสงค์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยไม่อาจอ้างได้ว่าผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดิน: การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตหลังการยกให้และครอบครอง
จำเลยที่ 2 ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ตั้งแต่โจทก์ทำการสมรสเมื่อ พ.ศ. 2478 แล้วโจทก์ได้ครอบครองต่อมาเป็นเวลาสิบกว่าปีจำเลยทั้งสองจึงได้ทำการโอนที่พิพาทให้กันโดยการซื้อขายที่มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเมื่อ พ.ศ. 2506 ดังนี้ โจทก์ซึ่งอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน ย่อมขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนอันเป็นทางทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300