พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,604 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8970/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนการบังคับคดีเมื่อชำระหนี้ครบถ้วน และสิทธิของผู้ร้องที่ต้องการสวมสิทธิบังคับคดี
จำเลยขอให้ถอนการบังคับคดีโดยชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีครบถ้วนแล้ว โจทก์รับว่าได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากจำเลยแล้วทั้งขอให้ศาลมีคำสั่งตามคำขอของจำเลยซึ่งเท่ากับโจทก์ก็ประสงค์ให้ถอนการบังคับคดีเช่นกัน กรณีย่อมไม่มีเหตุบังคับคดีจำเลยอีกต่อไป ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยึดสละสิทธิในการบังคับคดี หรือเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ที่จะเป็นเหตุให้ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิขอให้บังคับคดีต่อไปได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคแปด ศาลฎีกาให้ถอนการบังคับคดีจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8703/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระหนี้ภาษีอากรค้างก่อนแบ่งทรัพย์สินให้ผู้เป็นหุ้นส่วน การแบ่งทรัพย์สินโดยไม่ชำระหนี้ถือเป็นการละเมิด
จำเลยที่ 3 เป็นผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ชำระสะสางการงานของจำเลยที่ 1 ให้เสร็จไป กับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 เมื่อปรากฏตามงบดุล หมายเหตุประกอบงบการเงิน ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2546 และรายงานการชำระบัญชี จำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินเป็นเงินสดคงเหลือ 1,400,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 3 จะแบ่งคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้แต่เพียงเท่าที่ไม่ต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 เท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1269 การที่จำเลยที่ 3 แบ่งเงินจำนวนดังกล่าวเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนโดยไม่นำไปชำระหนี้ภาษีอากรค้างให้แก่โจทก์โดยที่ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ค้างชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามฟ้องต่อโจทก์ตั้งแต่ก่อนจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างจึงเป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่ฐานะผู้ชำระบัญชีโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระโจทก์จำนวน 961,681.80 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่เกินกว่าเงินสดคงเหลือจำนวน 1,400,000 บาท ที่จำเลยที่ 3 แบ่งคืนให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8703/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ชำระบัญชีต้องรับผิดในหนี้ภาษีค้างของห้างหุ้นส่วนจำกัด หากแบ่งเงินคืนผู้ถือหุ้นก่อนชำระหนี้
จำเลยที่ 3 เป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ค้างชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากร โจทก์ตั้งแต่ก่อนจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้าง เมื่อในการชำระบัญชีมีเงินสดคงเหลือ 1,400,000 บาท และมีการแบ่งคืนทรัพย์สินไปแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 3 จะแบ่งคืนให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้แต่เพียงเท่าที่ไม่ต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1269 การที่จำเลยที่ 3 แบ่งเงินคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยไม่นำไปชำระหนี้ภาษีอากรค้างให้แก่โจทก์จึงเป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีโดยฝ่าฝืนกฎหมายทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระโจทก์จำนวน 961,681.80 บาท ซึ่งไม่เกินกว่าเงินสดคงเหลือจำนวน 1,400,000 ที่จำเลยที่ 3 แบ่งคืนให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้จากเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินจำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่ให้ผู้ร้องคืนเงินจำนวน 47,651 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ไม่ใช่คำสั่งซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นที่ให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ แต่เนื่องจากมีกรณีจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดอาศัยอำนาจตามมาตรา 26 วรรคสี่ ศาลฎีกาเห็นสมควรรับพิจารณาพิพากษาตามอุทธรณ์ของผู้ร้องได้
เงินที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ริบ เนื่องจากผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ชำระค่าที่ดินที่ซื้อได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งจำนองแก่ผู้ร้อง เงินมัดจำที่ถูกริบดังกล่าวย่อมเป็นเงินที่ได้จากการเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้จำนองนั้นซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 732 บัญญัติให้จัดใช้เงินสุทธิดังกล่าวแก่ผู้รับจำนองเรียงตามลำดับ และถ้ายังมีเงินเหลืออยู่อีกก็ให้ส่งมอบแก่ผู้จำนอง เมื่อผู้คัดค้านโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำที่ดินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใหม่อีกครั้งหนึ่งได้ราคาเมื่อรวมกับเงินมัดจำที่ริบดังกล่าวไม่เพียงพอชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) จึงไม่มีเงินเหลือที่จะให้ส่งมอบแก่ลูกหนี้ที่ 1 ผู้จำนองอีก การที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องคืนเงินมัดจำดังกล่าวเพื่อนำเข้าเป็นกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
เงินที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ริบ เนื่องจากผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ชำระค่าที่ดินที่ซื้อได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งจำนองแก่ผู้ร้อง เงินมัดจำที่ถูกริบดังกล่าวย่อมเป็นเงินที่ได้จากการเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้จำนองนั้นซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 732 บัญญัติให้จัดใช้เงินสุทธิดังกล่าวแก่ผู้รับจำนองเรียงตามลำดับ และถ้ายังมีเงินเหลืออยู่อีกก็ให้ส่งมอบแก่ผู้จำนอง เมื่อผู้คัดค้านโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำที่ดินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใหม่อีกครั้งหนึ่งได้ราคาเมื่อรวมกับเงินมัดจำที่ริบดังกล่าวไม่เพียงพอชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3) จึงไม่มีเงินเหลือที่จะให้ส่งมอบแก่ลูกหนี้ที่ 1 ผู้จำนองอีก การที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องคืนเงินมัดจำดังกล่าวเพื่อนำเข้าเป็นกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอรับชำระหนี้ล้มละลาย: ต้องยื่นตามกำหนดเวลา หากพ้นกำหนดแม้มีเหตุสุดวิสัยก็ไม่อาจใช้ได้
ตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ระบุว่า เจ้าหนี้ได้ชำระเงินมัดจำและราคาบางส่วนตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ลูกหนี้ (จำเลย) ทั้งสองไปแล้วเป็นเงิน 819,840 บาท เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นำห้องชุดที่จะซื้อขายออกขายทอดตลาดโดยมีผู้อื่นซื้อไปแล้ว การชำระหนี้ของลูกหนี้ทั้งสองจึงตกเป็นพ้นวิสัยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย จึงขอรับชำระหนี้ตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ทั้งสอง เป็นการประสงค์ที่จะขอรับชำระหนี้ในหนี้เงินอย่างเห็นได้ชัด โดยไม่มีเจตนาที่จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุด เจ้าหนี้จึงต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 ประกอบมาตรา 91 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งสองเด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2546 ซึ่งครบกำหนดให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในวันที่ 20 ตุลาคม 2546 การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2551 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาแล้ว แม้เจ้าหนี้จะอ้างว่าเพิ่งทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาตามมาตรา 91 ออกไปโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้ ที่เจ้าหนี้อ้างว่ามีสิทธิขอรับชำระหนี้กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายได้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91 นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ได้ ตามมาตรา 92 นั้น ก็ไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดก่อน จึงไม่ต้องด้วยกรณีเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายตามมาตรา 122 เจ้าหนี้จึงไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7316/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลแจ้งเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้วางเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา เงินจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินหากยังไม่ได้แจ้ง
เมื่อมีการวางเงินที่ศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบว่ามีเงินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานำมาวางที่ศาลเพื่อให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามารับไป เมื่อมีการดำเนินการแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบแล้ว หากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มารับเงินไปภายในห้าปีนับแต่วันที่วางเงิน เงินค้างจ่ายจำนวนดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดิน แต่คดีนี้หลังจากจำเลยที่ 3 นำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งหรือดำเนินการใด ๆ เพื่อให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบว่ามีเงินที่จำเลยที่ 3 นำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา เงินที่นำมาวางดังกล่าวจึงยังไม่เป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ที่ศาลชั้นต้นที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตามมาตรา 323 เงินดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน และเมื่อโจทก์ทั้งสามได้เรียกเอาแล้ว ศาลชั้นต้นจึงต้องจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสาม ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7316/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลแจ้งเจ้าหนี้เมื่อมีการวางเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา หากไม่แจ้ง เงินนั้นยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน
เมื่อมีการวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นมีหน้าที่แจ้งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบว่ามีเงินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานำมาวางต่อศาลเพื่อให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามารับไป เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้วเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มารับเงินไปภายในห้าปีนับแต่วันที่วางเงิน เงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลจึงตกเป็นของแผ่นดิน คดีนี้หลังจากจำเลยที่ 3 นำเงินมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งหรือดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบว่ามีเงินที่จำเลยที่ 3 นำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา เงินที่นำมาวางดังกล่าวจึงยังไม่เป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลชั้นต้นที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เงินดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7152/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดสินสมรส ยึดทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ไม่ได้
ป.พ.พ. มาตรา 1497 บัญญัติว่า "การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนมาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้นหรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้" การสมรสซ้อนตามมาตรา 1452 จึงอาจเป็นโมฆะได้โดยบุคคลผู้มีส่วนได้เสียกล่าวอ้าง เมื่อจำเลยร่วมที่ 1 กล่าวอ้างว่าการสมรสระหว่างตนเองกับ ช. เจ้ามรดกเป็นการสมรสซ้อนผลก็คือทำให้การสมรสเป็นโมฆะตามบทกฎหมายดังกล่าวและการสมรสที่เป็นโมฆะดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามมาตรา 1498 วรรคแรก ดังนั้น ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์จึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสไม่เป็นสินสมรสของจำเลยร่วมที่ 1 กับ ช. ที่โจทก์จะยึดมาขายทอดตลาดชำระหนี้ของจำเลยร่วมทั้งสามซึ่งเป็นทายาทของ ช. กับจำเลยที่ 1
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 แล้วยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาในคดี จำเลยร่วมที่ 1 ได้ยื่นคำให้การอยู่แล้วว่า การสมรสระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับ ช. เจ้ามรดกเป็นโมฆะเพราะเป็นการสมรสซ้อน โจทก์จึงทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวมาแล้วจากคำให้การของจำเลยร่วมที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังยินยอมที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 1 โดยในสัญญาข้อ 3 ระบุว่า ในส่วนของจำเลยร่วมทั้งสามขอรับผิดเพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของ ช. จึงมิใช่เป็นการฉ้อฉลโจทก์ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 แล้วยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาในคดี จำเลยร่วมที่ 1 ได้ยื่นคำให้การอยู่แล้วว่า การสมรสระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับ ช. เจ้ามรดกเป็นโมฆะเพราะเป็นการสมรสซ้อน โจทก์จึงทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวมาแล้วจากคำให้การของจำเลยร่วมที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังยินยอมที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 1 โดยในสัญญาข้อ 3 ระบุว่า ในส่วนของจำเลยร่วมทั้งสามขอรับผิดเพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของ ช. จึงมิใช่เป็นการฉ้อฉลโจทก์ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6081/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีชำระหนี้ค่าเสียหายจากการหลอกลวงขายสินค้า แม้มีการรับมอบทรัพย์คืนก็ไม่เป็นอุปสรรค
คดีนี้เป็นคดีอาญาที่โจทก์ขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 ฐานหลอกลวงขายสินค้าเครื่องพิมพ์ดีดแก่โจทก์และมีคำขอให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 55,440 บาท โดยให้จำเลยรับมอบเครื่องพิมพ์ดีดคืนไป ซึ่งในที่สุดศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้ลงโทษปรับจำเลยและให้จำเลยชำระเงินจำนวน 55,440 บาทแก่โจทก์ โดยรับมอบเครื่องพิมพ์ดีด 12 เครื่องคืนไปทั้งหมด เห็นได้ว่าเป็นคำพิพากษาที่พิพากษาไปตามสภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นคดีอาญาและมีคำขอในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้เงินแก่โจทก์อันเนื่องมาจากการกระทำความผิดทางอาญาที่ทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินเป็นค่าเสียหายในมูลละเมิด ประกอบกับตามคำพิพากษาของศาลดังกล่าวก็พิพากษาบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน 55,440 บาท แก่โจทก์เป็นสำคัญ โดยแม้จะมีคำพิพากษาให้จำเลยรับมอบเครื่องพิมพ์ดีด 12 เครื่องคืนไปด้วยก็ตาม แต่ก็มิได้พิพากษากำหนดให้เป็นเงื่อนไขว่า โจทก์มีหน้าที่ในอันที่จะต้องคืนเครื่องพิมพ์ดีดแก่จำเลยในลักษณะการชำระหนี้ต่างตอบแทนเสียก่อนจึงจะมีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาในส่วนที่บังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน 55,440 บาท แก่โจทก์โจทก์ชอบที่จะขอให้มีการบังคับคดีจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงกรณีการรับคืนเครื่องพิมพ์ดีดของจำเลยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6081/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญา: การรับมอบสินค้าคืนไม่เป็นเงื่อนไขการชำระหนี้
คำพิพากษาในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 ฐานจำเลยหลอกลวงขายสินค้าเครื่องพิมพ์ดีดแก่โจทก์ และขอให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำนวน 55,440 บาท โดยให้จำเลยรับมอบเครื่องพิมพ์ดีดคืนไปซึ่งศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลย และให้จำเลยชำระเงินจำนวน 55,440 บาท แก่โจทก์ โดยรับมอบเครื่องพิมพ์ดีด 12 เครื่องคืนไปทั้งหมด เป็นคำพิพากษาที่พิพากษาไปตามสภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นคดีอาญาและมีคำขอในส่วนแพ่งให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์อันเนื่องมาจากการกระทำผิดทางอาญาที่ทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินค่าเสียหายในมูลละเมิด โดยบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน 55,440 บาท เป็นสำคัญ แม้จะมีคำพิพากษาให้จำเลยรับมอบเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 12 เครื่อง คืนไปด้วยก็ตาม แต่ก็มิได้พิพากษากำหนดให้เป็นเงื่อนไขว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเครื่องพิมพ์ดีดแก่จำเลยในลักษณะการชำระหนี้ต่างตอบแทนเสียก่อนจึงจะมีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ ดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาในส่วนที่บังคับให้จำเลยชำระเงิน โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับคดีจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน โดยไม่ต้องคำนึงถึงกรณีการรับมอบคืนเครื่องพิมพ์ดีดแต่อย่างใด