พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,604 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนหมายบังคับคดีจากข้อพิพาทสัญญาประนีประนอมยอมความ และการชำระหนี้ตรงตามกำหนด แม้เป็นวันหยุดทำการ
จำเลยยื่นคำร้องขอเพิกถอนหมายบังคับคดีในคดีนี้อ้างว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอม การที่จำเลยยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในอีกคดีหนึ่งที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอายัดทรัพย์สินของจำเลยว่า ทรัพย์สินของจำเลยถูกเจ้าหนี้หลายรายรวมทั้งโจทก์อายัดไว้แล้ว การอายัดทรัพย์สินในคดีดังกล่าวจึงเป็นการอายัดซ้ำ ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการอายัดและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ถอนการอายัดแล้วเป็นการดำเนินการในคดีอื่นมิใช่ในคดีนี้ จึงมิใช่กรณีที่จำเลยได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หรือเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำนั้น จำเลยจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม
วันครบกำหนดชำระหนี้ตรงกับวันเสาร์ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีของโจทก์ในธนาคารทันทีในวันแรกที่เปิดทำการจึงไม่ถือว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ล่วงพ้นกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 แม้ธนาคารเปิดทำการในวันเสาร์อาทิตย์ก็มี ก็ไม่อาจเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายได้
วันครบกำหนดชำระหนี้ตรงกับวันเสาร์ การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีของโจทก์ในธนาคารทันทีในวันแรกที่เปิดทำการจึงไม่ถือว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ล่วงพ้นกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 แม้ธนาคารเปิดทำการในวันเสาร์อาทิตย์ก็มี ก็ไม่อาจเป็นข้อยกเว้นของกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระหนี้ตามคำพิพากษา มิฉะนั้นคำอุทธรณ์ไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ เนื่องจากจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 การที่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยก็ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 234 บัญญัติไว้ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5484/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินทดรองจากบัตรเครดิต: นับแต่วันยกเลิกสมาชิกภาพ และการชำระหนี้หลังขาดอายุความ
จำเลยเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ ยอมผูกพันตามเงื่อนไขของผู้ถือบัตรตกลงให้โจทก์ทดรองจ่ายเงินอันเนื่องจากจำเลยใช้บัตรเครดิตไปชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือเบิกเงินสดล่วงหน้า โดยจำเลยยอมชำระคืนให้โจทก์ในภายหลัง อันเป็นการประกอบธุรกิจรับทำการงานต่างๆ แก่สมาชิก เมื่อโจทก์ชำระเงินแก่เจ้าหนี้แล้วโจทก์จะเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลัง จึงเป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) การฟ้องเรียกเงินทดรองของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี เมื่อโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรเครดิตตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 พร้อมทั้งให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิต โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้นับแต่วันดังกล่าว ซึ่งจะครบกำหนดอายุความในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2550 หลังครบกำหนดอายุความแล้วคดีจึงขาดอายุความ และการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงต้องกระทำก่อนที่จะขาดอายุความ เมื่อจำเลยชำระหนี้บางส่วนเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ภายหลังจากขาดอายุความแล้ว จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุคาวามสะดุดหยุดลง การชำระหนี้ภายหลังขาดอายุความแล้วเพียงแต่ทำให้ลูกหนี้เรียกคืนไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4771/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเช็คเพื่อชำระหนี้หรือประกันการชำระหนี้ และการวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายโดยศาล
ศาลฎีกามีคำสั่งอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยว่า ในปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าเช็คตามฟ้องผู้เสียหายคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายกำหนดรวมอยู่ด้วย กับฎีกาที่ขอให้รอการลงโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาชอบแล้ว ดังนี้ ประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเช็คตามฟ้องผู้เสียหายคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยและขอให้รอการลงโทษ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ฉบับลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 คงมีประเด็นแห่งคดีที่ขึ้นสู่ศาลฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่าเช็คตามฟ้องออกเพื่อชำระหนี้หรือออกเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ฉบับลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงหมายความว่าศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวที่ไม่วินิจฉัยในประเด็นว่าเช็คตามฟ้องเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้หรือออกเพื่อประกันการชำระหนี้ แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่เฉพาะประเด็นแห่งคดีดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบ มาตรา 208 (2) เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีดังกล่าวตามที่ศาลฎีกาย้อนสำนวนว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้แล้วพิพากษายืน จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4619/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายซ้ำ และการพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้เพื่อล้มล้างข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว
คดีก่อนโจทก์เคยฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายอ้างเหตุจำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่น้อยกว่าสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (9) ศาลพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าจำเลยมีที่ดิน 1 แปลง มีราคามากกว่าหนี้ คดีถึงที่สุด ส่วนคดีนี้โจทก์นำหนี้เดียวกันมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายอีกโดยอ้างเหตุจำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี และที่ดินในคดีก่อนจำเลยได้โอนขายไปแล้ว จำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) แม้มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจะเป็นหนี้เดียวกันและคดีมีประเด็นเดียวกันว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ก็ตาม แต่เหตุที่อ้างว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นคนละเหตุกัน ทั้งเหตุในคดีนี้เป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, อายุความ, การชำระหนี้, และการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 เอกเทศสัญญาลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัทหมวด 5 การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาตรา 1249 บัญญัติว่า "ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดีแม้จะได้เลิกกันแล้วก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็น เพื่อการชำระบัญชี" กับมาตรา 1250 บัญญัติว่า "หน้าที่ของผู้ชำระบัญชี คือสะสางการงานของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้เสร็จไปกับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น" บทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวนี้ชี้ชัดถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ให้นิติบุคคลซึ่งเป็นบุคคลสมมติจะเลิกได้นั้น จะต้องมีการชำระบัญชีเพื่อมีการชำระหนี้เงินให้แก่เจ้าหนี้และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของนิติบุคคลนั้น แล้วแต่กรณีจึงได้กำหนดหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ชัดแจ้ง เพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้และบังคับให้ผู้ชำระบัญชีต้องปฏิบัติ อันจะส่งผลก่อเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่มีมิติสัมพันธ์กับนิติบุคคลยิ่งไปกว่านั้นรัฐยังได้ตรา พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิฯ ซึ่งมีโทษทางอาญากำกับไว้อีกด้วย โดยมาตรา 32 บัญญัติระวางโทษปรับไม่เกินแปดหมื่นบาทแก่ผู้ชำระบัญชีที่ไม่กระทำการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1253 ซึ่งกำหนดหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีจะต้องกระทำ เช่น ต้องส่งคำบอกกล่าวว่านิติบุคคลนั้นได้เลิกกันแล้วเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลายทุกๆ คน บรรดามีชื่อปรากฏในสมุด บัญชีหรือเอกสารของห้างหรอืบริษัทนั้น จึงเห็นได้ว่า สำหรับคดีนี้ผู้ชำระบัญชีจำเลยที่ 1 คือ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และร่วมเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์อีกด้วย โจทก์ได้บรรยายฟ้องระบุจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชี มิได้ส่งคำบอกกล่าวการเลิกบริษัทไปยังโจทก์ ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 แม้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี แต่มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมรับและข้อเท็จจริงย่อมเป็นยุติว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีมิได้ส่งคำบอกกล่าวการเลิกบริษัทไปยังโจทก์ ซึ่งเมื่อการชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 มิได้ดำเนินไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยจำเลยที่ 2 ผู้ชำระบัญชีจงใจไม่ปฏิบัติ และตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุผลให้เชื่อว่า จำเลยที่ 2 ดำเนินการชำระบัญชีโดยไม่สุจริตมีเจตนาฉ้อฉลต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ ดังนี้ เมื่อการปรับใช้กฎหมายพึงต้องอนุวัตให้ต้องตามเจตนารมณ์ ที่บัญญัติกฎหมายนั้นตามที่ได้วินิจฉัยมาแล้วในเบื้องต้น จึงต้องถือว่าการชำระบัญชียังไม่สำเร็จลงตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1270 วรรคหนึ่ง การที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนการชำระบัญชีไม่ว่าจะโดยสมรู้กับจำเลยที่ 2 หรือเป็นการหลงผิดก็ไม่ถือว่าการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ได้ถึงที่สุดแล้ว แต่ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามมาตรา 1249 อายุความสองปีตามมาตรา 1272 จึงยังไม่เริ่มนับ คดีโจทก์ย่อมไม่ขาดอายุความตามบทบัญญัตินี้และโจทก์หาจำต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อจำเลยที่ 1 กลับคืนเข้าสู่ทะเบียนเป็นนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1273/4 ตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำแก้ฎีกาไม่ ทั้งนี้เพราะกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องนายทะเบียนบริษัทมีมูลเหตุอันควรเชื่อว่าบริษัทใดมิได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว บทบัญญัติในมาตรา 1273/1 จึงกำหนดให้นายทะเบียนต้องมีจดหมายไต่ถามไปยังบริษัทนั้น ซึ่งต่างกับเหตุในคดีนี้ ที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแสดงเจตนาจดทะเบียนเลิกบริษัทเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้, การเลิกสัญญาโดยปริยาย, อัตราดอกเบี้ย, และการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี
ป.พ.พ. มาตรา 1249 บัญญัติว่า "ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี" กับมาตรา 1250 บัญญัติว่า "หน้าที่ของผู้ชำระบัญชี คือ ชำระสะสางการงานของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้เสร็จไป กับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น" บทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวชี้ชัดถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ให้นิติบุคคลซึ่งเป็นบุคคลสมมุติจะเลิกได้นั้นจะต้องมีการชำระบัญชีเพื่อมีการชำระหนี้เงินให้แก่เจ้าหนี้ และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของนิติบุคคลนั้นแล้วแต่กรณี จึงได้กำหนดหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีไว้ชัดแจ้ง เพื่อคุ้มครองสิทธิของเจ้าหนี้และบังคับให้ผู้ชำระบัญชีต้องปฏิบัติอันจะส่งผลก่อเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่มีนิติสัมพันธ์กับนิติบุคคล ยิ่งไปกว่านั้นรัฐยังได้ตรา พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 ซึ่งมีโทษทางอาญากำกับไว้อีกด้วย โดยมาตรา 32 บัญญัติระวางโทษปรับไม่เกินแปดหมื่นบาทแก่ผู้ชำระบัญชีที่ไม่กระทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 1253 ซึ่งกำหนดหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีจะต้องกระทำ เช่น ต้องส่งคำบอกกล่าวว่านิติบุคคลนั้นได้เลิกกันแล้วเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลายทุกๆ คน บรรดามีชื่อปรากฏในสมุดบัญชีหรือเอกสารของห้างหรือบริษัทนั้น ในการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ผู้ชำระบัญชีจำเลยที่ 1 คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และร่วมเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อโจทก์จงใจไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดโดยไม่ส่งคำบอกกล่าวการเลิกบริษัทแก่โจทก์เพื่อโจทก์จะได้ใช้สิทธิยื่นคำทวงหนี้แก่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีและตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 ดำเนินการชำระบัญชีโดยไม่สุจริต มีเจตนาฉ้อฉลต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ จึงต้องถือว่าการชำระบัญชียังไม่สำเร็จลงตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1270 วรรคหนึ่ง การที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนการชำระบัญชีไม่ว่าจะโดยสมรู้กับจำเลยที่ 2 หรือเป็นการหลงผิดก็ไม่ถือว่าการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ได้ถึงที่สุดแล้ว แต่ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามมาตรา 1249 อายุความสองปีตามมาตรา 1272 จึงยังไม่เริ่มนับ คดีโจทก์ย่อมไม่ขาดอายุความตามบทบัญญัตินี้ โจทก์หาจำต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อจำเลยที่ 1 กลับคืนเข้าสู่ทะเบียนนิติบุคคลตามมาตรา 1246 (6) (มาตรา 1273/4 ตามที่แก้ไขใหม่) ทั้งนี้เพราะกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องนายทะเบียนบริษัทมีมูลเหตุอันสมควรเชื่อว่าบริษัทใดมิได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว บทบัญญัติในมาตรา 1246 (1) (มาตรา 1273/1 ตามที่แก้ไขใหม่) จึงต้องกำหนดให้นายทะเบียนมีจดหมายไต่ถามไปยังบริษัทนั้น ซึ่งต่างกับเหตุในคดีนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแสดงเจตนาเลิกบริษัทเอง
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ แต่จำเลยที่ 1 มิได้เดินสะพัดบัญชีเป็นเวลานาน โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชอบที่จะใช้สิทธิทวงถามหรือบอกเลิกสัญญาโดยให้เวลาพอสมควรแก่จำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้ใช้สิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาโดยตรงต่อจำเลยที่ 1 แต่พฤติการณ์ที่โจทก์เพิกเฉยมิได้ดำเนินการอย่างใดในการที่จำเลยที่ 1 มิได้เดินสะพัดบัญชี จึงมีเหตุผลเพียงพอให้รับฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันโดยปริยายตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2538 ซึ่งมีการหักทอนบัญชีตามสัญญาเป็นครั้งสุดท้าย
โจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นระยะๆ โดยใช้อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมมาตรฐานทั่วไป (จีแอลอาร์) บวกอัตราส่วนต่างสูงสุดของลูกค้าทั่วไปของประกาศโจทก์ จึงเห็นสมควรแก้ไขโดยกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินในอัตราลอยตัว คือ ในอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมมาตรฐานทั่วไป (จีแอลอาร์) บวกอัตราส่วนต่างสูงสุดของลูกค้าทั่วไป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามภาวะตลาดการเงินตามประกาศโจทก์และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 (ที่ใช้บังคับในขณะนั้น) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ แต่จำเลยที่ 1 มิได้เดินสะพัดบัญชีเป็นเวลานาน โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชอบที่จะใช้สิทธิทวงถามหรือบอกเลิกสัญญาโดยให้เวลาพอสมควรแก่จำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้ใช้สิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาโดยตรงต่อจำเลยที่ 1 แต่พฤติการณ์ที่โจทก์เพิกเฉยมิได้ดำเนินการอย่างใดในการที่จำเลยที่ 1 มิได้เดินสะพัดบัญชี จึงมีเหตุผลเพียงพอให้รับฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันโดยปริยายตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2538 ซึ่งมีการหักทอนบัญชีตามสัญญาเป็นครั้งสุดท้าย
โจทก์ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นระยะๆ โดยใช้อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมมาตรฐานทั่วไป (จีแอลอาร์) บวกอัตราส่วนต่างสูงสุดของลูกค้าทั่วไปของประกาศโจทก์ จึงเห็นสมควรแก้ไขโดยกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินในอัตราลอยตัว คือ ในอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมมาตรฐานทั่วไป (จีแอลอาร์) บวกอัตราส่วนต่างสูงสุดของลูกค้าทั่วไป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามภาวะตลาดการเงินตามประกาศโจทก์และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 (ที่ใช้บังคับในขณะนั้น) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2545/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามเช็คไม่กระทบหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้าง
มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการเรียกให้ชำระหนี้อันเกิดแต่การผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน ที่จำเลยนำเช็คที่ ธ. เป็นผู้สั่งจ่ายมาขายลดกับโจทก์ ส่วนมูลหนี้ในคดีที่โจทก์ฟ้อง ธ. เป็นการเรียกให้ชำระหนี้ตามเช็คในฐานะผู้สั่งจ่าย อันเป็นนิติกรรมคนละประเภท ซึ่งความรับผิดของจำเลยต้องเป็นไปตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์นำคดีไปฟ้อง ธ. ต่อมามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดย ธ. ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่ ธ. โดยจำเลยได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบจำนวนแล้ว มีผลเพียงทำให้ความรับผิดตามเช็คในคดีที่ ธ. ถูกโจทก์ฟ้องระงับสิ้นไปเท่านั้น แต่ในส่วนสัญญาขายลดตั๋วเงิน ในการชำหนี้โจทก์ชอบที่จะนำเงินที่ได้รับชำระหนี้แต่ละครั้งไปชำระดอกเบี้ยที่คงค้างก่อน ส่วนที่เหลือจึงนำไปหักชำระเงินต้นที่ค้างชำระในแต่ละคราวไปตามป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคแรก การชำระหนี้ตามเช็คจึงไม่ทำให้หนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2545/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามเช็คไม่ระงับหนี้สัญญาซื้อขายลดตั๋วเงิน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญา
มูลหนี้คดีนี้เป็นการเรียกให้ชำระหนี้อันเกิดแต่การผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน ส่วนมูลหนี้ในคดีที่โจทก์ฟ้อง ธ. เป็นการเรียกให้ชำระหนี้ตามเช็คในฐานะผู้สั่งจ่าย อันเป็นนิติกรรมคนละประเภท ความรับผิดของจำเลยต้องเป็นไปตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์นำคดีไปฟ้อง ธ. ต่อมามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดย ธ. ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่ ธ. ได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบจำนวนแล้วมีผลเพียงทำให้ความรับผิดตามเช็คในคดีที่ ธ. ถูกโจทก์ฟ้องระงับสิ้นไปเท่านั้น แต่ในส่วนสัญญาขายลดตั๋วเงิน โจทก์ชอบที่จะนำเงินที่ได้รับชำระหนี้แต่ละครั้งไปชำระดอกเบี้ยที่คงค้างก่อน ส่วนที่เหลือจึงนำไปหักชำระเงินต้นที่ค้างชำระในแต่ละคราวไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าก่อสร้างเพิ่มเติม แม้ไม่มีการบอกกล่าวทวงถามก่อนฟ้องก็สามารถทำได้
แม้รายการสั่งซื้อวัสดุเพิ่มเติมที่โจทก์ดำเนินการสั่งซื้อไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้มีการทำคำสั่งนั้นเป็นลายลักษณ์อักษรตามทางปฏิบัติ แต่ในรายการสั่งซื้อวัสดุเพิ่มเติมนั้นได้มี บ. วิศวกรคุมงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ตรวจสอบและลงชื่อกำกับไว้ และมี ส. หัวหน้าคนงานเบิกความเป็นพยานยืนยันการตรวจสอบและลงลายมือชื่อกำกับดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้นำสืบหักล้างคำเบิกความของ ส. กรณีจึงต้องฟังตามที่ ส. เบิกความ จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นหนี้โจทก์ตามเอกสารรายการสั่งซื้อดังกล่าว
ตามป.พ.พ. มาตรา 602 บัญญัติว่าอันสินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ ดังนี้ เมื่อโจทก์ก่อสร้างแล้วเสร็จและส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ค่าแรงและค่าวัสดุให้แก่โจทก์ในเวลาที่รับมอบงาน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ชำระ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ให้ชำระหนี้ได้ โดยมิต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้อีก
ตามป.พ.พ. มาตรา 602 บัญญัติว่าอันสินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ ดังนี้ เมื่อโจทก์ก่อสร้างแล้วเสร็จและส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ค่าแรงและค่าวัสดุให้แก่โจทก์ในเวลาที่รับมอบงาน เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ชำระ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ให้ชำระหนี้ได้ โดยมิต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้อีก