คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำระหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,604 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8640/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความโดยมีเงื่อนไขชำระหนี้ การระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา
เมื่อโจทกและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า ถ้าจำเลยชำระเงินครบถ้วนแล้ว โจทก์จะดำเนินการถอนฟ้องคดียักยอกที่ศาลชั้นต้นที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยไว้ ทั้งโจทก์ไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญากับจำเลยอันเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับบริษัท ป. อีกต่อไป จึงเป็นการยอมความโดยมีเงื่อนไขที่ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เสียก่อน โจทก์จึงจะไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย การยอมความในลักษณะเช่นนี้จะมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปต่อเมื่อจำเลยชดใช้เงินให้แก่โจทก์ครบตามจำนวนแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยนำเงินมาวางที่ศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์มีความผูกพันที่จะต้องถอนฟ้องคดียักยอกที่ศาลชั้นต้นให้แก่จำเลยตามข้อตกลง กรณีจึงเป็นผลเป็นการยอมความในคดีอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังพ้นล้มละลาย: ผลผูกพันของนิติกรรมและดอกเบี้ยย้อนหลัง
หนี้เงินต้นตามจำนวนในเช็ค 22,750,000 บาท เป็นหนี้ที่มาจากเจ้าหนี้ซึ่งมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของลูกหนี้และได้ชำระหนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้ไปแล้วก่อนวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้มิได้นำไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จนกระทั่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ ซึ่งการประนอมหนี้ดังกล่าวผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ ย่อมมีผลผูกพันหนี้เดิมของเจ้าหนี้ที่ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้นั้นและมีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวเท่านั้น แต่เมื่อภายหลังลูกหนี้หลุดพ้นจากภาวะล้มละลายแล้ว ลูกหนี้ได้ทำหนังสือให้แก่เจ้าหนี้ โดยตกลงยอมชำระหนี้เงินต้นจำนวนในเช็ค 22,750,000 บาท จึงเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์กับเจ้าหนี้และมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย
ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะชำระให้แก่เจ้าหนี้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันที่ 24 เมษายน 2532 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นข้อตกลงให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คดังกล่าวมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลาย เป็นการถือเอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยส่วนนี้จึงตกเป็นโมฆะเช่นกัน แต่ตามพฤติการณ์คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้จำนวน 22,750,000 บาท ที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เฉพาะส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7666/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยล่วงหน้าเกินอัตราตามกฎหมาย สัญญาเป็นโมฆะ แต่แยกเงินต้นได้ การชำระหนี้โดยสมัครใจไม่มีสิทธิเรียกร้องคืน
ยอดเงินกู้จำนวน 1,025,000 บาท ตามสัญญากู้เงินมีส่วนที่เป็นดอกเบี้ยล่วงหน้าเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยจำนวน 559,000 บาท ซึ่งไม่สมบูรณ์และตกเป็นโมฆะ แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าจำนวนเงินส่วนที่มีที่มาจากดอกเบี้ยดังกล่าวจะไม่สมบูรณ์ แต่ก็สามารถแยกส่วนเงินต้นที่สมบูรณ์ออกมาได้ จำเลยรับในคำให้การและนำสืบว่าก่อนทำสัญญากู้เงินจำเลยค้างชำระเงินต้นแก่โจทก์ 466,000 บาท ส่วนที่นำสืบว่าได้ผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์บ้างแล้วคงค้างชำระเงินต้นเพียง 200,000 บาทนั้น ในส่วนของการชำระเงินต้นจำเลยมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดงตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง จึงต้องห้ามมิให้นำสืบและรับฟังไม่ได้ ข้อเท็จจริงคงรับฟังได้ตามคำฟ้องโจทก์ว่า จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ 33,000 บาท เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิจะได้รับคืนดอกเบี้ยที่ได้ชำระไปแล้ว จึงนำไปหักออกจากเงินต้นที่ค้างชำระไม่ได้ อย่างไรก็ดีการที่จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดในการชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7378/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยที่ดินสูงกว่าหนี้เดิมทำให้สัญญาเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656
การกู้ยืมเงินโดยผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาที่ดินเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมนั้น ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง บัญญัติให้หนี้เป็นอันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้นให้ต้องคิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลา และ ณ สถานที่ส่งมอบในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2541 ซึ่งเป็นวันจดทะเบียนโอนที่ดินตีราคาที่ดิน 590,000 บาท ซึ่งเป็นราคาประเมินของกรที่ดิน แม้โจทก์จำเลยจะมิได้นำสืบถึงราคาซื้อขายในท้องตลาดที่แท้จริงซึ่งเป็นราคาที่ดินเป็นหลักในการคำนวณ ณ เวลาที่ส่งมอบ แต่ก็เห็นได้ว่าราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินในเบื้องต้นพอจะอนุมานได้ว่าน่าจะใกล้เคียงกับราคาท้องตลาดและไม่แตกต่างกันมาก เว้นแต่จะมีเหตุผลพิเศษสำหรับที่ดินบางแปลงเป็นการเฉพาะรายเท่านั้น ราคาที่ดินขณะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จึงสูงกว่าภาระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยค้างชำระตามที่จำเลยอ้าง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 230,000 บาท จำเลยก็รับว่ามีส่วนต่างอยู่ประมาณ 300,000 บาท ดังนี้ ความตกลงดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคท้าย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะเป็นการเอารัดเอาเปรียบผู้กู้และทำให้ผู้ให้กู้ได้เปรียบในทางทรัพย์สินเงินทอง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาและเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาโดยชอบในศาลล่างศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 เมื่อการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะ จำเลยจึงไม่ได้ที่ดินไปทางทะเบียน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คแก้ไขปี ชำระหนี้เกินอายุความ ศาลยืนตามเดิม
โจทก์ยอมรับว่า จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อปี 2542 แต่ปรากฏว่าเช็คพิพาทมีการแก้ไขตัวเลขปี พ.ศ.2541 เป็น 2544 โดยแก้ไขเลขสุดท้ายของปีจากเลข 1 เป็นเลข 4 ซึ่งไม่ทราบว่าผู้ใดแก้ไข ทั้งผู้เชี่ยวชาญก็ไม่อาจให้ความเห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้แก้ไขและไม่ปรากฏว่าเช็คพิพาทแก้ไขตั้งแต่เมื่อใด การแก้ไขดังกล่าวเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ เช็คนั้นก็เป็นอันเสีย เว้นแต่ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือได้ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นกับทั้งผู้สลักหลังภายหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยหรือโจทก์ได้ยินยอมให้มีการแก้ไขดังกล่าว อย่างไรก็ตามการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ประจักษ์ เมื่อเช็คพิพาทตกอยู่ในมือของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบ กรณีต้องด้วยบทบัญญัติในมาตรา 1007 วรรคสอง ซึ่งผู้ทรงจะถือเอาประโยชน์จากเช็คนั้นเสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับใช้เงินตามเช็คนั้นก็ได้เมื่อฟังว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ตั้งแต่ปี 2541 โจทก์นำเช็คพิพาทมาฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6465/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้: ดอกเบี้ยเกินอัตรา, ข้อบกพร่องสัญญา, และการชำระหนี้
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดที่ประกอบกิจการให้เช่าซื้อทรัพย์สินและให้กู้เงิน เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นสถาบันการเงินตามกฎหมาย การเรียกดอกเบี้ยเงินกู้ของโจทก์จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อเดือน และค่าธรรมเนียมที่โจทก์หักไว้ล่วงหน้าซึ่งคิดแล้วเกินอัตรร้อยละ 15 ต่อปี จึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายและตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวรวมทั้งค่าธรรมเนียมจากจำเลยทั้งสองได้ ต้องนำดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่โจทก์เรียกเก็บล่วงหน้าไปแล้วทั้งหมดหักออกจากเงินต้นตามสัญญากู้
ส่วนดอกเบี้ยซึ่งกำหนดตามสัญญาในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่โจทก์คิดจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อเดือน หรือร้อยละ 30 ต่อปี ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดให้เรียกดอกเบี้ยได้ ตกเป็นโมฆะ โจทก์จะกลับมาใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามกำหนดในสัญญาอีกไม่ได้ คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดคือวันที่ 3 พฤษภาคม 2550 อันเป็นวันถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6300/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเฉลี่ยทรัพย์จากการบังคับคดี: ผู้ร้องต้องพิสูจน์ความไม่สามารถชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่น
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสอง เป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องนำสืบให้ศาลเห็นว่า ผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ ผู้ร้องมีพยานบุคคลเพียงปากเดียวเบิกความว่าได้มีการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยเพียงมีหนังสือสอบถามเกี่ยวกับการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและเงินฝากในธนาคารของจำเลยเท่านั้น ผู้ร้องไม่มีพยานบุคคลหรือพยานเอกสารใดๆ แสดงให้ปรากฏต่อศาลว่า ผู้ร้องได้กระทำการอย่างอื่นอันจะถือได้ว่าเป็นการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้อีก การดำเนินการของผู้ร้องเพียงเท่านี้ เห็นว่า ไม่พอเพียงที่ศาลจะฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ยื่นคำขอไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินอื่นๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินเพื่อชำระหนี้ การแสดงเจตนาและผลทางกฎหมาย
จำเลยแสดงเจตนายกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตีใช้หนี้และส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 525 ประกอบด้วยมาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่ที่ดินพิพาทมีแต่สิทธิครอบครองจึงถือได้ว่าจำเลยสละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทต่อไป เมื่อโจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตามมาตรา 1377 และ 1378 อันเป็นการได้สิทธิครอบครองด้วยการครอบครองตามกฎหมาย มิใช่ได้มาตามสัญญายกให้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นชื่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากการกู้ยืมเงินธนาคาร โดยเริ่มนับแต่วันที่ผิดสัญญาชำระหนี้ตามข้อตกลง
ผู้กู้ทำสัญญากู้เงินสินเชื่อกรุงไทยธนวัฏมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันโดยยินยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม และตามหนังสือสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏ ข้อ 4 ระบุว่า ผู้กู้ตกลงให้นายจ้างจ่ายเงินเดือนและเงินพึงได้อื่นได้อื่นใดที่ผู้กู้พึงได้จากนายจ้างเป็นรายเดือนให้ผู้กู้โดยวิธีนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้กู้ที่เปิดไว้ ณ สำนักงานธนาคารผู้ให้กู้เป็นประจำทุกเดือนติดต่อกันตลอดไป จากข้อสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่านิติสัมพันธ์ระหว่าง ผู้กู้กับโจทก์ตามสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏในลักษณะนี้กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้กู้ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2534 หลังจากนั้นผู้กู้หรือหน่วยงานของผู้กู้ก็มิได้นำเงินมาชำระหนี้โจทก์อีกเลย จึงถือว่าเป็นการประพฤติผิดสัญญา และเมื่อตามหนังสือสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏ ข้อ 4 ระบุว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยทั้งหมดคืนได้ทันทีถือได้ว่าระยะเวลา ซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นั้นเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2534 เป็นต้นไป หาใช่นับแต่วันครบกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ 5 มกราคม 2547 ที่โจทก์บอกเลิกสัญญาดังที่โจทก์ฎีกาไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2547 จึงเกิน 10 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5572/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้โดยไม่สุจริต ทำให้เจ้าหนี้เดิมเสียเปรียบ และมีสิทธิเพิกถอนการโอนได้
แม้สิทธิการเป็นเจ้าหนี้ของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจะเป็นเพียงบุคคลสิทธิ แต่การที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 5 เพื่อตีใช้หนี้ค่าวัสดุก่อสร้างให้จำเลยที่ 5 ไปโดยจำเลยที่ 5 รู้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และรับชำระราคาบางส่วนจากโจทก์แล้วนั้น เป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จึงมีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้การโอนที่ดินพิพาทจะได้มีการจดทะเบียนแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 5 รับโอนไว้โดยไม่สุจริต จำเลยที่ 5 ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา 1300 ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะกรณีผู้รับโอนเสียค่าตอบแทนและรับโอนมาโดยสุจริต เท่านั้น
of 261