คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำระหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,604 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5142/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักล้างข้อสันนิษฐานสถานะล้มละลายด้วยหลักฐานสิทธิเรียกร้องและการชำระหนี้
จำเลยต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9) จำเลยมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวซึ่งจำเลยนำสืบฟังได้เป็นที่แน่นอนว่าจำเลยมีสิทธิที่จะรับเงินจากการที่บริษัท ส. ได้นำมาวางต่อศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยในคดีแพ่ง และสิทธิดังกล่าวมีจำนวนมากกว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลาย เมื่อโจทก์ได้ขออายัดเงินดังกล่าวและได้รับเงินตามที่อายัดในคดีแพ่งแล้ว โจทก์ก็ได้รับชำระหนี้ภาษีอากรค้างเป็นการครบถ้วนและจะมีเงินเหลือคืนจำเลยอีกจำนวนหนึ่ง พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบมาจึงหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
ส่วนที่โจทก์ได้กล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่า จำเลยยังเป็นหนี้เจ้าหนี้อื่นอีกโดยได้แนบหลักฐานการตรวจคำขอรับชำระหนี้ นั้น โจทก์เพิ่งยกข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยยังเป็นหนี้บุคคลอื่นอีกขึ้นมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในชั้นพิจารณาของศาลล้มละลายกลางแต่อย่างใด ทำให้จำเลยไม่มีโอกาสโต้แย้งหรืออธิบายถึงหนี้ต่างๆ มาก่อน ทั้งปรากฏว่าการตรวจคำขอรับชำระหนี้นั้นก็สืบเนื่องจากศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ซึ่งต่อมาศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่จึงทำให้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดรวมถึงกระบวนพิจารณาต่างๆ เป็นอันต้องเพิกถอนไปในตัว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4618/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการเช่าและการชำระหนี้บางส่วนทำให้หนี้ส่วนที่เหลือไม่ขาดอายุความ
การนับอายุความนั้นต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 เมื่อโจทก์กับจำเลยตกลงชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนและจำเลยต้องชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบแจ้งหนี้ เมื่อพ้นกำหนดเวลา 30 วันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเช่าค้างชำระได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้สัญญาเช่าสิ้นสุดหรือให้จำเลยส่งมอบเครื่องจักรคืนโจทก์ก่อน อายุความเรียกค่าเช่าค้างชำระ 2 ปี จึงเริ่มนับแต่วันที่จำเลยได้รับใบแจ้งหนี้ในแต่ละฉบับ
เมื่อนับจากวันที่พ้นกำหนดชำระหนี้ในใบแจ้งหนี้แต่ละฉบับถึงวันฟ้องคือ วันที่ 16 กรกฎาคม 2547 มีเพียงหนี้ตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.15 และ จ.16 เพียง 2 ฉบับ ซึ่งจำเลยต้องชำระหนี้ภายในวันที่ 29 สิงหาคม 2545 และวันที่ 18 ตุลาคม 2545 เท่านั้นที่ไม่เกิน 2 ปี ส่วนหนี้ตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ ซึ่งถึงกำหนดชำระภายในระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2545 เกิน 2 ปีแล้ว แต่จำเลยได้นำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนรวม 3 ครั้ง โดยชำระครั้งสุดท้ายวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 ซึ่งจำเลยย่อมทราบแล้วว่าจำเลยมีหนี้ที่ถึงกำหนดต้องชำระตามใบแจ้งหนี้ เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ เพราะวันที่ถึงกำหนดชำระตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ อยู่ระหว่างวันที่ 3 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2545ซึ่งเป็นวันก่อนที่จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้าย การที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์หลายจำนวนและนำเงินมาผ่อนชำระหนี้โดยไม่ระบุว่าชำระหนี้รายใด ถือว่าเป็นการชำระหนี้บางส่วนของหนี้ทั้งหมดแล้ว อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงทั้งหมดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 16 กรกฎาคม 2547 ยังไม่เกิน 2 ปี หนี้ตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.14 รวม 8 ฉบับ จึงไม่ขาดอายุความ หนี้ของโจทก์ทั้งหมดตามใบแจ้งหนี้เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.16 รวมทั้งสิ้น 10 ฉบับ จึงไม่ขาดอายุความด้วย ส่วนวิธีการชำระหนี้กรณีที่จำเลยไม่ได้ระบุว่าให้ชำระหนี้ตามใบแจ้งหนี้ฉบับใด จึงต้องนำไปชำระหนี้ที่ถึงกำหนดก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง
โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ศาลเห็นว่าโจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้กับกรมสรรพากรอันจะมีสิทธิและหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลย จึงไม่อาจกำหนดให้จำเลยรับผิดค่าภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4618/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าเช่า: เริ่มนับเมื่อพ้น 30 วันจากใบแจ้งหนี้ และสะดุดหยุดลงเมื่อมีการชำระหนี้บางส่วน
การนับอายุความต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 การที่โจทก์กับจำเลยตกลงชำระค่าเช่าเครื่องจักรเป็นรายเดือนและจำเลยต้องชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบแจ้งหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลา 30 วันดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเช่าค้างชำระดังกล่าวได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้สัญญาเช่าสิ้นสุดหรือให้จำเลยส่งมอบเครื่องจักรคืนโจทก์ก่อน อายุความเรียกค่าเช่าค้างชำระ 2 ปี จึงเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้รับใบแจ้งหนี้ในแต่ละฉบับ
จำเลยเป็นหนี้โจทก์หลายจำนวนและนำเงินมาผ่อนชำระหนี้โดยไม่ระบุว่าชำระหนี้จำนวนใด ถือว่าเป็นการชำระหนี้บางส่วนของหนี้ทั้งหมดข้างต้นแล้ว อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงทั้งหมดในวันดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4618/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้หลายจำนวน การชำระหนี้บางส่วน และผลกระทบต่ออายุความ การชำระหนี้ก่อนและหลังฟ้อง
ใบแจ้งหนี้ทั้งหมดที่โจทก์ส่งให้จำเลยรวม 10 ฉบับ มีเพียงหนี้ตามใบแจ้งหนี้ ฉบับที่ 9 และ 10 เท่านั้นที่ไม่เกิน 2 ปี ส่วนหนี้ตามใบแจ้งหนี้ ฉบับที่ 1 ถึง 8 เกิน 2 ปีแล้ว แต่หลังจากนั้นจำเลยนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วน กรณีเป็นการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์หลายจำนวนและนำเงินมาผ่อนชำระโดยไม่ระบุว่าชำระหนี้รายใด ถือว่าเป็นการชำระหนี้บางส่วนของหนี้ทั้งหมด อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย ดังนั้น หนี้ของโจทก์ทั้งหมดตามใบแจ้งหนี้ทั้ง 10 ฉบับ จึงไม่ขาดอายุความ และกรณีที่จำเลยไม่ได้ระบุว่าชำระหนี้ตามใบแจ้งหนี้ฉบับใด จึงต้องนำไปชำระหนี้ที่ถึงกำหนดก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง ที่โจทก์นำไปชำระหนี้ตามใบแจ้งหนี้ฉบับแรก ซึ่งเป็นหนี้ที่ถึงกำหนดชำระก่อน จึงเป็นการนำไปชำระหนี้ถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน การชำระหนี้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในสัญญาโอนสิทธิบัตร
สัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสี่และจำเลยเป็นสัญญาโอนขายสิทธิบัตร โดยมีข้อกำหนดว่าผู้โอนคือโจทก์ทั้งสี่ที่เป็นผู้ขายจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้รับโอนคือจำเลยด้วย จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 กล่าวคือ โจทก์ทั้งสี่มีหน้าที่ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่จำเลย และจำเลยมีหน้าที่ชำระราคาให้โจทก์ทั้งสี่ ดังนั้นที่โจทก์ทั้งสี่รับว่ามีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยจริง และแจ้งให้จำเลยหักชำระหนี้ค่าหุ้นที่โจทก์ทั้งสี่ยังไม่ได้ชำระแก่จำเลย ต่อมาจำเลยส่งใบหุ้นแก่โจทก์ทั้งสี่ ย่อมแสดงว่าจำเลยยอมรับการชำระหนี้ค่าหุ้นแล้ว เมื่อโจทก์ทั้งสี่ยอมรับว่ายังไม่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่จำเลย โจทก์ทั้งสี่จึงยังไม่ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 กรณีจึงไม่อาจถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อประกันสินค้า: แม้ไม่มีเจตนาชำระหนี้โดยตรง แต่ยังผูกพันตามกฎหมาย หากสินค้าไม่ชำระ
การออกเช็คเพื่อประกันค่าสินค้าที่ลูกค้าหรือสมาชิกสั่งซื้อสินค้าผ่านจำเลยนั้นเพื่อเป็นประกันว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าสินค้าที่ส่งให้แก่ลูกค้าหรือสมาชิก หากลูกค้าหรือสมาชิกไม่ชำระโจทก์ก็ยังได้รับเงินค่าสินค้าตามเช็คดังกล่าว ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการชำระหนี้ค่าสินค้า จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คนั้น แม้คดีในส่วนอาญา จำเลยไม่ต้องรับผิดทางอาญา ก็เป็นเพราะเช็คที่จำเลยออกมิใช่เป็นเช็คเพื่อชำระหนี้อันเป็นองค์ประกอบของความผิดทางอาญา ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับชำระหนี้ค่าสินค้าจากลูกค้าหรือสมาชิก จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชอบชำระหนี้ค่าสินค้าตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวต่อผู้ทรงเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4464/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โดยคำนึงถึงการชำระหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการให้โอกาสชำระหนี้
เหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 เป็นข้อที่ศาลชอบที่จะหยิบยกในชั้นพิจารณาเอาความจริงตามคำฟ้องโจทก์ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ดังนี้ แม้ภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว โจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบจำนวนตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แต่ก็ไม่อาจถือเป็นเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับกับการขาดสิทธิเรียกร้องชำระหนี้ ผู้ค้ำประกัน/จำนองสิทธิไล่เบี้ยเมื่อชำระหนี้หรือบังคับจำนอง
ข้อตกลงซื้อขายหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ข้อ 3 วรรคแรก มีข้อความว่า "ผู้ขายตกลงเป็นผู้ค้ำประกันหนี้สินของบริษัท ก. มีวงเงินค้ำประกัน 350,000,000 บาท ต่อไปจนถึงวันที่ 3 เมษายน 2534... และภายในวันที่ 3 เมษายน 2534 เช่นกัน ผู้ซื้อจะดำเนินการให้ธนาคารปลดผู้ขาย ส. และ ว. ออกจากเป็นผู้ค้ำประกัน และปลดจำนองทรัพย์สินซึ่งจำนองประกันหนี้สินของบริษัท ก. ทั้งหมด" วรรคสอง มีข้อความว่า "ถ้าหากล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ซื้อไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ ผู้ซื้อและบริษัท ก. ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้ขายเดือนละ 1,000,000 บาท ทุกๆ เดือนจนกว่าผู้ขายจะหลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง" ซึ่งหมายความว่า โจทก์ที่ 1 จะมีสิทธิเรียกค่าตอบแทนรายเดือนต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อหุ้นจากโจทก์ที่ 1 ไม่สามารถดำเนินการปลดโจทก์ที่ 1 จากการเป็นผู้ค้ำประกันและปลดโจทก์ทั้งสามจากการเป็นผู้จำนองให้สำเร็จได้อันเป็นการผิดข้อตกลงแล้วเท่านั้น ค่าตอบแทนรายเดือนจึงเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ทั้งตามข้อตกลงดังกล่าวก็มิได้ระบุว่า หากจำเลยที่ 2 ไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ภายเวลาที่กำหนดแล้ว ยังจะต้องดำเนินการเช่นนั้นอีกต่อไปจนสำเร็จ จึงเป็นเรื่องที่สัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคแรก ซึ่งหากเจ้าหนี้แสดงต่อลูกหนี้ว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับแล้ว ก็เป็นอันขาดสิทธิเรียกร้องชำระหนี้อีกต่อไป
หลังจากพ้นกำหนดวันที่ 3 เมษายน 2534 โจทก์ที่ยอมรับเอาค่าตอบแทนของเดือนพฤษภาคม 2534 และต่อมาโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าตอบแทนที่ยังค้างชำระสำหรับเดือนต่อไป ถือว่าโจทก์ที่ 1 แสดงต่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับ สทิธิเรียกร้องของโจทก์ที่ 1 ที่จะบังคับให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ดำเนินการปลดโจทก์ที่ 1 จากการเป็นผู้ค้ำประกันและปลดโจทก์ทั้งสามจากการเป็นผู้จำนองย่อมเป็นอันขาดไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 380 วรรคแรก
สิทธิของผู้ค้ำประกันที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ย่อมจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ส่วนสิทธิของผู้จำนองทรัพย์สินของตนเพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระตาม มาตรา 724 บัญญัติให้ผู้จำนองที่เข้าชำระหนี้เสียเองแทนลูกหนี้เพื่อจะปัดป้องมิให้ต้องบังคับจำนองชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนที่ได้ชำระไป และถ้าว่าต้องบังคับจำนอง ผู้จำนองก็ชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนซึ่งผู้รับจำนองจะได้รับใช้หนี้จากการบังคับจำนอง ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจะไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับว่าโจทก์ทั้งสามเข้าชำระหนี้เสียเองแทนจำเลยที่ 1 หรือมีการบังคับจำนองทรัพย์สินที่จำนองแล้วหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ได้เข้าชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 หรือธนาคารได้บังคับจำนองแล้ว สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันและโจทก์ทั้งสามในฐานะผู้จำนองจึงยังไม่เกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้หลังมีคำสั่งอายัด: สิทธิของผู้ร้องในการนำเงินค่าปรับไปชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดเงินค่าปรับและเงินชดเชยงานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2542 โดยห้ามมิให้ผู้ร้องจำหน่ายจ่ายโอนเงินดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นใด แต่ให้จัดส่งเงินดังกล่าวไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าวหลังจากผู้ร้องได้รับหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2543 และสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตอบข้อหาลือลงวันที่ 26 มกราคม 2544 ว่า ผู้ร้องมีสิทธินำเงินค่าปรับที่จะต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ไปชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระแก่ผู้ร้องได้โดยผู้ร้องต้องมีหนังสือแจ้งขอใช้สิทธิหักลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 หากผู้ร้องไม่แจ้งการใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ก็จะต้องส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่ได้แจ้งอายัด ผู้ร้องจึงมีหนังสือลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงผลการหารือกับสำนักงานอัยการสูงสุด และแจ้งให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าปรับส่วนที่เหลือ ซึ่งถือได้ว่าผู้ร้องได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 และ 342 แล้ว แต่เนื่องจากผู้ร้องเพิ่งจะแสดงเจตนาหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 หลังจากวันที่ผู้ร้องได้รับทราบคำสั่งอายัดจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้ได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าไฟฟ้า-การชำระหนี้-เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าชำรุด-สิทธิเรียกร้อง-อายุความ 5 ปี
เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงหน่ายการใช้ไฟฟ้าไม่ตรงกับที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไปจริง แต่มิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ทั้งการติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเปรียบเทียบก็ไม่ได้แสดงแน่ชัดว่าเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงค่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าคลาดเคลื่อนมาแต่เมื่อใด การที่โจทก์คิดค่าไฟฟ้าย้อนหลังโดยดูจากประวัติการใช้ไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงแต่คาดคะเนเอง ไม่อาจฟังเอาแน่นอนว่าเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าคลาดเคลื่อนมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2537 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดค่าไฟฟ้าย้อนหลังตั้งแต่เดือนดังกล่าวจนถึงวันที่ 12 มกราคม 2538 ที่พบความชำรุดบกพร่อง โจทก์คงมีสิทธิคิดค่าไฟฟ้าย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2538 ถึงวันที่ 21 เมษายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องใหม่ให้จำเลยที่ 1
โจทก์ขายกระแสไฟฟ้าแก่จำเลยที่ 1 เพื่อใช้ในการประกอบกิจการโรงงานผลิตฟิล์มของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าของโจทก์จึงเข้าข้อยกเว้นไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามความในตอนท้ายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (1) แต่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)
of 261