คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พยานหลักฐาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,589 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10629/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีแพ่ง: พยานหลักฐานไม่น่าเชื่อถือแม้ฝ่ายตรงข้ามไม่นำสืบ ย่อมเป็นฝ่ายแพ้คดี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม เนื่องจากโจทก์นำสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อไว้มากรอกข้อความโดยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ภาระการพิสูจน์จึงตกอยู่แก่โจทก์ที่ต้องนำสืบให้ได้ความตามประเด็นที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง
การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีแพ่งมิได้หมายความว่าจะต้องชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานอันเกิดจากการนำสืบของคู่ความทั้งสองฝ่ายเสมอไป หากปรากฏว่าฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์แต่พยานหลักฐานไม่น่าเชื่อถือหรือนำสืบไม่สมข้ออ้าง แม้เป็นการนำสืบฝ่ายเดียวโดยคู่ความอีกฝ่ายไม่มีพยานมาสืบก็ต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10348/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและคำร้องดำเนินคดีอนาถา กรอบเวลาอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. และการพิจารณาพยานหลักฐาน
การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าไม่มีพยานมาไต่สวนให้เห็นได้ว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซึ่งจะต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า (เดิม) แต่มีกำหนดยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายใน 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
เมื่อผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายใน 1 เดือน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบ และต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องไว้พิจารณา การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งเพราะเหตุผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งเกิน 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง จึงไม่ชอบและไม่ทำให้คดีเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง เพราะเป็นคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอรับฟังว่าจำเลยเป็นผู้ลงมือ ศาลฎีกายกฟ้องทั้งคดีอาญาและข้อหาครอบครองอาวุธปืน
ความผิดฐานมีอาวุธปืน ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 8 เดือน และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน การที่จำเลยฎีกาเกี่ยวกับความผิดฐานนี้ขึ้นมาแม้จะต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมไม่พอรับฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและไม่ปรากฏว่ามีการยึดอาวุธปืนได้จากจำเลยเป็นของกลาง ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกฟ้องในความผิดฐานนี้ได้ด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน ทั้งตามมาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือในการจำหน่ายยาเสพติด: การรับสารภาพ, พยานหลักฐาน, และความผิดหลายกรรม
จำเลยที่ 2 เดินทางไปในที่เกิดเหตุพร้อมกับจำเลยที่ 1 ตามเวลาที่จำเลยที่ 1 นัดส่งมอบยาเสพติดให้โทษแก่สายลับโดยจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 เดินทางไปหาสายลับด้วยกัน ขณะที่จำเลยที่ 1 และสายลับส่งมอบสิ่งของให้แก่กันจำเลยที่ 2 ก็อยู้ด้วย เมื่อถูกจับจำเลยที่ 2 ก็ให้การรับสารภาพทันที แม้จะค้นไม่ได้ของกลางจากจำเลยที่ 2 เลยก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์จำเลยที่ 2 อยู่ในเหตุการณ์มาโดยตลอดถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1
การล่อซื้อยาเสพติดเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานตำรวจไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
การที่จำเลยทั้งสองเตรียมยาเสพติดให้โทษติดตัวมาแล้วขายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปส่วนหนึ่ง พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มียาเสพติดให้โทษของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเมื่อจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 จำหน่ายยาเสพติดให้โทษดังกล่าวไปส่วนหนึ่งอันมีลักษณะการกระทำต่างกันและต่างขั้นตอนกัน การกระทำของจำเลยทั้งสอง ย่อมเป็นความผิดทั้งมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกรรมหนึ่ง และมีความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษอีกกรรมหนึ่งด้วย เป็นความผิดต่างกรรมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9000/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายที่ดิน และการโอนสิทธิในที่ดิน การพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อยืนยันความสมบูรณ์ของสัญญา
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขออ้างพยานเอกสารเพิ่มเติม บัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม ซึ่งศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาตและสั่งให้จำเลยที่ 2 สำเนาให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว เมื่อต้นฉบับเอกสารเป็นเอกสารซึ่งอยู่ในครอบครองของสำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทอง จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 (2)
การที่จำเลยที่ 2 ไม่ถามค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารไว้ก่อนนั้น เมื่อปรากฏว่าเอกสารทั้งสามฉบับนี้เป็นเอกสารที่ตัวโจทก์ได้ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทอง ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้ไปขอคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวมายื่นแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ลายมือชื่อของโจทก์เท่านั้น ทั้งเรื่องการจำนองที่ดินพิพาทแล้วมีการไถ่ถอนโอนขายให้แก่จำเลยที่ 1 ก็มีหลักฐานปรากฏอยู่ในสารบัญจดทะเบียนหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) แล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ไม่ถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อนถึงเอกสารดังกล่าว ก็สามารถรับฟังเอกสารทั้งสามฉบับดังกล่าวได้ว่ามีอยู่จริงที่สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8971/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: พยานหลักฐานสนับสนุนคำรับสารภาพ, การให้ข้อมูลช่วยเหลือเจ้าพนักงาน, และดุลพินิจศาลในการลงโทษ
จำเลยที่ 1 ได้ให้ข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานสอบสวนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 ซึ่งบทมาตราดังกล่าวแม้จะให้ศาลมีอำนาจที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลที่จะไม่ลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นให้น้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8958/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมและการค้ำประกัน ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานและไม่ผูกมัดต้องส่งตรวจพิสูจน์เสมอไป
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดเป็นความเห็นอันหนึ่งเท่านั้น หาเป็นการผูกมัดศาลให้ต้องส่งเรื่องราวไปตรวจพิสูจน์เสมอไปไม่ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า ลายมือชื่อของจำเลยเท่าที่ปรากฏเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงปฏิเสธไม่ส่งลายมือชื่อของจำเลยไปตรวจพิสูจน์ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นตามที่เห็นสมควร การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีไปโดยไม่ได้ส่งลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองไปตรวจพิสูจน์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8792/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานใหม่ในคดีแรงงานอุทธรณ์คำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน และลูกจ้างต้องเป็นคู่ความในคดี
โจทก์ในฐานะนายจ้างนำคดีมาสู่ศาลแรงงานกลางตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 125 อันเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 8 (4) ซึ่งการพิจารณาคดีแรงงานต้องอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ วิธีพิจารณาคดีแรงงานในศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยาน การกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ยังไม่อาจตกลงกันได้ การนำพยานหลักฐานเข้าสืบของคู่ความ หลักในการพิจารณาคดีในศาลแรงงานและการรับฟังข้อเท็จจริงของผู้พิพากษาในศาลแรงงานไว้แล้วหาได้มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าหากเป็นคดีที่นายจ้างหรือลูกจ้างนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 125 แล้ว ในการพิจารณาคดีศาลแรงงานต้องพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่พนักงานตรวจแรงงานรับฟังยุติไว้ในสำนวนหรือต้องพิจารณาพยานหลักฐานเฉพาะที่ปรากฏจากการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานเท่านั้นไม่ เพราะการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานมิได้มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดวิธีการสอบสวนไว้โดยเฉพาะ ทั้งกระทำการสอบสวนและใช้ดุลพินิจออกคำสั่งเพียงลำพังคนเดียว การสอบสวนหาข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานจึงอาจมีข้อบกพร่องได้ ฉะนั้น ในการพิจารณาคดีแรงงานคู่ความย่อมมีสิทธิอ้างพยานหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมต่อศาลแรงงานได้ ส่วนพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างเพิ่มเติมจะรับฟังได้เพียงใดขึ้นอยู่กับน้ำหนักของพยานหลักฐานนั้น
ผลของคดีที่นายจ้างฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานอาจกระทบถึงสิทธิจากลูกจ้าง หากนายจ้างมิได้ฟ้องลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยในคดีด้วยศาลแรงงานก็ควรที่จะเรียกลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมอยู่แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้อง ณ. ลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยที่ 2 แล้ว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในชั้นตรวจรับคำฟ้องจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ชอบที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนเสียด้วยเพื่อให้ ณ. ลูกจ้างยังคงเป็นคู่ความในคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8792/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลแรงงานต้องพิจารณาพยานหลักฐานใหม่จากคู่ความ ไม่จำกัดเฉพาะสำนวนพนักงานตรวจแรงงาน
โจทก์ในฐานะนายจ้างนำคดีมาสู่ศาลแรงงานกลางตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 อันเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 (4) ซึ่งการพิจารณาคดีแรงงานต้องอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ วิธีพิจารณาคดีแรงงานในศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยาน การกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ยังไม่อาจตกลงกันได้ การนำพยานหลักฐานเข้าสืบของคู่ความ หลักในการพิจารณาคดีในศาลแรงงานและการรับฟังข้อเท็จจริงของผู้พิพากษาในศาลแรงงานไว้แล้ว หาได้มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าหากเป็นคดีที่นายจ้างหรือลูกจ้างนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 แล้ว ในการพิจารณาคดีศาลแรงงานต้องพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่พนักงานตรวจแรงงานรับฟังยุติไว้ในสำนวนหรือต้องพิจารณาพยานหลักฐานเฉพาะที่ปรากฏจากการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานเท่านั้นไม่ เพราะการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานมิได้มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดวิธีการสอบสวนไว้โดยเฉพาะ ทั้งกระทำการสอบสวนและใช้ดุลพินิจออกคำสั่งเพียงลำพังคนเดียว การสอบสวนหาข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานจึงอาจมีข้อบกพร่องได้ ฉะนั้น ในการพิจารณาคดีแรงงานคู่ความย่อมมีสิทธิอ้างพยานหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมต่อศาลแรงงานได้ ส่วนพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างเพิ่มเติมจะรับฟังได้เพียงใดขึ้นอยู่กับน้ำหนักของพยานหลักฐานนั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งโดยการสอบสวนคำร้องของจำเลยที่ 2 เพียงอย่างเดียว และจำเลยที่ 2 ละทิ้งงานที่จะต้องทำอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่องที่โจทก์สามารถออกคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ทำงานล่วงเวลาได้เป็นการจงใจทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย ศาลแรงงานกลางจึงต้องพิจารณาให้ได้ความจริง รวมทั้งพิจารณาว่ากระบวนการสอบสวนของจำเลยที่ 1 เป็นไปโดยชอบหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย ข้อเท็จจริงคดีนี้ในประเด็นที่ว่าโจทก์ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ โดยพิจารณาแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ฟังพยานหลักฐานหรือสอบสวนตามคำร้องของจำเลยที่ 2 เพียงอย่างเดียว แต่ได้พิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์ด้วยแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งไปโดยมิชอบ โดยศาลแรงงานกลางมิได้นำพยานหลักฐานใดที่โจทก์สืบเพิ่มเติมไว้ในชั้นพิจารณาคดีมาพิจารณาประกอบด้วย จึงเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 เพื่อให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบในการพิจารณาคดีต่อไป
อนึ่ง ผลของคดีที่นายจ้างฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานอาจกระทบถึงสิทธิของลูกจ้าง หากนายจ้างมิได้ฟ้องลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยในคดีด้วย ศาลแรงงานก็ควรที่จะเรียกลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมอยู่แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้อง ณ. ลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยที่ 2 แล้ว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในชั้นตรวจรับคำฟ้องจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ชอบที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนเสียด้วย เพื่อให้ ณ. ลูกจ้างยังคงเป็นคู่ความในคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8593/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังเอกสารสำเนาเป็นพยาน การพิสูจน์การส่งออกสินค้า และข้อจำกัดการรับรองสำเนาเอกสารโดยเจ้าหน้าที่
บัญชีสินค้าสำหรับเรือเป็นเอกสารที่ พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 51 กำหนดให้นายเรือหรือตัวแทนเรือต้องจัดทำขึ้นโดยมีรายละเอียดของสินค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีรายชื่อสินค้าขาออกและยื่นต่อศุลกสถานภายใน 6 วันเต็มนับแต่วันที่ได้ออกใบปล่อยเรือขาออก จึงเป็นเอกสารที่สามารถนำมาสืบได้ว่าผู้ยื่นใบขนส่งสินค้าขาออกส่งสินค้าไปต่างประเทศตามใบขนส่งสินค้าขาออกจริงหรือไม่ แต่การรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแพ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 93 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 17 เมื่อบัญชีสินค้าสำหรับเรือที่โจทก์นำสืบในคดีนี้เป็นสำเนาเอกสาร และจำเลยก็ได้ยื่นคำแถลงคัดค้านการนำเอกสารดังกล่าวมาสืบว่าสำเนาบัญชีสินค้าสำหรับเรือที่โจทก์ใช้อ้างอิงต่อศาลภาษีอากรกลางทั้งหมดไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับก่อนการสืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จ แสดงว่าจำเลยไม่ได้ยอมรับว่าสำเนาบัญชีสินค้าสำหรับเรือดังกล่าวถูกต้อง และทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้ เพราะสูญหาย หรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยหรือไม่สามารถนำต้นฉบับบัญชีสินค้าสำหรับเรือมาได้โดยประการอื่น ทั้งผู้ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาเอกสารไม่ปรากฏว่าเป็นหัวหน้ากรม กอง แผนก หรือผู้รักษาการแทนตำแหน่งดังกล่าวของโจทก์ที่มีหน้าที่ดูแลเอกสารหรือรับรองความถูกต้องของเอกสารสำเนาบัญชีสินค้าสำหรับเรือจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง
of 259