พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,604 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7919/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ฉบับแก้ไข เป็นสัญญาประนีประนอม อายุความเริ่มนับจากวันชำระหนี้ครั้งสุดท้าย
หนังสือที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ แม้จะใช้คำว่า "หนังสือรับสภาพหนี้" แต่เมื่อข้อกำหนดและเหตุผลในการจัดทำเป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยต่างตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งเกิดจากหนังสือรับสภาพหนี้ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ซึ่งเมื่อจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2540 อายุความที่โจทก์จะต้องบังคับใช้สิทธิเรียกร้องจึงมีกำหนดสิบปีนับแต่วันดังกล่าวตามมาตรา 193/32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7919/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้และการประนีประนอมยอมความ ผลต่ออายุความ
หนังสือรับสภาพหนี้ เอกสารหมาย จ.6 มีขึ้นเนื่องจากจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามข้อตกลงในหนังสือรับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.5 จนกระทั่งโจทก์ต้องดำเนินคดีในทางอาญาแก่ผู้ที่สั่งจ่ายเช็คให้ไว้แต่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อจำเลยทั้งสามทำหนังสือรับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.6 ให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ได้ถอนฟ้องหรือถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาเหล่านั้น อีกทั้งโจทก์ยังได้ลดจำนวนหนี้ ตามหนังสือรับสภาพหนี้เอกสารหมาย จ.5 ให้แก่จำเลยทั้งสาม ส. และ ท. และให้ผ่อนชำระดังรายละเอียดในหนังสือรับสภาพหนี้ เอกสารหมาย จ.6 ดังนี้ แม้เอกสารหมาย จ.6 จะใช้คำว่า "หนังสือรับสภาพหนี้" แต่เมื่อข้อกำหนดและเหตุผลในการจัดทำเป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามต่างตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งเกิดจากหนังสือรับสภาพหนี้ เอกสารหมาย จ.5 ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน เอกสารหมาย จ.6 จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 จำเลยทั้งสามปฏิบัติการชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2540 อายุความที่โจทก์จะต้องบังคับใช้สิทธิเรียกร้องจึงมีกำหนดสิบปีนับแต่วันดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2545 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7913/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันและจำนองประกันหนี้เดียวกัน เมื่อชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันย่อมระงับ
จำเลยที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยจำกัดวงเงิน แม้การค้ำประกันเป็นบุคคลสิทธิส่วนการจำนองเป็นทรัพยสิทธิ แต่เมื่อเป็นการประกันหนี้จำนวนเดียวกันและจำเลยที่ 5 ได้ชำระหนี้ตามสัญญาจำนองครบถ้วนจนมีการไถ่ถอนจำนองให้จำเลยที่ 5 แล้ว อันมีผลให้ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันระงับไปด้วย จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่เหลือตามสัญญาค้ำประกันอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเช็คเพียงระบุการชำระหนี้ค่าสินค้าก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงบทบัญญัติกฎหมายเช็คทุกถ้อยคำ
การบรรยายฟ้องตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ไม่จำเป็นต้องใช้คำตามบทบัญญัติดังกล่าวทุกถ้อยคำ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยลงชื่อสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องมอบให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อชำระค่าสินค้าผ้ายืด ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ร่วมตามสัญญาซื้อขายสินค้าผ้ายืดและจำเลยสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระค่าสินค้าผ้ายืดตามสัญญาซื้อขายนั้น จึงเป็นการบรรยายข้อเท็จจริงเพื่อแสดงว่า จำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7188/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้าทางธุรกิจ: อายุความ 5 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(5) และการรับรองการชำระหนี้จากการส่งมอบสินค้า
จำเลยสั่งซื้อสินค้าและได้รับสินค้าจากโจทก์แล้ว ถือได้ว่า การซื้อขายสินค้ารายนี้โจทก์ผู้ขายได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยผู้ซื้อแล้ว โจทก์ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและมีลายมือชื่อของจำเลยมาแสดง การซื้อขายชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม จำเลยต้องชำระค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามฟ้อง
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อนำมาใช้ในการประกอบธุรกิจของจำเลยอีกต่อหนึ่ง เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องตามฟ้องโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี มิใช่อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อนำมาใช้ในการประกอบธุรกิจของจำเลยอีกต่อหนึ่ง เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องตามฟ้องโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี มิใช่อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้สมบูรณ์ย่อมระงับหนี้ แม้ไม่มีการแทงเพิกถอนเอกสาร
การชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินมีผลทำให้หนี้เป็นอันระงับ ส่วนการแทงเพิกถอนลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นเรื่องของการนำสืบการใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง เป็นคนละกรณีกัน การไม่มีการแทงเพิกถอนลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินไม่อาจถือได้ว่ายังไม่มีการชำระหนี้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6959/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การเรื่องอายุความไม่ขัดแย้งกับการชำระหนี้ ศาลวินิจฉัยอายุความได้
จำเลยให้การตอนแรกว่าชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว แต่กลับให้การตอนหลังว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ไม่เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเอง เนื่องจากการที่ลูกหนี้ปฏิเสธความรับผิดโดยเถียงว่าหนี้ขาดอายุความนั้นหาได้มีข้อจำกัดว่าลูกหนี้จะยกขึ้นต่อสู้ได้เฉพาะในกรณีที่ยังมิได้มีการชำระหนี้เท่านั้นไม่ การที่จำเลยให้การตัดฟ้องโจทก์ในตอนหลังว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ จึงไม่อาจแปลความหมายได้ว่า จำเลยยังมิได้ชำระหนี้ คำให้การของจำเลยจึงมิได้ขัดแย้งกันเอง
จำเลยให้การโดยระบุเพียงว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ เพราะมีการซื้อขายสินค้ากันเมื่อปี 2537 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อปี 2548 นั้น เป็นการต่อสู้เรื่องอายุความในกรณีผู้ประกอบการค้าฟ้องเรียกเอาค่าสินค้าตามที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์นั่นเอง ทั้งนี้โดยจำเลยไม่จำต้องอ้างมาตราในกฎหมายมาในคำให้การ เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับบทกฎหมายเอง คำให้การของจำเลยจึงชัดแจ้ง
จำเลยให้การโดยระบุเพียงว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ เพราะมีการซื้อขายสินค้ากันเมื่อปี 2537 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อปี 2548 นั้น เป็นการต่อสู้เรื่องอายุความในกรณีผู้ประกอบการค้าฟ้องเรียกเอาค่าสินค้าตามที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์นั่นเอง ทั้งนี้โดยจำเลยไม่จำต้องอ้างมาตราในกฎหมายมาในคำให้การ เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับบทกฎหมายเอง คำให้การของจำเลยจึงชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6950/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าอากรโดยผู้ค้ำประกันและการฟ้องเรียกหนี้ส่วนที่ขาดจากลูกหนี้ชั้นต้น
ธนาคารผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันให้กรมศุลกากรโจทก์ทำให้หนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มระงับลงบางส่วน แม้ธนาคารจะรับช่วงสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 693 วรรคสอง ประกอบมาตรา 229 (3) แต่เมื่อเงินที่ธนาคารชำระยังไม่คุ้มค่าอากรและเงินเพิ่มที่จำเลยต้องชำระ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าอากรและเงินเพิ่มส่วนที่ขาดจากจำเลยในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นได้
โจทก์เรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันล่าช้า แต่เมื่อ พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 มาตรา 19 ตรี มิได้กำหนดอายุความการใช้สิทธิเรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันการไม่ชำระค่าอากรและเงินเพิ่มของผู้นำเข้าตามมาตรา 19 ทวิ จึงมึอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31
โจทก์เรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันล่าช้า แต่เมื่อ พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 มาตรา 19 ตรี มิได้กำหนดอายุความการใช้สิทธิเรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันการไม่ชำระค่าอากรและเงินเพิ่มของผู้นำเข้าตามมาตรา 19 ทวิ จึงมึอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6823/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยบัตรเอทีเอ็มและการนำสืบพยานหลักฐานการชำระหนี้
จำเลยนำสืบถึงการชำระหนี้เงินกู้คืนโจทก์ว่า จำเลยมอบบัตรเอทีเอ็มของธนาคาร ก. ให้โจทก์ไปถอนเงินจากบัญชีของจำเลยทุกเดือน และโจทก์ยอมรับว่าได้รับบัตรเอทีเอ็มดังกล่าวไว้ถอนเงินจากบัญชีของจำเลย จึงถือได้ว่าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลให้ศาลเห็นถึงวิธีการชำระหนี้ว่าได้ปฏิบัติต่อกันเช่นใด ไม่อยู่ในบทบังคับเฉพาะตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6267/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าเช่าซื้อและการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เมื่อจำเลยรับเงินชำระหนี้แล้ว
ศาลพิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน การบังคับตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่ระบุในคำพิพากษา โดยโจทก์ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจำเลยก่อน หากไม่สามารถคืนได้จึงค่อยใช้ราคาแทน ระหว่างการบังคับคดีโจทก์นำเงินไปวางศาลชำระราคารถแทนพร้อมค่าเสียหายตามคำพิพากษาทั้งหมด จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะไม่รับเงินที่วางได้ แต่จำเลยกลับขอรับเงินดังกล่าวเท่ากับยอมรับถึงการบังคับคดีในขั้นตอนที่ต่างจากการส่งมอบรถยนต์คืน และถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว แม้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันไปแล้ว แต่การที่จำเลยยอมรับชำระราคารถยนต์ถือได้โดยปริยายว่าจำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์โดยผลของการชำระหนี้ดังกล่าว แม้ว่ารถยนต์สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วยการส่งมอบ แต่รถยนต์เป็นพาหนะที่มีกฎหมายควบคุม การนำไปใช้ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีให้ถูกต้องก่อนตาม พ.ร.บ.รถยนต์ฯ มาตรา 6 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยโอนทะเบียนรถยนต์ให้แก่โจทก์ได้
ปัญหาว่าการที่จำเลยรับเงินที่โจทก์วางศาลแล้วต้องมีหน้าที่ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ปัญหาว่าการที่จำเลยรับเงินที่โจทก์วางศาลแล้วต้องมีหน้าที่ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง