พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5090/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำสั่งอายัดชั่วคราวหลังคดีประธานถึงที่สุดและการบังคับคดีสำเร็จ
คดีที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินอันเป็นคดีประธานศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี คดีถึงที่สุดไปแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้อายัดเงินที่ผู้คัดค้านถึงกำหนดชำระแก่จำเลยไว้ชั่วคราว จึงยังมีผลต่อไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) เท่านั้น เมื่อโจทก์ขอออกหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์ของผู้คัดค้านออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้โจทก์แล้ว โดยไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้โต้แย้งการบังคับคดีดังกล่าว ดังนั้น ปัญหาว่าผู้คัดค้านมีหนี้หรือเงินอันใดที่ต้องชำระให้แก่จำเลยตามหมายอายัดชั่วคราวหรือไม่ ถึงแม้จะพิจารณาต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ในคดีบังคับคดี: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องเป็นผู้มีสิทธิร้องขอ
แม้ที่ดินพิพาทที่ถูกยึดไว้ในคดีนี้มีชื่อ ม. ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ร้องเป็นผู้ถือสิทธิครอบครอง และโจทก์ในคดีนี้ได้ยึดไว้ทั้งแปลงอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่ ม. ได้มาในระหว่างสมรส อันเป็นสินสมรสระหว่าง ม. กับลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนการบังคับคดี: ผู้ร้องต้องมีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี
ผู้ร้องเป็นมารดาของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดตามประกาศยึดทรัพย์ แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเดิมที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาเป็นของผู้ร้องที่ได้ยกให้แก่จำเลย และผู้ร้องได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำเลยไปแล้ว โดยจำเลยยินยอมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถูกยึดคืนให้แก่ผู้ร้องก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะไปว่ากล่าวกันต่างหาก ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 280 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายบังคับคดีและประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเพิกถอนการบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี
ผู้ร้องบรรยายในคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นมารดาของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกโจทก์นำยึด มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับทรัพย์ดังกล่าว แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเดิมที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาเป็นของผู้ร้องที่ได้ยกให้แก่จำเลย และผู้ร้องได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำเลยไปแล้ว โดยจำเลยยินยอมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถูกยึดคืนให้แก่ผู้ร้องก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะไปว่ากล่าวกันต่างหาก ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 280 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายบังคับคดีและประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามมาตรา 296
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการหักชำระหนี้จากเงินค่าหุ้นที่จำนำไว้ ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิหักเงินปันผลชำระหนี้
ตามหนังสือสัญญากู้เงินพิเศษ ข้อ 10 และหนังสือสัญญากู้เงินสามัญ ข้อ 7 ดังกล่าว มีข้อความทำนองเดียวกันว่า "ข้าพเจ้ายินยอมให้นำเงินค่าหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่ในสหกรณ์ออมทรัพย์ครูศรีสะเกษ จำกัด ทั้งหมดในขณะนี้และเงินค่าหุ้นที่จะมีเพิ่มขึ้นอีกต่อไปในภายหน้ามาจำนำกับสหกรณ์ออมทรัพย์ศรีสะเกษ จำกัด เพื่อเป็นการค้ำประกันเงินกู้ตามหนังสือนี้ และในกรณีที่หนี้ถึงกำหนดชำระตามที่กล่าวในข้อ 5 หรือหากมีการบังคับคดีใดๆ ก็ตาม ข้าพเจ้ายินยอมให้สหกรณ์โอนเงินค่าหุ้นของข้าพเจ้าที่จำนำไว้เป็นประกันนี้ชำระหนี้เงินกู้ของข้าพเจ้าที่มีอยู่ต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ศรีสะเกษ จำกัด ได้ทันที โดยไม่ต้องนำเงินค่าหุ้นที่จำนำนี้ออกขายทอดตลาดแต่อย่างใดและให้ถือว่าในข้อนี้เป็นการจดแจ้งการจำนำหุ้นตลอดทั้งให้หนังสือกู้ฉบับนี้เป็นสมุดทะเบียนการจำนำหุ้นด้วย" ข้อตกลงดังกล่าวมีความหมายชัดเจนในเรื่องเกี่ยวกับเงินค่าหุ้น โดยจำเลยยอมให้เงินค่าหุ้นของจำเลยที่มีอยู่แล้วและที่เพิ่มขึ้นในภายหน้าเป็นจำนำแก่ผู้คัดค้านเพื่อเป็นการค้ำประกันเงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้เงินพิเศษและหนังสือสัญญากู้เงินสามัญ รวมทั้งให้สิทธิแก่ผู้คัดค้านโอนเงินค่าหุ้นของจำเลยที่จำนำไว้ดังกล่าวชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่มีต่อผู้คัดค้านได้ มิใช่เป็นข้อตกลงในเรื่องเกี่ยวกับเงินปันผลอันเป็นส่วนหนึ่งของกำไรที่ผู้คัดค้านจะต้องจ่ายแก่จำเลยผู้คัดค้านจึงไม่อาจนำเงินปันผลที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้คัดค้านไปหักชำระหนี้เงินกู้ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้คัดค้านโดยอาศัยข้อตกลงดังกล่าว เมื่อผู้คัดค้านได้รับคำสั่งอายัดเงินปันผลดังกล่าวจากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธินำเงินปันผลที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับดังกล่าวไปหักชำระหนี้ที่จำเลยมีอยู่ต่อผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4144/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ภาษีอากร และการบังคับคดีตามคำพิพากษา
ตาม ป.รัษฎากร ในหมวด 3 เรื่องภาษีเงินได้ในส่วน 1 ข้อความทั่วไปและส่วน 2 การเก็บภาษีจากบุคคลธรรมดา บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดเก็บ ภาษีเงินเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อได้รับเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39 เว้นแต่ไม่ถึงเกณฑ์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้ ผู้มีเงินได้พึงประเมินมีหน้าที่ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้มาในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วพร้อมทั้งข้อความอื่นๆ ภายในเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 56 จากหลักเกณฑ์ตาม ป.รัษฎากรดังกล่าว ผู้มีเงินได้พึงประเมินจึงมีหน้าที่ต้องประเมินภาษีเงินได้โดยตนเองแล้วยื่นแบบแสดงรายการตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นหากจำเลยที่ 1 มีเงินได้พึงประเมินที่ถูกต้องแท้จริงเป็นจำนวนเท่าใด จำเลยที่ 1 จะต้องชำระหนี้ภาษีอากรภายในเดือนมีนาคมของแต่ละปีภาษีถัดไปตามที่ ป.รัษฎากร บัญญัติบังคับไว้ หาใช่หนี้ภาษีอากรจะถึงกำหนดในวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีภาษีอากรแต่อย่างใดไม่ ทั้งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 ภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่งนี้ เมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียหรือนำส่งให้ถือเป็นภาษีอากรค้างซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรได้ทั่วราชอาณาจักรโดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง ด้วยเหตุนี้โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้และจำเลยที่ 1 ก็เป็นลูกหนี้โดยบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากรและอยู่ในความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 237 แล้ว
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทที่มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อันมีราคาประเมิน 110,289,400 บาท ซึ่งมีค่ามากที่สุดในจำนวนทรัพย์สินที่อยู่ในนามของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หานั้น ทำให้ทรัพย์สินที่อยู่ในนามของจำเลยที่ 1 น้อยลงไปอีก ทั้งจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้นำสืบและไม่ได้โต้แย้งในฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นที่พอนำมาชำระหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระได้ครบถ้วน แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โจทก์สามารถติดตามยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้เพียงพอแก่การได้รับชำระหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระอยู่ให้ครบถ้วน อันเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้ภาษีอากรเสียเปรียบและเป็นการโอนให้จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาจึงต้องถูกเพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคแรก
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมยกให้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ให้กับจำเลยที่ 2 ผู้รับแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมกลับมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยผลของคำพิพากษา ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติโดยการแสดงเจตนาอีกจึงไม่จำต้องส่งให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนการโอนที่ดินให้กลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทที่มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อันมีราคาประเมิน 110,289,400 บาท ซึ่งมีค่ามากที่สุดในจำนวนทรัพย์สินที่อยู่ในนามของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หานั้น ทำให้ทรัพย์สินที่อยู่ในนามของจำเลยที่ 1 น้อยลงไปอีก ทั้งจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้นำสืบและไม่ได้โต้แย้งในฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นที่พอนำมาชำระหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระได้ครบถ้วน แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โจทก์สามารถติดตามยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้เพียงพอแก่การได้รับชำระหนี้ภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระอยู่ให้ครบถ้วน อันเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้ภาษีอากรเสียเปรียบและเป็นการโอนให้จำเลยที่ 2 โดยเสน่หาจึงต้องถูกเพิกถอนการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคแรก
เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมยกให้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ให้กับจำเลยที่ 2 ผู้รับแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมกลับมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยผลของคำพิพากษา ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติโดยการแสดงเจตนาอีกจึงไม่จำต้องส่งให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนการโอนที่ดินให้กลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีหลังคดีถึงที่สุด กรณีจำเลยขาดนัดและอาจขอพิจารณาคดีใหม่
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด สำหรับคดีนี้เป็นคดีที่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ เนื่องจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) คดีย่อมถึงที่สุด เมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ข้อเท็จจริงได้ความว่าศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2550 และส่งให้จำเลยที่ 2 โดยวิธีปิดคำบังคับเช่นเดียวกันเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550 จำเลยทั้งสองมิได้ขอให้พิจารณาคดีใหม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงถึงที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2550 และสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดในวันที่ 2 มีนาคม 2550 ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มายื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันที่ 23 เมษายน 2550 จึงยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่คดีนี้ถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดีหลังขาดนัด – ผลกระทบต่อการยื่นคำขอออกหมายบังคับคดี
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด สำหรับคดีที่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เนื่องจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) ย่อมถึงที่สุดเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 147 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2550 และส่งให้จำเลยที่ 2 โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550 จำเลยทั้งสองมิได้ขอให้พิจารณาคดีใหม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงถึงที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2550 และสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดในวันที่ 2 มีนาคม 2550 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันที่ 23 เมษายน 2550 จึงยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2550 และส่งให้จำเลยที่ 2 โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550 จำเลยทั้งสองมิได้ขอให้พิจารณาคดีใหม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงถึงที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2550 และสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดในวันที่ 2 มีนาคม 2550 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันที่ 23 เมษายน 2550 จึงยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดีหลังขาดนัด - การนับระยะเวลาคดีถึงที่สุดเมื่อจำเลยขาดนัดและอาจขอพิจารณาคดีใหม่
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด สำหรับคดีที่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เนื่องจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณา และศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) คดีจึงย่อมถึงที่สุดเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทั้งนี้ เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3730/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวต้องสอดคล้องกับคำขอท้ายฟ้องและประเด็นแห่งคดี
วัตถุประสงค์ของการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 ก็เพื่อให้โจทก์สามารถบังคับคดีได้เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ดังนั้น สิ่งที่จะขอคุ้มครองจะต้องตรงกับการกระทำของจำเลยที่ถูกฟ้องร้องหรืออยู่ในประเด็นแห่งคดีและเป็นเรื่องที่อยู่ในคำขอท้ายฟ้องด้วย โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โดยหลังจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้โจทก์แล้วกลับไปทำสัญญาจะซื้อจะขายและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แต่ท้ายฟ้องของโจทก์ไม่มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากโจทก์ไป คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ที่ขอห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับที่ดินและมีคำสั่งอายัดที่ดินไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 มาใช้บังคับคดีได้