คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายใหม่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4515/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี ศาลต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย แม้จะเป็นกฎหมายใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 มาตรา 20 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 62 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มี พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 หลังจากนั้นระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 แต่ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 60 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดย พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 87 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าแสนบาท ส่วน พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 141 ระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า โทษตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่า พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 ที่มีโทษจำคุกด้วย กรณีจึงไม่อาจลงโทษจำคุกแก่จำเลยทั้งสองได้ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองอีกต่อไป เพราะศาลคงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เพียงโทษปรับเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโทษปรับที่ศาลจะนำมาพิจารณาลงโทษจำเลยทั้งสองนั้น โทษปรับตามมาตรา 87 แห่ง พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดมีระวางโทษขั้นต่ำให้ปรับตั้งแต่ห้าพันบาท เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยทั้งสองไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4008/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งบรรจุยาเสพติด: การใช้กฎหมายใหม่ (พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ ฉบับที่ 6 พ.ศ.2560) และการปรับบทลงโทษ
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560 มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ กำหนดให้การผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ เป็นความผิดตามมาตรานี้ โดยไม่คำนึงว่ายาเสพติดให้โทษนั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หรือมีหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิเพียงใด เว้นแต่เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายซึ่งแตกต่างจากมาตรา 65 วรรคสาม เดิม ที่ผู้ผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุยาเสพติดให้โทษต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หรือมีหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม เดิม มิฉะนั้น หากมีปริมาณตั้งแต่ที่กำหนดดังกล่าวขึ้นไป ย่อมเข้าบทสันนิษฐานเด็ดขาดว่าเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) เดิม ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม ดังนั้น บทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ จึงเป็นคุณมากกว่า ต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 3 โดยเห็นว่าตามบทบัญญัติมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ให้บทนิยามคำว่า "ผลิต" ให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย ซึ่งตามมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่แก้ไขใหม่ บัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุไว้ในวรรคสามและวรรคสี่เป็นกรณีเฉพาะ แยกต่างหากจากบทความผิดและบทลงโทษในความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ในกรณีทั่วไปตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งมีสภาพแห่งความผิดเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมมากกว่าการกระทำความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ ตามมาตรา 65 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผลิตโดยการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย จึงเป็นความผิดและต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม เพราะบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่ มีข้อความเช่นเดียวกับบทบัญญัติมาตรา 65 วรรคสี่ เดิม กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณ ต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจัดสวน: การชำระค่างานที่ทำเสร็จแล้ว การหักค่าเสียหาย และการปรับดอกเบี้ยตามกฎหมายใหม่
โจทก์ทำการงานตามสัญญาจัดสวนทางเข้าสถานีบริการน้ำมันให้จำเลยแล้วเสร็จและส่งมอบให้แก่จำเลย ระหว่างจำเลยยังไม่ได้ตรวจสอบและรับมอบงาน โจทก์รื้อถอนต้นไม้บางส่วนอันเป็นการงานที่ได้ทำให้แก่จำเลยนั้นไป จำเลยจึงร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่คนงานของโจทก์ในข้อหาลักทรัพย์และห้ามคนงานของโจทก์เข้าไปทำงานอีก หลังจากนั้น 2 วัน โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 30 ตุลาคม 2561 ขออนุญาตจำเลยเข้าไปดูแลต้นไม้ในระหว่างระยะเวลาประกันผลงานตามสัญญาจ้างเหมาตกแต่งภูมิทัศน์และยินดีเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกัน จำเลยมิได้อนุญาตหรือปฏิเสธ จนเวลาล่วงเลยไปถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2561 จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ขอริบเงินประกันผลงานและสงวนสิทธิเรียกค่าเสียหาย ทั้งเอาการงานที่ว่าจ้างโจทก์นั้นไปให้บุคคลภายนอกทำต่อจนแล้วเสร็จ พฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ชัดว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นยากเกินกว่าที่โจทก์และจำเลยจะตกลงกันได้ ถือว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างนับแต่วันที่จำเลยห้ามโจทก์เข้าไปทำการงานวันที่ 28 ตุลาคม 2561 แล้ว สัญญาจึงเป็นอันเลิกกันโดยปริยายตั้งแต่วันดังกล่าว มีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยนำการงานดังกล่าวซึ่งโจทก์รื้อถอนไปบางส่วนนั้นไปว่าจ้างบุคคลอื่นทำการงานนั้นต่อจนแล้วเสร็จและจำเลยได้ใช้ประโยชน์จากการงานนั้นแล้ว ทำให้ฝ่ายโจทก์ไม่อาจกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมได้ จำเลยจึงต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานอันโจทก์ได้กระทำให้นั้นแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม รวมทั้งค่าสัมภาระที่โจทก์ได้จัดหามาทำการงานให้แก่จำเลย และบุคคลภายนอกที่จำเลยว่าจ้างได้ใช้สัมภาระของโจทก์ทำการงานให้แก่จำเลยจนแล้วเสร็จด้วย เมื่อโจทก์รื้อถอนต้นไม้และขนสัมภาระบางส่วนคืนไป สมควรนำไปหักจากค่าการงานตามใบเสนอราคาที่โจทก์ทำให้แก่จำเลย ส่วนที่จำเลยอ้างว่าจำเลยจะต้องเสียค่าว่าจ้างผู้รับเหมาคนใหม่เพื่อให้การงานดังกล่าวแล้วเสร็จ นั้น รายการต้นไม้ส่วนใหญ่อยู่นอกเหนือจากรายการของงานที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ ถึงแม้เป็นไม้ล้มลุกแต่ก็มีจำนวนมากและราคานับว่าค่อนข้างสูง เห็นได้ชัดว่าเป็นการออกแบบจัดสวนใหม่แตกต่างจากการงานที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกำหนดค่าการงานของโจทก์ได้โดยถนัด แต่การที่คนงานของโจทก์เข้าไปรื้อถอนต้นไม้ใหญ่ ความเสียหายย่อมจะเกิดขึ้นแก่หน้าดิน ไม้คลุมดิน และพื้นหญ้า ความเสียหายส่วนนี้ถือว่าเป็นค่าแห่งการงานที่โจทก์ทำไม่แล้วเสร็จเรียบร้อยซึ่งต้องนำไปหักออกจากค่าการงานที่โจทก์ควรจะได้รับจากจำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141-4142/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำซ้อน - ลดโทษ - รอการลงโทษ - กฎหมายใหม่ใช้บังคับ - ความผิดเสพยาเสพติด
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันทั้งสองสำนวน และเมทแอมเฟตามีนของกลางตามฟ้องทั้งสองสำนวนก็เป็นจำนวนเดียวกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนของกลางตามฟ้องสำนวนหลังเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องในสำนวนแรก แม้ในสำนวนหลังโจทก์ฟ้องข้อหาสมคบกันเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเข้ามาด้วยแต่ก็เป็นการกระทำกรรมเดียวกับข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางทั้งหมดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้นเอง ซึ่งโจทก์สามารถขอแก้ฟ้องด้วยการเพิ่มเติมข้อหาดังกล่าวในสำนวนแรกได้อยู่แล้วตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นสำนวนหลังว่าสมคบกันเพื่อกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดด้วยการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นยาเสพติดจำนวนเดียวกับสำนวนแรกย่อมเป็นการใช้สิทธิฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองครั้งในการกระทำความผิดกรรมเดียวกัน ดังนั้น ฟ้องโจทก์สำนวนหลัง จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายยาเสพติดใหม่ และการลงโทษผู้ขับขี่เสพยา การแก้ไขโทษจำคุกเป็นกักขัง
พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 มาตรา 7 กำหนดให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่อ้างถึงบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นอ้างบทบัญญัติแห่ง ป.ยาเสพติดในมาตราที่มีนัยเช่นเดียวกัน เมื่อ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง และ พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 127 ทวิ วรรคสอง อ้างถึง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 91 จึงถือว่าอ้างถึง ป.ยาเสพติด มาตรา 162 ด้วยอันเป็นบทกำหนดความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในการเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน ซึ่งต้องระวางโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอีกหนึ่งในสาม ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบริการส่วนกลาง - ดอกเบี้ยผิดนัด - การปรับอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายใหม่
การขออนุญาตจัดสรรที่ดิน ผู้จัดสรรที่ดินมีหน้าที่ต้องจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะตามที่ได้แสดงไว้ในคำขออนุญาตจัดสรรที่ดิน ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 23 (4) โดยมีกำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ตามมาตรา 23 (5) และมีหน้าที่ดูแลสาธารณูปโภค ตามมาตรา 43 วรรคหนึ่ง ผู้จัดสรรที่ดินจะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา 43 เมื่อได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินรับผิดชอบการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามมาตรา 23 (5) แล้วดังนี้ (1) ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตาม พ.ร.บ.นี้หรือตามกฎหมายอื่นเพื่อรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปจัดการบำรุง ดูแล รักษา... (2) ผู้จัดสรรที่ดินได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค (3) ผู้จัดสรรที่ดินจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์ จากบทบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดหน้าที่และการสิ้นสุดหน้าที่การบำรุงรักษาสาธารณูปโภคของผู้จัดสรรที่ดินเป็น 2 ระยะ ระยะแรกผู้จัดสรรที่ดินมีหน้าที่บำรุงรักษาตามกำหนดเวลาที่ระบุในแผนผังโครงการที่ดินจัดสรรที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 23 (5) และระยะที่สอง เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลารับผิดชอบดังกล่าว ผู้จัดสรรที่ดินมีหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคต่อไปจนกว่าจะมีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 44 (1) (2) (3) (เดิม) ผู้จัดสรรที่ดินจึงต้องดำเนินการก่อสร้างสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตเพื่อโอนให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรรับไปดำเนินการจัดการดูแลเพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้ใช้ประโยชน์จากสาธารณูปโภคได้โดยสมบูรณ์ภายในเวลาอันสมควร ข้อตกลงที่มีผลผลักความรับผิดค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคไปให้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรก่อนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 44 (1) (2) (3) (เดิม) ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
สำหรับค่าบริการสาธารณะเป็นคนละกรณีกับค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ความรับผิดค่าบริการสาธารณะจึงไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา 43 และ 44 แห่งพ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ทั้งไม่มีบทบัญญัติใดใน พ.ร.บ.ดังกล่าวกำหนดความรับผิดในค่าบริการสาธารณะที่เกิดขึ้นก่อนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเหมือนการบำรุงรักษาและจัดการสาธารณูปโภค เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะโดยตรง ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรย่อมมีหน้าที่ต้องรับผิดในค่าบริการสาธารณะ ข้อตกลงที่ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรรับผิดในค่าบริการสาธารณะจึงบังคับกันได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่โจทก์อ้างส่งสำเนาสัญญาบริการระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองแนบท้ายฎีกา มีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองต้องชำระค่าใช้จ่ายให้โจทก์รายเดือน นั้น แม้โจทก์จะเพิ่งส่งเอกสารดังกล่าวในชั้นฎีกาซึ่งล่วงพ้นระยะเวลาการอ้างพยานหลักฐานตามกฎหมายแล้ว แต่พยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญแห่งคดี และเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงสมบูรณ์ครบถ้วนเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ทั้งจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและไม่ยื่นคำแก้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรรับฟังสำเนาสัญญาบริการแนบท้ายฎีกา เป็นพยานศาลตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 33 และรับฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญาบริการกันจริง เมื่อบริการที่โจทก์จัดทำเป็นบริการสาธารณะ สัญญาบริการจึงใช้บังคับกันได้
แม้โจทก์จะได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินฉบับเดิมปี 2539 ซึ่งออกตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 แต่การที่โจทก์ขอขยายโครงการและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครให้ทำการแก้ไขแผนผังโครงการจัดสรรในปี 2545 ภายหลัง พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มีผลใช้บังคับแล้ว ต้องบังคับตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 อัตราที่เรียกเก็บจึงต้องไม่เกินอัตราที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 53 เช่นกัน เมื่อโจทก์ไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครในอัตราที่เรียกเก็บจำเลยยังคงต้องรับผิดในหนี้ค่าบริการสาธารณะ นั้น และเมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าบริการสาธารณะให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ในอัตราที่เหมาะสมได้เช่นเดียวกับการกำหนดค่าเสียหายคดีแพ่งทั่วไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทความผิดและกำหนดโทษในคดียาเสพติดภายหลังการใช้ พ.ร.บ.ยาเสพติด พ.ศ.2564
แม้ พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 4 ยกเลิก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ ป.ยาเสพติดแทน แต่มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ยังคงให้บทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานว่าเป็นการกระทำเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายเดิม ยังมีผลใช้บังคับแก่คดีที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วก่อนวันที่ ป.ยาเสพติดใช้บังคับจนกว่าคดีถึงที่สุด บทสันนิษฐานตามกฎหมายเดิม มาตรา 15 ที่ว่า การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามปริมาณที่กำหนด เช่น แอมเฟตามีน คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไปให้สันนิษฐานว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงยังมีผลใช้บังคับต่อไปในคดีนี้ที่ยังไม่ถึงที่สุด ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 ประกอบมาตรา 66 ซึ่งเป็นกฎหมายเดิม บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นโดยถือเอาเพียงปริมาณของยาเสพติดเป็นสำคัญ แต่ ป.ยาเสพติด มาตรา 145 ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ บัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นโดยถือเอาพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญ ไม่ได้ถือเอาปริมาณดังเช่นกฎหมายเดิมอีกต่อไป แม้ปริมาณที่มากขึ้นอาจบ่งชี้ถึงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่ก็ตาม เมื่อปริมาณยาเสพติดที่มากขึ้นอาจบ่งชี้ได้ถึงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่อยู่ในตัว กฎหมายใหม่จึงไม่ได้ยกเลิกความผิดตามกฎหมายเดิม มาตรา 66 วรรคสองและวรรคสาม ไปเสียทีเดียว ดังนั้น ถ้าผู้กระทำความผิดมีพฤติการณ์หรือบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายใหม่ มาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ศาลย่อมมีอำนาจปรับบทความผิดตามมาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสามได้ แต่ถ้ายาเสพติดให้โทษมีปริมาณถึงตามกฎหมายเดิม มาตรา 66 วรรคสองหรือวรรคสาม แต่ผู้กระทำความผิดไม่มีพฤติการณ์ในการกระทำความผิดและบทบาทหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายใหม่ มาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสาม ศาลย่อมไม่อาจปรับบทความผิดตามมาตรา 145 วรรคสองหรือวรรคสามได้ คงปรับบทความผิดได้เพียงตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง ส่วนการกำหนดโทษก็ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณทั้งกฎหมายเก่าและกฎหมายใหม่ไม่ว่าในทางใด ทั้งนี้ ตาม ป.อ. มาตรา 3 ส่วนการปรับบทความผิดนั้นขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ คดีนี้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 1,000 เม็ด ให้ผู้ล่อซื้อ และจำเลยทั้งสองเคยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ต้องหารายอื่นมาก่อนหน้าแล้ว พฤติการณ์ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดดังกล่าวย่อมทำให้เกิดการแพร่กระจายแก่ผู้เสพหลายคนโดยสภาพ ถือเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายในกลุ่มประชาชนแล้ว กรณีจึงต้องลงโทษจำเลยทั้งสองตามกฎหมายใหม่ มาตรา 145 วรรคสอง (2) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสองล้านบาท อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณมากกว่าแก่จำเลยทั้งสองที่มีเมทแอมเฟตามีนปริมาณถึงตามกฎหมายเดิม มาตรา 66 วรรคสาม ที่มีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต ปัญหาดังกล่าวล้วนเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ทั้งเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 213 และมาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์การชำระหนี้ในคดีผู้บริโภค: พยานบุคคลใช้ได้หรือไม่ และการบังคับใช้กฎหมายดอกเบี้ยใหม่
การฟ้องคดีและการพิสูจน์ถึงนิติกรรมสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจอยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 10 วรรคสาม บัญญัติมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 94 แห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับแก่ผู้บริโภคในการฟ้องคดีผู้บริโภค และการพิสูจน์ถึงนิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ จำเลยทั้งสองในฐานะผู้บริโภคจึงนำพยานบุคคลมานำสืบถึงนิติกรรมการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 กระทำต่อโจทก์โดยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของจำเลยร่วมได้ โดยไม่อยู่ในบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง และ ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ก) ที่ห้ามมิให้นำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารเมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2698/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท-โทษยาเสพติด: ศาลฎีกาวินิจฉัยการกระทำความผิดฐานเสพยาเสพติดเป็นกรรมเดียว และใช้กฎหมายยาเสพติดใหม่
การที่จําเลยเสพเมทแอมเฟตามีน ด้วยวิธีเผาลนจนเกิดควันแล้วสูดดมควันเข้าสู่ร่างกาย หลังจากนั้น จําเลยเสพเฮโรอีน โดยนําเฮโรอีนใส่ในอุปกรณ์การเสพผสมกับบุหรี่จุดไฟให้เกิดควันแล้วสูดดมควันเข้าสู่ร่างกายแม้วิธีการเสพจะแตกต่างกัน และโจทก์บรรยายฟ้องแยกเป็นข้อ ๆ ต่างหากจากกัน แต่การเสพเมทแอมเฟตามีนและเสพเฮโรฮีนเป็นความผิดในบทบัญญัติกฎหมายมาตราเดียวกัน จําเลยเสพเมทแอมเฟตามีนแล้วเสพเฮโรอีนในเวลาต่อเนื่องเชื่อมโยงในวาระเดียวกัน ย่อมไม่อาจอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทความผิดอาญาตามกฎหมายใหม่ที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิด และการกำหนดโทษตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 278 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด โดยขณะกระทำความผิด การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตามมาตรา 276 วรรคหนึ่ง (เดิม) เมื่อฐานความผิดตามมาตรา 278 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) ที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องปรับบทความผิดตามกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดตามมาตรา 3 แต่ระวางโทษตามมาตรา 278 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) ที่ใช้ในภายหลังมีระวางโทษเท่ากับมาตรา 276 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้ในขณะกระทำความผิด ในส่วนระวางโทษตามกฎหมายที่ใช้ในภายหลังจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 276 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด
of 27