พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263-264/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินตามหลักฐานหนังสือ การใช้เงินต้องพิสูจน์ตามที่กฎหมายกำหนด
การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น มีบทบัญญัติกฎหมายบังคับไว้เป็นพิเศษ ว่าผู้กู้จะนำสืบการใช้เงินได้เฉพาะเท่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 653 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้นจำเลยจะสืบพยานบุคคลว่าได้ชำระต้นเงินกู้แล้วแต่โจทก์ไม่คืนสัญญากู้ให้ไม่ได้ดังนี้ เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้ต้นเงินตามที่กฎหมายบัญญัติไว้มาแสดงต่อศาลจำเลยก็ต้องแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินต้องลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะบังคับคดีได้
เดิมจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 3,100 บาท และได้ทำหนังสือกู้ให้โจทก์ไว้ ต่อมาจำเลยขอกู้เงินโจทก์อีก 1,400 บาท โจทก์จำเลยขอให้ผู้เขียนสัญญาแก้จำนวนเงินในหนังสือกู้ การเขียนจำนวนเงินกู้เพิ่มลงไปในหนังสือกู้โดยจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในการแก้ไขถือได้ว่าไม่มีหลักฐานลงลายมือชื่อจำเลยจึงใช้ฟ้องร้องบังคับไม่ได้ ส่วนการกู้ครั้งแรกจำนวนเงิน 3,100 บาทนั้น ได้ทำหนังสือกู้และลงลายมือชื่อจำเลยในหนังสือนั้นถูกต้องตามกฎหมาย โจทก์จำเลยขอให้ผู้เขียนสัญญาแก้จำนวนเงิน การแก้ก็คงไม่มีผลให้ฟ้องร้องจำเลยตามที่แก้นั้นเท่านั้น โจทก์จึงยังคงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามหนังสือกู้ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์ดังเดิม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินต้องมีลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
เดิมจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 3,100 บาท และได้ทำหนังสือกู้ให้โจทก์ไว้ ต่อมาจำเลยขอกู้เงินโจทก์อีก 1,400 บาท โจทก์จำเลยขอให้ผู้เขียนสัญญาแก้จำนวนเงินในหนังสือกู้การเขียนจำนวนเงินกู้เพิ่มลงไปในหนังสือกู้โดยจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในการแก้ไข ถือได้ว่าไม่มีหลักฐานลงลายมือชื่อจำเลย จึงใช้ฟ้องร้องบังคับไม่ได้ ส่วนการกู้ครั้งแรกจำนวนเงิน 3,100 บาท นั้น ได้ทำหนังสือกู้และลงลายมือชื่อจำเลยในหนังสือนั้นถูกต้องตามกฎหมายโจทก์จำเลยขอให้ผู้เขียนสัญญาแก้จำนวนเงิน การแก้ก็คงไม่มีผลให้ฟ้องร้องจำเลยตามที่แก้นั้นเท่านั้นโจทก์จึงยังคงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามหนังสือกู้ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์ดังเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109-111/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินจากการเล่นแชร์ แม้เอกสารไม่ติดอากรแสตมป์ ก็ใช้เป็นหลักฐานได้
ฟ้องว่าโจทก์จำเลยและคนอื่นๆ เล่นแชร์เปียหวยกัน โดยมี ส. เป็นนายวง จำเลยประมูลแชร์ไปแล้วและโจทก์ลงแชร์ในเดือนที่จำเลยประมูลไป 2,000 บาท จำเลยได้ทำหนังสือให้โจทก์ยึดถือไว้มีใจความว่า ได้กู้ยืมเงินโจทก์ไป 2,000 บาท ต่อมาแชร์วงนี้เลิกล้มกลางคัน โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระเงินตามสัญญานั้น จำเลยไม่ชำระ ขอให้บังคับให้จำเลยใช้เงิน 2,000 บาทแก่โจทก์ ดังนี้ การที่ศาลวินิจฉัยว่า ส. เป็นตัวแทนของจำเลยไปเก็บเงินจากโจทก์มามอบให้จำเลยตามวิธีการของการเล่นแชร์ เท่ากับจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์แล้วนั้นถือไม่ได้ว่าวินิจฉัยผิดประเด็น
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้อง และตามหนังสือกู้ยืมนั้นแสดงว่าจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์โดยตรง ส่วนนายวงแชร์เป็นเพียงผู้ค้ำประกันเท่านั้นแล้ว เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระเงินให้โจทก์เพราะแชร์ล้มเสียกลางคัน จำเลยก็ต้องใช้เงินให้โจทก์
หนังสือสัญญากู้ซึ่งยังมิได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มีผลเพียงจะนำมาแสดงเป็นพยานหลักฐานให้ศาลรับฟังยังไม่ได้เท่านั้นมิได้หมายความว่าจะใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมไม่ได้ด้วย
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือดังที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 1 นั้นไม่ได้หมายความถึงว่าในขณะยื่นฟ้องจะต้องเป็นหนังสือที่ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ด้วย
โจทก์แนบสำเนาหนังสือสัญญากู้มาท้ายฟ้อง แล้วยื่นต้นฉบับในชั้นพิจารณา เมื่อจำเลยรับว่าต้นฉบับเอกสารนี้เป็นเอกสารของตนจริงแล้วก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยต้นฉบับเอกสารนี้เป็นพยานหลักฐานในคดีอีกฉะนั้น หากว่าเอกสารนี้จะไม่ได้เสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดในการต้องใช้เงินตามเอกสาร
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้อง และตามหนังสือกู้ยืมนั้นแสดงว่าจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์โดยตรง ส่วนนายวงแชร์เป็นเพียงผู้ค้ำประกันเท่านั้นแล้ว เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระเงินให้โจทก์เพราะแชร์ล้มเสียกลางคัน จำเลยก็ต้องใช้เงินให้โจทก์
หนังสือสัญญากู้ซึ่งยังมิได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มีผลเพียงจะนำมาแสดงเป็นพยานหลักฐานให้ศาลรับฟังยังไม่ได้เท่านั้นมิได้หมายความว่าจะใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมไม่ได้ด้วย
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือดังที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 1 นั้นไม่ได้หมายความถึงว่าในขณะยื่นฟ้องจะต้องเป็นหนังสือที่ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ด้วย
โจทก์แนบสำเนาหนังสือสัญญากู้มาท้ายฟ้อง แล้วยื่นต้นฉบับในชั้นพิจารณา เมื่อจำเลยรับว่าต้นฉบับเอกสารนี้เป็นเอกสารของตนจริงแล้วก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยต้นฉบับเอกสารนี้เป็นพยานหลักฐานในคดีอีกฉะนั้น หากว่าเอกสารนี้จะไม่ได้เสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดในการต้องใช้เงินตามเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงิน: สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความระบุผู้กู้ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมตามกฎหมาย แม้ไม่มีลายมือชื่อในสัญญากู้
การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทที่มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญนั้น จะฟ้องร้องผู้กู้ให้บังคับคดีไม่ได้เท่านั้น ไม่ได้หมายความเลยไปว่าหนี้แห่งการกู้ยืมจะเป็นโมฆะไปด้วย ยังคงเป็นหนี้ที่สมบูรณ์ที่อาจมีการค้ำประกันกันได้ตามมาตรา 681
การที่ผู้กู้เป็นผู้เขียนสัญญาค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันทำให้ไว้แก้ผู้ให้กู้ มีข้อความแสดงว่าผู้กู้เป็นผู้กู้เงินของผู้ให้กู้ไป และผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้เขียนด้วยนั้น ถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามความหมายของมาตรา 653 แล็ว.
การที่ผู้กู้เป็นผู้เขียนสัญญาค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันทำให้ไว้แก้ผู้ให้กู้ มีข้อความแสดงว่าผู้กู้เป็นผู้กู้เงินของผู้ให้กู้ไป และผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้เขียนด้วยนั้น ถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามความหมายของมาตรา 653 แล็ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงิน - สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความระบุการกู้ยืม ถือเป็นหลักฐานได้ แม้ผู้กู้ไม่ลงลายมือชื่อในสัญญา
การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทที่มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญนั้น จะฟ้องร้องผู้กู้ให้บังคับคดีไม่ได้เท่านั้นไม่ได้หมายความเลยไปว่า หนี้แห่งการกู้ยืมจะเป็นโมฆะไปด้วยยังคงเป็นหนี้ที่สมบูรณ์ที่อาจมีการค้ำประกันได้ตามมาตรา 681
การที่ผู้กู้เป็นผู้เขียนสัญญาค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันทำให้ไว้แก่ผู้ให้กู้ มีข้อความแสดงว่าผู้กู้เป็นผู้กู้เงินของผู้ให้กู้ไป และผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้เขียนด้วยนั้นถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามความหมายของมาตรา 653 แล้ว
การที่ผู้กู้เป็นผู้เขียนสัญญาค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันทำให้ไว้แก่ผู้ให้กู้ มีข้อความแสดงว่าผู้กู้เป็นผู้กู้เงินของผู้ให้กู้ไป และผู้กู้ได้ลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้เขียนด้วยนั้นถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามความหมายของมาตรา 653 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีกู้ยืมเงินที่มีการแก้ไขจำนวนเงินในสัญญา หากไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยประเด็นเดิม
โจทก์ฟ้องจำเลยกู้เงิน 22,500 บาทจำเลยปฏิเสธว่า ไม่ได้กู้ สัญญากู้ปลอม ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกู้จริง 2,500 บาท ส่วนเลข 2 และคำว่า สองหมื่น โจทก์เติมลงไป จึงให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 2,500 บาท โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิด 22,500 บาท จำเลยฎีกาศาลฎีกาฟังว่ามีการตกเติมจำนวนเงินให้มากขึ้นจริง แต่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยรับผิด 2,500 บาท จึงไม่มีประเด็นสำหรับเงินจำนวนนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราไม่จำกัดเฉพาะตอนกู้ยืม การคิดดอกเบี้ยเพิ่มภายหลังก็ผิดได้
การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายห้ามนั้น หาใช่จะเป็นความผิดเฉพาะการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราในขณะที่กู้ยืมเงินกันไม่ การเรียกภายหลังการกู้ยืมเงินก็เป็นความผิด
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลย คิดดอกเบี้ยชั่งละบาทต่อเดือน ต่อมาจำเลยคิดดอกเบี้ยที่ค้าง 16 เดือน เป็นจำนวนเกินอัตราไป 480 บาท ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3,4 ดังนี้ ศาลจะมีคำสั่งที่คำฟ้องว่ายกฟ้องเสียเลยทีเดียวหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลย คิดดอกเบี้ยชั่งละบาทต่อเดือน ต่อมาจำเลยคิดดอกเบี้ยที่ค้าง 16 เดือน เป็นจำนวนเกินอัตราไป 480 บาท ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3,4 ดังนี้ ศาลจะมีคำสั่งที่คำฟ้องว่ายกฟ้องเสียเลยทีเดียวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราหลังกู้ยืมเงินเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายห้ามนั้น หาใช่จะเป็นความผิดเฉพาะการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราในขณะที่กู้ยืมเงินกันไม่ การเรียกภายหลังการกู้ยืมเงินก็เป็นความผิด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลย คิดดอกเบี้ยชั่งละบาทต่อเดือน ต่อมาจำเลยคิดดอกเบี้ยที่ค้าง 16 เดือนเป็นจำนวนเกินอัตราไป 480 บาท ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3,4 ดังนี้ ศาลจะมีคำสั่งที่คำฟ้องว่ายกฟ้องเสียเลยทีเดียวหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลย คิดดอกเบี้ยชั่งละบาทต่อเดือน ต่อมาจำเลยคิดดอกเบี้ยที่ค้าง 16 เดือนเป็นจำนวนเกินอัตราไป 480 บาท ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3,4 ดังนี้ ศาลจะมีคำสั่งที่คำฟ้องว่ายกฟ้องเสียเลยทีเดียวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการชำระหนี้จากการกู้ยืมเงิน ไม่จำเป็นต้องเป็นใบรับเงินโดยเฉพาะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรค 2 มิได้บังคับว่าจะต้องมีใบรับเงินมาแสดง
เอกสารมีความว่า เรียนครูที่เคารพนับถืออันสูง กระผมได้ฝากนมมาให้ 1 โหล ราคา 44 บาท โปรดทราบเงินฝากไป 9,400 บาท กระผมได้รับและลงบัญชีไว้เรียบร้อยแล้ว ท้ายข้อความเป็นคำลงท้ายของหนังสือ วันเดือนปี และเซ็นชื่อโจทก์ ดังนี้เห็นได้ว่า เป็นจดหมายธุรกิจ เลยกล่าวถึงเงินที่จำเลยฝากไปให้โจทก์แล้วด้วย ไม่มีลักษณะเป็นใบรับเงินโดยเฉพาะ และตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 105 การรับเงินเช่นนี้ (ลูกหนี้ฝากเงินมาชำระหนี้เงินกู้) ก็มิได้บังคับว่าจะต้องออกใบรับเงินประการใดหนังสือฉบับนี้เป็นหลักฐานตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา653 บังคับไว้เท่านั้น แม้จะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ฟังเป็นหลักฐานประกอบข้อเท็จจริงได้ว่า จำเลยได้ชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว
เอกสารมีความว่า เรียนครูที่เคารพนับถืออันสูง กระผมได้ฝากนมมาให้ 1 โหล ราคา 44 บาท โปรดทราบเงินฝากไป 9,400 บาท กระผมได้รับและลงบัญชีไว้เรียบร้อยแล้ว ท้ายข้อความเป็นคำลงท้ายของหนังสือ วันเดือนปี และเซ็นชื่อโจทก์ ดังนี้เห็นได้ว่า เป็นจดหมายธุรกิจ เลยกล่าวถึงเงินที่จำเลยฝากไปให้โจทก์แล้วด้วย ไม่มีลักษณะเป็นใบรับเงินโดยเฉพาะ และตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 105 การรับเงินเช่นนี้ (ลูกหนี้ฝากเงินมาชำระหนี้เงินกู้) ก็มิได้บังคับว่าจะต้องออกใบรับเงินประการใดหนังสือฉบับนี้เป็นหลักฐานตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา653 บังคับไว้เท่านั้น แม้จะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ฟังเป็นหลักฐานประกอบข้อเท็จจริงได้ว่า จำเลยได้ชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว