พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง: ความรับผิดชอบของคู่สัญญา, การแก้ไขงาน, และการชดใช้ค่าก่อสร้างเมื่อเลิกสัญญา
จำเลยจ้างโจทก์ก่อสร้างตึกแถว เมื่อจำเลย หรือ ฟ.พบเห็นสิ่งใดโจทก์ทำไว้บกพร่องได้ทักท้วงบอกให้แก้ ได้ตกลงกันทำบันทึกระบุวิธีแก้ไข ดังนี้ ย่อมมีผลว่าเรื่องที่ให้ทักท้วงตกลงกันไปแล้วก็เป็นอันเป็นไปตามข้อตกลงใหม่ แต่ข้อบกพร่องอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้พูดถึงจะถือว่าจำเลยยอมรับเอาทุกอย่างหาได้ไม่ จะเอาการที่ ฟ.ทักท้วงหรือไม่มาผูกมัดจำเลยไม่ได้เพราะ ฟ.เป็นเพียงผู้ที่จำเลยให้มาช่วยตรวจดูงานก่อสร้าง ไม่ใช่มาเป็นตัวแทนรับมอบงาน โจทก์ยังคงต้องรับผิดอยู่ เมื่อจำเลยบอกให้แก้ไขแล้วไม่แก้ไข ย่อมผิดสัญญา
อนึ่ง โจทก์เป็นช่างก่อสร้าง เอาแบบแปลนที่เขียนขึ้นเคร่า ๆ ไม่มีรายละเอียดให้ก่อสร้างได้สะดวกมาต่อท้ายสัญญาจ้าง โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายไม่สุจริตไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยผู้ว่าจ้าง แต่การที่จำเลยเข้าทำสัญญาจ้างโดยไม่พิจารณาว่าแบบแปลนใช้ก่อสร้างได้หรือไม่ เพราะรายละเอียดมีไม่พอ
เป็นเหตุให้ต้องบอกโจทก์แก้ไขเพิ่มเติมสิ่งก่อสร้างบ่อย ๆ ถือว่าจำเลยมีส่วนผิดอยู่ด้วย จำเลยเป็นผู้ไม่สุจริต มีส่วนผิดที่ต้องเลิกสัญญา จำเลยจึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหาย เพราะโจทก์ก่อสร้างไม่สำเร็จได้
โจทก์จำเลยต่างมีส่วนผิด บอกเลิกสัญญากันไปแล้ว การก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนลงแรงไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 เมื่อเลิกสัญญากัน ให้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนการงานอันได้กระทำให้ ก็ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ การจะให้โจทก์รื้อสัมภาระของโจทก์ไปย่อมเสียหายแก่โจทก์มาก การก่อสร้างที่ทำไปแล้ว ใช่ว่าใช้ไม่ได้เสียหายทีเดียว จำเลยยังอาจแก้ไขทำต่อใช้ประโยชน์ได้ จึงให้จำเลยรับเอาสิ่งปลูกสร้าง และค่าการงานชดใช้แก่โจทก์
อนึ่ง โจทก์เป็นช่างก่อสร้าง เอาแบบแปลนที่เขียนขึ้นเคร่า ๆ ไม่มีรายละเอียดให้ก่อสร้างได้สะดวกมาต่อท้ายสัญญาจ้าง โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายไม่สุจริตไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยผู้ว่าจ้าง แต่การที่จำเลยเข้าทำสัญญาจ้างโดยไม่พิจารณาว่าแบบแปลนใช้ก่อสร้างได้หรือไม่ เพราะรายละเอียดมีไม่พอ
เป็นเหตุให้ต้องบอกโจทก์แก้ไขเพิ่มเติมสิ่งก่อสร้างบ่อย ๆ ถือว่าจำเลยมีส่วนผิดอยู่ด้วย จำเลยเป็นผู้ไม่สุจริต มีส่วนผิดที่ต้องเลิกสัญญา จำเลยจึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหาย เพราะโจทก์ก่อสร้างไม่สำเร็จได้
โจทก์จำเลยต่างมีส่วนผิด บอกเลิกสัญญากันไปแล้ว การก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนลงแรงไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 เมื่อเลิกสัญญากัน ให้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนการงานอันได้กระทำให้ ก็ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ การจะให้โจทก์รื้อสัมภาระของโจทก์ไปย่อมเสียหายแก่โจทก์มาก การก่อสร้างที่ทำไปแล้ว ใช่ว่าใช้ไม่ได้เสียหายทีเดียว จำเลยยังอาจแก้ไขทำต่อใช้ประโยชน์ได้ จึงให้จำเลยรับเอาสิ่งปลูกสร้าง และค่าการงานชดใช้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ว่าจ้าง, การเลิกสัญญา, ค่าชดใช้การงาน
จำเลยจ้างโจทก์ก่อสร้างตึกแถว เมื่อจำเลย หรือ ฟ. พบเห็นสิ่งใดโจทก์ทำไว้บกพร่องได้ทักท้วงบอกให้แก้ ได้ตกลงกันทำบันทึกระบุวิธีแก้ไขดังนี้ ย่อมมีผลว่าเรื่องที่ได้ทักท้วงตกลงกันไปแล้วก็เป็นอันเป็นไปตามข้อตกลงใหม่ แต่ข้อบกพร่องอื่นๆ ที่ยังไม่ได้พูดถึงจะถือว่าจำเลยยอมรับเอาทุกอย่างหาได้ไม่จะเอาการที่ ฟ. ทักท้วงหรือไม่มาผูกมัดจำเลยไม่ได้เพราะ ฟ. เป็นเพียงผู้ที่จำเลยให้มาช่วยตรวจดูงานก่อสร้างไม่ใช่มาเป็นตัวแทนรับมอบงานโจทก์ยังคงต้องรับผิดอยู่ เมื่อจำเลยบอกให้แก้ไขแล้วไม่แก้ไข ย่อมผิดสัญญา
อนึ่ง โจทก์เป็นช่างก่อสร้าง เอาแบบแปลนที่เขียนขึ้นเคร่าๆ ไม่มีรายละเอียดให้ก่อสร้างได้สะดวกมาต่อท้ายสัญญาจ้างโจทก์ย่อมเป็นฝ่ายไม่สุจริตไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยผู้ว่าจ้างแต่การที่จำเลยเข้าทำสัญญาจ้างโดยไม่พิจารณาว่าแบบแปลนใช้ก่อสร้างได้หรือไม่ เพราะรายละเอียดมีไม่พอ เป็นเหตุให้ต้องบอกโจทก์แก้ไขเพิ่มเติมสิ่งก่อสร้างบ่อยๆถือว่าจำเลยมีส่วนผิดอยู่ด้วยจำเลยเป็นผู้ไม่สุจริต มีส่วนผิดที่ต้องเลิกสัญญา จำเลยจึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเพราะโจทก์ก่อสร้างไม่สำเร็จได้
โจทก์จำเลยต่างมีส่วนผิด บอกเลิกสัญญากันไปแล้ว การก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนลงแรงไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391เมื่อเลิกสัญญากัน ให้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมส่วนการงานอันได้กระทำให้ ก็ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆการจะให้โจทก์รื้อสัมภาระของโจทก์ไปย่อมเสียหายแก่โจทก์มาก การก่อสร้างที่ทำไปแล้วใช่ว่าใช้ไม่ได้เสียหายทีเดียวจำเลยยังอาจแก้ไขทำต่อใช้ประโยชน์ได้ จึงให้จำเลยรับเอาสิ่งปลูกสร้าง และค่าการงานชดใช้แก่โจทก์
อนึ่ง โจทก์เป็นช่างก่อสร้าง เอาแบบแปลนที่เขียนขึ้นเคร่าๆ ไม่มีรายละเอียดให้ก่อสร้างได้สะดวกมาต่อท้ายสัญญาจ้างโจทก์ย่อมเป็นฝ่ายไม่สุจริตไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างจากจำเลยผู้ว่าจ้างแต่การที่จำเลยเข้าทำสัญญาจ้างโดยไม่พิจารณาว่าแบบแปลนใช้ก่อสร้างได้หรือไม่ เพราะรายละเอียดมีไม่พอ เป็นเหตุให้ต้องบอกโจทก์แก้ไขเพิ่มเติมสิ่งก่อสร้างบ่อยๆถือว่าจำเลยมีส่วนผิดอยู่ด้วยจำเลยเป็นผู้ไม่สุจริต มีส่วนผิดที่ต้องเลิกสัญญา จำเลยจึงไม่อาจฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเพราะโจทก์ก่อสร้างไม่สำเร็จได้
โจทก์จำเลยต่างมีส่วนผิด บอกเลิกสัญญากันไปแล้ว การก่อสร้างที่โจทก์ลงทุนลงแรงไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391เมื่อเลิกสัญญากัน ให้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมส่วนการงานอันได้กระทำให้ ก็ให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆการจะให้โจทก์รื้อสัมภาระของโจทก์ไปย่อมเสียหายแก่โจทก์มาก การก่อสร้างที่ทำไปแล้วใช่ว่าใช้ไม่ได้เสียหายทีเดียวจำเลยยังอาจแก้ไขทำต่อใช้ประโยชน์ได้ จึงให้จำเลยรับเอาสิ่งปลูกสร้าง และค่าการงานชดใช้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบในการก่อสร้างตึกเมื่อสัญญาเช่าระบุสถานะ 'กำลังก่อสร้าง' และการขาดเงินทุนของผู้รับเหมา
จำเลยทำสัญญากับ ว.และท. ให้คนทั้งสองออกทุนทำการก่อสร้างตึกแถวลงบนที่ดินของจำเลย. จำเลยยอมให้ผู้ก่อสร้างนำอาคารออกเรียกเงินกินเปล่า. และจำเลยจะทำสัญญาให้เช่าแก่บุคคลที่ผู้รับก่อสร้างนำมา. ต่อมาด้วยความยินยอมของ ว.และท.. จำเลยนำอาคารที่กำลังก่อสร้างมาให้โจทก์เช่า เนื่องจาก ว.และท.ขาดเงินที่จะใช้ทำการก่อสร้างต่อไป. ว.และท.จึงกู้เงินโจทก์ 200,000บาท. โจทก์เกี่ยงจะได้หลักประกัน. ในที่สุดได้มีการโอนสิทธิการเช่าตึก 10 ห้องที่ยังสร้างไม่เสร็จให้โจทก์. โดยวิธีให้โจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลยโดยตรง. การที่จำเลยยอมทำสัญญาเช่ากับโจทก์โดยสัญญาระบุไว้ว่า เช่าตึกแถวที่กำลังก่อสร้าง. เป็นการยืนยันให้เห็นว่าจำเลยไม่รับรู้ในเรื่องที่ว่าจะได้มีการก่อสร้างตึกให้แล้วเสร็จหรือไม่. ทั้งในสัญญาเช่าก็ไม่ได้ระบุว่าถ้าตึกสร้างไม่เสร็จจะมีผลประการใด. การที่ตึกแถวสร้างไม่แล้วเสร็จ. ไม่ใช่ความผิดของจำเลย. โจทก์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทน ตัวการ และความรับผิดชอบในสัญญาประมูลก่อสร้าง
บริษัทจำเลยยอมให้โจทก์ยืมชื่อไปทำการประมูล เมื่อโจทก์ประมูลได้ บริษัทจำเลยยังถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของงานอยู่ ทั้งในการให้โจทก์เอาชื่อบริษัทจำเลยไปประมูลบริษัทจำเลยคิดเอาผลประโยชน์จากโจทก์ ดังนั้นการที่บริษัทจำเลยทำสัญญารับเหมากับการรถไฟจึงเป็นการออกหน้าเป็นตัวการ ทำสัญญาแทนโจทก์ โดยแสดงตนต่อการรถไฟว่าบริษัทจำเลยเป็นคู่สัญญา แท้จริงแล้วเป็นเพียงทำสัญญาแทนโจทก์เท่านั้น เมื่อบริษัทจำเลยเป็นเพียงตัวแทนโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเอางานนี้ซึ่งเป็นของโจทก์มาทำสัญญาเป็นผู้จ้างให้โจทก์ผู้เป็นตัวการกลับกลายเป็นผู้รับจ้าง แม้โจทก์ลงนามในสัญญารับเหมาช่วง ก็หามีผลทำให้โจทก์กลับกลายเป็นผู้รับจ้างไปไม่ บริษัทจำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อโจทก์ในฐานเป็นตัวแทนของโจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จ การรถไฟรับมอบงานและจ่ายเงินให้บริษัทจำเลยรับมา จำเลยจึงมีหน้าที่ส่งเงินนั้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 การที่บริษัทจำเลยรับเงินที่โจทก์ทำงานเสร็จจากการรถไฟถือว่ารับมาแทนโจทก์บริษัทจำเลยไม่ส่งมอบเงินนั้นให้โจทก์ โจทก์ไม่สามารถทำงานงวดต่อไปได้ เป็นเหตุให้บริษัทจำเลยถูกการรถไฟปรับจึงเกิดจากความผิดของบริษัทจำเลยเอง บริษัทจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงินที่ถูกปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 เมื่อบริษัทจำเลยเสียค่าปรับให้การรถไฟไปแล้วจึงเรียกคืนจากโจทก์ไม่ได้.
โจทก์ซึ่งเป็นตัวการและบริษัทจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตกลงกันว่า โจทก์ทำงานงวดใดเสร็จ ก็ให้บริษัทจำเลยส่งมอบงานนั้นแก่การรถไฟผู้ว่าจ้าง เพื่อขอรับเงินตามสัญญา แต่ตามสัญญากำหนดการจ่ายเงินไว้เป็นงวดๆ เมื่อทำเสร็จและการรถไฟรับมอบงานแล้ว การคิดผลประโยชน์ให้บริษัทจำเลยจึงคิดให้เมื่อโจทก์รับเงินมาแต่ละงวด หาได้คิดให้ในคราวเดียวกัน จำนวนรวมกัน 5% ของเงินที่ประมูลไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จงวดที่ 1 ได้รับเงินมาเพียงงวดเดียวก็ต้องเลิกทำ เพราะบริษัทจำเลยเป็นต้นเหตุ ไม่มอบเงินให้ บริษัทจำเลยจึงเรียกเอาได้เฉพาะ5% ของเงินงวดที่ 1 ที่ได้รับมาแล้ว จะเรียกเอา 5% ของเงินที่ยังไม่ได้รับมาจากการรถไฟหาได้ไม่
หนี้เงินซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะหักกันไม่ได้
โจทก์ซึ่งเป็นตัวการและบริษัทจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตกลงกันว่า โจทก์ทำงานงวดใดเสร็จ ก็ให้บริษัทจำเลยส่งมอบงานนั้นแก่การรถไฟผู้ว่าจ้าง เพื่อขอรับเงินตามสัญญา แต่ตามสัญญากำหนดการจ่ายเงินไว้เป็นงวดๆ เมื่อทำเสร็จและการรถไฟรับมอบงานแล้ว การคิดผลประโยชน์ให้บริษัทจำเลยจึงคิดให้เมื่อโจทก์รับเงินมาแต่ละงวด หาได้คิดให้ในคราวเดียวกัน จำนวนรวมกัน 5% ของเงินที่ประมูลไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จงวดที่ 1 ได้รับเงินมาเพียงงวดเดียวก็ต้องเลิกทำ เพราะบริษัทจำเลยเป็นต้นเหตุ ไม่มอบเงินให้ บริษัทจำเลยจึงเรียกเอาได้เฉพาะ5% ของเงินงวดที่ 1 ที่ได้รับมาแล้ว จะเรียกเอา 5% ของเงินที่ยังไม่ได้รับมาจากการรถไฟหาได้ไม่
หนี้เงินซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะหักกันไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาที่ไม่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา, การคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้า, ความรับผิดของห้างหุ้นส่วน
โจทก์ตกลงจ้างจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้มีการรับอนุญาตจากเทศบาล ถ้าหากจำเลยทำการก่อสร้างโดยไม่ขออนุญาตเสียก่อน ข้อสัญญานี้ก็หาคุ้มครองให้จำเลยพ้นความผิดในฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่รับอนุญาตอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ไม่ เหตุนี้ การที่จำเลยมิได้เริ่มลงมือก่อสร้างตามกำหนด เพราะมิได้รับอนุญาตจากเทศบาล โจทก์จะอ้างว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะไม่ชำระหนี้ตามเวลากำหนดหาได้ไม่ เพราะตามข้อกำหนดมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่จำเลยต้องจัดให้ได้รับอนุญาตเพื่อทำการก่อสร้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยไม่ก่อสร้างตามสัญญา เมื่อจำเลยไม่ทำการก่อสร้าง เพราะไม่มีใบอนุญาต จำเลยจะเอาเงินค่าจ้างล่วงหน้าไว้ไม่ได้ ต้องคืนให้โจทก์ผู้ว่าจ้าง แต่จำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยในเงินจำนวนนี้ตั้งแต่วันฟ้อง มิใช่ตั้งแต่วันที่รับเงินนั้นไปจากโจทก์ เพราะมิใช่กรณีที่จำเลยทำผิดสัญญา อันโจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้
เมื่อการก่อสร้างมิได้กระทำลง เพราะต่างก็ตกลงกันจะทำโดยไม่ขอรับอนุญาตจากเทศบาล จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีมูลหนี้อย่างใดที่จะอ้างให้โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยอ้างว่าได้รับนั้น
จำเลยทำสัญญารับจ้างโดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลย แต่ได้ขีดฆ่าชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการผู้หนึ่งออกจากแบบพิมพ์สัญญา ข้อความในสัญญายังมีความชัดอยู่ว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง หาได้ขีดฆ่าข้อความตอนนี้ออกด้วยไม่ พฤติการณ์ที่ปรากฏจึงเป็นการที่ห้างหุ้นส่วนจำเลยแสดงออกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยต้องรับผิดในการที่หุ้นส่วนผู้จัดการได้รับเงินของโจทก์ไว้
เมื่อการก่อสร้างมิได้กระทำลง เพราะต่างก็ตกลงกันจะทำโดยไม่ขอรับอนุญาตจากเทศบาล จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีมูลหนี้อย่างใดที่จะอ้างให้โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยอ้างว่าได้รับนั้น
จำเลยทำสัญญารับจ้างโดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลย แต่ได้ขีดฆ่าชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการผู้หนึ่งออกจากแบบพิมพ์สัญญา ข้อความในสัญญายังมีความชัดอยู่ว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง หาได้ขีดฆ่าข้อความตอนนี้ออกด้วยไม่ พฤติการณ์ที่ปรากฏจึงเป็นการที่ห้างหุ้นส่วนจำเลยแสดงออกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยต้องรับผิดในการที่หุ้นส่วนผู้จัดการได้รับเงินของโจทก์ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตปลูกอาคารชิดเขตที่ดิน: กฎหมายไม่ได้คุ้มครองราคาที่ดินหรือห้ามก่อสร้างใกล้เขต
การที่เทศบาลอนุญาตให้จำเลยปลูกอาคารชิดแนวเขตที่ดินของโจทก์โดยไม่เว้นระยะ 50 เซนติเมตร อันเป็นการฝ่าฝืนเทศบัญญัตินั้น เทศบัญญัตินี้มิได้บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ที่ดินข้างเคียงราคาตกต่ำและมิใช่กฎหมายที่ประสงค์จะปกป้องโจทก์ จะถือว่าการฝ่าฝืนกฎหมายนั้นเป็นการทำให้โจทก์เสียหายโดยผิดกฎหมายเพราะเหตุนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422 ยังมิได้ การกระทำของเทศบาลยังไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 มิได้บัญญัติถึงกับให้เจ้าของที่ดินติดต่อต้องงดเว้นไม่ก่อสร้างสิ่งใดลงใกล้แนวเขตที่ดินเสียเลยและตลอดไป
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1351 มิได้บัญญัติถึงกับให้เจ้าของที่ดินติดต่อต้องงดเว้นไม่ก่อสร้างสิ่งใดลงใกล้แนวเขตที่ดินเสียเลยและตลอดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586-600/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องเช็คประกันการก่อสร้าง การแจ้งความเท็จ และความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างอาคารและจ่ายเงินให้โจทก์นำไปใช้ในการก่อสร้างโดยให้โจทก์ออกเช็คไว้ให้เป็นประกันก่อสร้างโดยเป็นที่เข้าใจกันว่าจะบังคับใช้ให้มีการจ่ายเงินตามเช็คได้ต่อเมื่อได้ติดบัญชีหักทอนกันก่อน แต่ต่อมาโจทก์จำเลยผิดใจกัน จำเลยนำเช็คเข้าบัญชีธนาคาร ๆ ปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยก็ไปแจ้งความตำรวจหาว่าโจทก์ทำผิดอาญาโดยกู้ยืมเงินไปแล้วออกเช็คไว้ให้ไม่มีเงินพอจ่าย ทั้งนี้โดยไม่ได้คิดบัญชีกันเลย ดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ ส่วนโจทก์ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2504
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2504
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947-958/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินวัดโดยปริยายเพื่อขยายถนนหลวง การก่อสร้างในเขตทางหลวงโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิด
การที่วัดได้ยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งได้ใช้เป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัด และเมื่อทางหลวงนี้เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน กรณีจึงเป็นว่า วัดได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยาย ให้เป็นทางหลวง
การอุทิศของวัดเช่นนี้มิได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 เพราะกรณีเช่นนี้ ไม่เข้าลักษณะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายนั้นระบุไว้ ฉะนั้น การที่จำเลยปลูกปักอาคารลงในเขตทางหลวงโดยมิได้รับอนุญาต ก็ย่อมเป็นความผิดตามกฎหมาย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2503)
การอุทิศของวัดเช่นนี้มิได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 เพราะกรณีเช่นนี้ ไม่เข้าลักษณะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายนั้นระบุไว้ ฉะนั้น การที่จำเลยปลูกปักอาคารลงในเขตทางหลวงโดยมิได้รับอนุญาต ก็ย่อมเป็นความผิดตามกฎหมาย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการทรัพย์สินของวัด และอำนาจฟ้องร้อง กรณีการก่อสร้างที่ไม่ได้รับอนุญาต
วัดซึ่งเป็นนิติบุคคลย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สมบัติของวัดได้ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 43 แต่ศาสนสมบัติของวัดก็ต้องเป็นไปตามระเบียบซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ตราไว้ด้วยความเห็นชอบของคณะสังฆมนตรีตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 49
ฟ้องว่าวัดโจทก์จ้างผู้รับเหมาปลูกสร้างตึกแถวในที่ดินของวัด ระหว่างก่อสร้างจำเลยเข้าดำเนินงานก่อสร้างเอง โดยโจทก์ไม่ยินยอม เมื่อจำเลยต่อสู้ว่า จำเลยมีอำนาจจัดการได้ตามกฎหมาย ตามระเบียบการจัดประโยชน์ศาสนสมบัติ และต่อสู้ว่า จำเลยทำตามคำสั่งของสังฆายกและสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของเจ้าอาวาสวัดโจทก์ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไปและโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยลำพังได้
ฟ้องว่าวัดโจทก์จ้างผู้รับเหมาปลูกสร้างตึกแถวในที่ดินของวัด ระหว่างก่อสร้างจำเลยเข้าดำเนินงานก่อสร้างเอง โดยโจทก์ไม่ยินยอม เมื่อจำเลยต่อสู้ว่า จำเลยมีอำนาจจัดการได้ตามกฎหมาย ตามระเบียบการจัดประโยชน์ศาสนสมบัติ และต่อสู้ว่า จำเลยทำตามคำสั่งของสังฆายกและสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของเจ้าอาวาสวัดโจทก์ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไปและโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยลำพังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการทรัพย์สินวัด และสิทธิในการฟ้องคดีละเมิดต่อการก่อสร้างที่ไม่ได้รับอนุญาต
วัดซึ่งเป็นนิติบุคคลย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สมบัติของวัดได้ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 มาตรา 43 แต่ศาสนสมบัติของวัดก็ต้องเป็นไปตามระเบียบซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ตราไว้ด้วยความเห็นชอบของคณะสังฆมนตรีตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 มาตรา 49
ฟ้องว่าวัดโจทก์จ้างผู้รับเหมาปลูกสร้างตึกแถวในที่ดินของวัดระหว่างก่อสร้างจำเลยเข้าดำเนินงานก่อสร้างเอง โดยโจทก์ไม่ยินยอม เมื่อจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยมีอำนาจจัดการได้ตามกฎหมาย ตามระเบียบการจัดประโยชน์ศาสนสมบัติและต่อสู้ว่าจำเลยทำตามคำสั่งของสังฆนายกและสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของเจ้าอาวาสวัดโจทก์ ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไปและโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยลำพังได้ ไม่จำเป็นต้องฟ้องสังฆนายกหรือสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองด้วย
ฟ้องว่าวัดโจทก์จ้างผู้รับเหมาปลูกสร้างตึกแถวในที่ดินของวัดระหว่างก่อสร้างจำเลยเข้าดำเนินงานก่อสร้างเอง โดยโจทก์ไม่ยินยอม เมื่อจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยมีอำนาจจัดการได้ตามกฎหมาย ตามระเบียบการจัดประโยชน์ศาสนสมบัติและต่อสู้ว่าจำเลยทำตามคำสั่งของสังฆนายกและสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของเจ้าอาวาสวัดโจทก์ ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไปและโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยลำพังได้ ไม่จำเป็นต้องฟ้องสังฆนายกหรือสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองด้วย