คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คุ้มครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าพื้นที่ใช้เก็บไม้ ไม่เป็นที่อยู่อาศัย ไม่คุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
จำเลยได้เช่าอาคารฉะเพาะกองไม้กระดานเพื่อจำหน่าย ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าคุ้มครองผู้เช่าแม้ไม่มีสัญญาเป็นหนังสือ ศาลยกฟ้องกรณีฟ้องขับไล่
พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ เป็นบทบัญญัติให้ประโยชน์แก่ผู้เช่าโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าสัญญาเช่าทำเป็นหนังสือหรือไม่ จึงเป็นบทยกเว้นของ ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 538 ฉเพาะในกรณีที่เข้า พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่เป็นหนังสือและกฎหมายควบคุมค่าเช่า: การคุ้มครองผู้เช่า
พระราชบัญญัติ ควบคุมค่าเช่าฯเป็นบทบัญญัติให้ประโยชน์แก่ผู้เช่าโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าสัญญาเช่าทำเป็นหนังสือหรือไม่ จึงเป็นบทยกเว้นของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 เฉพาะในกรณีที่เข้า พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าก่อนมี พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า และผิดนัดชำระค่าเช่า ไม่ได้รับการคุ้มครอง
ยกเลิกสัญญาเช่าเกิดขึ้นก่อนวันใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน และเป็นการผิดนัดไม่ส่งค่าเช่า ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าทรัพย์เพื่อทำการค้า การขึ้นค่าเช่า และการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้ขับไล่โดยผู้เช่า กล่าวเพียงว่า จำเลยทำการค้าขาย โจทก์ย่อมสืบได้ว่า จำเลยทำการค้าในสถานที่เช่าอย่างไรเพียงใด ไม่เป็นการสืบนอกประเด็น แม้จะมิได้กล่าวในคำฟ้อง ว่าจำเลยทำการค้าเป็นส่วนใหญ่ก็นำสืบได้ เมื่อจำเลยโต้เถียงขึ้นมา
ฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่มีคำขอนั้น ข้อความในฟ้องอุทธรณ์นั้นย่อมเข้าใจได้โดยปริยายว่า มีความมุ่งหมายให้ศาลอุทธรณ์บังคับตามคำฟ้องและคำขอบังคับเดิม ฟ้ออุทธรณ์นั้นย่อมใช้ได้
โจทก์จำเลยตกลขึ้นค่าเช่ากันก่อนใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ปี 2489 และการขึ้นค่าเช่านี้ไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าที่ใช้อยู่ในเวลานั้น คือ ฉะบับปี 2486 - 2488 ดังนี้ จะยกเอา พ.ร.บ.ฉะบับปี 2490 มาใช้บังคับไม่ได้ และแม้การค้างชำระค่าเช่าเกินกว่า 2 คราวติด ๆ กัน จะเกิดขึ้นภายหลังที่ใช้ พ.ร.บ. ปี 2489 แล้วพ.ร.บ. ปี 2490 ก็ไม่คุ้มครองในกรณีค้างชำระค่าเช่า เช่นนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกของผู้ร้องสอดที่ถูกละเลย: ศาลต้องคุ้มครองก่อนพิพากษาคดี
ผู้ร้องยื่นคำร้องเข้ามาเพื่อขอให้ได้รับความคุ้มครองสิทธิในการรับมฤดกของผู้ร้องตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 57 (1) ซึ่งบัญญัติให้บุคคลที่ 3 ไดรับความคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่โดยทันที ไม่จำต้องฟ้องคดีหลายเรื่อง และไม่จักต้องได้รับความยินยอมจากคู่ความ เช่นอนุมาตรา 2 แม้+จะคัดค้านศาลก็สั่งอนุญาตได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมฤดกและผู้รับมฤดกของภริยาผู้วายชนม์ ผู้ร้องสอด ผู้เป็นมารดาผู้ตายร้องสอดว่า โจทก์จำเลยสมยอมสร้างหนี้สินขึ้นโดยไม่เป็นความจริง ทำให้ผู้ร้องสอดเสียหาย เนื่องจากผู้ร้องสอดกำลังฟ้องจำเลยเรียกทรัพย์มฤดกรายนี้อยู่ ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องสอดเสีย แล้วดำเนินคดีไปพิพากษาให้จำเลยในส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการและรับมฤดกนางเลี๊ยบ ใช้ต้นเงินและดอกเบี้ย+โจทก์ตามฟ้องดังนี้ เมื่อผู้ร้องสอดอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นขึ้นมา ศาลสูง+อำนาจยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปความได้ ตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 243(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับมรดกในการคุ้มครองจากหนี้สินที่สร้างขึ้นโดยสมยอม
ผู้ร้องยื่นคำร้องเข้ามาเพื่อขอให้ได้รับความคุ้มครองสิทธิในการรับมรดกของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งบัญญัติให้บุคคลที่ 3 ได้รับความคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่โดยทันทีไม่จำต้องฟ้องคดีหลายเรื่องและไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากคู่ความเช่นอนุมาตรา 2 แม้คู่ความจะคัดค้าน ศาลก็สั่งอนุญาตได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกและผู้รับมรดกของภริยาผู้วายชนม์ผู้ร้องสอดผู้เป็นมารดาผู้ตายผู้ร้องสอดว่าโจทก์จำเลยสมยอมสร้างหนี้สินขึ้นโดยไม่เป็นความจริง ทำให้ผู้ร้องสอดเสียหายเนื่องจากผู้ร้องสอดกำลังฟ้องจำเลยเรียกทรัพย์มรดกรายนี้อยู่ ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องสอดเสีย แล้วดำเนินคดีไปพิพากษาให้จำเลยในส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการและรับมรดกนางเลี๊ยบ ใช้ต้นเงินและดอกเบี้ยให้โจทก์ตามฟ้องดังนี้ เมื่อผู้ร้องสอดอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นขึ้นมาศาลสูงก็มีอำนาจยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ ตามรูปความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ: สถานะผู้เช่าและการใช้ประโยชน์จากสถานที่เช่า
ศาลชั้นต้นเห็นว่า พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯลฯ 2489 ใช้คุ้มครองแก่กรณีย์ของจำเลย ได้แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ จำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นั้น เพราะจำเลยมิได้ใช้สถานที่เช่าเป็นที่อยู่อาศัย ส่วนศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าแล้ว พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่านั้น จึงไม่คุ้มครองแก่ฐานะของจำเลยเสียเลย ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายโดยตรง ไม่ใช่วินิจฉัยข้อเท็จจริง ต่างกับที่ศาลล่างได้วินิจฉัยไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ประกอบธุรกิจก่อนใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า และการคุ้มครองเมื่อบอกเลิกสัญญา
ได้เช่ากันมาก่อนใช้ พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ แต่ได้บอกเลิกการเช่าในระหว่างที่ใช้ พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ2488 เมื่อการเช่าเคหะนั้นใช้ประกอบธุรกิจการค้าเป็นส่วนใหญ่ พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ 2488 ไม่คุ้มครองถึง
พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ 2489,2490 ประกาศใช้ภายหลังเวลาที่ได้มีการบอกเลิกการเช่ากันโดยชอบแล้ว การที่ผู้เช่าอยู่ต่อมาเป็นการอยู่โดยละเมิด พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ 2 ฉบับหลัง หาคุ้มครองผู้อยู่โดยละเมิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วอยู่ต่อไม่ได้อ้าง พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า และการพิจารณาความเป็น 'เคหะเดียวกัน' เพื่อคุ้มครองตามกฎหมาย
เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงก่อนใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ พ.ศ. 2489 และ 2490 แล้ว การที่อยู่ต่อมาย่อมเป็นการอยู่โดยละเมิด จะอ้าง พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ ทั้ง 2 ฉบับมาคุ้มครองหาได้ไม่
ตึก 2 เลขที่ซึ่งอยู่ติดต่อกันแต่ฟ้องของโจทก์และสัญญาท้ายฟ้องซึ่งระบุสิ่งของซึ่งมีอยู่ในตึกรายนี้แยกเป็นคนละตึก แสดงว่าตึก 2 เลขหมายเป็นเคหะ ไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงว่าเป็นเคหะเดียวกัน แม้ตึกรายนี้ติดต่อกัน ทำสัญญาฉบับเดียวกัน และกำหนดค่าเช่ารวมกัน ก็มิใช่แสดงว่าตึกที่เช่าเป็นเคหะเดียวกันเสมอไป เมื่อโจทก์แสดงไม่ได้ว่าตึกที่เช่าเป็นเคหะเดียว และมีค่าเช่าเกิน 40 บาทแล้ว ก็ต้องตกอยู่ในความคุ้มครองแห่ง พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ 2486 มาตรา 5.
of 30