พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,092 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121-3461/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและสิทธิลูกจ้าง: การหยุดงานตามคำสั่งนายจ้าง ค่าชดเชย และความรับผิดของกรรมการ
ก่อนเลิกจ้างจำเลยที่1มีคำสั่งให้โจทก์ทั้งหมดไม่ต้องมาทำงานโดยจะจ่ายค่าจ้างให้โจทก์กึ่งหนึ่งแต่โจทก์ไม่พอใจจึงไปร้องเรียนต่อกระทรวงแรงงานฯต่อมาจำเลยที่1มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์การที่โจทก์ทั้งหมดหยุดงานจึงเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่1ไม่ใช่เป็นการนัดหยุดงานเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวไม่เป็นการละทิ้งหน้าที่หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่อย่างใด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2นิยามคำว่านายจ้างว่ากรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลจำเลยที่2และที่3เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่1จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งหมดแต่กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1167เมื่อจำเลยที่2และที่3เลิกจ้างโจทก์โดยกระทำในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2813/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย: การพิจารณาเจตนาของนายจ้าง และการตีความประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46กำหนดบทนิยามคำว่าการเลิกจ้างไว้เพื่อให้ใช้แก่เรื่องค่าชดเชยตามประกาศนี้เท่านั้นมิได้มุ่งหมายให้นำไปใช้แก่เรื่องอื่นหรือกฎหมายอื่นเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องนี้มีเพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ลูกจ้างมีเงินในระหว่างหางานใหม่เนื่องจากต้องออกจากงานโดยไม่รู้ตัวส่วนจะมีความผิดทางอาญาตามประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่103ลงวันที่16มีนาคม2515หรือไม่นั้นต้องพิเคราะห์ถึงเจตนาของจำเลยว่าได้กระทำไปโดยมีเจตนาไล่ผู้เสียหายออกจากงานและมีเจตนาไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ผู้เสียหายในฐานะเป็นลูกจ้างหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดเวลาหรือไม่? การเลิกจ้างโดยการบอกกล่าวล่วงหน้า และสิทธิการได้รับค่าชดเชย
จำเลยจ้างโจทก์เป็นไปตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด โดยเฉพาะเงื่อนไขข้อที่ไม่ให้ช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในประเทศไทยไปประกอบอาชีพหรือหน้าที่อื่นใดเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน แต่ให้บุคคลดังกล่าวถ่ายทอดความรู้และฝึกสอนช่างภายในประเทศให้สามารถรับช่วงงานได้ รวมทั้งการอนุมัติตำแหน่งและกำหนดระยะเวลาการทำงานของคนต่างด้าวต้องผ่านมติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้วย เงื่อนไขและขั้นตอนดังกล่าวเป็นเรื่องที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดไว้ให้จำเลยปฏิบัติตามในกรณีที่จำเลยรับช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการที่เป็นคนต่างด้าวเช่นโจทก์ไว้ปฏิบัติงานในกิจการของจำเลย ซึ่งไม่ปรากฏว่าในการที่จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งหัวหน้าครัวโดยมีหน้าที่จัดการและดำเนินการเกี่ยวกับครัวของโรงแรมจำเลยตลอดมานั้น เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขหรือมติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแต่อย่างใด หรือคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจหน้าที่เข้าไปบริหารกิจการของจำเลยอย่างไร นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและโจทก์คงเป็นไปตามสัญญา ซึ่งระบุว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน อันสอดคล้องกับข้อความในสัญญาที่มีการระบุไว้ชัดเจนต้องตามบทบัญญัติ ป.พ.พ.ลักษณะจ้างแรงงาน เช่นว่า โจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของคณะกรรมการบริหารของโรงแรม หากโจทก์ทุจริต ไม่ประพฤติตามคำบังคับบัญชา ประพฤติตัวต่ำทรามผิดกฎระเบียบตามกฎหมายไทยอย่างร้ายแรงหรือกระทำการขัดแย้งต่อผลประโยชน์และภาพพจน์ต่อสาธารณชนของจำเลยจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ เป็นต้น โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย
แม้ตามสัญญาเอกสารหมาย ล.6 จะระบุให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจบอกเลิกสัญญาได้โดยการแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าก็ตาม แต่มิได้ระบุว่าให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อใด ทั้งการที่โจทก์อยู่ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยครบตามกำหนดที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติเป็นคราว ๆ ไปนั้น หาทำให้สัญญาจ้างแรงงานที่โจทก์จำเลยมีต่อกันสิ้นสุดลงไปด้วยไม่ สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
ตามสัญญาจ้างให้สิทธิแก่จำเลยที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ โดยเฉพาะสัญญาจ้าง ข้อ 6 มีข้อความว่า "ระยะเวลาของสัญญานี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2533 จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาโดยคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า 80 วัน" สัญญาข้อนี้ให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งได้ตามที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการ โดยไม่จำต้องแสดงเหตุผลแห่งการเลิกจ้างแต่อย่างใดในเมื่อปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาแล้ว การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
แม้ตามสัญญาเอกสารหมาย ล.6 จะระบุให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจบอกเลิกสัญญาได้โดยการแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าก็ตาม แต่มิได้ระบุว่าให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อใด ทั้งการที่โจทก์อยู่ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยครบตามกำหนดที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติเป็นคราว ๆ ไปนั้น หาทำให้สัญญาจ้างแรงงานที่โจทก์จำเลยมีต่อกันสิ้นสุดลงไปด้วยไม่ สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
ตามสัญญาจ้างให้สิทธิแก่จำเลยที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ โดยเฉพาะสัญญาจ้าง ข้อ 6 มีข้อความว่า "ระยะเวลาของสัญญานี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2533 จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาโดยคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า 80 วัน" สัญญาข้อนี้ให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งได้ตามที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการ โดยไม่จำต้องแสดงเหตุผลแห่งการเลิกจ้างแต่อย่างใดในเมื่อปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาแล้ว การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน, การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, สิทธิของนายจ้าง, เหตุผลการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยจ้างโจทก์เป็นไปตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดโดยเฉพาะเงื่อนไขข้อที่ไม่ให้ช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในประเทศไทยไปประกอบอาชีพหรือหน้าที่อื่นใดเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแต่ให้บุคคลดังกล่าวถ่ายทอดความรู้และฝึกสอนช่างภายในประเทศให้สามารถรับช่วงงานได้รวมทั้งการอนุมัติตำแหน่งและกำหนดระยะเวลาการทำงานของคนต่างด้าวต้องผ่านมติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้วยเงื่อนไขและขั้นตอนดังกล่าวเป็นเรื่องที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดไว้ให้จำเลยปฏิบัติตามในกรณีที่จำเลยรับช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการที่เป็นคนต่างด้าวเช่นโจทก์ไว้ปฏิบัติงานในกิจการของจำเลยซึ่งไม่ปรากฎว่าในการที่จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งหัวหน้าครัวโดยมีหัวหน้าที่จัดการและดำเนินการเกี่ยวกับครัวของโรงแรมจำเลยตลอดมานั้นเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขหรือมติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแต่อย่างใดหรือคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจหน้าที่เข้าไปบริหารกิจการของจำเลยอย่างไรนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและโจทก์คงเป็นไปตามสัญญาซึ่งระบุว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงานอันสอดคล้องกับข้อความในสัญญาที่มีการระบุไว้ชัดเจนต้องตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะจ้างแรงงานเช่นว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของคณะกรรมการบริหารของโรงแรมหากโจทก์ทุจริตไม่ประพฤติตามคำบังคับบัญชา ประพฤติตัวต่ำทรามผิดกฎระเบียบตามกฎหมายไทยอย่างร้ายแรงหรือกระทำการขัดแย้งต่อผลประโยชน์และภาพพจน์ต่อสาธารณชนของจำเลยจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ เป็นต้นโจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย แม้ตามสัญญาเอกสารหมายล.6จะระบุให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจบอกเลิกสัญญาได้โดยการแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าก็ตามแต่มิได้ระบุว่าให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อใดทั้งการที่โจทก์อยู่ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยครบตามกำหนดที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติเป็นคราวๆไปนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงานที่โจทก์จำเลยมีต่อกันสิ้นสุดลงไปด้วยไม่สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ตามสัญญาจ้างให้สิทธิแก่จำเลยที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยการบอกกล่าวล่วงหน้าได้โดยเฉพาะสัญญาจ้างข้อ6มีข้อความว่า"ระยะเวลาของสัญญานี้เริ่มตั้งแต่วันที่15มกราคม2533จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาโดยคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโดยแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า80วัน"สัญญาข้อนี้ให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งได้ตามที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการโดยไม่จำต้องแสดงเหตุผลแห่งการเลิกจ้างแต่อย่างใดในเมื่อปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาแล้วการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรจึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ 47 กำหนดเรื่องการขาดงานถือเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลที่สมควรจะถูกพิจารณาโทษทางวินัยคือขาดงานครั้งแรกไม่จ่ายค่าจ้างในวันขาดงานและออกหนังสือเตือนครั้งที่1การขาดงานครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 จะไม่จ่ายค่าจ้าง 2 เท่าและ 3 เท่าของค่าจ้างพร้อมกับออกหนังสือเตือนทั้งสองครั้งตามลำดับการขาดงานครั้งที่4จึงจะเลิกจ้างได้และข้อ5.24กำหนดว่าเจ้าหน้าที่ที่ฝ่าฝืนระเบียบของศูนย์ประกันสังคมของจำเลยจะถูกพิจารณาลงโทษดังนี้1.ตักเตือนด้วยวาจา 2.ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 1 3. ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 2 4.ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 3 พักงานโดยมีกำหนดโดยไม่ได้รับค่าจ้างและ 5.เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยดังนั้นตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเจ้าหน้าที่ที่ขาดงานโดยละทิ้งหน้าที่จำเลยจะต้องเตือนด้วยวาจา 1ครั้งก่อนหากมีการกระทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมหลังจากนั้นจำเลยจะต้องออกหนังสือเตือนถึง 3 ครั้งเมื่อขาดงานครั้งที่ 5 จึงให้เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเมื่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยทั้งสองนี้ถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) และจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุในหนังสือเลิกจ้างว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานโดยในครั้งแรกโจทก์ได้รับคำสั่งของจำเลยให้โจทก์ไปทำงานเป็นแพทย์ประกันสังคมประจำโรงพยาบาลร.แต่โจทก์ไม่ยอมปฏิบัติตามจำเลยจึงได้ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงพยาบาลร.โจทก์รับทราบหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ยอมไปเมื่อตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจำเลยจะต้องตักเตือนด้วยวาจา 1 ครั้งและออกหนังสือเตือนอีก 3 ครั้งจึงจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้การที่จำเลยออกหนังสือเตือนโจทก์เพียงครั้งเดียวแล้วเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์แต่การที่โจทก์ได้รับคำสั่งจากศูนย์ประกันสังคมเอกชนในนามจำเลยที่1ให้ไปปฏิบัติงานเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลร.แต่โจทก์ก็ไม่ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งเมื่อจำเลยมีหนังสือย้ำให้โจทก์ไปปฏิบัติงานภายในเวลาที่กำหนดโจทก์ก็ไม่ไปปฏิบัติงานตามหน้าที่อีกเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยทั้งสองโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยทั้งจำเลยได้เตือนเป็นหนังสือแล้วจึงมีเหตุอันสมควรเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมส่วนลำดับขั้นตอนการลงโทษตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดให้จำเลยเตือนด้วยวาจาในครั้งแรกและออกหนังสือเตือนอีก3ครั้งจึงจะเลิกจ้างลูกจ้างได้นั้นเมื่อระเบียบดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดว่าให้ใช้แก่กรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้นดังนี้จะนำระเบียบนี้มาใช้บังคับแก่กรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งมีหลักเกณฑ์การวินิจฉัยแตกต่างจากการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 และข้อ 47 หาได้ไม่และการที่โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานเป็นการจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างแล้วจำเลยจึงมีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10260-10273/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง: พิจารณาจากระยะเวลาโครงการ ไม่ใช่ระยะเวลาสัญญาจ้าง และการรวมพิจารณาคดีหลายสำนวน
จำเลยที่6เป็นเพียงกิจการร่วมค้าระหว่างจำเลยที่1และที่2และจำเลยที่6ได้จดทะเบียนในฐานะเป็นผู้ประกอบการต่อกรมสรรพากรเท่านั้นจำเลยที่6จึงไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลอันจะถูกฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ศาลแรงงานวินิจฉัยจากพยานโจทก์ทั้งสิบสี่และจำเลยที่1และที่2แล้วฟังว่าจำเลยที่1และที่2เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสิบสี่จำเลยที่1และที่2อุทธรณ์อ้างว่าการวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางขัดแย้งกับข้อความในสัญญาจ้างที่โจทก์ทั้งสิบสี่อ้างส่งศาลเป็นการไม่ชอบเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานซึ่งเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเรื่องการคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่14)ลงวันที่16สิงหาคม2536ข้อ46กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างและในวรรคสามกำหนดเรื่องระยะเวลาการจ้างซึ่งต้องกำหนดไว้แน่นอนส่วนวรรคสี่เป็นเรื่องกำหนดประเภทของงานที่สามารถจะทำสัญญาจ้างโดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้วนายจ้างได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างที่เลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาที่ทำสัญญาจ้างไว้นั้นซึ่งมีงานอยู่3ประเภทแต่ในตอนท้ายของวรรคสี่ที่กำหนดประเภทของงานนั้นได้กำหนดไว้ด้วยว่าซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปีคำว่างานนั้นย่อมหมายถึงงานทั้งสามประเภทที่กำหนดไว้นั่นเองจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน2ปีดังกล่าวจึงหาได้หมายถึงระยะเวลาการจ้างที่นายจ้างทำสัญญาจ้างลูกจ้างไม่หากหมายถึงระยะเวลาการจ้างก็ต้องระบุไว้ในวรรคสามซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างการที่นำระยะเวลางานมากำหนดในวรรคสี่จึงทำให้เห็นได้ว่าหมายถึงระยะเวลาของงานทั้งสามประเภทนั่นเองเมื่องานที่จำเลยที่1และที่2ต้องกระทำการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันมีกำหนดระยะเวลาสามปีเกินกว่า2ปีแม้จะเป็นงานในโครงการเฉพาะหรืองานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวจำเลยที่1และที่2ก็ไม่ได้รับยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย คดีนี้ศาลแรงงานมีคำสั่งให้คดีทั้งสิบสี่สำนวนซึ่งมีโจทก์แต่ละคนเป็นโจทก์แต่ละสำนวนรวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันเมื่อรวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าเป็นคดีเดียวกันแล้วข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณาจึงเป็นข้อเท็จจริงในสำนวนทั้งสิบสี่สำนวนศาลย่อมนำข้อเท็จจริงนั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายเป็นคุณหรือโทษแก่คู่ความทั้งหมดในสำนวนได้โจทก์ทั้งสิบสี่เป็นคู่ความในสำนวนย่อมได้รับผลจากคำวินิจฉัยด้วยแม้โจทก์บางคนจะไม่ได้เข้าเบิกความก็ตามจึงชอบที่ศาลแรงงานพิพากษาให้มีผลถึงโจทก์อื่นที่ไม่ได้เข้าเบิกความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10158/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุงานเพื่อสิทธิค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีมีการนัดหยุดงานและปิดงาน
การปิดงานและการนัดหยุดงาน เป็นขั้นตอนที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 บัญญัติขึ้นเพื่อให้มีการระงับกรณีพิพาทเกี่ยวกับปัญหาแรงงานการที่นายจ้างปิดงานจึงมิใช่เป็นเรื่องที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้างแม้ว่าจะมีบทบัญญัติในมาตรา 31 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง และกรณีที่มีการฝ่าฝืนมีโทษทางอาญาตามมาตรา 136 และความเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ก็ตาม ดังนี้ การที่ลูกจ้าง จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่จึงต้องเป็นไปตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหยุดงานไปในวันที่มีการนัดหยุดงานและปิดงาน กรณีมิใช่วันหยุด วันลาหรือวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ ของนายจ้าง จึงไม่อาจนำระยะเวลาดังกล่าวมารวม คำนวณเป็นระยะเวลาทำงานของลูกจ้างได้ โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างทดลองงานของจำเลยทำหน้าที่พนักงานทั่วไป มีระยะเวลาจ้างไม่เกิน 120 วัน และขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โจทก์ยังเป็น ลูกจ้างทดลองงานอยู่ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีสิทธิ เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นค่าชดเชยเลิกจ้างรัฐวิสาหกิจ-การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า โจทก์มีคำสั่งที่ 426/2531 ไล่จำเลยที่ 1 ออกจากงานเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโจทก์ที่ 2220/223 ลงวันที่ 1สิงหาคม 2523 ด้วย คำสั่งดังกล่าวถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งโจทก์ในกรณีที่ร้ายแรง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่จำเลยที่ 1 และโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจ มีประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับ ดังนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103จึงไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2534 จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องเรียกค่าชดเชยจากโจทก์ก่อนที่จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจไม่อยู่ในบังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 นั้น เมื่อโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ไว้เพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์มีคำสั่งเลิกจ้างจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ขาดงานติดต่อกันเกินกว่า 10 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร ดังนั้น ข้อที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ดังกล่าวข้างต้น จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าชดเชย เพราะโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับนั้น เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าชดเชย เพราะโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับนั้น เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ค่าชดเชยหลังเลิกจ้าง: ประเด็นข้อที่ยังไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาล และผลกระทบประกาศกระทรวงมหาดไทย
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า โจทก์มีคำสั่งที่ 426/2531ไล่จำเลยที่ 1 ออกจากงานเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโจทก์ที่ 2220/223 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2523 ด้วย คำสั่งดังกล่าวถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งโจทก์ในกรณีที่ร้ายแรง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่จำเลยที่ 1 และโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจ มีประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานสัมพันธ์เป็นกิจกาที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับดังนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 จึงไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่12 กันยายน 2534 จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องเรียกค่าชดเชยจากโจทก์ก่อนที่จะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจไม่อยู่ในบังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 นั้นเมื่อโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ไว้เพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพราะโจทก์มีคำสั่งเลิกจ้างจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ขาดงานติดต่อกันเกินกว่า 10 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร ดังนั้น ข้อที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ดังกล่าวข้างต้น จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคแรกประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกค่าชดเชย เพราะโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจอันเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับนั้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างแรงงาน กรณีทะเลาะวิวาท ต้องพิจารณาพฤติการณ์เป็นรายกรณี หากไม่ร้ายแรงถึงขนาดสร้างความเสียหาย จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะระบุว่าการทะเลาะวิวาทถือเป็นความผิดอย่างร้ายแรงก็ตาม จะถือว่าถ้ามีการทะเลาะวิวาทกันแล้วไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไรก็เป็นกรณีร้ายแรงทุกกรณีนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ซึ่งการที่จะฟังว่ากรณีใดเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป
กรณีของโจทก์ทั้งสองแม้ได้ทะเลาะวิวาทกันจนถึงขนาดกอดรัดฟัดเหวี่ยงกัน แต่เมื่อ บ.หัวหน้ากะเข้ามาเห็นและแยกโจทก์ทั้งสองออกจากกันแล้วก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างไรต่อไปอีก ทรัพย์สินของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าเสียหายอย่างไร ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยด้วยนั้นแต่เมื่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยดังกล่าว จำเลยมิได้ถือว่าเป็นกรณีร้ายแรงดังนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)
กรณีของโจทก์ทั้งสองแม้ได้ทะเลาะวิวาทกันจนถึงขนาดกอดรัดฟัดเหวี่ยงกัน แต่เมื่อ บ.หัวหน้ากะเข้ามาเห็นและแยกโจทก์ทั้งสองออกจากกันแล้วก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างไรต่อไปอีก ทรัพย์สินของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าเสียหายอย่างไร ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยด้วยนั้นแต่เมื่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยดังกล่าว จำเลยมิได้ถือว่าเป็นกรณีร้ายแรงดังนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)