คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จดทะเบียน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8276/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องจดทะเบียน การให้ยืมโฉนดไม่ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ ศาลวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาจากป.ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารจำเลยให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทมิได้อาศัยสิทธิของป.จำเลยส.อ.และป.เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทแต่ให้ใส่ชื่อป.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ขอยืมโฉนดที่ดินจากป.และจำเลยเพื่อนำไปเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินจากธนาคารและเพื่อความสะดวกในการดำเนินการจึงเปลี่ยนชื่อในโฉนดจากป.มาใส่ชื่อโจทก์แทนคดีจึงมีประเด็นพิพาทเพียงว่าการที่ป.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่เท่านั้นศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าป.ไม่มีเจตนาจะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพียงแต่ต้องการให้โจทก์ยืมโฉนดไปจำนองเท่านั้นผลจึงมีว่าป.ไม่ได้ให้ที่ดินแก่โจทก์คดีไม่มีประเด็นที่ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยว่าป.แสดงเจตนายกให้ตอนที่ป.เบิกความต่อศาลอีกการที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยต่อไปว่าในการสืบพยานป.เบิกความว่าป.เต็มใจที่จะยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แสดงว่าหลังจากนั้นป.ได้เปลี่ยนใจยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ซึ่งปรากฏว่าป.ได้จดทะเบียนยกให้แก่โจทก์แล้วตั้งแต่ตอนแรกจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียนการให้อีกถือว่าไม่สมบูรณ์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้นั้นเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกประเด็นแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินไม่เป็นหนังสือและจดทะเบียน: ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยประเด็นใหม่ที่มิได้ยกขึ้นว่ากัน
ฎีกาของจำเลยที่ว่า การซื้อขายที่ดินพิพาทมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 นั้นความข้อนี้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงไม่มีประเด็น และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่สำหรับคดีนี้ศาลฎีกายังไม่เห็นสมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ จึงไม่ยกขึ้นวินิจฉัยตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7731/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลอกเลียนเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ
การที่โจทก์ที่ 1 ระบุว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า 0101 ของโจทก์ที่ 1 อ่านออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นว่า โออิโออิ นั้น แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ที่ 1 ได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 นั้นมาจากภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า 0101 ซึ่งเป็นตัวเลขอารบิคประดิษฐ์ไว้ในประเทศญี่ปุ่นสำหรับสินค้า 33 จำพวก ตั้งแต่ปี 2516 และได้จด-ทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องแต่งกาย จำพวกกระเป๋าและจำพวกกระดาษในปี 2522 ปี 2520 และปี 2520 ตามลำดับ จำเลยจึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและโจทก์ที่ 1 ได้เห็นและลอกเครื่องหมายการค้าตัวเลขอารบิคประดิษฐ์ 0101 ของจำเลยไปเป็นภาคส่วนของเครื่องหมายการค้าในส่วนที่เป็นตัวเลขอารบิคประดิษฐ์ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 นอกจากนี้โจทก์ที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใดกับคำว่า MARUI ซึ่งเป็นชื่อของจำเลยแต่กลับปรากฏจากภาพถ่ายร้านค้าที่โจทก์ที่ 1 เพิ่งเปิดว่า โจทก์ที่ 1 ได้ติดแผ่นป้ายหน้าร้านว่า MARUI 0101 ตรงกับชื่อ MARUI ของจำเลยตามที่ปรากฏอยู่ที่หน้าร้านหลายแห่งของจำเลย ทั้งยังปรากฏอีกด้วยว่าถุงบรรจุสินค้า และกระดาษห่อสินค้าซึ่งโจทก์ที่ 1 ใช้บรรจุและห่อสินค้าของโจทก์ที่ 1 ให้แก่ลูกค้าของโจทก์ที่ 1 ไม่มีคำว่า youngs fashion ซึ่งเป็นภาคส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1คงมีแต่ตัวเลยอารบิคประดิษฐ์ 0101 ขนาดใหญ่บนถุงบรรจุสินค้าและกระดาษห่อสินค้าเหล่านั้น การที่โจทก์ที่ 1 ติดป้ายหน้าร้านว่า MARUI 0101 และใช้ถุงบรรจุสินค้าและกระดาษห่อสินค้าเช่นนั้น ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 จงใจลอกเครื่องหมายการค้าตัว-เลขอารบิคประดิษฐ์ 0101 ของจำเลยซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศญี่ปุ่นมาก่อนนานประมาณถึง 15 ปี แล้ว ดังนั้น แม้จำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมาย-การค้าคำว่า 0101 ก็มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์ที่ 1 เมื่อโจทก์ที่ 1ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทคำว่า 0101 ดีกว่าจำเลยและโจทก์ที่ 1 ให้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า 0101 younge fashion ไปจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้า โจทก์ที่ 2 ก็ย่อมไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7291/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายที่ไม่ได้รับการจดทะเบียน และประเด็นค่าเสียหาย
เมื่อโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ธ. เป็นผู้รับมอบอำนาจโดยให้มีอำนาจยื่นฟ้องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ธ. จึงย่อมมีอำนาจตั้งทนายความยื่นฟ้องคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานและมี ธ. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาเบิกความประกอบพยานเอกสารนั้น แม้ไม่มีพยานที่รู้เห็นการทำเอกสารดังกล่าวมาเบิกความ แต่เอกสารดังกล่าวก็เข้าสู่สำนวนโดยชอบ พยานเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ว่า โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างปรเทศและมีการผลิตสินค้าตามเครื่องหมายการค้าคำว่า NIKKO HORN กับรูปรอยประดิษฐ์ตามฟ้องออกจำหน่าย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีตัวอักษรโรมันทั้งหมด 2 คำ โดยคำหลังคือ HORN มีตัวอักษรเหมือนกันทั้งสี่ตัว ส่วนคำหน้าคงแตกต่างกันแต่เพียงว่าคำว่า NIKKO ของโจทก์มีอักษร K อยู่ 2 ตัว ส่วนคำว่าNIKO ของจำเลยมีอักษร K เพียง 1 ตัว อักษรโรมันดังกล่าวของโจทก์และของจำเลยก็อ่านออกเสียงคล้ายคลึงกัน โดยของโจทก์อ่านออกเสียงว่า นิกโกฮอน ส่วนของจำเลยอ่านออกเสียงว่า นิโก้ ฮอน รูปรอยประดิษฐ์ของเครื่อง-หมายการค้าของโจทก์และจำเลยนั้นต่างเป็นสีขาวอยู่กลางพื้นสีดำ โดยมีอักษรโรมันว่า NIKKO และ NIKO ตามลำดับ กำกับอยู่ด้านล่างของรูปประดิษฐ์ซึ่งเขียนด้วยลายเส้นเป็นรอยหยักขนาดใกล้เคียงกัน คงต่างกันแต่เฉพาะทิศทางของลายเส้นเท่านั้น เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์สายฟ้าแลบของจำเลยจึงแทบจะไม่มีข้อแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูป N ประดิษฐ์ของโจทก์ สำหรับเครื่องหมายการค้าของจำเลยอีกเครื่องหมายหนึ่งแม้จะมีตัวอักษรโรมันคำว่า Mighty-mate VFD-150อยู่ด้วยก็ตาม แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อยู่ที่คำว่า NIKOและรูปรอยประดิษฐ์ซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์ดังกล่าวมาก่อนจำเลย แม้จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของจำเลยไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อน โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์นั้นและในเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย
แม้รูปรอยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยกับตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยและตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์แตกต่างกันอยู่บ้าง โดยตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีคำว่า NIKO Mighty-mate VFD-150ส่วนตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์เป็นตัวอักษรโรมันคำว่าNIKO Power-mate SFD-100 แต่ความแตกต่างดังกล่าวก็มีเพียงเล็กน้อยซึ่งสำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกัน ก็ยากที่จะกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้างและแม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากได้พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเวลากันก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว การที่เครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์ โดยสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์เช่นนี้นับได้ว่า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ และเป็นการที่จำเลยได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า NIKD HORN และรูปรอยประดิษฐ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปยื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต เป็นการละเมิดต่อโจทก์เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในเครื่องหมายการค้าโดยเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า NIKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์เป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์ร่วมในการผลิตและจำหน่าย ทำให้สาธารณชนเสื่อมความนิยมในเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์ มีผลทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าของโจทก์ โจทก์ขอคิดค่าเสียหายเดือนละ50,000 บาท ดังนี้ โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์แต่อย่างใดไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ ก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ได้
เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้รับจดทะเบียนนั้น ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์อ้างว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิ และเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยได้เอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในฐานลวงขายตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันได้ และไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งนี้เพราะสิทธินั้นเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่อง-หมายการค้าดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6710/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินผิดแปลง ความสำคัญผิดและผลกระทบต่อสิทธิ
เดิมที่ดินตามโฉนดเลขที่ 573 และ 574 เป็นของเจ้าของคนเดียวกันได้มีการโอนกรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือกันมาหลายทอดโดยโอนโฉนดที่ดินไขว้กันด้วยความเข้าใจผิด โจทก์เจตนาซื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ 573 แต่ได้จดทะเบียนรับโฉนดเลขที่ 574 ส่วนจำเลยมีเจตนาซื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ 574 แต่ได้จดทะเบียนรับโอนโฉนดเลขที่ 573 จากผู้ขาย แม้จะได้มีการจดทะเบียนชื่อจำเลยเป็นเจ้าของในโฉนดที่ดินเลขที่ 573 แต่เมื่อการมีชื่อจำเลยในโฉนดเป็นเพราะความสำคัญผิดของจำเลยและเจ้าของที่ดินเดิมซึ่งได้ยึดถือโฉนดไขว้กันมาตั้งแต่ต้นเช่นนี้ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยได้ซื้อที่ดินแปลงนี้มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วมายันโจทก์มาได้ไม่ โจทก์ย่อมให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 573 แลกเปลี่ยนกับโฉนดที่ดินเลขที่ 574 และจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงให้ถูกต้องตรงความจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6710/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินผิดแปลงเนื่องจากความสำคัญผิด การบังคับให้ส่งมอบโฉนดและจดทะเบียนแก้ไขกรรมสิทธิ์
เดิมที่ดินตามโฉนดเลขที่ 573 และ 574 เป็นของเจ้าของคนเดียวกันได้มีการโอนกรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือกันมาหลายทอดโดยโอนโฉนดที่ดินไขว้กันด้วยความเข้าใจผิด โจทก์เจตนาซื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ 573แต่ได้จดทะเบียนรับโฉนดเลขที่ 574 ส่วนจำเลยมีเจตนาซื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ 574 แต่ได้จดทะเบียนรับโอนโฉนดเลขที่ 573 จากผู้ขาย แม้จะได้มีการจดทะเบียนชื่อจำเลยเป็นเจ้าของในโฉนดที่ดินเลขที่ 573 แต่เมื่อการมีชื่อจำเลยในโฉนดเป็นเพราะความสำคัญผิดของจำเลยและเจ้าของที่ดินเดิมซึ่งได้ยึดถือโฉนดไขว้กันมาตั้งแต่ต้นเช่นนี้ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยได้ซื้อที่ดินแปลงนี้มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วมายันโจทก์มาได้ไม่ โจทก์ย่อมให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 573แลกเปลี่ยนกับโฉนดที่ดินเลขที่ 574 และจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงให้ถูกต้องตรงความจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ถูกขัดขวางด้วยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต สิทธิขาดตอน
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นเวลา 19 ปี แต่มิได้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน เมื่อ ค. ซื้อที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของเดิมโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิการครอบครองปรปักษ์ขึ้นยัน ค. ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง เมื่อจำเลยรับโอนที่ดินพิพาทจาก ค. จำเลยจะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่อย่างไรโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันจำเลยผู้รับโอนต่อมาได้ เพราะสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตตอนแรก แม้โจทก์จะยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา แต่ครอบครองในช่วงหลังที่ ค.และจำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์มายังไม่ครบ 10 ปี จะถือว่ามีการครอบครองปรปักษ์ต่อจำเลยครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ถูกขัดขวางด้วยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริต ทำให้สิทธิขาดตอน
โจทก์อ้างว่าได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทของว.จนได้กรรมสิทธิ์แล้วแต่โจทก์มิได้ดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อมาค. ซื้อที่ดินพิพาทจากว.เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่อย่างไรก็ย่อมเป็นไปตามข้อสันนิษฐานอันเป็นคุณต่อค. ผู้ซื้อว่ากระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ถือว่าค.ซื้อที่ดินพิพาทจากว.โดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิการครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันค. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคสองหลังจากนั้นจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทจากค. จำเลยจะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่อย่างไรโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันจำเลยผู้รับโอนต่อมาได้เพราะสิทธิของโจทก์ผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตคนแรกแม้โจทก์จะยังคงครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาแต่การครอบครองในช่วงหลังที่ค. และจำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์มายังไม่ครบ10ปีก็จะถือว่าการครอบครองปรปักษ์ต่อจำเลยครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วไม่ได้คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากค. โดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดิน น.ส.3 ยังไม่สมบูรณ์หากไม่จดทะเบียน แม้ผู้ให้ได้แสดงเจตนาแล้ว
ท. ประสงค์จะยกที่ดินน.ส.3ให้แก่โจทก์โดยการทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา525และประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา4ทวิคือต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การให้จึงยังไม่สมบูรณ์โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรม และในฐานะ ผู้จัดการมรดกของ ท.จดทะเบียนการให้แก่โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า, สิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่า, การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต, อายุความฟ้องร้อง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและภาพวาดเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มากจนเกินกว่าที่บุคคลจะคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยมิได้เลียนแบบกัน การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสินค้านั้นด้วย จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ทั้งได้จดทะเบียนในต่างประเทศอีกหลายประเทศ ตลอดจนลงทุนโฆษณาเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย แม้จำเลยจะได้ครอบครองเครื่องหมายการค้าเป็นเวลานานประมาณ28 ปีแล้ว แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และจำเลยได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตเสียแล้ว จำเลยย่อมไม่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนดีกว่าจำเลยและให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนของจำเลยเป็นคำฟ้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 16 วรรคสอง แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนและนับแต่ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก
of 138