พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิ่งราวทรัพย์: อำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนกองปราบปราม แม้ได้รับอนุมัติภายหลังการสอบสวน ก็ยังชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยขายสร้อยให้ผู้เสียหาย 4 เส้นในราคา 100 บาทเศษแต่จำเลยกลับหยิบเอาธนบัตรฉบับละ 500 บาทจำนวน 1 ฉบับจากในกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไปโดยพลการในทันทีที่ผู้เสียหายเปิดกระเป๋าสตางค์ ซึ่งผู้เสียหายยังมิทันได้หยิบธนบัตรดังกล่าวส่งให้จำเลย แล้วจำเลยก็หลบหนีไปเช่นนี้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการผิดสัญญาในทางแพ่งหรือเข้าใจผิดเพราะสื่อความหมายกันไม่รู้เรื่องแต่อย่างไร การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าจำเลยจึงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (6) บัญญัติว่า พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน มาตรา 18 วรรคสองก็บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปในจังหวัดพระนครและธนบุรีมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2515 ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508 ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร เมื่อได้ความว่าความผิดเกิดบริเวณท่าช้างวังหลวงในกรุงเทพมหานคร ร้อยตำรวจโท ส. ซึ่งรับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 8 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้กรมตำรวจวางระเบียบไว้ว่า กองปราบปรามจะทำการสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในของกรมตำรวจดังนั้นเมื่อร้อยตำรวจโท ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้วถึงแม้ว่าจะได้รับอนุญาตภายหลังจากร้อยตำรวจโท ส. สอบสวนคดีนี้เสร็จแล้วการสอบสวนที่ร้อยตำรวจโท ส. กระทำแต่ต้นย่อมชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (6) บัญญัติว่า พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน มาตรา 18 วรรคสองก็บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปในจังหวัดพระนครและธนบุรีมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2515 ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508 ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร เมื่อได้ความว่าความผิดเกิดบริเวณท่าช้างวังหลวงในกรุงเทพมหานคร ร้อยตำรวจโท ส. ซึ่งรับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 8 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้กรมตำรวจวางระเบียบไว้ว่า กองปราบปรามจะทำการสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในของกรมตำรวจดังนั้นเมื่อร้อยตำรวจโท ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้วถึงแม้ว่าจะได้รับอนุญาตภายหลังจากร้อยตำรวจโท ส. สอบสวนคดีนี้เสร็จแล้วการสอบสวนที่ร้อยตำรวจโท ส. กระทำแต่ต้นย่อมชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังเกษียณอายุชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิการรับเงินบำเหน็จไม่ตัดสิทธิเนื่องจากเกษียณอายุ
จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2527 ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ผู้อำนวยการของจำเลยมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนโจทก์โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2527 ดังนี้ เมื่อโจทก์อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนตามข้อบังคับของจำเลยและไม่ปรากฏว่ามีระเบียบข้อบังคับใดห้ามผู้อำนวยการของจำเลยมิให้มีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานหลังจากเกษียณอายุไปแล้วทั้งคำสั่งให้เลื่อนเงินเดือนโจทก์ได้ระบุให้มีผลย้อนหลังไปก่อนเวลาที่โจทก์เกษียณอายุด้วย เช่นนี้ คำสั่งเลื่อนเงินเดือนโจทก์ดังกล่าวจึงชอบแล้ว หาเป็นการขัดต่อมาตรา 21 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป พ.ศ.2498 ไม่
ก่อนที่โจทก์จะถูกให้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทุจริตก็ตาม แต่จำเลยก็มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุไปก่อนแล้ว ไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยทราบเรื่องดังกล่าวจำเลยได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุเป็นไล่ออกแต่อย่างใดและกรณีดังกล่าวโจทก์มิใช่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลยจำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์.
ก่อนที่โจทก์จะถูกให้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและทุจริตก็ตาม แต่จำเลยก็มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุไปก่อนแล้ว ไม่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยทราบเรื่องดังกล่าวจำเลยได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุเป็นไล่ออกแต่อย่างใดและกรณีดังกล่าวโจทก์มิใช่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของจำเลยจำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีซ้ำโดยไม่มีพยาน ศาลชอบที่จะพิจารณาคดีโดยไม่ต้องเลื่อน
ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรกหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จทนายจำเลยขอเลื่อนเพราะพยานไม่มาศาล และแถลงว่านัดหน้าพยานมาเท่าใดก็จะสืบไปเท่านั้นโดยไม่ขอเลื่อนในนัดที่ 2ทนายจำเลยขอเลื่อนอีก อ้างว่าจำเลยที่ 1 ไปราชการต่างจังหวัดโดยที่จำเลยที่ 2 และพยานจำเลยอื่นก็ไม่มีมาศาล ซึ่งทนายโจทก์คัดค้านว่าเป็นการประวิงคดี ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีไปโดยเห็นว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบและให้นัดฟังคำพิพากษา จึงเป็นการชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดผ้าโดยเจ้าพนักงานศุลกากรชอบด้วยกฎหมาย แม้ใช้เวลาตรวจสอบนาน แต่ขั้นตอนถูกต้อง ไม่เป็นการละเมิด
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ได้ยึดผ้าของโจทก์โดยอ้างว่า เป็นผ้าที่ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากตรวจสอบหลักฐานแล้วเห็นว่าผ้าที่ถูกยึดไม่ตรงกับผ้าที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการยึดโดยมีเหตุผลอันควรสงสัยว่าผ้าที่ยึดนั้นได้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนี้ กรณีไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยึดผ้าของโจทก์ไว้สอบสวนเป็นเวลาถึง5 เดือนเศษ เพราะไม่อาจแยกพิจารณาเฉพาะ ผ้าของโจทก์ก่อนผ้ารายการอื่นได้เนื่องจากยึดมาจากแหล่ง เดียวกัน ต้องส่งผ้าที่ยึดไปกองวิเคราะห์สินค้าทำการวิเคราะห์ ส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบถามเจ้าของโรงงานที่ผลิตและฟอก ย้อม สอบสวนชิปปิ้ง ทำหนังสือไปถึงกองประเมินอากรกับกองตรวจสินค้าขาเข้าแล้ว และเสนอความเห็นไปยังกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 พร้อมกันทั้ง 7 รายการ เช่นนี้เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนไม่มีการกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งโจทก์เพิ่งนำชิปปิ้งมาให้สอบสวนหลังจากการยึดผ้าประมาณ 3-4 เดือน โจทก์ไม่มีหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยใช้เวลาสอบสวนเกี่ยวกับผ้าพิพาทนานเกินสมควรหรือจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ ประกอบกับผ้ามิใช่ทรัพย์สินที่เสื่อมสลาย ได้ง่าย ไม่มีเหตุจำเป็นต้องพิจารณาสอบสวนโดยเร่งรัดเป็นพิเศษ ในที่สุดจำเลยคืนผ้าให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดผ้าลักลอบนำเข้า: การตรวจสอบโดยเจ้าพนักงานศุลกากรชอบด้วยกฎหมาย แม้ใช้เวลาสอบสวนนาน แต่ไม่มีเจตนากลั่นแกล้ง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ได้ยึดผ้าของโจทก์โดยอ้างว่า เป็นผ้าที่ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากตรวจสอบหลักฐานแล้วเห็นว่าผ้าที่ถูกยึดไม่ตรงกับผ้าที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการยึดโดยมีเหตุผลอันควรสงสัยว่าผ้าที่ยึดนั้นได้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรดังนี้ กรณีไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยึดผ้าของโจทก์ไว้สอบสวนเป็นเวลาถึง 5เดือนเศษ เพราะไม่อาจแยกพิจารณาเฉพาะผ้าของโจทก์ก่อนผ้ารายการอื่นได้เนื่องจากยึดมาจากแหล่งเดียวกัน ต้องส่งผ้าที่ยึดไปกองวิเคราะห์สินค้าทำการวิเคราะห์ ส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบถามเจ้าของโรงงานที่ผลิตและฟอกย้อม สอบสวนชิปปิ้ง ทำหนังสือไปถึงกองประเมินอากรกับกองตรวจสินค้าขาเข้าแล้ว และเสนอความเห็นไปยังกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 พร้อมกันทั้ง 7 รายการ เช่นนี้เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนไม่มีการกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งโจทก์เพิ่งนำชิปปิ้งมาให้สอบสวนหลังจากการยึดผ้าประมาณ 3-4 เดือน โจทก์ไม่มีหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยใช้เวลาสอบสวนเกี่ยวกับผ้าพิพาทนานเกินสมควรหรือจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ ประกอบกับผ้ามิใช่ทรัพย์สินที่เสื่อมสลายได้ง่าย ไม่มีเหตุจำเป็นต้องพิจารณาสอบสวนโดยเร่งรัดเป็นพิเศษ ในที่สุดจำเลยคืนผ้าให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยึดผ้าของโจทก์ไว้สอบสวนเป็นเวลาถึง 5เดือนเศษ เพราะไม่อาจแยกพิจารณาเฉพาะผ้าของโจทก์ก่อนผ้ารายการอื่นได้เนื่องจากยึดมาจากแหล่งเดียวกัน ต้องส่งผ้าที่ยึดไปกองวิเคราะห์สินค้าทำการวิเคราะห์ ส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบถามเจ้าของโรงงานที่ผลิตและฟอกย้อม สอบสวนชิปปิ้ง ทำหนังสือไปถึงกองประเมินอากรกับกองตรวจสินค้าขาเข้าแล้ว และเสนอความเห็นไปยังกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 พร้อมกันทั้ง 7 รายการ เช่นนี้เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนไม่มีการกลั่นแกล้งโจทก์ ทั้งโจทก์เพิ่งนำชิปปิ้งมาให้สอบสวนหลังจากการยึดผ้าประมาณ 3-4 เดือน โจทก์ไม่มีหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยใช้เวลาสอบสวนเกี่ยวกับผ้าพิพาทนานเกินสมควรหรือจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ ประกอบกับผ้ามิใช่ทรัพย์สินที่เสื่อมสลายได้ง่าย ไม่มีเหตุจำเป็นต้องพิจารณาสอบสวนโดยเร่งรัดเป็นพิเศษ ในที่สุดจำเลยคืนผ้าให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อถูกรุมทำร้าย และการใช้สิทธิป้องกันตัวที่สมควรแก่เหตุ
จำเลยกับคนงานนั่งอยู่เต็มท้ายรถยนต์รับส่งคนงานของบริษัทที่จอดรออยู่หน้าโรงงานเพื่อกลับบ้าน ย. เดินไปจะเปิดประตูรถตอนหน้าด้านซ้ายพ. เดินออกจากร้านค้าตรงมาที่ย.โดยมีส.ผู้ตายเดินตามพ.มาด้วยพ.พูดโต้เถียงกับย.เรื่องที่ พ. ถูกไล่ออกจากงาน จำเลยลงจากรถไปห้าม จำเลยกับพ. ท้าทายกันแล้วสมัครใจชกต่อยซึ่งกันและกัน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะระหว่าง พ. กับจำเลยเท่านั้น โดยจำเลยพูดว่า'ถ้าต่อยกันแล้วก็แล้วกันไปอย่ามีเรื่องกันอีก'จำเลยมิได้ท้าทาย ส. ผู้ตายกับโจทก์ร่วมหรือบุคคลอื่นและสมัครใจทำร้ายกับบุคคลดังกล่าวแต่อย่างใด ขณะที่จำเลยกับ พ. ชกต่อยกันส.ยืนอยู่ด้านหลังพ. ล. วิ่งออกมาจากร้านค้า และยิงปืนขึ้นฟ้า 1 นัดพร้อมกับร้องบอกไม่ให้ใครเข้ามายุ่ง เมื่อจำเลยชกพ.ล้มลงแล้วส.ได้เข้าช่วยพ.ชกต่อยจำเลยพ. ลุกขึ้นมาได้ชักปืนออกมายิงจำเลยถูกที่บริเวณใบหน้า อกและท้อง โจทก์ร่วมถือเก้าอี้ขาเหล็กวิ่งเข้ามาตีจำเลยถูกที่บริเวณคางจำเลยเซไปทางหน้ารถและจะวิ่งหนีเข้าโรงงานแต่ ส. ชักมีดออกมาไล่แทงจำเลย ล. ถือปืนวิ่งมาสกัดข้างหน้าและยิงมาทางจำเลยเพื่อไม่ให้จำเลยหลบหนีและโจทก์ร่วมถือเก้าอี้วิ่งเข้ามาตีจำเลยอีก จำเลยจึงชักปืนออกมายิงไปถูกส. และโจทก์ร่วมเป็นเหตุให้ ส. ถึงแก่ความตายและโจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บสาหัสจำเลยไม่มีโอกาสที่จะหลบหนีจากการกระทำของบุคคลดังกล่าวจำเลยจึงมีสิทธิที่จะป้องกันตัวจำเลยให้พ้นจากถูกรุมทำร้ายได้และเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2980/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย: การกระทำเพื่อปกป้องตนเองและผู้อื่นจากอันตรายที่ใกล้จะถึง
ก. กับพวกเป็นฝ่ายก่อเรื่องไล่ทำร้ายจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้สมัครใจวิวาทด้วย จำเลยที่ 2 ได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากจำเลยที่ 1 ในขณะที่ ก. ขึ้นคร่อมจำเลยที่ 1 จะใช้มีดคัตเตอร์แทงจำเลยที่ 1 และมีเพื่อนก. ร้องบอกเอาให้ตาย จำเลยที่ 2 จึงใช้มีดแทงที่หลัง ก.เพียง 1 ที แล้วชักมีดวิ่งหนีไป แสดงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้เลือกแทงที่สำคัญเพียงแต่แทงเท่าที่โอกาสอำนวยไม่มีเจตนาฆ่า ก. และจำเลยที่ 2 กระทำเพื่อป้องกันมิให้ก. แทงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมาย เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง และเป็นการกระทำพอสมควรแก่เหตุ จึงไม่มีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68
จำเลยที่ 1 มิได้สมัครใจวิวาทกับ ก. แต่ถูก ก. กับพวกไล่ทำร้ายจนจำเลยที่ 2 ต้องเข้าช่วยเหลือด้วยการแทง ก. อันเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 299 และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลมีอำนาจพิพากษาให้มีผลตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย.
จำเลยที่ 1 มิได้สมัครใจวิวาทกับ ก. แต่ถูก ก. กับพวกไล่ทำร้ายจนจำเลยที่ 2 ต้องเข้าช่วยเหลือด้วยการแทง ก. อันเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 299 และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลมีอำนาจพิพากษาให้มีผลตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยย้ายสำนักงานใหญ่หลังฟ้อง และจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยย้ายภูมิลำเนาไปตั้งอยู่ที่แห่งใหม่ภายหลังที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาเดิม ตามฟ้องจึงเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยทราบหมายดังกล่าวแล้วไม่ยื่นคำให้การภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดและไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ จึงฟังได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ส่งหมายเรียกที่ตู้ไปรษณีย์ และโจทก์ทราบแล้ว ย่อมไม่อุทธรณ์ได้
เจ้าพนักงานประเมินมีหมายเรียกถึงโจทก์รวม 2 ครั้งโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ แจ้งให้โจทก์ไปให้ถ้อยคำชี้แจงประกอบการตรวจสอบไต่สวน และให้โจทก์ส่งมอบบัญชีพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีไปให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบด้วย พนักงานไปรษณีย์มิได้นำส่งหมายเรียกยังภูมิลำเนาของโจทก์ แต่นำไปส่งไว้ที่ตู้ไปรษณีย์ซึ่งโจทก์เช่าไว้ โจทก์ให้พนักงานของโจทก์ไปรับหมายเรียกดังกล่าวมาโดยถูกต้อง ถือได้ว่าโจทก์ทราบหมายเรียกของจำเลยโดยชอบแล้ว โจทก์จะอ้างว่าการส่งหมายเรียกไม่ถูกต้อง และถือเป็นเหตุไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของจำเลยหาได้ไม่ ดังนั้นการที่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามหมายเรียกของจำเลยโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานของจำเลยจึงมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้อง และแจ้งจำนวนเงินซึ่งต้องชำระไปยังโจทก์ได้ และในกรณีนี้ห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 21, 88 ประกอบมาตรา 87 (3) เมื่อโจทก์ถูกต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจที่จะอุทธรณ์ต่อศาลได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยประมาทไม่ใช่การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะมีการขู่ก่อนเกิดเหตุ
การกระทำซึ่งจะเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา68ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนาจำเลยเอาอาวุธปืนออกมาขู่ผู้ตายและทำปืนลั่นโดยประมาทถูกผู้ตายถึงแก่ความตายไม่ใช่กระทำโดยเจตนาการกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการป้องกัน.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)