พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4338/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมมีผลบางส่วน ทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทรัพย์มรดก
โจทก์ทั้งห้าในฐานะทายาทฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและปกครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น ขอแบ่งทรัพย์มรดก แม้จะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จำเลยทั้งสองก็จะหมดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์ที่ 2 เคยฟ้องขอแบ่งส่วนทำบุญทำทานตามที่เจ้ามรดกสั่งไว้ในพินัยกรรม โจทก์ที่ 3 เคยฟ้องขอแบ่งมรดก โจทก์ที่ 4 เคยร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนจำเลยทั้งสองจากการเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ที่ 5 ก็เคยฟ้องจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกเคยฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 5 ออกจากที่ดินกองมรดก แต่ไม่ปรากฏว่าได้พิพาทกันในประเด็นว่าพินัยกรรมของเจ้ามรดกเป็นโมฆะหรือไม่ ดังนั้น ที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ว่าพินัยกรรมของเจ้ามรดกเป็นโมฆะ ทรัพย์มรดกตกได้แก่ทายาทโดยธรรมจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
พินัยกรรมที่กำหนดยกทรัพย์มรดำให้แก่ผู้มีชื่อถือหุ้นในบริษัท โดยแต่ละคนมีส่วนเฉลี่ยตามจำนวนหุ้น ซึ่งเจ้ามรดกก็เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทดังกล่าวด้วยนั้น เป็นพินัยกรรมที่กำหนดตัวผู้รับพินัยกรรมโดยทราบตัวได้แน่นอนแล้วตามรายชื่อผู้ถือหุ้นในบริษัทที่มีอยู่ในขณะผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย พินัยกรรมส่วนนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 มีผลบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ส่วนที่ปรากฏว่าเจ้ามรดกก็เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทด้วย จึงเท่ากับเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ตนเองนั้น ย่อมเป็นข้อกำหนดที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1646 ไม่มีผลบังคับทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม
พินัยกรรมซึ่งมีข้อความให้ผู้จัดการมรดกและผู้ถือหุ้นซึ่งได้รับทรัพย์มรดกมาตามพินัยกรรมโอนทรัพย์มรดกให้เป็นการเพิ่มทุนของบริษัทตามอัตราส่วนของหุ้นที่แต่ละคนมีอยู่นั้น เป็นเงื่อนไขที่ให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมนั้นแก่บุคคลอื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 จึงไม่มีผล ถือว่าเงื่อนไขนั้นเป็นอันไม่มีผู้รับพินัยกรรมไม่จำต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้น
พินัยกรรมที่กำหนดให้โอนหุ้นในส่วนของเจ้ามรดกใส่ชื่อผู้จัดการมรดกร่วมกัน เพื่อรับเงินปันผลจากบริษัท เพื่อทำบุญทำทาน และเกื้อกูลบุตรหลานที่ไม่มีชื่อถือหุ้นในบริษัทนั้น ไม่ใช่เรื่องตั้งผู้ปกครองทรัพย์และไม่ใช่เรื่องก่อตั้งทรัสต์ เพราะผู้รับพินัยกรรมไม่ใช่ผู้เยาว์หรือบุคคลไร้ความสามารถ และไม่มีการยกทรัพย์ให้แก่ผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด แต่เป็นข้อกำหนดที่ทรัพย์สินซึ่งยกให้โดยพินัยกรรมระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจที่จะทราบแน่นอนได้ และเป็นการให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้กำหนดทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับพินัยกรรมมากน้อยเท่าใดตามแต่ใจของผู้จัดการมรดก ข้อกำหนดนี้จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706 (3)
โจทก์ที่ 2 เคยฟ้องขอแบ่งส่วนทำบุญทำทานตามที่เจ้ามรดกสั่งไว้ในพินัยกรรม โจทก์ที่ 3 เคยฟ้องขอแบ่งมรดก โจทก์ที่ 4 เคยร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนจำเลยทั้งสองจากการเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ที่ 5 ก็เคยฟ้องจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกเคยฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 5 ออกจากที่ดินกองมรดก แต่ไม่ปรากฏว่าได้พิพาทกันในประเด็นว่าพินัยกรรมของเจ้ามรดกเป็นโมฆะหรือไม่ ดังนั้น ที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ว่าพินัยกรรมของเจ้ามรดกเป็นโมฆะ ทรัพย์มรดกตกได้แก่ทายาทโดยธรรมจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
พินัยกรรมที่กำหนดยกทรัพย์มรดำให้แก่ผู้มีชื่อถือหุ้นในบริษัท โดยแต่ละคนมีส่วนเฉลี่ยตามจำนวนหุ้น ซึ่งเจ้ามรดกก็เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทดังกล่าวด้วยนั้น เป็นพินัยกรรมที่กำหนดตัวผู้รับพินัยกรรมโดยทราบตัวได้แน่นอนแล้วตามรายชื่อผู้ถือหุ้นในบริษัทที่มีอยู่ในขณะผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย พินัยกรรมส่วนนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 มีผลบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ส่วนที่ปรากฏว่าเจ้ามรดกก็เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทด้วย จึงเท่ากับเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ตนเองนั้น ย่อมเป็นข้อกำหนดที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1646 ไม่มีผลบังคับทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม
พินัยกรรมซึ่งมีข้อความให้ผู้จัดการมรดกและผู้ถือหุ้นซึ่งได้รับทรัพย์มรดกมาตามพินัยกรรมโอนทรัพย์มรดกให้เป็นการเพิ่มทุนของบริษัทตามอัตราส่วนของหุ้นที่แต่ละคนมีอยู่นั้น เป็นเงื่อนไขที่ให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมนั้นแก่บุคคลอื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 จึงไม่มีผล ถือว่าเงื่อนไขนั้นเป็นอันไม่มีผู้รับพินัยกรรมไม่จำต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้น
พินัยกรรมที่กำหนดให้โอนหุ้นในส่วนของเจ้ามรดกใส่ชื่อผู้จัดการมรดกร่วมกัน เพื่อรับเงินปันผลจากบริษัท เพื่อทำบุญทำทาน และเกื้อกูลบุตรหลานที่ไม่มีชื่อถือหุ้นในบริษัทนั้น ไม่ใช่เรื่องตั้งผู้ปกครองทรัพย์และไม่ใช่เรื่องก่อตั้งทรัสต์ เพราะผู้รับพินัยกรรมไม่ใช่ผู้เยาว์หรือบุคคลไร้ความสามารถ และไม่มีการยกทรัพย์ให้แก่ผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด แต่เป็นข้อกำหนดที่ทรัพย์สินซึ่งยกให้โดยพินัยกรรมระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจที่จะทราบแน่นอนได้ และเป็นการให้ผู้จัดการมรดกเป็นผู้กำหนดทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับพินัยกรรมมากน้อยเท่าใดตามแต่ใจของผู้จัดการมรดก ข้อกำหนดนี้จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1706 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3875/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก: การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินที่เป็นทรัพย์มรดก แม้ผู้จัดการมรดกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินนั้นเอง
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ขายกับจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อโดยอ้างว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของ ร. กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ร่วมกับโจทก์ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองมาโดยตลอด หากฟังว่าที่ดินเป็นมรดกของ ร. สิทธิของทายาท ร. ก็ขาดอายุความแล้ว การโต้แย้งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมิได้กระทำในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. แต่เป็นการโต้แย้งโดยอ้างอำนาจของตนเอง จึงมิใช่เป็นการทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกของ ร. กรณีมิใช่เป็นเรื่องความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการจัดการมรดกของ ร. ซึ่งต้องถือเอาเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดก ถ้าเสียงเท่ากันเมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 ทั้งระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยที่ 1 ก็ได้ถูกถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ร. แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ที่เหลืออยู่แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ตามสิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์อุธรณ์ฎีกาเพียงให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามลำดับ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดี คำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวนเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทข้ออื่น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์อุธรณ์ฎีกาเพียงให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามลำดับ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดี คำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวนเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าเป็นทรัพย์มรดกเพื่อยกเว้นภาษี: ภาระการพิสูจน์และการยื่นพยานหลักฐาน
บิดาของโจทก์เช่าตึกแถวจากผู้ให้เช่า ต่อมาโจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าต่อบิดาซึ่งถึงแก่กรรม แล้วโจทก์โอนสิทธิการเช่านี้ให้แก่ธนาคารโดยได้เงินตอบแทน 2,000,00 บาท ในประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า สิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทนี้เป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ เมื่อโจทก์มิได้ระบุพยานภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ระบุพยานได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ ซึ่งหมายความว่าโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นได้ตามข้ออ้างที่ว่าสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทเป็นทรัพย์มรดก เช่นนี้การโอนสิทธิเช่าตึกแถวพิพาาทของโจทก์จึงฟังมิได้ว่าเป็นการโอนทรัพย์สินที่ได้มาโดยทางมรดกและมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ดังนั้น โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินค่าตอบแทนจำนวน 2,000,000 บาท มาคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (9) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์มรดกเพื่อข้อยกเว้นภาษี หากไม่สามารถนำสืบได้ ถือเป็นเงินได้ต้องเสียภาษี
บิดาของโจทก์เช่าตึกแถวจากผู้ให้เช่า ต่อมาโจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าต่อจากบิดาซึ่งถึงแก่กรรม แล้วโจทก์โอนสิทธิการเช่านี้ให้แก่ธนาคารโดยได้เงินตอบแทน 2,000,000 บาท ในประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า สิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทนี้เป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์เมื่อโจทก์มิได้ระบุพยานภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ระบุพยานได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ ซึ่งหมายความว่าโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นได้ตามข้ออ้างที่ว่าสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทเป็นทรัพย์มรดก เช่นนี้ การโอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทของโจทก์จึงฟังมิได้ว่าเป็นการโอนทรัพย์สินที่ได้มาโดยทางมรดกและมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ดังนั้น โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินค่าตอบแทนจำนวน 2,000,000 บาท มาคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3357/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดข้อมูลทายาทและทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อประโยชน์ส่วนตัว เป็นเหตุให้ศาลถอนผู้จัดการมรดกได้
ผู้ร้องทราบว่ามารดาของผู้คัดค้านกับผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตายแต่ผู้ร้องได้แสดงบัญชีเครือญาติและนำสืบว่าผู้ตายมีทายาทเพียง 2 คน คือ ผู้ร้องกับมารดาผู้ตาย และในคำร้องขอจัดการมรดกผู้ร้องอ้างว่าผู้ตายมีทรัพย์สินต้องจัดแบ่งปันแก่ทายาทแต่กลับมาอ้างในชั้นร้องขอถอนผู้จัดการมรดกว่าผู้ตายไม่มีทรัพย์สินที่จะต้องแบ่งปันจึงส่อพฤติการณ์ไม่สุจริตปกปิดข้อเท็จจริงในเรื่องทายาทและทรัพย์มรดกของผู้ตาย ไม่สมควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3277/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดของทายาท: หน้าที่การพิสูจน์ความรับผิดและทรัพย์มรดก
ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในฐานะเป็นทายาทของผู้ตายซึ่งกระทำละเมิดต่อโจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยเหตุที่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และผู้ตายมีทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทอย่างใดหรือไม่ แม้โจทก์จะอุทธรณ์เฉพาะปัญหาดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของผู้ตายไม่เป็นละเมิด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็อาจยกฟ้องโจทก์โดยเหตุดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยตามข้ออุทธรณ์ของโจทก์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสและทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม โดยพิจารณาจากสิทธิของคู่สมรสและผู้รับมรดก
เจ้ามรดกกับจำเลยได้อยู่กินเป็นสามีภริยากันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 จึงต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย คือสามีได้ 2 ส่วน ภริยาได้ 1 ส่วนเจ้ามรดกจึงมีสิทธิในทรัพย์สิน 2 ส่วนใน 3 ส่วน จำเลยซึ่งเป็นภริยาเจ้ามรดกได้เพียง 1 ใน 3 ส่วน แต่เมื่อเจ้ามรดกได้ระบุในพินัยกรรมให้แบ่งสินสมรสออกเป็น 2 ส่วน โดยให้ตกแก่จำเลย1 ส่วน อีก 1 ส่วนเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ทั้งสองคนละ 1 ส่วน ดังนี้จึงต้องแบ่งทรัพย์สินร่วมกันของเจ้ามรดกกับจำเลยออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งตกแก่จำเลย อีกส่วนหนึ่งให้ตกเป็นของโจทก์ทั้งสองคนละส่วนเท่ากัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ทรัพย์สินยังไม่ขาดจากกองมรดก แม้ผู้คัดค้านอ้างเป็นเจ้าของ
คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านมิได้คัดค้านว่า ผู้ร้องมิใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก หรือผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดก แต่อ้างเป็นทำนองว่า ไม่มีทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องจัดการ เนื่องจากทรัพย์มรดกทั้งหมดคือที่ดิน 4 แปลงตามคำร้องเป็นของผู้คัดค้านแต่ปรากฏตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ว่าผู้ตายเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินทั้ง 4 แปลงนั้นทั้งผู้คัดค้านเคยฟ้องบุตรของผู้ตายรวมทั้งผู้ร้องให้โอนที่ดินดังกล่าวให้ผู้คัดค้าน แต่ศาลพิพากษายกฟ้อง และมิได้วินิจฉัยว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านดังที่ผู้คัดค้านอ้าง หลักฐานในคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านกลับแสดงให้เห็นในเบื้องต้นว่า มีทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องจัดการอันเป็นเหตุที่จะต้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดกดังที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอ ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ข้อพิพาทที่ว่าผู้คัดค้านหรือเจ้ามรดกเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จะขอให้ศาลพิพากษาแสดงสิทธิในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกต้องมีเหตุสมควร มิใช่เพียงโต้แย้งเรื่องทรัพย์สินเป็นของผู้คัดค้าน
คำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านมิได้คัดค้านว่า ผู้ร้องมิใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก หรือผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดก แต่อ้างเป็นทำนองว่า ไม่มีทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องจัดการ เนื่องจากทรัพย์มรดกทั้งหมดคือที่ดิน 4 แปลงตามคำร้องเป็นของผู้คัดค้าน แต่ปรากฏตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ว่าผู้ตายเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินทั้ง 4 แปลงนั้น ทั้งผู้คัดค้านเคยฟ้องบุตรของผู้ตายรวมทั้งผู้ร้องให้โอนที่ดินดังกล่าวให้ผู้คัดค้าน แต่ศาลพิพากษายกฟ้อง และมิได้วินิจฉัยว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านดังที่ผู้คัดค้านอ้าง หลักฐานในคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านกลับแสดงให้เห็นในเบื้องต้นว่า มีทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องจัดการอันเป็นเหตุที่จะต้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดกดังที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอ ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ข้อพิพาทที่ว่าผู้คัดค้านหรือเจ้ามรดกเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จะขอให้ศาลพิพากษาแสดงสิทธิในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกหาได้ไม่.
ข้อพิพาทที่ว่าผู้คัดค้านหรือเจ้ามรดกเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จะขอให้ศาลพิพากษาแสดงสิทธิในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินทรัพย์มรดก: อำนาจฟ้องล้มละลาย
โจทก์นำหนี้ของผู้ตายมาฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทให้ล้มละลาย หนี้ดังกล่าวจึงมิใช่หนี้ที่จำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแม้จำเลยทั้งสามจะเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ซึ่งจะต้องรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตายที่โดยสภาพไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ด้วยก็ตาม ก็ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่จะตกได้แก่ตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 และตามคำฟ้องระบุเพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นทายาทของผู้ตาย โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยแต่ละคนได้รับมรดกไว้เป็นจำนวนเท่าใด เพียงพอที่จะชำระหนี้แทนผู้ตายหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้