พบผลลัพธ์ทั้งหมด 263 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1762/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารใบสั่งซื้อไม่ใช่เอกสารสิทธิ การปลอมแปลงเข้าข่ายความผิดฐานปลอมเอกสารธรรมดา
ใบสั่งซื้อสินค้าเป็นเพียงคำเสนอที่จะซื้อสินค้าของโจทก์เท่านั้น ใบสั่งซื้อสินค้าจึงมิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ มิใช่เอกสารสิทธิตามความใน ป.อ. มาตรา 1 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ใช่เอกสารสิทธิ การแก้ไขจึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารสิทธิ
หนังสือมอบอำนาจเป็นเพียงเอกสารซึ่งบุคคลหนึ่งเป็นผู้มอบอำนาจมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจ ให้มีอำนาจจัดการทำนิติกรรมแทน มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ หนังสือมอบอำนาจจึงไม่เป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) การที่จำเลยที่ 1 กรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ร่วมลงลายมือชื่อไว้นั้น จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 265
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีความผิดหลายกรรมเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์และปลอมแปลงเอกสาร โดยมีลักษณะแห่งคดีความผิดอย่างเดียวกัน
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้และคดีอาญา 35 คดี ดังกล่าว จำเลยเป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้านซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยด้วยในทุกคดี โดยจำเลยถือโอกาสที่เป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้านกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และเอกสารโดยมีเจตนาเพื่อเบียดบังเอาเงินของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านที่มอบหมายให้จำเลยนำไปชำระหนี้กองทุนหมู่บ้านไปเป็นประโยชน์ส่วนตนลักษณะแห่งคดีและความผิดเป็นอย่างเดียวกัน ซึ่งโจทก์อาจยื่นฟ้องจำเลยทุกกระทงความผิดเป็นสำนวนเดียวกันได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2)
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดโดยให้นับโทษต่อรวมแล้วเกิน 20 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว หากปรากฏว่าการนับโทษต่อขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91 (1) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ให้ถูกต้องได้ ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะเป็นเรื่องการบังคับคดี
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดโดยให้นับโทษต่อรวมแล้วเกิน 20 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว หากปรากฏว่าการนับโทษต่อขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91 (1) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดใหม่ให้ถูกต้องได้ ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะเป็นเรื่องการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6291/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมูลหนี้จากสัญญาจ้างทนายความ การกระทำละเมิด และการปลอมแปลงเอกสาร
มูลหนี้ที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์เกิดจากความเสียหายที่จำเลยรับเป็นทนายความว่าความให้โจทก์ ซึ่งถือว่าโจทก์เป็นตัวการและจำเลยเป็นตัวแทน แล้วจำเลยไม่ฟ้องร้องคดีแพ่งเรียกหนี้เงินกู้จาก ป. แต่กลับปลอมสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยได้ฟ้อง ป. และ ป. ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ดังกล่าวจึงเกิดจากการที่จำเลยไม่ทำการเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 812 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 มูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงมิใช่กรณีละเมิดที่ต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามมาตรา 420, 448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารและการใช้เอกสารปลอมเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ ศาลฎีกาปรับบทลงโทษ
การที่จำเลยร่วมกันปลอมเอกสารหนังสือคำเสนอขอเช่าซื้อรถยนต์และแบบสัญญาค้ำประกัน หลังจากที่จำเลยร่วมกันปลอมเอกสารราชการใบรับคำขอมีบัตร มีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน และร่วมกันปลอมเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนกับสำเนาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ แล้วร่วมกันใช้เอกสารราชการและเอกสารปลอมดังกล่าวเพื่อเป็นหลักฐานประกอบในการทำคำเสนอขอเช่าซื้อรถยนต์โดยเจตนาให้พนักงานของบริษัท ส. หลงเชื่อในความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกต่างหากจากกันได้อันเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกัน จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมหนังสือคำเสนอขอเช่าซื้อรถยนต์และแบบสัญญาค้ำประกันอันเป็นเอกสารอีกกรรมหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทนั้นไม่ชอบ เมื่อโจทก์ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียใหม่ให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมและใช้ตราประทับปลอมในเอกสารราชการ ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษจำเลย
ป.อ. มาตรา 91 มิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำในวันเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยปลอมใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม 2 ฉบับ อันเป็นการปลอมใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมต่างฉบับกัน ซึ่งโดยสภาพของการกระทำดังกล่าวจำเลยต้องปลอมใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมดังกล่าวทีละฉบับ ในทันทีที่จำเลยปลอมใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมฉบับหนึ่งเสร็จ ก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการสำเร็จแล้วกระทงหนึ่ง ชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาให้เกิดผลเป็นเอกสารปลอมแต่ละฉบับแยกต่างหากจากกัน แม้จำเลยกระทำต่อเนื่องกันและนำใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมปลอม 2 ฉบับ ไปใช้ร่วมกันเพื่อเปลี่ยนชื่อให้แก่โรงแรมแห่งเดียว ก็ไม่ทำให้เจตนาของจำเลยที่มีมาตั้งแต่ต้นเปลี่ยนแปลงไปเป็นเจตนาเดียวได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กรรมต่างกัน
จำเลยเป็นผู้ปลอมดวงตราของเจ้าพนักงาน อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 251 (เดิม) และใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมประทับลงในใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมปลอม อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 252 รวม 2 ครั้ง ซึ่งในการใช้ดวงตราปลอมของเจ้าพนักงานประทับลงในใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมปลอม ทะเบียนเลขที่ 23 ใบอนุญาตเลขที่ 6/2558 จำเลยทำดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมและใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมด้วย จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 251 (เดิม) ประกอบมาตรา 263 กระทงหนึ่ง แต่การใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมประทับลงในใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมปลอม ทะเบียนเลขที่ 24 ใบอนุญาตเลขที่ 7/2558 นั้น จำเลยมิได้ปลอมดวงตราของเจ้าพนักงานขึ้นอีก คงใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมอันเดิม จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมอย่างเดียวตามมาตรา 252 อีกกระทงหนึ่ง
จำเลยเป็นผู้ปลอมดวงตราของเจ้าพนักงาน อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 251 (เดิม) และใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมประทับลงในใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมปลอม อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 252 รวม 2 ครั้ง ซึ่งในการใช้ดวงตราปลอมของเจ้าพนักงานประทับลงในใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมปลอม ทะเบียนเลขที่ 23 ใบอนุญาตเลขที่ 6/2558 จำเลยทำดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมและใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมด้วย จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 251 (เดิม) ประกอบมาตรา 263 กระทงหนึ่ง แต่การใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมประทับลงในใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมปลอม ทะเบียนเลขที่ 24 ใบอนุญาตเลขที่ 7/2558 นั้น จำเลยมิได้ปลอมดวงตราของเจ้าพนักงานขึ้นอีก คงใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมอันเดิม จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมอย่างเดียวตามมาตรา 252 อีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5038-5043/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสิทธิปลอม – คู่ฉบับสัญญาจองรถยนต์ที่มีลายมือชื่อผู้รับเงินมัดจำ ถือเป็นเอกสารสิทธิ
ผู้เสียหายที่ 1 ต้องใช้คู่ฉบับใบสัญญาจองรถยนต์ ฉบับสีชมพูที่มีลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 เป็นหลักฐานในการรับมอบเงินมัดจำจากจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายที่ 1 ในการเรียกให้จำเลยมอบเงินมัดจำ จึงเป็นเอกสารสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3327-3328/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสัญญาจ้างพนักงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน และความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 ข้อ 4.1 และ 4.2 ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 โจทก์ที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามฟ้องข้อ 4.1 และ 4.2 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ฎีกาของโจทก์ที่ 2 ในส่วนนี้เป็นฎีกาที่ต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับไว้พิจารณา
การพิจารณาต่อสัญญาจ้างพนักงานตามภารกิจเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรี โดยจะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อต่อสัญญาจ้างด้วย โจทก์ที่ 2 เป็นพนักงานจ้างตามภารกิจตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2551 การที่ในเดือนกันยายน 2551 ส. ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่แทนนายกเทศมนตรีทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นพนักงานจ้างตามภารกิจมีกำหนดระยะเวลา 4 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2555 นั้น เป็นกรณีพิจารณาต่อสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นพนักงานจ้างตามภารกิจต่อไป จึงต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดหนองบัวลำภู ข้อ 34 และข้อ 44 เมื่อก่อนที่ ส. ต่อสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 ไม่ได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 และไม่มีผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปี ไม่ต่ำกว่าระดับดี การที่ ส. ต่อสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 มีกำหนด 4 ปี จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลผูกพันเทศบาลตำบลสุวรรณคูหา จำเลยที่ 1 ในฐานะนายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับงบประมาณได้ สำหรับสัญญาจ้างพนักงานจ้างไม่ลงวันที่มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2556 โจทก์ที่ 2 และพนักงานจ้างอีก 14 คน เขียนกรอกข้อความในแบบพิมพ์สัญญาจ้างตามคำบอกของจำเลยที่ 2 เมื่อเดือนกันยายน 2552 โดยไม่ปรากฏว่ามีการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 และพนักงานจ้างอีก 14 คน เพื่อใช้ประกอบการต่อสัญญาจ้างแล้วหรือไม่ จึงอยู่ในขั้นเตรียมการที่จะเสนอให้จำเลยที่ 1 เพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้างหรือไม่เท่านั้น ยังไม่มีผลผูกพันเทศบาลตำบลสุวรรณคูหา เพราะจะต้องเสนอให้จำเลยที่ 1 พิจารณาเสียก่อนว่าเห็นชอบและอนุมัติตามระยะเวลาการจ้างดังกล่าวหรือไม่ การที่ ย. แก้ไขกำหนดระยะเวลาการจ้างและปีสิ้นสุดสัญญาและจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดหนองบัวลำภู การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และการที่จำเลยที่ 1 ใช้สัญญาจ้างพนักงานแสดงต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดหนองบัวลำภูก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม และไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ประเมินชั้นต้น ประเมินการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 ว่าควรปรับปรุง คณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้าง ประกอบด้วยจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และ ส. เห็นด้วยกับการประเมินข้างต้นว่าไม่ผ่านการประเมิน อันเป็นดุลพินิจของผู้ประเมินและคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้าง แบบประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานจ้างจึงมิใช่เอกสารปลอมหรือเอกสารเท็จ และฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
การพิจารณาต่อสัญญาจ้างพนักงานตามภารกิจเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรี โดยจะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อต่อสัญญาจ้างด้วย โจทก์ที่ 2 เป็นพนักงานจ้างตามภารกิจตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2551 การที่ในเดือนกันยายน 2551 ส. ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่แทนนายกเทศมนตรีทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นพนักงานจ้างตามภารกิจมีกำหนดระยะเวลา 4 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2555 นั้น เป็นกรณีพิจารณาต่อสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 เป็นพนักงานจ้างตามภารกิจต่อไป จึงต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดหนองบัวลำภู ข้อ 34 และข้อ 44 เมื่อก่อนที่ ส. ต่อสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 ไม่ได้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 และไม่มีผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปี ไม่ต่ำกว่าระดับดี การที่ ส. ต่อสัญญาจ้างโจทก์ที่ 2 มีกำหนด 4 ปี จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลผูกพันเทศบาลตำบลสุวรรณคูหา จำเลยที่ 1 ในฐานะนายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับงบประมาณได้ สำหรับสัญญาจ้างพนักงานจ้างไม่ลงวันที่มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2556 โจทก์ที่ 2 และพนักงานจ้างอีก 14 คน เขียนกรอกข้อความในแบบพิมพ์สัญญาจ้างตามคำบอกของจำเลยที่ 2 เมื่อเดือนกันยายน 2552 โดยไม่ปรากฏว่ามีการประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 และพนักงานจ้างอีก 14 คน เพื่อใช้ประกอบการต่อสัญญาจ้างแล้วหรือไม่ จึงอยู่ในขั้นเตรียมการที่จะเสนอให้จำเลยที่ 1 เพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้างหรือไม่เท่านั้น ยังไม่มีผลผูกพันเทศบาลตำบลสุวรรณคูหา เพราะจะต้องเสนอให้จำเลยที่ 1 พิจารณาเสียก่อนว่าเห็นชอบและอนุมัติตามระยะเวลาการจ้างดังกล่าวหรือไม่ การที่ ย. แก้ไขกำหนดระยะเวลาการจ้างและปีสิ้นสุดสัญญาและจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไขนั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดหนองบัวลำภู การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ และการที่จำเลยที่ 1 ใช้สัญญาจ้างพนักงานแสดงต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดหนองบัวลำภูก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม และไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ประเมินชั้นต้น ประเมินการปฏิบัติงานของโจทก์ที่ 2 ว่าควรปรับปรุง คณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้าง ประกอบด้วยจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และ ส. เห็นด้วยกับการประเมินข้างต้นว่าไม่ผ่านการประเมิน อันเป็นดุลพินิจของผู้ประเมินและคณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจ้าง แบบประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานจ้างจึงมิใช่เอกสารปลอมหรือเอกสารเท็จ และฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7621/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินที่เกิดจากการปลอมแปลงเอกสารและการครอบครองที่ดินโดยไม่ชอบ
ส. ผู้ที่นำที่ดินมาขายให้แก่จำเลยไม่ใช่ผู้มีสิทธิซื้อที่ดินคืนจากธนาคาร อ. ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของโจทก์และเจ้าของรวม แต่ ส. ใช้สิทธิซื้อที่ดินจากธนาคาร อ. โดยการปลอมลายมือชื่อโจทก์และเจ้าของรวมโดยมิชอบ ส. จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งศาลแพ่งมีคำพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างธนาคาร อ. กับ ส. และระหว่าง ส. กับจำเลยแล้ว ส. จึงไม่มีสิทธินำที่ดินไปขายให้แก่จำเลย จำเลยเป็นผู้ซื้อและรับโอนที่ดินมาจาก ส. ย่อมไม่มีสิทธิดีกว่า ส. ผู้โอนซึ่งได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อ ส. ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเช่นเดียวกัน การครอบครองที่ดินของจำเลยสืบสิทธิมาจาก ส. อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยย่อมถูกตัดสิทธิไม่ให้นำสิทธิยึดหน่วงมาใช้บังคับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 วรรคสอง ส่วนที่โจทก์ยังมิได้ชำระค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นพร้อมดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลแพ่งในคดีก่อนก็เป็นเรื่องที่จำเลยชอบที่จะไปบังคับคดีในคดีดังกล่าวต่อไป โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3311/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปลอมแปลงเอกสารรถยนต์, พยายามลักลอบนำรถออกนอกประเทศ, และการใช้เอกสารราชการปลอม มีความผิดตามกฎหมาย
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ได้ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 โดย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มาตรา 242 ยังบัญญัติว่า การพยายามนำของซึ่งยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรเป็นความผิดอยู่ ถือไม่ได้ว่า พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ยกเลิกความผิดฐานนี้ และมาตราดังกล่าวกำหนดอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ริบของนั้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ แต่ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 บัญญัติว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ ดังนั้น จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นคุณกว่าตาม ป.อ. มาตรา 3
มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 บัญญัติให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล เมื่อคดีนี้มีการคืนของกลางให้เจ้าของไปแล้วและศาลใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามโดยไม่ปรับ กรณีจึงไม่มีเงินค่าปรับและของกลางที่จะสั่งจ่ายเป็นเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 8 ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 บัญญัติให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล เมื่อคดีนี้มีการคืนของกลางให้เจ้าของไปแล้วและศาลใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามโดยไม่ปรับ กรณีจึงไม่มีเงินค่าปรับและของกลางที่จะสั่งจ่ายเป็นเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 8 ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้