คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป.วิ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3969/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดีและยกคำร้องคนอนาถา ผู้ร้องอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226(2)
การที่ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาศาลเพื่อให้ศาลทำการไต่สวน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นคนยากจนจริงโดยผู้ร้องขอให้พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น และมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนการพิจารณาคดีในวันนัดไต่สวนออกไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซึ่งจะต้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดเวลา 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย ผู้ร้องจึงชอบที่จะยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นได้ภายในกำหนดเวลา 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
แม้ทนายผู้ร้องจะอ้างความเจ็บป่วยของบิดาเป็นเหตุให้มาศาลตามกำหนดนัดไม่ได้ แต่ก็เป็นการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยไม่ปรากฏเหตุสมควรที่จะทำให้เห็นได้ว่าทนายผู้ร้องต้องไปเฝ้าดูแลด้วยตนเองถึงขนาดที่จะมาศาลตามกำหนดนัดไม่ได้แต่อย่างใด ประกอบกับผู้ร้องและพยานมิได้มาศาล พฤติการณ์ของทนายผู้ร้องและผู้ร้องส่อไปในทางประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานเข้าทำการไต่สวนให้น่าเชื่อว่าผู้ร้องมีฐานะยากจนและยกคำร้องของผู้ร้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดหลังพ้นกำหนดเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม และการพิจารณาเรื่องราคาขายที่ต่ำกว่าราคาจริง
คำร้องของจำเลยที่ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยโดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้ส่งประกาศขายทอดตลาดไปยังภูมิลำเนาของจำเลยทำให้จำเลยไม่ทราบวันขายทอดตลาดนั้น เป็นการกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยโดยมิได้แจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดให้จำเลยทราบ ซึ่งฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา 306 วรรคหนึ่ง คำร้องของจำเลยดังกล่าวจึงอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่นำมาตรา 27 มาใช้บังคับแก่กรณีตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้ เมื่อจำเลยยื่นคำร้องหลังจากการบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวเสร็จลงจึงล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3301/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด
คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ที่เสนอต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวาต้องอยู่ใต้บังคับของมาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า "คำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ให้เป็นที่สุด แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกฟ้องประเด็นเจตนาบริจาคที่ดินนอกประเด็นฟ้อง ชี้เป็นเรื่องนอกฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้อง คำให้การและฟ้องแย้ง และคำให้การแก้ฟ้องแย้งมีเพียงว่า ที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งสามครอบครองเป็นของโจทก์หรือเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยทั้งสามเท่านั้น ซึ่งหากศาลฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ก็ชอบที่จะพิพากษาขับไล่จำเลยและยกฟ้องแย้ง หากฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยทั้งสามก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์และบังคับให้ไปตามคำขอท้ายฟ้องแย้ง การที่ศาลชั้นต้นรับฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แล้วยังวินิจฉัยต่อไปว่าการที่ ถ. ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ก็โดยมีเจตนาให้บุตรทุกคนที่ยังไม่มีครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน บุตรซึ่งมีครอบครัวและหากมีเงินให้แยกไปปลูกบ้านอยู่ต่างหากนอกที่ดินพิพาท โดยจำต้องผูกพันตามเจตนาของ ถ. เมื่อจำเลขที่ 1 ยังไม่มีครอบครัว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีเงิน โจทก์จึงจำต้องให้จำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามโดยจำเลยทั้งสามมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การและฟ้องแย้งจึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นพิพาท ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องควบคู่กับการวางค่าธรรมเนียมและชำระตามคำพิพากษา หรือประกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234
การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินและมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในคราวเดียวกัน จำเลยจะต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ด้วย ทั้งต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 จำเลยจะเลือกอุทธรณ์เฉพาะคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลเพียงอย่างเดียวหาได้ไม่ อุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 234 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยมา และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยให้ จึงเป็นการไม่ชอบและไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10830/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 คดีมี/ไม่มีทุนทรัพย์ - ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ 74 ตารางวา ราคาประเมินตารางวาละ 1,000 บาท เป็นทุนทรัพย์ 74,000 บาทจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ดินอีกส่วนหนึ่งจำเลยอ้างว่าเป็นที่ดินของกรมชลประทาน เท่ากับว่าจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ส่วนนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าหากให้เช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 1,000 บาท จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ฉะนั้นคำฟ้องของโจทก์ทั้งส่วนที่มีทุนทรัพย์และส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ที่โจทก์ฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าตามสัญญาเช่า เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม ป.วิ.พ. และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องไว้ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ซึ่งมาตรา 180 บัญญัติว่า "การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้วให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน..." ดังนั้น การที่ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ คู่ความมาศาล ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยแล้วยังตกลงกันไม่ได้จึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วนัดสืบพยานโจทก์ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันนัดสืบพยานดังกล่าวของศาลแรงงานกลางเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อไม่มีการชี้สองสถาน โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเป็นการแก้ไขในรายละเอียดและเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ซึ่งเป็นข้อที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ทั้งโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โจทก์จึงมีสิทธิขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และมาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องในคดีแรงงาน: การนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม และข้อยกเว้นการชี้สองสถาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องไว้ จึงต้องนำป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 39 บัญญัติถึงการนัดพิจารณาไว้โดยเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ คดีแรงงานจึงไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อไม่มีการชี้สองสถานโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน จึงมีสิทธิที่จะยื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659-660/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องขอให้สืบพยานเพิ่มเติม ศาลต้องดำเนินการตามขั้นตอน ป.วิ.พ. ก่อนวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า ทนายจำเลยที่ 2 จำเวลานัดสืบพยานคลาดเคลื่อน มิได้มีเจตนาประวิงคดี ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 2 และมีคำสั่งให้สืบพยานจำเลยที่ 2 ต่อไป หากเป็นจริงดังอ้างจำเลยที่ 2 ก็มิได้จงใจขาดนัดพิจารณา กรณีจึงต้องไต่สวนคำร้องเสียก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) และ (4) ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องโดยไม่ทำการไต่สวน เป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ชอบที่จะต้องมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 เสียก่อนแล้วมีคำสั่ง ไม่สมควรก้าวล่วงข้ามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยวินิจฉัยตามคำร้องและอุทธรณ์คำสั่งคำร้องของจำเลยที่ 2 เลยไปว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ประวิงคดี ฟังยังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ติดใจสืบพยาน และสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยที่ 2 ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ กรณีไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ (2) ประกอบด้วย มาตรา 247 และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6204/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องตามหมายบังคับคดีที่ศาลอนุญาตตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติถึงการอายัดสิทธิเรียกร้องซึ่งระบุไว้ในมาตรา 310 ทวิ ว่า ให้อายัดได้โดยคำสั่งอายัดซึ่งศาลได้ออกให้ตามที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องฝ่ายเดียว แต่ในวรรคสองของมาตรานี้ก็บัญญัติให้อำนาจแก่ศาลไว้ด้วยว่า เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจกำหนดไว้ในหมายบังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจอายัดสิทธิเรียกร้องนั้นก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ถือว่าคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นคำสั่งอายัดของศาล ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีระบุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการยึดอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ทรัพย์สินที่ให้จัดการอายัดตามหมายบังคับคดีฉบับดังกล่าว ย่อมหมายรวมถึงสิทธิเรียกร้องที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีต่อบุคคลภายนอก จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในหมายบังคับคดีแล้วว่าให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจอายัดสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีต่อบุคคลภายนอกได้ คำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีเช่นนี้ย่อมเท่ากับเป็นคำสั่งอายัดของศาลโดยผลของมาตรา 311 วรรคสองดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ไปถึงผู้คัดค้านจึงชอบด้วยกฎหมาย
of 27