พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีหน้าที่ชำระหนี้ตามสัญญา แม้จะชำระไม่ครบตามกำหนด ก็ถือเป็นผิดนัดและต้องรับผิดดอกเบี้ย
การที่จำเลยนำเงินไปชำระให้โจทก์ไม่ครบถ้วนตามสัญญาที่กำหนดทั้งที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระให้ครบถ้วน จำเลยจะอ้างว่าจำเลยมิได้ผิดนัดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3089/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน และการคิดดอกเบี้ยจากความผิดนัด
โจทก์เสียภาษีการค้าเกินอัตราให้แก่กรมสรรพากรจำเลยเป็นเรื่องหนี้เงินที่จำเลยเรียกเก็บผิดไปจากที่กฎหมายบัญญัติ เป็นเรื่องสิทธิเรียกร้องในหนี้เงิน เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินที่เรียกเก็บนั้น จำเลยก็ต้องคืนเงินอันมีจำนวนเงินที่เกินให้โจทก์ กรณีไม่ใช่เรื่องครอบครองปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แม้เงินจำนวนนี้ไม่มีอยู่ที่จำเลย เพราะตกได้แก่ แผ่นดินและรัฐบาลได้ใช้จ่ายไปแล้วเพื่อการบำรุงประเทศ หรือโจทก์ได้บวกค่าภาษีที่ได้ชำระไปแล้วรวมเข้ากับต้นทุนสินค้าและจำหน่ายให้กับผู้ซื้อ ก็หาเป็นเหตุที่จะทำให้จำเลย ไม่ต้องรับผิดไม่
เมื่อจำเลยได้รับการทวงถามจากโจทก์โดยชอบแล้ว ไม่ยอมคืนเงินภาษีที่โจทก์ชำระเกิน ถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องรับผิดในดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัดเป็นต้นมา
เมื่อจำเลยได้รับการทวงถามจากโจทก์โดยชอบแล้ว ไม่ยอมคืนเงินภาษีที่โจทก์ชำระเกิน ถือได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องรับผิดในดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัดเป็นต้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าล่วงเวลาล่าช้าของรัฐวิสาหกิจ แม้มีเหตุผล แต่ยังต้องรับผิดดอกเบี้ย
เหตุที่จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้โจทก์ล่าช้าเป็นเพราะระเบียบการจ่ายเงินเป็นการภายในซึ่งจำเลยได้วางหลักเกณฑ์ไว้เอง จึงยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยมิต้องรับผิดหาได้ไม่ เมื่อจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาให้โจทก์หลังจากที่จำเลยได้รับเรื่องการขอเบิกค่าล่วงเวลาของโจทก์เกิน 30 วันนับแต่โจทก์ทำงานล่วงเวลาเสร็จสิ้นลงถือได้ว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยได้รับเรื่องการขอเบิกค่าล่วงเวลาของโจทก์ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 31 วรรคแรก แต่เมื่อจำเลยได้รับเรื่องการขอเบิกค่าล่วงเวลาจากโจทก์ จำเลยก็ได้พยายามดำเนินการโดยมิได้หน่วงเหนี่ยวหรือจงใจทำให้ล่าช้า จึงถือไม่ได้ว่าจำเลย จงใจผิดนัดโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรอันเป็นผลให้ต้องจ่ายเงินเพิ่มตามประกาศดังกล่าว ข้อ 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมีเงื่อนเวลาชำระหนี้ ผู้ซื้อผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา
ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อหุ้นของผู้ขายทั้งหมดในบริษัท รวมทั้งสิทธิในรถยนต์โดยสารรวม 20 คัน โดยจำเลย ชำระเงินสดในวันทำสัญญาเป็นเงินจำนวน 200,000 บาท และผ่อนชำระราคาในส่วนที่เหลือ สัญญานี้จึงเป็น สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดโดยมีเงื่อนเวลาที่ผู้ขายให้โอกาสผู้ซื้อผ่อนชำระราคาได้หนี้ค่าซื้อรถยนต์และหุ้นรายนี้เป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนตามวันแห่งปฏิทินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 เมื่อผู้ซื้อ ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด จึงตกเป็นผู้ผิดนัด
ฝ่ายผู้ขายมีสองคนและเป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298
ฝ่ายผู้ขายมีสองคนและเป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คและการผิดนัดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ผลของการทำเช็คหายต่อการระงับหนี้
บทบัญญัติมาตรา 321 วรรคท้ายมิได้จำกัดว่า ต้องเป็นกรณีผู้ทรงได้นำตั๋วเงินไปยื่นเพื่อให้ใช้เงินแล้ว แต่ผู้จ่ายปฏิเสธการจ่ายเงินหนี้เดิมจึงจะไม่ระงับ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้ทำเช็คที่จำเลยโอนชำระหนี้หายไป จึงมิได้นำเช็คไปยื่นเพื่อให้ใช้เงิน และไม่มีการใช้เงินตามเช็คนั้นก็อยู่ในบังคับของมาตรานี้ อันมีผลว่าหนี้เดิมยังไม่ระงับไปเช่นเดียวกัน การที่โจทก์เพิ่งแจ้งเหตุขัดข้องในการเรียกเก็บเงินตามเช็คดังกล่าวให้จำเลยทราบ จำเลยจะได้รับความเสียหายอย่างไรหรือไม่ ย่อมเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากมูลหนี้เดิม เมื่อมูลหนี้ดังกล่าวยังมีอยู่ไม่ระงับไป จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องชำระหนี้นั้นให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยเป็นผู้ออกข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยมอบเช็คซึ่งมี อ. เป็นผู้สั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันเดียวกันกับที่จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน เช็คนั้นถึงกำหนดใช้เงินก่อนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงิน อ. มีฐานะการเงินเป็นที่เชื่อถือในวงการค้า เชื่อได้ว่าหากโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปขึ้นเงินโจทก์ก็จะได้รับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น แต่โจทก์หาได้กระทำไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จึงตกเป็นผู้ผิดนัด ซึ่งตามมาตรา 221 มิให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างนั้น จำเลยจึงไม่ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงิน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยเป็นผู้ออกข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยมอบเช็คซึ่งมี อ. เป็นผู้สั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินในวันเดียวกันกับที่จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน เช็คนั้นถึงกำหนดใช้เงินก่อนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงิน อ. มีฐานะการเงินเป็นที่เชื่อถือในวงการค้า เชื่อได้ว่าหากโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปขึ้นเงินโจทก์ก็จะได้รับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น แต่โจทก์หาได้กระทำไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จึงตกเป็นผู้ผิดนัด ซึ่งตามมาตรา 221 มิให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างนั้น จำเลยจึงไม่ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยคำนวณจากค่าจ้างจริง ไม่ใช่เงินเลื่อนขั้นเกษียณ และการผิดนัดรับชำระหนี้ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ย
การที่พนักงานรถไฟได้รับการพิจารณาบำเหน็จความชอบประจำปีอีก 1 ขั้นในปีที่เกษียณอายุโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการนั้น โดยที่พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 31 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วบัญญัติไว้ในวรรคสองว่า การเลื่อนเงินเดือนในวันสุดท้ายของปีงบประมาณนั้นไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับเงินเดือนที่ได้เลื่อน แต่เงินเดือนที่ได้เลื่อนให้ถือเสมือนว่าเป็นเงินเดือนเดิม อัตราเงินเดือนที่ได้เพิ่มขึ้นในวันสุดท้ายที่เกษียณอายุจึงเป็นแต่เพียงสิทธิ ไม่ได้จ่ายเป็นตัวเงิน ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามความในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและจะนำมาคำนวณค่าชดเชยไม่ได้เพราะคำว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย.ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วนั้นมุ่งหมายถึงค่าจ้างครั้งสุดท้ายที่ลูกจ้างได้รับตามความเป็นจริง
การที่จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับชำระโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้โจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดนัด ไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยตั้งแต่วันที่จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้
การที่จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับชำระโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้โจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดนัด ไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยตั้งแต่วันที่จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง: นายจ้างต้องจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง หากไม่จ่ายถือผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ย
ค่าชดเชยต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้าง โดยไม่ต้องทวงถาม ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การพิจารณาช่วงเวลาชำระหนี้ และการไม่ถือว่าผิดนัด
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่าจำเลยยอมชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2520 เป็นต้นไปโดยผ่อนชำระเป็นงวด ๆ คือ ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2521 เป็นต้นไปถึงวันที่ 18 ธันวาคม 2521 เงินต้นจ่ายเดือนละ 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยที่ค้าง ดังนี้ แสดงว่าจำเลยยอมชำระหนี้ให้โจทก์เดือนละ 1 งวดทุก ๆ เดือนไป วันเริ่มต้นนับคือวันที่ 18 มกราคม 2521 วันครบกำหนด 1 เดือนในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2521 การที่จำเลยชำระหนี้งวดแรกแก่โจทก์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2521 จึงเป็นการชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้หาเป็นการผิดนัดชำระหนี้ จนระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วอันจะเป็นเหตุให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ทันทีในเมื่อโจทก์ร้องขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอผลัดส่งตัวผู้ต้องหา นายประกันผิดนัด ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาอุทธรณ์/ฎีกาที่ไม่โต้แย้งคำสั่งปรับ
นายประกันขอผลัดส่งตัวผู้ต้องหาหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายนายประกันขอผลัดส่งตัวผู้ต้องหาอีก ศาลชั้นต้นสั่งปรับนายประกันตามสัญญาประกันเท่ากับศาลไม่อนุญาตให้นายประกันผลัดส่งตัวผู้ต้องหาไปในตัว นายประกันอุทธรณ์และฎีกาว่า หลักประกันที่ยื่นต่อศาลเป็นการเพียงพอ มิได้ประวิงคดีและไม่ทำให้เสียรูปคดี ขอให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาให้โอกาสแก่นายประกันติดตามตัวผู้ต้องหาอีกระยะหนึ่ง อุทธรณ์และฎีกากล่าวเพียงแสดงความประสงค์จะขอผลัดการส่งตัวผู้ต้องหาต่อศาลอุทธรณ์ฎีกาเท่านั้น มิได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งปรับนายประกันตามสัญญาประกันว่าไม่สมควรหรือไม่ถูกต้องแต่อย่างใด ศาลฎีกาจึงไม่รับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, ค่าจ้างค้างจ่าย, ดอกเบี้ยผิดนัด, หลักฐานสำเนา, การคิดดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างค่าจ้างในการที่ไม่บอกเลิกจ้างล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อน ค่าชดเชยค่าเสียหายและเงินที่โจทก์ออกทดรองไปก่อน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ได้ไล่โจทก์ออกจากงานแต่โจทก์ลาออกเองเนื่องจากทราบว่าจำเลยกำลังจะดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหายักยอก โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชย ค่าเสียหายและค่าจ้างที่ไม่บอกเลิกจ้างล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางจึงตั้งประเด็นวินิจฉัยว่า ที่โจทก์ออกจากบริษัทจำเลยนั้นเป็นเพราะจำเลยเลิกจ้างโจทก์หรือว่าเพราะโจทก์ลาออกเอง แล้ววินิจฉัยว่า จำเลยไล่โจทก์ออกมิใช่โจทก์ลาออกเอง ดังนี้ จะถือว่าศาลมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้เลยหาได้ไม่
เอกสารเรื่องเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายเป็นเพียงภาพถ่ายอันเป็นสำเนาเอกสาร จำเลยแถลงไม่รับรองความถูกต้อง โจทก์มิได้แถลงว่าต้นฉบับมีอยู่หรือไม่ อยู่ที่ใด เหตุใดโจทก์จึงไม่อ้างมาแสดงต่อศาล ดังนี้ ไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93
ค่าจ้างที่จำเลยต้องจ่ายให้โจทก์เนื่องจากเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา582 มิใช่ค่าจ้างตามบทนิยามในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามข้อ31 แต่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 และค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 เกิดขึ้นในทันทีที่นายจ้างเลิกจ้างเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้จ่ายเงิน 2 จำนวนนี้แก่โจทก์ ก็ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแต่นั้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี
เอกสารเรื่องเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายเป็นเพียงภาพถ่ายอันเป็นสำเนาเอกสาร จำเลยแถลงไม่รับรองความถูกต้อง โจทก์มิได้แถลงว่าต้นฉบับมีอยู่หรือไม่ อยู่ที่ใด เหตุใดโจทก์จึงไม่อ้างมาแสดงต่อศาล ดังนี้ ไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา93
ค่าจ้างที่จำเลยต้องจ่ายให้โจทก์เนื่องจากเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา582 มิใช่ค่าจ้างตามบทนิยามในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามข้อ31 แต่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 และค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 เกิดขึ้นในทันทีที่นายจ้างเลิกจ้างเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้จ่ายเงิน 2 จำนวนนี้แก่โจทก์ ก็ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแต่นั้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี