คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนหนังสือค้ำประกันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ทำให้หนี้ระงับสิ้นสุด ผู้ค้ำประกันยังคงมีผลผูกพัน
เหตุที่หนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารจำเลยที่ 2 หายไปจากกองการเงินของโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ไม่ทราบว่าหายไปเมื่อใดจึงไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ยินยอมคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันแก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วแต่เป็นเรื่องที่ได้มีการกระทำผิดต่อกฎหมายโดยมีผู้ลักเอาหนังสือสัญญาค้ำประกันไปเมื่อเอกสารดังกล่าวหายไปจากความครอบครองของโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์คืนเอกสารนั้นแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้เอกสารดังกล่าวมาอย่างไร จึงมิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1ได้เอกสารนั้นมาโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยที่ 2 จะได้เอกสารดังกล่าวไว้ในครอบครองก็หาใช่กรณีที่หนี้ของลูกหนี้ได้ระงับสิ้นไปแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ไม่ สัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ยังคงมีผลบังคับ หนี้ตามสัญญาค้ำประกันจึงยังไม่ระงับ โจทก์ชอบที่จะบังคับเอาจากจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ารับคืนสัญญาค้ำประกันนั้นจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต ก็หาใช่เหตุที่จะทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิดไม่ ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327วรรคสาม มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด หากปรากฏข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมฟังตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นได้ เมื่อโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนี้ตามสัญญาค้ำประกันยังไม่ระงับกรณีจึงไม่ต้องด้วยบทข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อที่ไม่ชอบและผลกระทบต่ออำนาจฟ้องของโจทก์ รวมถึงการฟ้องผู้ค้ำประกัน
ตามใบตอบรับไปรษณีย์ระบุว่า ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อของโจทก์ถึงจำเลยที่ 1 ที่บ้านพักนายตำรวจสถานีตำรวจทางหลวงบางประกง แต่จำเลยที่ 1 ได้ย้ายไปประจำที่อื่นก่อนที่จะได้มีการส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ การส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ ดังนั้น เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์มีความมุ่งหมายที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์อันเป็นผลที่เนื่องมาจากการบอกเลิกสัญญา แต่ปรากฏว่าการบอกเลิกสัญญากระทำโดยไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และแม้โจทก์จะได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลยที่ 2 แล้วก็ตามแต่จำเลยที่ 2 มีฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 2 ด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, รถหาย, ความรับผิดของผู้ซื้อและผู้ค้ำประกัน, ราคารถที่แท้จริง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อรถยนต์กระบะจากโจทก์ 1 คัน สัญญาดังกล่าวข้อ 3 ระบุว่า "กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะตกไปอยู่แก่ผู้ซื้อชำระราคาตามเงื่อนไขครบถ้วน" และ ข้อ 6 ระบุว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดขาดการชำระเงินงวดใด จำนวนใดตามที่มีหน้าที่ต้องชำระโดยสัญญาฉบับนี้ และหรือสัญญาฉบับอื่นใดที่ผู้ซื้อได้ทำไว้แก่ผู้ขาย ก็ดี...ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลืออยู่ในขณะนั้นเสียโดยครบถ้วนโดยพลัน ก็ได้..." ซึ่งสาระสำคัญของข้อความแตกต่างกับข้อความในบทบัญญัติเรื่องเช่าซื้อ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่ซื้อขายได้สูญหายไปเพราะถูกคนร้ายลัก แม้จะไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดตามสัญญาข้อ 5 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดด้วย ส. พยานโจทก์เบิกความตอบ คำถามค้านว่า รถยนต์คันพิพาทราคาเงินสดจำนวนเท่าใดจำไม่ได้และจำเลยที่ 1 เบิกความยืนยันว่าก่อนทำสัญญาซื้อขายโจทก์ตกลงว่า ถ้า ซื้อรถยนต์ด้วยราคาเงินสดจะเป็นจำนวน 163,000 บาท และเมื่อสัญญาซื้อขายก็ไม่ได้ระบุว่า หากรถยนต์สูญหายจำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้ราคารถยนต์จำนวนเท่าใด ราคารถยนต์ ในสัญญาที่ระบุจำนวน 199,000 บาท ไม่ใช่ราคารถยนต์ที่แท้จริง ต้องถือราคารถยนต์จำนวน 163,000 บาท เป็นราคาที่นำมาเป็น ฐานที่ตั้งของการคำนวณค่าเสียหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้าง/ผู้ค้ำประกันร่วมรับผิดในละเมิดของลูกจ้าง: อายุความ 10 ปี
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้างตามป.พ.พ. มาตรา 425 เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้วโจทก์ชอบที่จะได้รับการชดใช้จากจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 426 และจากจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความสิบปีตาม มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างและผู้ค้ำประกันจากลูกจ้างประมาทเลินเล่อ และอายุความของสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้ว โจทก์ชอบที่จะได้รับชดใช้จากจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 426 และจากจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ตามสัญญาค้ำประกัน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชดใช้จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิขอรับช่วงสิทธิหลังพ้นกำหนด
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยชำระหนี้ให้แก่ธนาคารกสิกรไทย เจ้าหนี้รายที่ 8 เมื่อพ้นระยะเวลาขอรับชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483แล้ว ไม่ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับช่วงสิทธิการขอรับชำระหนี้ของธนาคารกสิกรไทย ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างไร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิรับช่วงสิทธิหลังพ้นกำหนด
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยชำระหนี้ให้แก่ธนาคารกสิกรไทย เจ้าหนี้รายที่ 8 เมื่อพ้นระยะเวลาขอชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แล้ว ไม่ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับช่วงสิทธิการขอรับชำระหนี้ของธนาคารกสิกรไทยต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างไร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4256/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันเช่าซื้อรถยนต์ผิดนัดชำระหนี้ การครอบครองรถยนต์ไม่ถึงขั้นยักยอกทรัพย์
จำเลยเอารถยนต์ของกลางของผู้เสียหายไปไว้ในครอบครองของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันในการเช่าซื้อซึ่งภริยาจำเลยเช่าซื้อไปจากผู้เสียหาย และรถยนต์ของกลางยังคงอยู่ในครอบครองของจำเลยตลอดมา จำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระและมีหน้าที่จะต้องส่งคืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้เสียหาย การที่จำเลยเอารถยนต์ของกลางไปขับรับจ้างขนส่งผู้โดยสารในต่างจังหวัดและยังไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ผู้เสียหายชอบที่จะบังคับเอาทางแพ่งได้ การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นการเบียดบังทรัพย์อันจะเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันหลังจำนอง ไม่เป็นสัญญาอุปกรณ์ สิทธิของผู้ค้ำประกันยังคงมีอยู่จนกว่าหนี้จะหมด
สัญญาค้ำประกัน ซึ่งจำเลยที่ 4 ทำขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม2525 ระบุว่าเป็นการค้ำประกันสัญญากู้เงินเบิกเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2525 และเป็นสัญญาค้ำประกันหนี้ที่ทำขึ้นหลังจากที่มีการจดทะเบียนจำนองที่ดิน ซึ่งจดไว้เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2524 กรณีถือไม่ได้ว่าสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาจำนอง เมื่อหนี้ตามสัญญาค้ำประกันยังมีอยู่จำเลยที่ 4 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันจึงต้องรับผิดตามที่ได้เข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดและการบังคับใช้กับผู้ค้ำประกัน: อายุความทางอาญาเหนือกว่าอายุความทางแพ่ง
สัญญาค้ำประกันทำขึ้นขณะที่บัญชีอัตราอากรแสตมป์กำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 1 บาท แม้ภายหลังกฎหมายจะกำหนดให้ปิดอากรแสตมป์10 บาท สัญญาค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ 1 บาท นั้นก็ยังใช้ได้ไม่ต้องห้ามใช้เป็นพยานหลักฐานคดีแพ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 โจทก์ฟ้องว่า ส. พนักงานของโจทก์ทุจริตเบียดบังเอาเงินของโจทก์เป็นประโยชน์ส่วนตัวแล้วหลบหนี เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิด มีโทษตาม ป.อ. มาตรา 352 ซึ่งมีอายุความ10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95(3) กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปีจึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 448วรรคสอง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในมูลหนี้ละเมิดที่ ส. ก่อขึ้น จึงใช้กำหนดอายุความ 10 ปี จำเลยจะยกอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรกซึ่งเป็นข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งป.พ.พ. มาตรา 694 หาได้ไม่.
of 58