คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน เจ้าของรวมโอนสิทธิ ผู้รับโอนต้องผูกพันตามสัญญา
ผู้ร้องเช่าที่ดินซึ่งจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ส. ต่อมาได้แบ่งแยกที่ดินที่ดินส่วนที่ผู้ร้องเช่าตกได้แก่ส. แล้ว ส. ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินส่วนของโจทก์จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาล พิพากษาขับไล่จำเลย โจทก์จึงขอให้บังคับผู้ร้องออกจากที่ดินนั้นในฐานะบริวารของจำเลย ดังนี้เมื่อสัญญาเช่าระหว่างผู้ร้องกับจำเลยยังใช้บังคับได้อยู่ สัญญานี้ต้องผูกพัน ส. ผู้เป็นเจ้าของรวมแม้ ส. โอนกรรมสิทธิ์ส่วนของตนให้โจทก์โจทก์ย่อมต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ ส. ผู้โอนซึ่งมีต่อผู้ร้องตามสัญญาเช่านั้นด้วย ผู้ร้องจึงไม่อยู่ในฐานะบริวารของจำเลย(อ้างฎีกาที่ 90/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน เจ้าของรวมโอนสิทธิ-หน้าที่แก่ผู้รับโอน ผู้รับโอนต้องผูกพันตามสัญญา
ผู้ร้องเช่าที่ดินซึ่งจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ส..ต่อมาได้แบ่งแยกที่ดิน. ที่ดินส่วนที่ผู้ร้องเช่าตกได้แก่ ส.แล้ว.ส.ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์. โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินส่วนของโจทก์. จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา. ศาล พิพากษาขับไล่จำเลย. โจทก์จึงขอให้บังคับผู้ร้องออกจากที่ดินนั้นในฐานะบริวารของจำเลย ดังนี้. เมื่อสัญญาเช่าระหว่างผู้ร้องกับจำเลยยังใช้บังคับได้อยู่. สัญญานี้ต้องผูกพัน ส.ผู้เป็นเจ้าของรวม. แม้ ส.โอนกรรมสิทธิ์ส่วนของตนให้โจทก์. โจทก์ย่อมต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ ส.ผู้โอนซึ่งมีต่อผู้ร้องตามสัญญาเช่านั้นด้วย. ผู้ร้องจึงไม่อยู่ในฐานะบริวารของจำเลย(อ้างฎีกาที่ 90/2507).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ไม่ได้จดทะเบียน และผลกระทบต่อผู้รับโอนทรัพย์สิทธิ สัญญาเช่าระยะเวลาเกิน 3 ปีมีผลบังคับใช้แค่ 3 ปี
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดอายุการเช่า 10 ปี แต่มิได้จดทะเบียนการเช่า แม้จะเป็นการตอบแทนกับผู้ที่เช่าออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกอันถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนในกรณีพิเศษนอกเหนือจากสัญญาเช่าธรรมดาก็ตาม ก็เป็นบุคคลสิทธิผูกพันระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันเจ้าของผู้รับโอนตึกนั้นไปภายหลัง
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนด 7 ปี ซึ่งมิได้จดทะเบียนการเช่าแต่แบ่งทำเป็น 3 ฉบับในคราวเดียวกันฉบับละ 3 ปี และฉบับที่ 3 มีกำหนด 1 ปีก็ถือว่ามีผลใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น.
จำเลยฎีกาว่าใช้ตึกพิพาทเป็นที่อยู่อาศัย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 แม้จะปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ก็ตาม เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ไม่ได้จดทะเบียนและผลผูกพันต่อผู้รับโอนทรัพย์ สิทธิเช่ามีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดอายุการเช่า 10 ปี แต่มิได้จดทะเบียนการเช่า แม้จะเป็นการตอบแทนกับผู้ที่เช่าออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกอันถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนในกรณีพิเศษนอกเหนือจากสัญญาเช่าธรรมดาก็ตาม ก็เป็นบุคคลสิทธิผูกพันระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันเจ้าของผู้รับโอนตึกนั้นไปภายหลัง
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนด 7 ปี ซึ่งมิได้จดทะเบียนการเช่าแต่แบ่งทำเป็น 3 ฉบับในคราวเดียวกันฉบับละ 3 ปี และฉบับที่ 3 มีกำหนด 1 ปีก็ถือว่ามีผลใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น
จำเลยฎีกาว่าใช้ตึกพิพาทเป็นที่อยู่อาศัย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 แม้จะปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ก็ตาม เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่มิได้จดทะเบียนและผลผูกพันต่อผู้รับโอนทรัพย์ สิทธิเช่ามีผลแค่ 3 ปี
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดอายุการเช่า 10 ปี แต่มิได้จดทะเบียนการเช่า. แม้จะเป็นการตอบแทนกับผู้ที่เช่าออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกอันถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนในกรณีพิเศษนอกเหนือจากสัญญาเช่าธรรมดาก็ตาม. ก็เป็นบุคคลสิทธิผูกพันระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น. ไม่มีผลผูกพันเจ้าของผู้รับโอนตึกนั้นไปภายหลัง.
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนด 7 ปี ซึ่งมิได้จดทะเบียนการเช่าแต่แบ่งทำเป็น 3 ฉบับในคราวเดียวกันฉบับละ 3 ปี และฉบับที่ 3 มีกำหนด 1 ปีก็ถือว่ามีผลใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น.
จำเลยฎีกาว่าใช้ตึกพิพาทเป็นที่อยู่อาศัย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224. แม้จะปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ก็ตาม. เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249.ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท - การได้มาโดยทุจริต/ประมาทเลินเล่อของผู้รับโอน ผู้สั่งจ่ายไม่ต้องรับผิด
โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลกับจำเลยที่ 2 เป็นการได้เช็คพิพาทไว้โดยไม่สุจริต จำเลยที่1 ผู้สั่งจ่ายย่อมปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 905, 916 ประกอบด้วยมาตรา 989
จำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์ได้เช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการได้มาโดยทุจริต หรือมิฉะนั้นโจทก์ได้เช็คพิพาทมาด้วยการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ข้อต่อสู้ดังกล่าวนี้เป็นประเด็นพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 ย่อมจะนำสืบต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความไม่สุจริตของผู้ฟ้องร้องและการโอนทรัพย์สินโดยสุจริต ผู้รับโอนย่อมได้รับความคุ้มครอง
พฤติการณ์ที่แสดงถึงความไม่สุจริต
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินของโจทก์ ซึ่งมีผู้ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ไปทำการโอนขาย เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ไม่สุจริต โจทก์จะอ้างเอาความไม่สุจริตของโจทก์มาขอให้เพิกถอนการโอนจากจำเลยผู้ที่รับโอนที่พิพาทนั้นไว้โดยสุจริต และโดยเสียค่าตอบแทนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมือเปล่าจากผู้ไม่มีสิทธิ การคุ้มครองผู้รับโอน และอายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
ผู้รับโอนที่ดินมือเปล่าทางทะเบียนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนจากผู้โอนซึ่งไม่ใช่เจ้าของและไม่มีสิทธิครอบครอง ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300และผู้รับโอนนี้จะอ้างว่าได้สิทธิโดยการครอบครองก็ไม่ได้ เพราะครอบครองยังไม่ครบ 1 ปี
บริวารของผู้ครอบครองที่มิได้ต่อสู้ว่าได้สืบสิทธิมาจากผู้ครอบครองจะอ้างข้อต่อสู้ของผู้ครอบครองยันโจทก์ไม่ได้
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076-1079/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: สิทธิของผู้รับโอนย่อมไม่ดีกว่าผู้โอน แม้จะสุจริตและจดทะเบียน
ผู้ที่ไม่มีสิทธิในที่ดิน แม้จะได้ไปแจ้งการครอบครอง ได้รับ ส.ค.1 และได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่นั้น
รับซื้อที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏว่าผู้ที่มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น ผู้ซื้อก็ไม่มีสิทธิอย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินก่อนสัญญาประนีประนอม: สิทธิผู้ซื้อเดิมดีกว่าผู้รับโอนจากสัญญายอมความ
การที่จำเลยที่ 1-2 ซึ่งเป็นสามีภริยากัน ยินยอมทำสัญญาขายที่พิพาทให้โจทก์ โดยโจทก์ได้วางมัดจำไว้แล้ว แต่ต่อมาจำเลยที่ 1-2 กลับทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลยกที่พิพาทให้จำเลยที่ 3 ถึง 5 บุตรของตนเสีย ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1-2 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ และเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ซึ่งได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกับจำเลยที่ 1-2 ไว้ก่อนที่จะได้มีการทำสัญญายอมความนั้น จึงอยู่ในฐานะที่จะได้รับโอนที่พิพาทดีกว่าจำเลยที่ 3 ถึง 5
of 37