คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้เยาว์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 452 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินเด็กต้องได้รับอนุญาตจากศาล หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆะ
โจทก์จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ช. ตกลงแบ่งที่ดินอันเป็นมรดกของ ก.ให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และช. โดยโจทก์จำเลยที่ 1 ที่ 2 และช. ไปยื่นคำขอแบ่งแยกต่อเจ้าพนักงานที่ดิน จนกระทั่งเจ้าพนักงานได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินออกเป็นส่วนสัด เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่การที่จำเลยที่ 2 บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 3 ผู้เยาว์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแทนจำเลยที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 (4) ย่อมตกเป็นโมฆะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และในกรณีนี้จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งย่อมเป็นสิ่งเกี่ยวพันกันไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ ข้อตกลงแบ่งที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และช. ดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่อ้างข้อตกลงแบ่งมรดกดังกล่าวมาฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินเด็กต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ช. ตกลงแบ่งที่ดินอันเป็นมรดกของ ก.ให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ช.โดยโจทก์จำเลยที่1ที่2และช. ไปยื่นคำขอแบ่งแยกต่อเจ้าพนักงานที่ดิน จนกระทั่งเจ้าพนักงานได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินออกเป็นส่วนสัด เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่การที่จำเลยที่ 2 บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 3 ผู้เยาว์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแทนจำเลยที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4) ย่อมตกเป็นโมฆะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และในกรณีนี้จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งย่อมเป็นสิ่งเกี่ยวพันกันไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ ข้อตกลงแบ่งที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และ ช. ดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่อ้างข้อตกลงแบ่งมรดกดังกล่าวมาฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทในการวางสายไฟฟ้า ทำให้ผู้เยาว์เสียชีวิต ผู้ประกอบการและลูกจ้างต้องรับผิดค่าขาดไร้อุปการะ
เมื่อฟ้องบรรยายว่าโจทก์เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยได้กระทำละเมิดอันเป็นบุตรโจทก์ถึงแก่กรรมโดยชัดแจ้ง ทำให้โจทก์ขาดไร้อุปการะ และได้เรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ย่อมถือว่าคำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่น ว่านั้นแล้ว จึงเป็นที่สมบูรณ์ ส่วนค่าสินไหมทดแทนควรจะเป็นเท่าใด หากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะได้อุปการะโจทก์อย่างไรบ้างนั้น เป็นเพียงรายละเอียดและอาจคาดหมายได้ ศาลย่อมกำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งไม่จำต้องกล่าวไว้โดยละเอียดในฟ้อง
การที่ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำเลยที่ 4 มิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ในการวางสายไฟฟ้านั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะไปว่ากล่าวกันเอง เมื่อได้ความว่าเหตุที่บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายนั้น เนื่องจากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ตัดสารโทรเลขตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เช่นกัน และเป็นไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ทำให้เสาโทรเลขล้มลง สายโทรเลขช่วงถัดไปหย่อนไปแตะกับสายไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าไหลตามสายโทรเลขต้นที่ล้มลงไปในคูน้ำและเป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้านั้นช๊อตบุตรโจทก์ตาย จำเลยที่ 1 จะปัดความรับผิดไม่ได้
แม้ตามฐานะโจทก์ไม่จำต้องพึ่งผู้ตายก็ตาม แต่ขณะเกิดเหตุผู้ตายทั้งสองเป็นผู้เยาว์ยังอยู่ในระหว่างที่โจทก์ให้อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา และโจทก์ก็หวังผู้ตายเป็นที่พึ่งของโจทก์ในภายหน้า ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บัญญัติว่า บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานั้น มิได้หมายความว่าเมื่อบิดามารดามีรายได้เลี้ยงชีพของตนเองแล้ว หน้าที่ของบุตรที่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาจะหมดสิ้นไปเมื่อบุตรโจทก์ถึงแก่กรรมเพราะการละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ร่วมกับผู้อื่น
จำเลยมีบุตรภริยาแล้ว ผู้เสียหายเป็นเด็กหญิง อายุ 14 ปี หนีบิดามารดาไปหาจำเลยและนัดให้จำเลยไปรับ ณ ที่แห่งหนึ่งและพาผู้เสียหายไปอยู่ร่วมกัน เป็นความผิดตามมาตรา 319

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมของผู้เยาว์ในการกู้เงินและการยึดที่ดินเป็นประกัน จำเลยมีสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้เยาว์บิดาตายไปแล้ว มารดาโจทก์ไปกู้เงินจำเลยและได้นำโฉนดที่ดินของโจทก์ไปให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันโดยโจทก์รู้เห็นยินยอม กรณีเช่นนี้ไม่อยู่ใต้บัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 และตามพฤติการณ์ถือได้ว่ามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ได้ให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวนั้น ถึงแม้ว่าโจทก์มิใช่ผู้กู้เงินจากจำเลย จำเลยก็มีสิทธิที่จะยึดโฉนดของโจทก์ไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมของผู้เยาว์ในการกู้เงินและจำนองทรัพย์สิน: สิทธิของเจ้าหนี้ในการยึดทรัพย์
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้เยาว์ บิดาตายไปแล้ว มารดาโจทก์ไปกู้เงินจำเลยและได้นำโฉนดที่ดินของโจทก์ไปให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันโดยโจทก์รู้เห็นยินยอมกรณีเช่นนี้ไม่อยู่ใต้บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 และตามพฤติการณ์ถือได้ว่ามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ได้ให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวนั้น ถึงแม้ว่าโจทก์มิใช่ผู้กู้เงินจากจำเลยจำเลยก็มีสิทธิที่จะยึดโฉนดของโจทก์ไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของกระบวนการฟ้องคดีโดยผู้เยาว์ร่วมกับบิดา และผลเมื่อบุตรบรรลุนิติภาวะ
บิดากับบุตรผู้เยาว์ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานละเมิดทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายในคดีเดียวกัน ต่อมาบิดาทำหนังสือให้ความยินยอมและให้สัตยาบันการที่บุตรผู้เยาว์เป็นโจทก์ด้วยนั้น และขณะศาลฎีกาพิพากษาบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว ดังนี้ กระบวนพิจารณาทั้งหมดสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้ทรงสิทธิเก็บกินในที่ดินของผู้เยาว์ และผลของการไม่มีคำบอกกล่าวเตือนก่อนฟ้อง
แม้ที่ดินที่อยู่ในบังคับสิทธิเก็บกินจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เยาว์ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1407 วรรค 2 บัญญัติให้ผู้ทรงสิทธิเก็บกินมีอำนาจจัดการทรัพย์สิน และการฟ้องขับไล่ออกจากที่ดินและบ้านพิพาทที่อยู่ในบังคับสิทธิเก็บกินก็เป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนี้ ผู้ทรงสิทธิเก็บกินจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้เองโดยมิต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนเสียก่อน
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินในขณะยื่นฟ้องย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นเพียงผู้อาศัยได้ แม้โจทก์จะมิได้มีคำบอกกล่าวให้คำเตือนแก่จำเลยก่อนยื่นฟ้องก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ต้องเสียไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่ของผู้ทรงสิทธิเก็บกิน และผลของการไม่ได้แจ้งคำเตือนก่อนฟ้อง
แม้ที่ดินที่อยู่ในบังคับสิทธิเก็บกินจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เยาว์แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1417 วรรคสองบัญญัติให้ผู้ทรงสิทธิเก็บกินมีอำนาจจัดการทรัพย์สิน และการฟ้องขับไล่ออกจากที่ดินและบ้านพิพาทที่อยู่ในบังคับสิทธิเก็บกินก็เป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนี้ ผู้ทรงสิทธิเก็บกินจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้เองโดยมิต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กเยาวชนเสียก่อน
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินในขณะยื่นฟ้องย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นเพียงผู้อาศัยได้ แม้โจทก์จะมิได้มีคำบอกกล่าวให้คำเตือนแก่จำเลยก่อนยื่นฟ้องก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ต้องเสียไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีส่วนร่วมในความประมาท และความสามารถในการฟ้องคดีของผู้เยาว์ที่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดา
ข้อที่ว่าผู้เสียหายมีส่วนร่วมในการประมาทด้วยหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ต่อสู้ไว้ในคดีอาญา ก็ไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีแพ่ง
ผู้เยาว์ถูกจำเลยขับรถชนได้รับอันตราย มารดาดำเนินคดีแทนผู้เยาว์โดยฟ้องเรียกค่าเสียหาย มิได้ฟ้องในนามของมารดาเองเป็นการส่วนตัว เท่ากับผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีนั่นเอง เมื่อผู้เยาว์ยังมิได้รับความยินยอมจากบิดา จึงเป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสองศาลมีอำนาจสอบสวนในเรื่องความสามารถของคู่แล้วและมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องได้ หาใช่ว่าฟ้องของโจทก์เสียไป เพราะเป็นการดำเนินคดีโดยผู้ไม่มีอำนาจไม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถจึงชอบแล้ว
(ตามวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2518)
of 46